วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / pet care
pet care

pet care

ผศ.น.สพ.ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร
วันอาทิตย์ ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2566, 02.00 น.
การดูแลปลาสวยงาม ตอนที่ 5 : ช่องทางการให้ยาในสัตว์น้ำ

ดูทั้งหมด

  •  

การให้ยาในปลาสวยงามนั้น เราอาจให้ได้หลายวิธี เช่น การป้อนให้กินโดยตรง การผสมในอาหารให้กิน การทาบริเวณที่มีอาการ การผสมน้ำแล้วนำปลามาแช่ในระยะเวลาที่แตกต่างกัน การใส่ยาลงไปในน้ำที่เลี้ยงปลาโดยตรงหรือการให้ยาโดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ  ฉีดเข้าถุงลม หรือฉีดเข้าช่องท้องเป็นต้น เรื่องราววันนี้ยังเป็นข้อมูลดีๆ จาก รศ.น.สพ.ดร.ชาญณรงค์ รอดคำ“ศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคติดเชื้อในปลา” (Center of Excellence in Fishinfectious diseases, CEFID) คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครับ

รูปแบบและช่องทางการให้ยาในปลาสวยงาม แบ่งตามรูปแบบของการเตรียมยา ได้แก่ ยากิน ยาทา และยาฉีด ซึ่งมีวิธีการที่แตกต่างกัน ดังนี้


1.ยากิน

ตัวอย่างยาที่นิยมให้โดยการป้อนให้กิน ได้แก่ วิตามิน  ยาถ่ายพยาธิที่มีฤทธิ์ฆ่าปรสิตภายใน และยาปฏิชีวนะ เป็นต้น  

โดยยาที่เป็นยาน้ำนั้น เราสามารถใช้ไซริงค์ดูดยา แล้วป้อนเข้าปากปลาได้โดยตรง โดยหยดช้าๆ เพื่อให้ปลาค่อยๆ กลืนลงไป 

การจับบังคับปลาเพื่อป้อนยานั้น สามารถทำได้ในกรณีที่ปลาเชื่อง มีความคุ้นเคยกับผู้เลี้ยง และมีขนาดใหญ่พอประมาณ เช่น ปลาทอง ปลาคาร์พเป็นต้น ซึ่งในกรณีปลาที่มีความก้าวร้าว ปลาที่ตื่นตกใจง่าย ไม่ควรให้ยาด้วยวิธีนี้ เพราะอาจทำให้ปลาดิ้นรนและบาดเจ็บจากการจับบังคับได้ ตัวอย่างของปลาที่ไม่ควรจับบังคับเพื่อการป้อนยา เช่น ปลามังกรหรือปลาอะโรวาน่าปลาหมอสี ปลาปอมปาดัวร์  เป็นต้น

ปลาที่ไม่สามารถให้ยาโดยการป้อนให้กินโดยตรงนั้น สามารถให้ยาได้โดยการผสมอาหาร ซึ่งวิธีการผสมอาหารทำได้โดยการนำยาที่คำนวณปริมาณที่ต้องการให้ปลาได้รับมาคลุกกับอาหารผงชนิดที่ปั้นเป็นก้อนเหนียวได้หรือนำอาหารเม็ดปกติที่ปลากินมาคลุกเคล้ากับยา แล้วนำมาผึ่งลมให้แห้งแล้วค่อยๆ ให้ปลากินช้าๆ จนหมด และต้องทำการเตรียมใหม่ทุกครั้งหรือ อาจผสมเจลาตินเหลวอุ่นๆ กับยา แล้วจึงนำอาหารมาคลุกอาหาร แล้วผึ่งให้แห้งเตรียมวันละครั้ง ในปริมาณที่เพียงพอสำหรับความต้องการของปลาในแต่ละวัน  

ในกรณีปลากินเนื้อที่ไม่ได้กินอาหารเม็ด อาจนำยาที่ต้องการให้ปลากินฉีดเข้ากล้ามเนื้อของชิ้นเนื้อที่เป็นอาหารปลา หรือกรณีปลากินเหยื่อที่มีชีวิต อาจนำยาที่ต้องการให้ปลาที่เลี้ยงได้รับโดยการฉีดเข้าช่องท้อง หรือฉีดเข้าถุงลม แล้วจึงนำปลาเหยื่อไปให้กับปลากิน

2.ยาทา

การให้ยาทาบริเวณที่มีอาการ สามารถทำได้เช่นกันในกรณีปลาที่เชื่องและคุ้นเคยกับผู้เลี้ยง เนื่องจากต้องจับปลาวันละหลายๆ ครั้งเพื่อทายา โดยยาที่นิยมใช้ เช่น เจลปฏิชีวนะป้ายตา รักษาอาการตาอักเสบเนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น แต่เนื่องจากยาจะละลายน้ำหมดไปรวดเร็ว จึงต้องป้ายยาวันละหลายๆ ครั้ง ในสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำสวยงามนิยมใช้ทิงเจอร์ไอโอดีน เบตาดีนยาเหลือง ยาแดง ในการทาป้ายฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง 

แต่ยาทาที่ผิวหนังไม่ควรใช้ในปลา เนื่องจากระบบป้องกันร่างกายของปลาจากการสร้างเมือกขึ้นปกคลุมบริเวณผิวหนังจะป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียในน้ำได้ และยาที่ทาผิวหนังจะเจือจางทันทีเมื่อปลาสัมผัสน้ำ หากจำเป็นต้องใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง  สามารถใช้ได้โดยการผสมน้ำแล้วนำปลามาแช่เป็นระยะเวลาสั้นๆ ครั้งละ 5-10 นาทีได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของยาที่ใช้ ความเข้มข้นของยาที่เตรียม ความรุนแรงของโรค อายุของปลา ชนิดของปลา เป็นต้น  

ตัวอย่างยาที่ใช้โดยวิธีนี้ ได้แก่ ยาปฏิชีวนะอ๊อกซี่เตตร้าซัยคลิน เกลือแกงฟอร์มาลีน หรือแม้กระทั่งการนำปลาทะเลที่เลี้ยงในน้ำที่มีความเค็มมาแช่ในน้ำจืดเป็นระยะเวลา 5-10 นาที ก็สามารถช่วยลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียและปรสิตภายนอกได้  

การแช่ปลาเพื่อรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรีย นอกจากจะสามารถทำโดยการแช่เป็นระยะเวลาสั้นๆ ได้แล้ว ยังสามารถใช้แช่ระยะเวลานาน หรือผสมลงในน้ำเลี้ยงปลาแล้วเปลี่ยนถ่ายเมื่อมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำได้  

การใช้ยาปฏิชีวนะ ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลา 7-14 วัน ส่วนการใช้ยากำจัดปรสิตไม่ควรใช้ติดต่อกันทุกวัน เนื่องจากยาหรือสารเคมีที่มีฤทธิ์กำจัดปรสิตภายนอกมีความระคายเคืองต่อปลา และมีผลกระตุ้นให้ปลาสร้างและขับเมือก  หากใช้ต่อเนื่องกันหลายวันจะทำให้ปลาขับเมือกมาก อ่อนเพลียและเกิดการระคายเคืองที่ผิวหนังและเหงือกปลาอย่างรุนแรงและเป็นอันตรายต่อปลา  ควรใช้สัปดาห์ละครั้ง จนกว่าอาการจะดีขึ้น

3.ยาฉีด

การให้ยาโดยการฉีดเข้าร่างกายปลา นิยมทำกัน 3 ช่องทาง ได้แก่ การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ การฉีดยาเข้าช่องท้อง และการฉีดยาเข้าถุงลม ส่วนการฉีดยาเข้าเส้นเลือดนั้นไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากผนังเส้นเลือดปลาค่อนข้างบาง การฉีดในขณะที่ปลาดิ้นรนมาก มักทำให้ผนังเส้นเลือดฉีกขาด และทำให้เกิดเนื้อตายที่กล้ามเนื้อบริเวณหางได้  

ตัวอย่างยาที่ให้ได้โดยการฉีด เช่น ยาปฏิชีวนะเจนต้าไมซิน เอนโรฟล๊อกซาซินเซฟฟาเล็กซิน ยาที่มีความเจือจางและต้องให้ปลาได้รับในปริมาณมากๆ ไม่ควรให้โดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อปลา แต่สามารถให้ได้โดยการฉีดเข้าช่องท้องหรือถุงลม ยาจะค่อยๆ ถูกดูดซึมผ่านเส้นเลือดฝอยที่กล้ามเนื้อ ช่องท้องและถุงลมเข้าสู่กระแสเลือดของปลา และออกฤทธิ์ในการต่อต้านหรือทำลายเชื้อแบคทีเรียในบริเวณต่างๆ ของตัวปลา  

การให้ยาโดยการฉีด  มีความจำเป็นในปลาที่ป่วยและไม่กินอาหาร โดยเฉพาะในปลาที่เชื่องและมีความคุ้นเคยกับเจ้าของ การให้ยาด้วยวิธีฉีดจะช่วยให้ปลามีอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าวิธีการให้ยาวิธีอื่นๆ แต่ต้องกระทำโดยผู้ที่มีประสบการณ์ เนื่องจากต้องจับบังคับปลาและฉีดในตำแหน่งที่ถูกต้องจึงจะไม่เป็นอันตรายต่อผิวหนังและอวัยวะภายในต่างๆ  

อย่างไรก็ดี การให้ยาวิธีต่างๆ เพื่อรักษาปลานั้น จะได้ผลก็ต่อเมื่อวินิจฉัยโรคถูกต้อง  เลือกใช้ยาเหมาะสม  โดยเฉพาะอาการของโรคยังไม่รุนแรงมากนัก หากปลาป่วยเป็นระยะเวลานานและโรคพัฒนาไปจนมีผลทำลายโครงสร้างและการทำหน้าที่ของอวัยวะในระบบต่างๆ ของปลาแล้วการรักษาโดยวิธีใดๆ ก็ไม่ได้ผล และจะยิ่งส่งผลให้ปลาเกิดความเครียดและตายเร็วขึ้น

นอกจากนี้ การให้การรักษาควรทำควบคู่ไปกับการดูแลสภาพแวดล้อมซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก สัปดาห์หน้าเรามาติดตามดูว่า สภาพแวดล้อมที่ดีจะมีองค์ประกอบอย่างไรกันครับ

หมอโอห์ม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์และภาพลักษณ์องค์กร

คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
15:03 น. ไอจีไฟลุก! 'เป้ย ปานวาด'อวดหุ่นเซ็กซี่ในชุดชั้นในลูกไม้
14:58 น. โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง! ‘นายก-สท.เทศบาลเมืองมุกดาหาร’ ออกหาเสียงกันเข้มข้น
14:55 น. 'สพฐ.' แจ้งสถานศึกษาไม่ตื่นตระหนกข่าวลือ 'โควิด' ย้ำไม่ประมาท
14:46 น. (คลิป) หลอกหลอน 'โฆษกพรรคเพื่อไทย' ไปตลอดชีวิต
14:46 น. 'ดร.เสรี' ถาม 'รมว.สธ.'ตัดสินใจอย่างไร จะยึดความถูกต้องหรือจะยึดการรับใช้?
ดูทั้งหมด
ภาพอบอุ่นใจความรักที่งดงามของ 'กษัตริย์จิกมี-สมเด็จพระราชินี-เจ้าชาย-พระธิดา' ในยามค่ำคืนของทะเลทรายโกบี
(คลิป) 'ฐปณีย์' เละคาบ้าน! ด้อยค่าคนไม่เห็นด้วย 'เมียจ่าปืน' ออกโรงตอกกลับไม่ใช่ IO
‘ลาออก’ไปเถอะ! ฉะ‘นายกฯ’มีสติปัญญาแค่นี้ แผ่นเสียงตกร่องชู‘กาสิโน’แก้เศรษฐกิจ
มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 4-10 พ.ค.68
'แก้ว อภิรดี'ควงลูกสาวเปิดสถานะหัวใจ เผยเตรียมสละโสดก่อนอายุ 35
ดูทั้งหมด
อวสาน‘ทักษิณ’คุกรออยู่
ความต่างของ สิงคโปร์ กับ ไทย
คุกนรก (1)
นักการเมือง ‘ส้มสารพิษ’
บุคคลแนวหน้า : 9 พฤษภาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ไอจีไฟลุก! 'เป้ย ปานวาด'อวดหุ่นเซ็กซี่ในชุดชั้นในลูกไม้

'สพฐ.' แจ้งสถานศึกษาไม่ตื่นตระหนกข่าวลือ 'โควิด' ย้ำไม่ประมาท

'ไพศาล'ปูด!!! จับตา'แก๊งไสยศาสตร์' ส่งมือวางระดับบิ๊กยึด'สถาบันพระปกเกล้า'

(คลิป) หลอกหลอน 'โฆษกพรรคเพื่อไทย' ไปตลอดชีวิต

ปตท. ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติส่วนเพิ่มแหล่งอาทิตย์เสริมความมั่นคงพลังงานไทย

'ดร.เสรี' ถาม 'รมว.สธ.'ตัดสินใจอย่างไร จะยึดความถูกต้องหรือจะยึดการรับใช้?

  • Breaking News
  • ไอจีไฟลุก! \'เป้ย ปานวาด\'อวดหุ่นเซ็กซี่ในชุดชั้นในลูกไม้ ไอจีไฟลุก! 'เป้ย ปานวาด'อวดหุ่นเซ็กซี่ในชุดชั้นในลูกไม้
  • โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง! ‘นายก-สท.เทศบาลเมืองมุกดาหาร’ ออกหาเสียงกันเข้มข้น โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง! ‘นายก-สท.เทศบาลเมืองมุกดาหาร’ ออกหาเสียงกันเข้มข้น
  • \'สพฐ.\' แจ้งสถานศึกษาไม่ตื่นตระหนกข่าวลือ \'โควิด\' ย้ำไม่ประมาท 'สพฐ.' แจ้งสถานศึกษาไม่ตื่นตระหนกข่าวลือ 'โควิด' ย้ำไม่ประมาท
  • (คลิป) หลอกหลอน \'โฆษกพรรคเพื่อไทย\' ไปตลอดชีวิต (คลิป) หลอกหลอน 'โฆษกพรรคเพื่อไทย' ไปตลอดชีวิต
  • \'ดร.เสรี\' ถาม \'รมว.สธ.\'ตัดสินใจอย่างไร จะยึดความถูกต้องหรือจะยึดการรับใช้? 'ดร.เสรี' ถาม 'รมว.สธ.'ตัดสินใจอย่างไร จะยึดความถูกต้องหรือจะยึดการรับใช้?
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

14 ก.ค. 2567

‘สุนัขปากเหม็น’

‘สุนัขปากเหม็น’

7 ก.ค. 2567

อยากแปรงฟันให้น้องหมา ต้องเตรียมตัวอย่างไร

อยากแปรงฟันให้น้องหมา ต้องเตรียมตัวอย่างไร

30 มิ.ย. 2567

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

23 มิ.ย. 2567

สุนัขปากเหม็น

สุนัขปากเหม็น

16 มิ.ย. 2567

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอนจบ)

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอนจบ)

9 มิ.ย. 2567

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอน1)

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอน1)

2 มิ.ย. 2567

โรคเบาหวาน หรือ Diabetes mellitus (DM)

โรคเบาหวาน หรือ Diabetes mellitus (DM)

26 พ.ค. 2567

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved