วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / กวนน้ำให้ใส
กวนน้ำให้ใส

กวนน้ำให้ใส

สารส้ม
วันอังคาร ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2563, 02.00 น.
ขยายสัมปทานสายสีเขียว ผู้บริโภค+รัฐ ได้อะไร ถ้าคุ้ม ก็ต้องกล้าตัดสินใจ

ดูทั้งหมด

  •  

เดือนนี้ (ธันวาคม 2563) รถไฟฟ้าบีทีเอสจะเปิดให้บริการเพิ่มอีก 7 สถานี (รถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต- สะพานใหม่- คูคต) ได้แก่ สถานีพหลโยธิน 59,สถานีสายหยุด, สถานีสะพานใหม่, สถานีโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช, สถานีพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ, สถานีแยก คปอ. และสถานีคูคต

ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนมิถุนายน 2563 ได้เปิดให้บริการเพิ่มมาแล้ว4 สถานี ได้แก่ สถานีกรมป่าไม้, สถานีบางบัว, สถานีกรมทหารราบที่ 11 และสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ


เท่ากับว่า ปีนี้จะทำให้รถไฟฟ้าสายสีเขียว ตลอดสาย ครอบคลุมถึง3 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร และยาวไปถึงสมุทรปราการ

คาดว่า หากราคาค่าโดยสารไม่แพงเกินไป อยู่ในระดับที่คุ้มราคาผู้โดยสารไม่มีปัญหาการเชื่อมต่อการเดินทาง ไม่ต้องเสียค่าแรกเข้าหลายครั้ง รวมถึงมีที่จอดรถยนต์สะดวก ประชาชนน่าจะหันมาใช้บริการจำนวนมาก ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหารถติดบนท้องถนนได้เยอะ

1. ปัญหาใหญ่ตอนนี้ คือ การเจรจากับบีทีเอส ซึ่งเป็นเอกชนผู้ถือสัญญาสัมปทานเดิมตรงช่วงกลางเมืองที่เป็นเหมือนไข่แดง โดยสัญญาเดิมกำหนดเงื่อนไข ค่าโดยสาร ค่าแรกเข้า ฯลฯ ผูกมัดไว้

ตรงนี้เอง ที่รัฐบาล กทม. และบริษัทเอกชน จะต้องแก้ปัญหาร่วมกัน ควรเจรจาตกลงกันให้ได้ มิฉะนั้น จะต้องติดสัญญาเดิมไปอีกเกือบ 10 ปี คนที่จะเสียประโยชน์ก็คือประชาชนผู้โดยสาร

2. ขณะนี้ มีข้อท้วงติงจากกระทรวงคมนาคม (รถไฟฟ้าสายสีเขียวอยู่ในการดูแลของ กทม. ภายใต้กำกับของกระทรวงมหาดไทย) โดยอ้างทำนองว่าการขยายสัมปทานสายสีเขียวทำให้ค่าโดยสารแพงกว่าสายสีน้ำเงิน (รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินอยู่ในการดูแลของกระทรวงคมนาคม)

เรื่องนี้ ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าฯ กทม. ได้สรุปข้อมูลเพื่อให้พิจารณาได้ชัดเจน ว่าด้วยเรื่อง “ใครได้ใครเสีย? ขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว – สีน้ำเงิน” ดังนี้

“รถไฟฟ้าสายสีเขียวถูกทักท้วงการขยายสัมปทานจากกระทรวงคมนาคม แต่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินได้รับการขยายสัมปทานไปแล้วเมื่อกว่า 3 ปีที่ผ่านมามาดูกันว่าประชาชนและรัฐได้-เสียอย่างไรจากการขยายสัมปทานรถไฟฟ้า

รถไฟฟ้าสายสีเขียว

รถไฟฟ้าสายสีเขียวอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรุงเทพมหานคร (กทม.) มีเส้นทางสายหลักประกอบด้วยช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน กทม.ได้ให้สัมปทานแก่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (มหาชน) หรือบีทีเอส เป็นเวลา 30 ปี จากปี 2542 – 2572 โดยบีทีเอสเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมดเป็นเงินประมาณ 53,000 ล้านบาท

สำหรับเส้นทางส่วนต่อขยาย ประกอบด้วยช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า ช่วงอ่อนนุช-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-คูคต กทม.ลงทุนงานโยธา และบีทีเอสลงทุนขบวนรถ ติดตั้งระบบสื่อสาร อาณัติสัญญาณ และระบบตั๋วขณะนี้กทม.โดยกระทรวงมหาดไทยได้เสนอให้ ครม.พิจารณาเห็นชอบการขยายสัมปทานให้บีทีเอสออกไปอีก 30 ปี จากปี 2572-2602 โดยบีทีเอสจะต้องรับผิดชอบการเดินรถทั้งเส้นทางสายหลักและส่วนต่อขยาย แต่อย่างไรก็ตาม กระทรวงคมนาคมได้ทักท้วงการขยายสัมปทานให้บีทีเอสในการประชุม ครม.เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 เป็นเหตุให้ประเด็นนี้กลายเป็นข้อกังขาของคนทั่วไปว่าทำไมการขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวจึงเป็นเรื่องยาก แต่การขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจึงผ่านฉลุยไปแล้วเมื่อปี 2560

รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีเส้นทางสายหลักคือช่วงหัวลำโพง-บางซื่อรฟม.ให้สัมปทานแก่บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)หรือบีอีเอ็มเป็นเวลา 25 ปี จากปี 2547-2572 เส้นทางนี้ใช้เงินลงทุนทั้งหมด 115,812 ล้านบาท โดย รฟม.ลงทุนงานโยธาเป็นเงิน 91,249 ล้านบาท และบีอีเอ็มลงทุนขบวนรถ ติดตั้งระบบสื่อสาร อาณัติสัญญาณ และระบบตั๋ว เป็นเงิน 24,563 ล้านบาท

สำหรับเส้นทางส่วนต่อขยาย ประกอบด้วย ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-ท่าพระ-บางแค เป็นการลงทุนรูปแบบเดียวกันกับเส้นทางสายหลัก กล่าวคือ รฟม.ลงทุนงานโยธา และบีอีเอ็มลงทุนงานเครื่องกลและไฟฟ้า รฟม.ได้ขยายสัมปทานให้บีอีเอ็มออกไปอีก 21 ปี จากปี 2572-2593 โดยบีอีเอ็มจะต้องเป็นผู้เดินรถทั้งเส้นทางสายหลักและส่วนต่อขยาย มีการลงนามในสัญญาขยายสัมปทานไปแล้วเมื่อปี 2560

การขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวและสายสีน้ำเงิน ประชาชนและรัฐได้เสียอย่างไร?

1. ระยะเวลาขยาย

กทม.ต้องการขยายสัมปทานให้บีทีเอสเป็นเวลา 30 ปี จากปี 2572-2602 ส่วน รฟม.ได้ขยายสัมปทานให้บีอีเอ็ม 21 ปี จากปี 2572-2593 เหตุที่ กทม.ต้องขยายให้นานกว่าการขยายของ รฟม. เป็นเพราะบีทีเอสลงทุนมากกว่าบีอีเอ็มทั้งเส้นทางสายหลักและส่วนต่อขยาย

2. ค่าโดยสารสูงสุด/กม.

รถไฟฟ้าสายสีเขียวมีค่าโดยสารสูงสุด 65 บาท ผู้โดยสารสามารถเดินทางได้ไกลที่สุด (ต่อเดียว) 55 กิโลเมตร ดังนั้น ค่าโดยสารสูงสุดต่อกิโลเมตรเท่ากับ 1.18 บาท ส่วนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินมีค่าโดยสารสูงสุด 42 บาทผู้โดยสารสามารถเดินทางได้ไกลที่สุด 26 กิโลเมตร ดังนั้น ค่าโดยสารสูงสุดต่อกิโลเมตรเท่ากับ 1.62 บาท หรือแพงกว่าค่าโดยสารสูงสุดของสายสีเขียว 44 สตางค์/กิโลเมตร

3. แบ่งรายได้ให้รัฐ

กรณีรถไฟฟ้าสายสีเขียว บีทีเอสจะต้องแบ่งรายได้จากค่าโดยสารให้ กทม.ตลอด 30 ปี รวมเป็นเงินกว่า 200,000 ล้านบาท และหากบีทีเอสได้ผลตอบแทนการลงทุนเกิน 9.6% จะต้องแบ่งรายได้ให้ กทม.เพิ่มเติมอีกตามอัตราที่กำหนดในสัญญา

ส่วนกรณีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บีอีเอ็มไม่ต้องแบ่งรายได้จากค่าโดยสารให้ รฟม.ถ้าได้ผลตอบแทนไม่เกิน 9.75% แต่ถ้าได้ผลตอบแทนเกิน 9.75% จะต้องแบ่งรายได้ให้ รฟม.ตามอัตราที่กำหนดในสัญญา

โดยสรุป บีทีเอสจะต้องแบ่งรายได้ให้รัฐมากกว่าบีอีเอ็ม

4. ชำระเงินแทนรัฐ

กรณีรถไฟฟ้าสายสีเขียว (ส่วนต่อขยาย) บีทีเอสจะต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้แทน กทม.ในช่วงปี 2562-2572 เป็นเงินประมาณ 13,000 ล้านบาท ละจะต้องแบกรับภาระขาดทุนจากการเดินรถ (ส่วนต่อขยาย) ในช่วงปีดังกล่าวเป็นเงินประมาณ 15,000 ล้านบาท รวมเงินที่บีทีเอสจะต้องจ่ายแทน กทม.ประมาณ 28,000 ล้านบาท ส่วนกรณีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บีอีเอ็มไม่มีภาระรับผิดชอบจ่ายเงินแทน รฟม.ใดๆ ทั้งสิ้น

5. ผลตอบแทนการลงทุน

หากเงื่อนไขการขยายสัมปทานเป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ดังกล่าวแล้วข้างต้น บีทีเอสจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนไม่เกิน 9.6% เพราะถ้าเกินจะต้องแบ่งให้ กทม. ส่วนบีอีเอ็มจะได้รับไม่เกิน 9.75% เพราะถ้าเกินจะต้องแบ่งให้ รฟม.

โดยสรุป บีทีเอสได้ผลตอบแทนน้อยกว่าบีอีเอ็ม

เปรียบเทียบให้เห็นกันชัดๆ อย่างนี้แล้ว กระทรวงคมนาคมจะว่าอย่างไร?”

4. แน่นอน ขึ้นชื่อว่าการเจรจา ก็จะต้องมีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ ไม่มีใครได้ประโยชน์ฝ่ายเดียว มิฉะนั้น อีกฝ่ายก็คงไม่ยอม รัฐบาลจึงต้องชั่งน้ำหนักว่า ประโยชน์ที่ผู้โดยสารจะได้รับ + ประโยชน์ที่ กทม.จะได้รับ + ประโยชน์ที่ประเทศชาติจะได้รับ คุ้มค่าหรือไม่?

รัฐบาลจะต้องกล้าตัดสินใจ

มิฉะนั้น เมื่อถึงวันเปิดให้บริการเต็มรูปแบบก็จะเกิดความวุ่นวาย(น้องๆ กรณีเมื่อครั้งที่รถไฟฟ้าใต้ดินบางซื่อไม่เชื่อมต่อกับสถานีเตาปูน) ประชาชนผู้บริโภคก็จะต้องเผชิญกับสภาวะการเดินทางที่ไม่สะดวก เสียค่าแรกเข้าหลายต่อ มีภาระค่าโดยสารสูงเกินไป (หรือรัฐต้องจ่ายเงินอุ้มค่าโดยสารไปเรื่อยๆ) ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น คนที่จะต้องรับผิดชอบ ถูกก่นด่า ถูกประณามหยามหยัน ก็คงไม่พ้นรัฐบาล โดยเฉพาะตัวนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในขณะที่ผู้คัดค้านไม่ต้องรับผิดชอบอะไร

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
16:32 น. เปิดศึกปลาร้า! 'กัมพูชา'ซัดไทยใช้ตราสินค้า'ปลาฮกเสียมเรียบ'ที่ขึ้นทะเบียนGIในตลาดต่างประเทศ
16:24 น. 'กัน จอมพลัง'ไม่ทน! เห็นคลิปหลานชายทำร้ายตาวัย 80 บุกมาสอนหลานถึงบ้าน
16:22 น. 'ทิดประดิษฐ์'อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธฉาย โชว์ส่งมอบเอกสารวัด ปัดข่าวหอบเงินหนี
16:19 น. 'สะพานเข้าชุมชนถล่ม' ชาวบ้านกว่า30หลังคาเรือน-ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก
16:14 น. ‘ขอนแก่น’ยกขบวนศิลปินดัง-สินค้าเด็ด‘ของดีเมืองแคน’บุกเวสต์เกต ครบจบถึง 14 ก.ค.นี้
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ดุ๊ก ภาณุเดช'วอนหยุดบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่ สุดทนคนแห่ถ่ายรูป-เดินชิลเหมือนอยู่คาเฟ่
ดูทั้งหมด
จีนยกระดับปราบ Cyber Scam ฉ้อโกงออนไลน์ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว
ฮุนเซน-ทักษิณ (แพทองธาร) มิตรหรือศัตรู
บุคคลแนวหน้า วันที่ 12 ก.ค. 2568
ทักษิณยังคงคุยโวเหมือนเดิม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เปิดศึกปลาร้า! 'กัมพูชา'ซัดไทยใช้ตราสินค้า'ปลาฮกเสียมเรียบ'ที่ขึ้นทะเบียนGIในตลาดต่างประเทศ

'กัน จอมพลัง'ไม่ทน! เห็นคลิปหลานชายทำร้ายตาวัย 80 บุกมาสอนหลานถึงบ้าน

อดีตผู้พิพากษาเลคเชอร์ 6 ข้อ ‘ทักษิณ’ทำอย่างน้อย 4 ครั้ง เสี่ยงครอบงำ-‘พท.’อาจถูกยุบพรรค

ติดเชื้อ'ไวรัสซิกา' 7 ราย ใน 4 จังหวัดอีสาน เตือนหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง ลูกอาจพิการได้

‘วิสุทธิ์’ย้อนเกล็ด‘ภท’ สส.โหวตสวนเรียก‘งูเห่า’ ตอนย้ายคอกเข้าพรรคบอก‘อุดมการณ์’

เกษตรกรกำแพงเพชร บุกพรรคประชาชน หลัง'ไอซ์'ปูดงบ 'ไผ่' หวั่นเดือดร้อนถูกตัดงบ

  • Breaking News
  • เปิดศึกปลาร้า! \'กัมพูชา\'ซัดไทยใช้ตราสินค้า\'ปลาฮกเสียมเรียบ\'ที่ขึ้นทะเบียนGIในตลาดต่างประเทศ เปิดศึกปลาร้า! 'กัมพูชา'ซัดไทยใช้ตราสินค้า'ปลาฮกเสียมเรียบ'ที่ขึ้นทะเบียนGIในตลาดต่างประเทศ
  • \'กัน จอมพลัง\'ไม่ทน! เห็นคลิปหลานชายทำร้ายตาวัย 80 บุกมาสอนหลานถึงบ้าน 'กัน จอมพลัง'ไม่ทน! เห็นคลิปหลานชายทำร้ายตาวัย 80 บุกมาสอนหลานถึงบ้าน
  • \'ทิดประดิษฐ์\'อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธฉาย โชว์ส่งมอบเอกสารวัด ปัดข่าวหอบเงินหนี 'ทิดประดิษฐ์'อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธฉาย โชว์ส่งมอบเอกสารวัด ปัดข่าวหอบเงินหนี
  • \'สะพานเข้าชุมชนถล่ม\' ชาวบ้านกว่า30หลังคาเรือน-ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก 'สะพานเข้าชุมชนถล่ม' ชาวบ้านกว่า30หลังคาเรือน-ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก
  • ‘ขอนแก่น’ยกขบวนศิลปินดัง-สินค้าเด็ด‘ของดีเมืองแคน’บุกเวสต์เกต ครบจบถึง 14 ก.ค.นี้ ‘ขอนแก่น’ยกขบวนศิลปินดัง-สินค้าเด็ด‘ของดีเมืองแคน’บุกเวสต์เกต ครบจบถึง 14 ก.ค.นี้
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

กำจัดมารศาสนา ‘สีกาหน้าด้าน กับพระบ้ากาม’

กำจัดมารศาสนา ‘สีกาหน้าด้าน กับพระบ้ากาม’

11 ก.ค. 2568

รัฐบาลอุ๊งอิ๊งค์ไร้ฝีมือแท้ทรู  คือ ตัวถ่วงประเทศไทย

รัฐบาลอุ๊งอิ๊งค์ไร้ฝีมือแท้ทรู คือ ตัวถ่วงประเทศไทย

10 ก.ค. 2568

ความจริงกรณีบังคับโทษจำคุกนักโทษชั้น 14

ความจริงกรณีบังคับโทษจำคุกนักโทษชั้น 14

9 ก.ค. 2568

หนักแผ่นดิน

หนักแผ่นดิน

8 ก.ค. 2568

พายุใหญ่เศรษฐกิจไทย กัปตันอนุบาล บริวารไร้ฝีมือ

พายุใหญ่เศรษฐกิจไทย กัปตันอนุบาล บริวารไร้ฝีมือ

7 ก.ค. 2568

ตายยกรัง? เจตนาเล็งเห็นผล บิดเบือนหลบเลี่ยงรัฐธรรมนูญ

ตายยกรัง? เจตนาเล็งเห็นผล บิดเบือนหลบเลี่ยงรัฐธรรมนูญ

4 ก.ค. 2568

เดือน ก.ค. อำนาจตุลาการพิทักษ์แผ่นดิน

เดือน ก.ค. อำนาจตุลาการพิทักษ์แผ่นดิน

3 ก.ค. 2568

อุ๊งอิ๊งค์ 2  ปรับ ครม. ฟอร์มาลีน

อุ๊งอิ๊งค์ 2 ปรับ ครม. ฟอร์มาลีน

2 ก.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved