อ้างอิงข้อมูลจริงเกี่ยวกับหนี้สาธารณะของไทยเมื่อเดือนกันยายน 2563 อยู่ที่ระดับร้อยละ 49.53ของ GDP ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดว่าประเทศไทยมีกรอบหนี้สาธารณะไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP
หลายคนคงทราบแล้วว่าหนี้สาธารณะเกิดจากการกู้ยืมของรัฐบาล โดยรัฐบาลจะกู้หนี้ได้ก็ต่อเมื่อต้องการรักษาสภาพคล่องภายในประเทศอันเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจถดถอย หรือในกรณีที่รัฐบาลมีโครงการอภิมหายักษ์ใหญ่ (mega projects) แต่สำหรับในยุคปัจจุบันนี้หนี้สาธารณะของประเทศไทยเกิดขึ้นเนื่องจากปัจจัยสำคัญอีกประการ คือ วิกฤติโควิด-19 โดยยังไม่นับรวมหนี้สาธารณะอันเกิดจากการกู้ยืมเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ การกู้เงินเพื่อสนับสนุนการลงทุนด้านโครงสร้างของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ
ประเด็นต่อมาที่ประชาชนต้องรับทราบคือ หนี้สาธารณะมีผลต่อระดับเงินเฟ้อ เพราะอำนาจซื้อของประชาชนลดลง และเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายที่ประชาชนต้องจ่ายให้กับบริการสินค้าสาธารณะ
ขอย้ำว่าหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และเป็นเรื่องอันตรายอย่างยิ่งต่อประเทศกำลังพัฒนา ยกตัวอย่างเช่น หากหนี้สาธารณะเพิ่มสูงเกินร้อยละ 60 ของ GDP และจะทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยเฉลี่ยค่าเงินเฟ้อจะเพิ่มจากอัตรา ร้อยละ 40-60 กลายเป็นร้อยละ 105-119 หรือเพิ่มขึ้นถึงสองเท่า
เมื่อหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นจะส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ คือความสามารถในการชำระหนี้ลดลง และจะส่งผลต่อความมั่นใจของนักลงทุนต่างประเทศรวมถึงนักลงทุนในประเทศด้วย และประเด็นต่อมาคือทำให้สูญเสียอำนาจต่อรองทางการค้าและการลงทุนในประเทศ และอาจจะทำให้นักลงทุนยุติการลงทุนในประเทศ หรือถอนการลงทุนจากประเทศในที่สุด
ขอย้ำว่าประเทศไทยยังมีสถานะเป็นประเทศกำลังพัฒนา และมีความอ่อนไหวทางเศรษฐกิจในระดับสูง และขอย้ำอีกทีว่าประเทศกำลังพัฒนาจะประสบปัญหามากที่สุดกับหนี้สาธารณะที่เพิ่มมากขึ้น
อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) ที่ระบุว่าจนถึงช่วงสิ้นปีงบประมาณ 2563 (30 กันยายน 2563) ประเทศไทยมีหนี้สาธารณะคงค้างอยู่ที่ 7,848,155.88 ล้านบาท หรือ 49.35%ของ GDP ส่วนใหญ่เป็นหนี้รัฐบาล 6,734,881.76 ล้านบาท และหนี้รัฐวิสาหกิจ 795,980.29 ล้านบาทหนี้รัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจในภาคการเงิน 309,472.36ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐอื่นๆ อีก7,821.47 ล้านบาท สำหรับหนี้รัฐบาล 6,734,881.76ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง วงเงิน 5,991,843.55 ล้านบาท และหนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินอีก 743,038.21 ล้านบาทซึ่งพบว่าหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงก้อนใหญ่ที่สุด คือเงินกู้ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ และการบริหารหนี้ 4,915,543.32 ล้านบาท รองลงมาคือ เงินกู้เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ 355,472 ล้านบาท และเงินกู้ภายใต้ พระราชกำหนดฯ COVID-19 จำนวน 335,726.05 ล้านบาท
ต้องขออภัยคุณผู้อ่านด้วยที่วันนี้นำเสนอตัวเลขมากมายก่ายกองจนอาจทำให้คุณๆ ที่ไม่สนใจเรื่องนี้ปวดศีรษะ แต่ก็ต้องขอย้ำเหมือนเดิมว่า ประเทศไทยของเรามีหนี้สาธารณะจำนวนมิใช่น้อย และน่าจะมีการก่อหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคตอันใกล้นี้ดังนั้นจึงขอย้ำสั้นๆ เพียงว่า หนี้สาธารณะคือหนี้ที่ประชาชนทุกคนต้องร่วมกันรับผิดชอบโดยไม่สามารถปฏิเสธได้ เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่คิดว่าอยากจะได้เงินจากรัฐบาล เพราะคิดว่าเป็นเงินที่ได้มาฟรีๆ จึงเป็นความคิดที่ผิดมหันต์ เพราะมูลหนี้สาธารณะทั้งหมดที่เกิดขึ้นคือสิ่งที่ประชาชนทุกคนต้องร่วมกันรับผิดชอบโดยไม่มีทางหลีกเลี่ยง ดังนั้น หากเราต้องการช่วยประเทศของเรา เราก็ต้องช่วยกันลดหนี้สาธารณะ
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี