วันพุธ ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / เส้นใต้บรรทัด
เส้นใต้บรรทัด

เส้นใต้บรรทัด

จิตกร บุษบา
วันพุธ ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562, 02.00 น.
เรื่องที่การเมืองไทยไม่มา ‘สาละวน’

ดูทั้งหมด

  •  

มีเรื่องอีกหลายเรื่อง ที่เป็นปัญหาของประเทศชาติและประชาชน ที่อยากเห็น “นักการเมือง” ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล หันมา “สาละวน” ใส่ใจ ถกเถียง และนำเสนอกันบ้าง มาจากการเสนอสองหน ของอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล

ครั้งแรก : วันที่ 14 ก.ค. 2562 เวลา 09.30 น. ที่ห้องประชุม 14 ตุลา ถนนราชดำเนินกลาง นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจและอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวปาฐกถา “ 45 ปี 14 ตุลา เรื่องประชาธิปไตยกับความท้าทายทางเศรษฐกิจของประเทศไทย” ตอนหนึ่งว่า


“...เศรษฐกิจประเทศไทยเหมือนผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง แม้หลายรัฐบาลจะพยายามให้ยาหลายขนานแต่ก็ยังไม่หายขาด สาเหตุมาจากประเทศไทยเผชิญกับปัญหาในหลายด้าน ซึ่งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ เห็นว่าต้องเร่งแก้ไข คือ ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ในการกระจายอำนาจไปให้ท้องถิ่นมากขึ้น ขณะที่ชุมชนต้องเพิ่มความเข้มแข็ง เพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกรและแรงงานไร้ทักษะ รวมถึงคนระดับฐานราก เพื่อให้สามารถอยู่ได้ เพราะในอนาคตไทยจะประสบปัญหา สังคมผู้สูงอายุ จนตอนแก่เป็นภาระให้กับวัยทำงาน

...ขณะที่ปัญหาการเมืองไทย ในรอบ 10 ปี มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย อึดอัดใจ ถูกเลือกข้าง คือ ข้างที่ยังศรัทธาในประชาธิปไตยและข้างที่ความเชื่อมั่นในประชาธิปไตยลดลง เห็นจากการเลือกตั้งที่ผ่านมา ได้นักการเมืองที่ขาดความรับผิดชอบเข้ามากุมอำนาจรัฐ ใช้อำนาจตามอำเภอใจ แนวคิดประชาธิปไตยจึงผิดไป อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวยังเชื่อว่าประชาธิปไตยยังเป็นระบอบการเมืองที่มีพลัง เพราะยังเป็นระบอบที่เปิดกว้างให้ประชาชนมีส่วนร่วม ซึ่งความศรัทธาในประชาธิปไตยที่สั่นคลอน อาจไม่ใช่เนื้อแท้ของประชาธิปไตย แต่อาจเกิดจากความเข้าใจที่ไม่สมบูรณ์และประยุกต์ใช้แบบขาดๆ ดังนั้น แม้รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งจะสำคัญ แต่ก็เป็นแค่วิธีการที่นำไปสู่ประชาธิปไตย แต่ยังไม่ใช่เป้าหมาย ขณะที่เผด็จการไม่ได้มาในรูปแบบของทหารเท่านั้น แต่มาในทางเศรษฐกิจและความได้เปรียบทางสังคมเป็นเผด็จการที่น่ากลัวกว่า”

นายประสารกล่าวอีกว่า สำหรับคุณสมบัติของผู้นำในระบอบประชาธิปไตย จะต้องมีความสามารถในการหาจุดร่วมในความต่างประสานจุดแข็งของแต่ละคนเข้าหากัน และรับฟังความคิดเห็นโดยเฉพาะความคิดเห็นของผู้เห็นต่าง ขณะที่การสร้างการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยและการมีเศรษฐกิจที่เปิดกว้างเป็นธรรม จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป เพราะยากที่จะแก้เรื่องใดเรื่องหนึ่งให้สำเร็จ นอกจากนี้ยังควรมองประชาธิปไตยในลักษณะกระบวนการพัฒนาที่มีความต่อเนื่องไม่ใช่เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งและไม่ใช่แค่การเลือกตั้งหรือการเปลี่ยนรัฐบาล แต่ควรมองให้ลึกถึงปัจจัยที่จะนำประชาธิปไตยไปสู่เป้าหมายให้ได้

ครั้งที่สอง : เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2562 ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “การเมือง การคลัง พลังนำประเทศ” จัดโดยสมาคมศิษย์เก่ารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ตอนหนึ่งท่านพูดถึง “5 อาการน่าเป็นห่วงของประเทศไทย
ความว่า...

“...พวกเราคงยอมรับว่า ที่ผ่านมาการเมือง-การคลังทำให้ประเทศไทยเดินหน้ามาไกลพอสมควร แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทั้งจากปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ ซึ่งหลายอย่างนับเป็นความท้าทายทางการเมือง-การคลังไทยในระยะต่อไปอย่างยิ่ง โดยมี 5 อาการสำคัญ คือ

1) อาการแรก คือ ศักยภาพเศรษฐกิจถดถอย

เศรษฐกิจไทยเติบโตได้น้อยลงเหมือนคนแก่ที่เดินได้ช้าลง กล่าวคือ ทศวรรษก่อนวิกฤติต้มยำกุ้ง เศรษฐกิจไทยเติบโตเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 9 ต่อปี แต่ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา อัตราการเติบโตวนเวียนอยู่ในระดับร้อยละ 4 และหลายปีที่ผ่านมาการเติบโตเฉลี่ยเพียงร้อยละ 3 ที่สำคัญ หมอหลายคนเคยเตือนมาหลายครั้งว่า ต้องหมั่นออกกำลังเพิ่มพลังในตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการยกระดับศักยภาพแรงงาน การวิจัยและพัฒนา การปรับปรุงกฎระเบียบให้เอื้อต่อการแข่งขัน หรือการปรับบทบาทภาครัฐให้เป็นผู้สนับสนุนภาคเอกชน แต่กลับไม่ได้ทำต่อเนื่องจริงจัง

2) อาการที่สอง คือ ความเหลื่อมล้ำสุดโต่ง

ผมชอบคำบรรยายความสุดโต่งที่ ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล พูดไว้อย่างเห็นภาพว่า “ระบบเศรษฐกิจที่ทำให้คนจำนวนหนึ่งที่ไม่ต้องโกง ก็สามารถที่จะรวยได้อย่างเหลือล้น ขณะที่คนส่วนใหญ่ของประเทศจนได้อย่างเหลือเชื่อโดยไม่ได้เกียจคร้าน” ซึ่งคำกล่าวนี้คงไม่ผิดเมื่อดูจากข้อมูลและผลการศึกษาจากหลายหน่วยงาน พบว่า

คนไทย 10% ที่มีรายได้สูงสุดและต่ำสุดมีรายได้ห่างกันถึง 22 เท่า

คนไทยมากกว่า 75% ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ขณะที่โฉนดกว่า 61% อยู่ในมือคนแค่เพียง 10% โดยงานศึกษาชี้ว่า ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของคนไทยที่ว่ามากแล้ว ความเหลื่อมล้ำด้านทรัพย์สินยิ่งสูงกว่าความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ตลอดช่วงเวลาที่ทำการศึกษา 2 จนมีการกล่าวว่า “รวยกระจุก จนกระจาย” ระดับสาหัส

เมื่อความเป็นอยู่ของคนในประเทศแตกต่างกันมากเพียงนี้ หมายความว่า แม้เราอยู่ในประเทศเดียวกัน ย่อมเห็นประเทศนี้ในภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจและสังคมแตกต่างกันสิ้นเชิง และหากพวกเราสังเกตจะเห็นข่าวที่สะท้อนอาการ “หมั่นไส้คนรวย” มีให้เห็นมากขึ้น เช่น “คนขี่มอเตอร์ไซค์ด่าคนขับรถหรูที่จอดขวางถนน และต่อมาเอาหินขว้างกระจกหน้ารถจนแตก” และเราคงไม่อยากให้รอยแยกนี้บานปลายออกไปจนเรารู้สึกว่านี่ไม่ใช่เมืองไทยที่เราเคยรู้จัก ซึ่งความเหลื่อมล้ำสุดโต่งเช่นนี้ย่อมมีนัยครอบคลุมถึงเสถียรภาพการเมือง-การคลัง-เศรษฐกิจ-สังคม และชีวิตของคนไทยทุกคน

3) อาการที่สาม คือ การก้าวสู่สังคมคนชราเต็มรูปแบบ

สภาพัฒน์ ชี้ว่า

ปี 2564 จะมีคนไทยอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปคิดเป็น 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมดและ

ปี 2574 คนกลุ่มนี้จะมีจำนวนมากกว่า 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมด

ซึ่งอาจารย์วรเวศม์ สุวรรณระดา (อาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ประเมินภาระการเลี้ยงดูคนแก่ไว้อย่างน่าสนใจว่า ปี 2558 คนวัยทำงานประมาณ 4.5 คน จะดูแลคนแก่ 1 คน หรือ 4.5 ต่อ 1 แต่ในปี 2574 สัดส่วนนี้จะเท่ากับ 2 ต่อ 1 นั่นหมายความว่า ถ้าต้องการรักษามาตรฐานการดำรงชีวิตไว้ ผลิตภาพที่คนวัยทำงานในอนาคตต้องเพิ่มขึ้น 2.25 เท่า จึงรับภาระนี้ได้ และด้วยความก้าวหน้าด้านสาธารณสุขทำให้อายุเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้น โดยการศึกษาของ TDRI พบว่า ตลอด 6 ทศวรรษที่ผ่านมา คนไทยมีอายุขัยเพิ่มขึ้น 4.4 เดือนต่อปี และเมื่อประมาณการอายุคนไทยตามปีเกิด เป็นไปได้ว่าคนไทยที่เกิดในปี 2559 จะมีอายุยืนเฉลี่ยถึง 80-98 ปี หรือเกือบ 100 ปีแน่นอนว่า เมื่อฐานกำลังคนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจน้อยลง จำนวนผู้เสียภาษีย่อมลดลง ขณะที่รายจ่ายด้านสาธารณสุขจะเร่งตัวขึ้นยาวนานอย่างมีนัยสำคัญ

4) อาการที่สี่ เทคโนโลยีป่วนโลก

กล่าวคือ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มุมหนึ่งสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการคลังในหลายมิติ ซึ่งจะกล่าวถึงในส่วนต่อไป แต่อีกมุมหนึ่งก็ทำให้ภาคการคลังต้องเผชิญกับความท้าทายในการจัดเก็บภาษีไม่น้อยกล่าวคือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้เปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค รูปแบบการดำเนินธุรกิจที่อยู่บนแพลตฟอร์มมากขึ้น โอกาสเก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยจะยากขึ้นมาก

ขณะเดียวกัน หลายธุรกิจที่ถูก disrupt จนต้องทยอยปิดตัวลง เช่น ร้านเช่าวีดีโอ ธุรกิจสิ่งพิมพ์ ธนาคารพาณิชย์ที่ทยอยปิดหรือควบรวมสาขา และมีการใช้หุ่นยนต์แทนคนในงานที่ “น่าเบื่อ-สกปรก-อันตราย” มากขึ้น นั่นหมายถึงคนตกงานมากขึ้น และรัฐต้องสูญเสียรายได้จำนวนมาก

5) อาการสุดท้าย คือ การเมืองในม่านหมอก

แม้ความขัดแย้งระหว่างสีจะลดลงบ้าง แต่มองไปข้างหน้าการเมืองไทยก็ยังเหมือน “เมืองในม่านหมอก” ทำให้ทัศนวิสัยการมองเห็นน้อย เราเห็นภาพแบบพร่ามัว ไม่สามารถที่จะบอกอะไรได้ชัดเจน มีความผันผวน แบ่งแยกเป็นฝักฝ่ายแตกแยก สภาพเช่นนี้ย่อมลดทอน “พลังการเมือง” ที่จะนำมาซึ่งเสถียรภาพของประเทศ

และในระดับโลก หลังจากเกิดปรากฏการณ์ Brexit หรือการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกาที่ผ่านมาก็ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับประชาธิปไตยว่าสิ้นมนต์ขลังแล้วหรือ

แต่ในม่านหมอกก็ยังมีแสงสว่าง การตื่นตัวทางการเมืองของคนไทยในหลากหลายวัย โดยเฉพาะเยาวชนที่เพิ่งมีโอกาสเลือกตั้งครั้งแรก ทำให้มีความหวังขึ้นมาว่า การตื่นตัวของประชาชนจะเป็นพลังที่ทำให้เมฆหมอกที่ปกคลุมการเมืองไทยจางคลายลงบ้าง และบางทีเราอาจเห็นอนาคตของการเมืองไทยที่ชัดเจนขึ้น”

ถึงเวลาหรือยัง ที่เราทุกคนทุกฝ่าย ควรหันมาครุ่นคิดและถกเถียงกันอย่างสรรค์ให้มากขึ้น เพื่อหา “ทางออก” หาคำตอบ หรือหา “ความชัดเจน” ให้แก่เรื่องเหล่านี้!!

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
13:04 น. ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศกระทรวงมหาดไทย ขอสละสัญชาติไทย จำนวน 195 ราย
12:58 น. ‘เบน หวัง’ คว้าบท ‘ลี’ ท่ามกลางนักแสดงจากทั่วโลก สานต่อตำนานยอดนักสู้
12:54 น. ระทึก! กระบะตู้ทึบพุ่งเสยเสาไฟ-รั้วบ้านพังยับ คนขับรอดปาฏิหาริย์
12:53 น. กทม.เสนอร่างข้อบัญญัติฯ คุมแสงจ้าป้ายโฆษณา LED ลดความเดือดร้อนประชาชน
12:50 น. 'ฮุน มานี'ปลุกสามัคคีคนในชาติ! โพสต์เฟซบุ๊กลั่น'ชาวกัมพูชา'จะไม่นิ่งเฉยหากโดนคุกคาม
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
แกว่งเท้าหาเสี้ยน! ปรากฏการณ์แฉโพย‘สายส้ม’เข้มข้น-ล่อนจ้อน
'ออสเตรเลีย'ออกคำเตือนพลเมืองมา'ไทย'หลังพบวัตถุต้องสงสัยหลายเมืองท่องเที่ยวภาคใต้
ดูทั้งหมด
ต้นสนยักษ์ร่วมสมัยกับฟาโรห์
‘คลิปเขมร’เหตุอัปยศ‘แพทองธาร’
รู้ทันคอร์รัปชันด้วยวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่แค่ศีลธรรม
วาทกรรมเจ็บจี๊ด
อุ๊งอิ๊งค์ 2 ปรับ ครม. ฟอร์มาลีน
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศกระทรวงมหาดไทย ขอสละสัญชาติไทย จำนวน 195 ราย

'ฮุน มานี'ปลุกสามัคคีคนในชาติ! โพสต์เฟซบุ๊กลั่น'ชาวกัมพูชา'จะไม่นิ่งเฉยหากโดนคุกคาม

ทอ.เด้งรับสมรสเท่าเทียม! เปลี่ยนชื่อ 'สมาคมแม่บ้าน ทอ.' เป็น 'สมาคมคู่สมรสทหารอากาศ'

ท่องคาถา‘ยุบสภา’ ‘ช่อ’ท้าฝั่ง รบ.เป็นนักการเมืองอย่ากลัวเลือกตั้ง

ไม่ช่วยใครง่ายๆอีก! ‘สหรัฐฯ’ปิดฉาก‘USAID’เลิกหน่วยงานเพื่อมนุษยธรรมอย่างเป็นทางการ

ไม่ใช่แค่ม็อบคนแก่! ม็อบ 28 มิถุนาฯ คือฐานเสียง'พรรค ปชน.' ชี้ฝ่ายค้านเอาแต่แก้ รธน. เมินปากท้องคนไทย

  • Breaking News
  • ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศกระทรวงมหาดไทย ขอสละสัญชาติไทย จำนวน 195 ราย ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศกระทรวงมหาดไทย ขอสละสัญชาติไทย จำนวน 195 ราย
  • ‘เบน หวัง’ คว้าบท ‘ลี’ ท่ามกลางนักแสดงจากทั่วโลก  สานต่อตำนานยอดนักสู้ ‘เบน หวัง’ คว้าบท ‘ลี’ ท่ามกลางนักแสดงจากทั่วโลก สานต่อตำนานยอดนักสู้
  • ระทึก! กระบะตู้ทึบพุ่งเสยเสาไฟ-รั้วบ้านพังยับ คนขับรอดปาฏิหาริย์ ระทึก! กระบะตู้ทึบพุ่งเสยเสาไฟ-รั้วบ้านพังยับ คนขับรอดปาฏิหาริย์
  • กทม.เสนอร่างข้อบัญญัติฯ คุมแสงจ้าป้ายโฆษณา LED ลดความเดือดร้อนประชาชน กทม.เสนอร่างข้อบัญญัติฯ คุมแสงจ้าป้ายโฆษณา LED ลดความเดือดร้อนประชาชน
  • \'ฮุน มานี\'ปลุกสามัคคีคนในชาติ! โพสต์เฟซบุ๊กลั่น\'ชาวกัมพูชา\'จะไม่นิ่งเฉยหากโดนคุกคาม 'ฮุน มานี'ปลุกสามัคคีคนในชาติ! โพสต์เฟซบุ๊กลั่น'ชาวกัมพูชา'จะไม่นิ่งเฉยหากโดนคุกคาม
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

พรรคส้ม...กับ ‘พรรคทักษิณ’

พรรคส้ม...กับ ‘พรรคทักษิณ’

2 ก.ค. 2568

ปฏิบัติการ ‘แก้ผ้าตัวเอง’ ของ ‘ฮุนเซน’

ปฏิบัติการ ‘แก้ผ้าตัวเอง’ ของ ‘ฮุนเซน’

29 มิ.ย. 2568

รอพิกุลทองร่วงจากปาก ‘พีระพันธุ์

รอพิกุลทองร่วงจากปาก ‘พีระพันธุ์

25 มิ.ย. 2568

‘พ่อ’ นายกฯ

‘พ่อ’ นายกฯ

22 มิ.ย. 2568

‘หนี้’ ที่ไทยต้องทวง ‘กัมพูชา’

‘หนี้’ ที่ไทยต้องทวง ‘กัมพูชา’

18 มิ.ย. 2568

ประตู ‘คุก’ ยังเปิดรอ...นะพ่อนะ

ประตู ‘คุก’ ยังเปิดรอ...นะพ่อนะ

15 มิ.ย. 2568

ไม่ขึ้นศาลโลก ไม่เสียดินแดน

ไม่ขึ้นศาลโลก ไม่เสียดินแดน

11 มิ.ย. 2568

รัฐบาลไทย ‘หัวใจเขมร’

รัฐบาลไทย ‘หัวใจเขมร’

8 มิ.ย. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved