วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / เส้นใต้บรรทัด
เส้นใต้บรรทัด

เส้นใต้บรรทัด

จิตกร บุษบา
วันพุธ ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564, 02.00 น.
ตรวจการบ้าน‘รัฐบาลประยุทธ์’กับมาตรการหยุดไวรัส (ระลอกสอง)

ดูทั้งหมด

  •  

แม้ว่า “คุณหมอทวีศิลป์ วิษณุโยธิน” ในฐานะโฆษกของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) จะพยายามให้คนไทยเข้าใจว่าจำนวนการติดเชื้อไวรัสโควิดที่เพิ่มขึ้นเมื่อปลายปี 2563 ต่อเนื่องมาถึงต้นปี 2564 จนรัฐบาลต้องออกมาตรการในการควบคุมพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศไทย รวมไปถึงการเยียวยาผลกระทบด้านเศรษฐกิจแก่ประชาชนอีกรอบนั้น เป็นการระบาดระลอกใหม่ แต่ตามความเข้าใจของสังคม ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เป็นการระบาดระลอกสอง ที่มีความต่อเนื่องมาจากการระบาดระลอกแรกในช่วงต้นปี 2563 ที่ผ่านมา ดังนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ย่อมมีความชัดเจนว่า รัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีประสบการณ์ต่อการบริหารจัดการการแพร่ระบาดของโควิด-19 มาเกือบปีนี่จึงเป็นบรรทัดฐานที่สำคัญต่อการบริหารจัดการในการแพร่ระบาดที่เพิ่งเกิดขึ้นนี้ ว่ามีพัฒนาการขึ้น หรือถดถอยลง ต่อยอดไปถึงการประเมินผลงานในฐานะผู้นำประเทศของนายกรัฐมนตรี ที่จะสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้กับประชาชนคนไทยต่อไปในอนาคตได้หรือไม่ เชิญตัดสินใจได้จากข้อมูลดังต่อไปนี้

มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19


ในระลอกแรกนั้น ทาง ศบค. ได้ให้ความสำคัญต่อการหยุดตัวเลขการติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันเอาไว้ที่เลข 0 แต่ก็เริ่มต้นด้วยมาตรการที่หย่อนยานในการสร้างการเว้นระยะห่างทางสังคมต่อผู้คน และวางใจต่อการเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวเข้ามา จนเมื่อการติดเชื้อเริ่มเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างน่าตกใจ และมีการเสียชีวิตเกิดขึ้น ด้วยความกังวลว่าสถานพยาบาลในพื้นที่ต่างๆ จะรองรับจำนวนผู้ติดเชื้อไม่เพียงพอ และการรักษาก็ยังหาหนทางที่มีประสิทธิภาพในการระงับยับยั้งอันตรายจากเชื้อไวรัสตัวนี้ไม่ได้ ในเวลาต่อมาจึงขยับมาตรการมาเป็นแบบเข้มข้นในทันที โดยที่ไม่ได้มีการเตรียมพร้อมสำหรับความแตกตื่นของประชาชน และผลกระทบที่จะตามมาทางด้านเศรษฐกิจ

การวางใจในช่วงต้น และความเข้มข้นที่สั่งการให้ปฏิบัติตามในทันทีของรัฐบาลนี่เอง ที่สร้างความตกอกตกใจและเสียหายแก่ภาคธุรกิจเป็นอย่างมาก ในส่วนภาคประชาชนนอกจากความไม่พอใจด้านความเป็นอยู่ที่ต้องถูกจำกัดพื้นที่แล้ว ยังมีความกังวลใจในเรื่องของปากท้องตามมา เนื่องจากว่า ในช่วงเวลานั้นมาตรการในเรื่องของการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบกว่าจะคลอดออกมาได้ก็ใช้เวลาอยู่นานแสนนาน อีกทั้งก็เหมือนจะมีปัญหาอยู่สม่ำเสมอในวิธีการ และความพร้อมของหน่วยงานของรัฐในการบริการประชาชนที่เดือดร้อน

แต่เมื่อระลอกสองเกิดขึ้น อาจเพราะมีความพร้อมด้านสาธารณสุขอย่างเต็มที่ มีความมั่นใจในด้านการระงับยับยั้งความป่วยไข้ที่มาจากไวรัสโควิดของบุคลากรทางการแพทย์ ตรงนี้เองที่ทำให้การปฏิบัติการในการหยุดยั้งการแพร่ระบาดในหมู่ประชาชนได้รับความไว้วางใจมากขึ้น ที่สำคัญ ด้วยรูปแบบการสร้างความเข้าใจของ ศบค. ต่อประชาชน ในเรื่องจำนวนการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น ว่าสามารถมีได้ ไม่ต้องกังวล เพราะทีมสาธารณสุขสามารถรับมือได้ทัน และการติดเชื้อที่มีอัตราสูงย่อมหมายถึงการตรวจหาที่มีประสิทธิภาพ นี่เองที่ทำให้ความกังวลของผู้คนลดน้อยลงจากการระบาดในระลอกแรก ส่วนความไม่พอใจในการถูกจำกัดพื้นที่ก็มีไม่มากนัก เพราะ ศบค. เลือกที่จะทำแบบไม่เข้มข้น หลังจากในระลอกแรกได้สอนให้ทางรัฐบาลได้ทราบแล้วว่า ความเข้มข้นของมาตรการควบคุมพื้นที่นั้น มีราคาที่ต้องจ่ายมหาศาลแค่ไหน และทำลายเศรษฐกิจไปแล้วเป็นมูลค่าเท่าไหร่ แต่ที่น่าหนักใจแทนรัฐบาลก็คือ ปัญหาที่ซุกเอาไว้ใต้พรมถูกรื้อออกมาอย่างมีอารมณ์ เมื่อต้นเหตุของการระบาดระลอกปัจจุบันนี้มีที่มาจากขบวนการพาแรงงานข้ามแดนแบบผิดกฎหมาย และการเปิดบ่อนลักลอบเล่นพนันอย่างโจ่งแจ้ง ซึ่งทั้งสองประเด็นนี้คือความรับผิดชอบของรัฐบาลที่ไม่อาจปฏิเสธได้ จึงนำมาซึ่งคำถามต่อนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ว่าจะเอาอย่างไรต่อบุคคลที่มีความเชื่อมโยงต่อเรื่องผิดกฎหมายเหล่านี้ ซึ่งคำตอบที่ได้ก็คือ การตั้งคณะกรรมการเพื่อหาแนวทางจัดการกับปัญหาเหล่านี้อีกครั้ง เฮ่อ!

มาตรการสำหรับการเยียวยาและช่วยเหลือประชาชน

ในระลอกแรกนั้น รัฐบาลเยียวยาประชาชนด้วยเงิน 5 พันบาท 3 เดือน ด้วยการลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ “เราไม่ทิ้งกัน.com” พร้อมกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่สามารถรับความช่วยเหลือ ซึ่งต้องยอมรับว่ามีปัญหามาก ตั้งแต่การเข้าไม่ถึงเทคโนโลยีของคนบางกลุ่ม การเข้าไม่ถึงสิทธิของประชาชนที่เดือดร้อน อาทิ คนขายของออนไลน์ พนักงานโรงแรม แรงงานตามมาตรา 33 นักดนตรี ฯลฯ และกระบวนการอันซับซ้อนสิ้นเปลืองงบประมาณ เวลา และทรัพยากรบุคคล

นอกจากนั้น ทางรัฐบาลได้กู้เงิน 1.9 ล้านล้านบาทเพื่อนำมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจในด้านต่างๆ อาทิ 5 แสนล้านเพื่อเป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับธุรกิจ SME4 แสนล้านสำหรับกองทุนพยุงหุ้นกู้ที่มีภาระการชำระคืนที่หนักเกินสภาพคล่องของบริษัท และอีก 4 แสนล้านสำหรับโครงการของรัฐในการสร้างงาน และพัฒนาศักยภาพของเศรษฐกิจฐานราก รวมไปถึงการสนับสนุนการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในภาคการเกษตร (อีกเกือบ 6 แสนกว่าล้านเป็นค่าเยียวยา) อีกทั้งการปรับลดอัตราภาษี ช่วยค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ลดหรืองดดอกเบี้ย ออกสินเชื่อพิเศษ ฯลฯ แต่เมื่อเวลาผ่านไปปรากฏว่า มาตรการเหล่านี้ช่วยได้แต่ธุรกิจขนาดใหญ่ ส่วน SME ขนาดเล็กและคนทั่วไปเข้าไม่ถึงอานิสงส์เหล่านี้ และแม้มีการเรียกร้องไปยังรัฐบาลเพื่อทำการแก้ไขให้สิทธิต่างๆ ที่ออกมาสามารถส่งถึงมือประชาชนและภาคธุรกิจได้โดยง่าย และเพียงพอต่อการอยู่รอด แต่ผ่านไปเกือบปียังไม่มีการขยับเขยื้อนในเรื่องนี้จากทางรัฐบาล

สำหรับระลอกสองนี้ รัฐบาลแจกเงินอีกครั้ง ด้วยเงื่อนไข และจำนวนที่แตกต่าง กล่าวคือ 7 พันบาทเป็นเลขที่ออกของรอบนี้ จ่ายเป็นงวดๆ ในช่วงเวลา 2 เดือน และกำหนดให้ใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชั่นทางโทรศัพท์มือถือเท่านั้น ไม่สามารถเอาออกมาใช้เป็นเงินสดได้ แน่นอนว่า เสียงบ่นเกี่ยวกับเรื่องนี้มากันขรม
แต่ถ้ามองให้ลึกซึ้งก็นับว่าเป็นความชาญฉลาดของรัฐบาลที่ดัดแปลงข้อดีของ “โครงการคนละครึ่ง” ที่ได้รับการตอบรับที่ล้นหลามมาใช้ ด้วยการบังคับการใช้จ่ายให้ไปยังเป้าหมายที่เป็นฐานของการหมุนเวียนเงินในระบบ เพื่อให้เงินที่ทางภาครัฐนำมาแจกจ่ายประชาชนเป็นงวดๆ รอบนี้ไหลไปยังช่องทางเศรษฐกิจที่ต้องการอย่างแท้จริง ส่วนหนึ่งจะคืนกลับทางภาครัฐเป็นภาษี อีกส่วนหนึ่งจะกลายเป็นการต่อทุนกิจการร้านค้า และอีกส่วนจะถูกแปลงเป็นข้าวปลาอาหารและของใช้ที่จำเป็น ที่สำคัญ ในเรื่องของการเข้าถึงสิทธินั้น ถ้าตัดในเรื่องของกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีที่ทางกระทรวงการคลังพยายามหาทางออกให้อยู่นั้น ต้องบอกว่า การใช้ฐานข้อมูลของประชาชนที่เข้าร่วมกับมาตรการของรัฐก่อนหน้านี้มาเป็นช่องทางในการส่งเงินถือว่าเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม แต่ก็ยังมีปัญหาในเรื่องของคุณสมบัติที่กำหนดเอาไว้อย่างไม่ครอบคลุมกลุ่มที่มีความเดือดร้อนได้ครบถ้วนทั้งหมด (แต่ก็ถือว่าใกล้เคียง)

ส่วนเรื่องมาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจ ก็หวังว่าจะได้แก้ไขการเข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำในวงเงิน 5 แสนล้าน ที่ถูกนำไปใช้ไม่ถึงครึ่งได้เสียที หลังจากที่ทาง กมธ.ตรวจเงินกู้โควิด ได้ส่งเรื่องนี้ไปถึงมือนายกฯ เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมี 4 แสนล้านที่ใช้ไปเพียงน้อยนิด รวมไปถึงงบประมาณปี’63 และ’64 ที่หน่วยงานรัฐควรต้องเร่งการใช้จ่ายตามกรอบนโยบายที่วางแผนเอาไว้ได้เสียที ข้อเสียเรื่องความเชื่องช้าและทำงานแบบเช้าชามเย็นชามของการเป็น“รัฐราชการ” เช่นนี้ ย่อมไม่เป็นผลดีต่อคะแนนนิยมรัฐบาลอย่างแน่นอน

และทั้งหมดก็คือ การตรวจการบ้าน “รัฐบาลลุงตู่” กับระลอกสองของโควิด ที่ต้องยอมรับว่า ทำงานได้ดีกว่าในปีที่ผ่านมา แต่อนาคตข้างหน้าก็อย่าชะล่าใจ เพราะโควิด-19 กับคนไทย เชื่อว่าจะยังคงต้องอยู่กันไปอีกนาน

อรรฆพันธ์ อภิรักษ์พงศ์

(แทน จิตกร บุษบา)

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
11:28 น. จับSexCreatorหนุ่มลาวเปิดกลุุ่มลับ-อนาจารเด็ก
11:15 น. วิจารณ์แซ่ด!‘สองหมอใหญ่โยงคดีชั้น 14 จ่อได้เลื่อนขั้น
11:11 น. 'นฤมล'สั่งสอบข้อเท็จจริง'ครูกาญจนบุรี'ร้องขอความเป็นธรรม หลัง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด
11:07 น. 'ราชัน'มาตามนัด!ได้4ทีมสุดท้ายสโมสรโลก
11:05 น. 'ธนกร'ห่วงต่อรองภาษีทรัมป์จี้รบ.เตรียมแผนสำรอง
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
บิ๊กเนม'ปชป.'ร่วมวงเพียบ!! 'คุณหญิงกัลยา'ตั้ง'พรรคไทยก้าวใหม่' พร้อมตั้ง'สุชัชวีร์'นั่งหัวหน้าฯ
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
ดูทั้งหมด
ต้องเลือกตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือ
บุคคลแนวหน้า : 6 กรกฎาคม 2568
ชีวิตประจำวันของผม-การทำงาน
หน้าต้องทนสูงมาก จึงทำแบบนี้ได้
วิวาทะ ว่าด้วย‘อภิปรายไม่ไว้วางใจ’
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

จับSexCreatorหนุ่มลาวเปิดกลุุ่มลับ-อนาจารเด็ก

'ราชัน'มาตามนัด!ได้4ทีมสุดท้ายสโมสรโลก

'ธนกร'ห่วงต่อรองภาษีทรัมป์จี้รบ.เตรียมแผนสำรอง

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันอาทิตย์ 6 กรกฏาคม 2568

พบศพ! 'อดีตปลัดอำเภอ'อืดคาเก๋ง ชาวบ้านเห็นจอดรถแง้มประตูไว้3วัน

รบ.คิกออฟ ‘WebD’แพลตฟอร์ม AI สกัดเว็บผิดกฎหมาย กวาดล้างเพิ่มกว่า 70% ทำงานได้เร็วกว่าเจ้าหน้าที่ถึง 31.5 เท่า

  • Breaking News
  • จับSexCreatorหนุ่มลาวเปิดกลุุ่มลับ-อนาจารเด็ก จับSexCreatorหนุ่มลาวเปิดกลุุ่มลับ-อนาจารเด็ก
  • วิจารณ์แซ่ด!‘สองหมอใหญ่โยงคดีชั้น 14 จ่อได้เลื่อนขั้น วิจารณ์แซ่ด!‘สองหมอใหญ่โยงคดีชั้น 14 จ่อได้เลื่อนขั้น
  • \'นฤมล\'สั่งสอบข้อเท็จจริง\'ครูกาญจนบุรี\'ร้องขอความเป็นธรรม หลัง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด 'นฤมล'สั่งสอบข้อเท็จจริง'ครูกาญจนบุรี'ร้องขอความเป็นธรรม หลัง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด
  • \'ราชัน\'มาตามนัด!ได้4ทีมสุดท้ายสโมสรโลก 'ราชัน'มาตามนัด!ได้4ทีมสุดท้ายสโมสรโลก
  • \'ธนกร\'ห่วงต่อรองภาษีทรัมป์จี้รบ.เตรียมแผนสำรอง 'ธนกร'ห่วงต่อรองภาษีทรัมป์จี้รบ.เตรียมแผนสำรอง
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

วิวาทะ ว่าด้วย‘อภิปรายไม่ไว้วางใจ’

วิวาทะ ว่าด้วย‘อภิปรายไม่ไว้วางใจ’

6 ก.ค. 2568

พรรคส้ม...กับ ‘พรรคทักษิณ’

พรรคส้ม...กับ ‘พรรคทักษิณ’

2 ก.ค. 2568

ปฏิบัติการ ‘แก้ผ้าตัวเอง’ ของ ‘ฮุนเซน’

ปฏิบัติการ ‘แก้ผ้าตัวเอง’ ของ ‘ฮุนเซน’

29 มิ.ย. 2568

รอพิกุลทองร่วงจากปาก ‘พีระพันธุ์

รอพิกุลทองร่วงจากปาก ‘พีระพันธุ์

25 มิ.ย. 2568

‘พ่อ’ นายกฯ

‘พ่อ’ นายกฯ

22 มิ.ย. 2568

‘หนี้’ ที่ไทยต้องทวง ‘กัมพูชา’

‘หนี้’ ที่ไทยต้องทวง ‘กัมพูชา’

18 มิ.ย. 2568

ประตู ‘คุก’ ยังเปิดรอ...นะพ่อนะ

ประตู ‘คุก’ ยังเปิดรอ...นะพ่อนะ

15 มิ.ย. 2568

ไม่ขึ้นศาลโลก ไม่เสียดินแดน

ไม่ขึ้นศาลโลก ไม่เสียดินแดน

11 มิ.ย. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved