วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ทวนกระแสข่าว
ทวนกระแสข่าว

ทวนกระแสข่าว

สุทิน วรรณบวร
วันอังคาร ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2564, 02.00 น.
อินโดนีเซียชี้นำพม่า เหมือนสมัยชี้นำเขมร 3 ฝ่ายในสงครามกัมพูชา

ดูทั้งหมด

  •  

อินโดนีเซียถือว่าเป็นพี่ใหญ่ในกลุ่มประเทศอาเซียนเพราะเป็นประเทศมุสลิมใหญ่ที่สุดในโลกที่มีประชากรกว่า 270 ล้านคน จึงไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจที่อินโดนีเซียจะเป็นผู้ชี้นำหรือเป็นหัวหอกออกหน้าช่วยแก้วิกฤตแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศอาเซียน

แต่อินโดนีเซียกับสหรัฐอเมริกาก็ไม่สำเหนียกว่าบริบทสังคมการเมืองในอาเซียนเปลี่ยนไปไม่เหมือนครั้งสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชา เพราะความขัดแย้งในสหภาพพม่ามีที่มาแตกต่างกับสงครามกลางเมืองกัมพูชาโดยสิ้นเชิง


ในสงครามกลางเมืองกัมพูชา หลังจากที่เวียดนามส่งทหารกว่า 250,000 นาย มาช่วยฝ่าย “เฮง สัมริน”ขับไล่เขมรแดงออกจากพนมเปญ หนีเข้าป่ามาตั้งฐานที่มั่นอยู่ใกล้ชายแดนไทยในต้นทศวรรษ 2520 นายอาลี อาลาตัสรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียในขณะนั้นถือว่าเป็นหนึ่งในตัวจักรสำคัญที่ผลักดันให้มีกองกำลังเขมรสามฝ่ายขึ้นใกล้ชายแดนไทยในนามของกลุ่มประเทศอาเซียน

จุดมุ่งของการสนับสนุนเขมรสามฝ่ายในยุคนั้นคือต่อต้านขยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์เป็นสำคัญ ณ เวลานั้นประเทศไทยและอินโดนีเซียถือว่าเป็นประเทศที่ร่วมก่อตั้งประชาคมประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียนมาด้วยกันอันได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ได้ร่วมลงนามในเอกสารก่อตั้งอาเซียน ที่เรียกว่าปฏิญญากรุงเทพฯ

เนื่องจากอินโดนีเซียเป็นประเทศใหญ่และอยู่ไกลไปจากที่เกิดเหตุเลยได้รับเกียรติให้เป็นผู้ออกหน้าแก้ปัญหาสงครามกลางเมืองในกัมพูชา เพราะอาเซียนเชื่อว่าได้แก้ปัญหาภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ไปพร้อมๆ กันส่วนประเทศไทยจะเป็นหัวหอกออกหน้าไม่ได้เนื่องจากว่าไฟสงครามมันอยู่ใกล้ชิดติดกับชายแดนไทย บางคราวสงครามก็ล้ำเข้าในอธิปไตยของไทย ต้องต่อสู้ขับไล่ผลักดันออกไป เราเลยกลายเป็นคู่ขัดแย้ง (Conflict Party) โดยอัตโนมัติ โดยกติกาของสหประชาชาติคู่ขัดแย้งจะเป็นกรรมการหรือคณะผู้เจรจาไม่ได้ ไทยจึงให้อินโดนีเซียออกหน้า

ตั้งแต่นั้นมาอินโดนีเซียเลยถือเอาว่าตัวเองคือพี่ใหญ่ในอาเซียน มีข้อขัดแย้งขึ้นที่ไหนอินโดนีเซียต้องเข้าไปเป็นหัวหอกในการแก้ปัญหาเป็นผู้นำในการเจรจาเนื่องจากว่าสถานที่ตั้งของสำนักงานเลขาธิการอาเซียนตั้งอยู่ในกรุงจาการ์ตา

แม้แต่ตอนที่ประเทศไทยขัดแย้งกึ่งกับใช้กำลังตอบโต้กับกัมพูชาที่เขาพระวิหารในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตอนนั้นสหประชาชาติยังแต่งตั้งให้อินโดนีเซียเข้ามาเป็นผู้สังเกตการณ์ และนั่นเป็นที่มาให้อินโดนีเซียทึกทักเอาว่าตัวเองสำคัญกว่าใคร ถึงแม้ว่าบริบทสังคมเปลี่ยนไปอาเซียนเติบใหญ่ขึ้นมาจาก 5 ประเทศเป็น 10 ประเทศ คือกัมพูชา สปป.ลาวเวียดนาม พม่า ติมอร์ตะวันออก เพิ่มเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ในทศวรรษที่ 2530

ระบอบการปกครองในกลุ่มอาเซียนก็เปลี่ยนไปเป็นการปกครองหลากหลาย มีทั้งเสรีประชาธิปไตย ระบอบปกครองแบบคอมมิวนิสต์ แบบอำนาจนิยมพรรคเดียวและประชาธิปไตยหลายพรรค ถึงแม้ว่าบริบทของสังคมอาเซียนเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรอินโดนีเซียก็ยังคิดว่าตัวเองเป็นพี่ใหญ่ที่ชี้นำได้ทุกอย่าง

ในกรณีวิกฤตการเมืองในพม่าซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกประชาคมอาเซียน ที่สหประชาชาติและหลายประเทศ อาทิ จีนและรัสเซีย ได้มีมติมอบฉันทะให้อาเซียนแก้ปัญหา แต่ที่เกิดอุปสรรคล่าช้าอาจเป็นเพราะว่าอินโดนีเซียยังถือว่าตัวเป็นพี่ใหญ่จึงอยากให้ทุกประเทศทำตามที่อินโดนีเซียต้องการ

ในกรณีแต่งตั้งทูตอาเซียนและผู้แทนพิเศษจากอาเซียนเข้าไปช่วยเจรจาแก้ปัญหาวิกฤตพม่าตามฉันทามติ 5 ข้อที่ตกลงกันไว้ในกรุงจาการ์ตาเมื่อเมษายนที่ผ่านมา เกิดล่าช้าเพราะว่าอินโดนีเซียต้องการแต่งตั้งทูตอาเซียนประจำพม่าตามอำเภอใจ

นางเรตโน มาร์ซูดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย กับนายเอรีวัน ยูซอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศคนที่ 2 ของบรูไน เคยเดินทางไปพบกับพลเอกมิน อ่อง หล่าย ในกรุงเนปิดอว์ ประเทศสหภาพพม่า ในขณะที่พลเอกมิน อ่อง หล่ายยังดำรงตำแหน่งประธานคณะบริหารแห่งรัฐ หรือ SAC (State Admiration Council) เมื่อเดือนพ.ค. ที่ผ่านมา

ตอนนั้นนางมาร์ซูดี และ นายเอรีวันได้พบแต่ฝ่ายรัฐบาลทหารพม่า และพลเอกมิน อ่อง หล่าย ไดกล่าวว่า “พม่ายินดีต้อนรับคณะผู้แทนพิเศษจากอาเซียนและรับการช่วยเหลือถ้าอาเซียนแต่งตั้งนายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการต่างประเทศของไทยมาเป็นทูตอาเซียนประจำพม่า”

นางมาร์ซูดี มีทูตอาเซียนพม่าอยู่ในใจแล้วแต่ไม่พูดออกมาต่อหน้าพลเอกมิน อ่อง หล่าย ทำให้ฝ่ายพม่าเข้าใจมาตลอดว่านายวีระศักดิ์คือทูตอาเซียนประจำพม่า จนกระทั่งวันที่ 1 สิงหาคม 2564 ซึ่งครบรอบ 6 เดือน ทหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพรรคเอ็นแอลดี ของนางออง ซาน ซู จี

พลเอก มิน อ่อง หล่าย ซึ่งได้ยกระดับจากตำแหน่งจากประธานคณะผู้บริหารแห่งรัฐ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการสหภาพพม่าเปิดเผยในตอนหนึ่งของคำกล่าวสุนทรพจน์ว่า เขาต้องการให้นายวีระศักดิ์ฟูตระกูล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย เป็นทูตอาเซียนประจำเมียนมา.... แต่ “มีการเปิดเผยข้อเสนอใหม่และเราไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้”

จึงหมายความว่าพลเอกมิน อ่อง หล่ายไม่พอใจรับทูตอาเซียนคนใหม่ ที่รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียนางเรตโน มาร์ซูดีเสนอมา ซึ่งไม่ใช่นายวีระศักดิ์อดีต รมช.กต.ของไทย

เมื่อพลเอกมิน อ่อง หล่าย ซึ่งบัดนี้ยกระดับขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการและเอ่ยถึงทูตวีระศักดิ์ขึ้นมาว่า “อยากให้นายวีระศักดิ์เป็นทูตอาเซียนประจำพม่า” ทำให้สหรัฐอเมริกากับอินโดนีเซียเต้นเป็นเจ้าเข้าทรง ทำเนียบขาวออกแถลงการณ์ทันทีว่า

“ไม่ยอมรับรัฐบาลรักษาการทหารพม่า และไม่เชื่อว่าทหารพม่าจะจัดการเลือกตั้งได้ในสองปีข้างหน้า พร้อมทั้งเรียกร้องให้อาเซียนรีบปฏิบัติตามฉันทามติ 5 ข้อ เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจรจาให้ปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จี จากที่คุมขังและฟื้นฟูรัฐบาลที่ผ่านเลือกตั้ง 8 พ.ย.2563 ขึ้นมาใหม่”

ฝ่ายนางมาร์ซูดี รมต.กต. ของอินโดนีเซียก็เดือดเนื้อร้อนใจไม่ต่างกับสหรัฐอเมริกา เมื่อได้ยินว่าพลเอกมิน อ่อง หล่ายอยากได้ทูตอาเซียนประจำพม่าชื่อวีระศักดิ์ซึ่งเป็นคนไทย นางร้อนใจถึงกับโทรศัพท์มาขอร้องให้ไทยถอนตัว ในเมื่อมีคนกล้าขอไทยก็ยอมถอนตัวให้   

รมต.ต่างประเทศอาเซียนก็ประชุมฉุกเฉินขึ้นมาเมื่อวันจันทร์ที่ 2 ส.ค.ที่ประชุมได้ข้อสรุปว่าเลือกนายเอรีวัน ยูซอฟ เป็นทูตอาเซียนประจำพม่า แต่ยังออกแถลงการณ์ไม่ได้เพราะพม่ายังไม่ยอมรับ สำนักข่าวเอพีอ้างแหล่งข่าววงการทูตที่ไม่เปิดนามว่า ผู้แทนจากอาเซียนไปเจรจาข่มขู่อ้อนวอนพลเอกมินอ่อง หล่าย ถึงสองครั้งสองคราสุดท้ายพลเอกมินอ่อง หล่าย ก็จำใจรับทูตอาเซียนที่อินโดนีเซียผลักดันแต่งตั้งให้

อาเซียนถึงได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันพุธที่ 4 ส.ค. มีใจความสำคัญว่า..“..ภารกิจสำคัญของนายเอรีวัน ในฐานะทูตอาเซียนประจำพม่าคือ ยุติความรุนแรงในประเทศพม่า เปิดการเจรจาระหว่างรัฐบาลทหารพม่ากับคู่ขัดแย้งและฝ่ายต่อต้านทุกฝ่าย...สร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจ ให้เข้าถึงทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้นเขาต้องดูและด้านสิทธิมนุษยชน และสิ่งของที่ได้รับการช่วยจากอาเซียน..”

นางมาร์ซูดี ออกแถลงการณ์แยกเป็นส่วนตัวว่า “ทูต เอรีวัน จะเริ่มงานในเร็ววัน และต้องเข้าถึงทุกฝ่ายอย่างครบถ้วนในพม่าเข้าถึงแกนนำกลุ่มต่อต้านทุกคนในหลายฝ่ายรวมทั้งนางออง ซาน ซู จี ที่ถูกไล่ออกและถูกคุมขังอยู่เวลานี้”

ดร.วิเวียน บาลาคริชนัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์เขียนในเฟซบุ๊คส่วนตัวว่า.. “การแต่งตั้งนายเอรีวัน (เป็นทูตอาเซียนประจำพม่า) เป็นขั้นตอนแรกที่ยากลำบาก สำหรับอาเซียนที่จะทำให้ลุล่วงตามฉันทามติ 5 ข้อ เมื่อเดือนเมษายน มาประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ ขอเรียกร้องรัฐบาลทหารพม่าให้ต้อนรับนายเอรีวัน เตรียมการต่างๆ ให้นายเอรีวันเปิดโอกาสให้เขาเข้าถึงผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ให้การเจรจาอย่างมีความหมายและหาทางให้ได้ข้อสรุปอย่างสันติวิธีและยั่งยืน..”

วิเคราะห์จากแถลงการณ์ของสหรัฐอเมริกาและของ นางมาร์ซูดี บอกได้ว่าอเมริกากับอินโดนีเซีย มองวิกฤตในพม่าแค่ปัญหาระหว่างทหารกับนางออง ซาน ซู จีเท่านั้น ส่วนแถลงของรัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์ดูเหมือนว่าจะเข้าใจถึงปัญหาซับซ้อนในสังคมและการเมืองในสหภาพพม่าเขาถึงเขียนบนเฟซบุ๊คว่า

“...การแต่งตั้งนายเอรีวัน (เป็นทูตอาเซียนประจำพม่า) เป็นขั้นตอนแรกที่ยากลำบาก สำหรับอาเซียนที่ทำให้ลุล่วงฉันทามติ5 ข้อเมื่อเดือนเมษายน มาประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ..” รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์ยังขอร้องให้รัฐบาลรักษาการทหารพม่าให้ช่วยเตรียมการจัดการให้นายเอรีวัน ได้พบปะเจรจากับคู่ขัดแย้งทุกฝ่ายเพื่อให้ได้ข้อสรุปอย่างสันติและยั่งยืน

สิงคโปร์จำเป็นต้องรู้สภาพความจริงและความเป็นมาของความซับซ้อนในวิกฤตพม่า เพราะว่าสิงคโปร์เป็นประเทศลงทุนรายใหญ่ที่สุดในพม่าเป็นมูลค่ากว่า 24,112 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนสหรัฐอเมริกาลงทุนในพม่าเพียง 547 ล้านดอลลาร์ ดังนั้นถ้าวิกฤตพม่าลุกลามไปถึงขั้นล่มสลายประเทศที่เสียหายมากกว่าใครคือสิงคโปร์ไม่ใช่อเมริกา

อินโดนีเซียกับอเมริกาจึงมองปัญหาในสหภาพพม่าแบบตาบอดคลำช้าง โดยไม่เข้าใจถึงบริบทที่แตกต่างของความขัดแย้งในตะวันออกกลางและสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชา กับในสหภาพพม่าว่าความซับซ้อนของปัญหาแตกต่างกันอย่างไร

อินโดนีเซียและอเมริกาไม่เข้าใจว่าความขัดแย้งในพม่าเกินจากปัญหาภายในไม่ใช่ความขัดแย้งทางลัทธิคอมมิวนิสต์กับทุนนิยมสามานย์เหมือนอดีตผ่านมาอินโดนีเซียกับอเมริกาไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งว่าทำไม พลเอกมิน อ่อง หล่าย ถึงอยากได้ทูตอาเซียนที่เป็นคนไทย

เพราะทั้งอินโดนีเซียและสหรัฐฯไม่รู้สายสนกลในว่าไทยกับพม่ามีชายแดนติดกันยาวกว่า 2,000 กม. ตั้งแต่ภาคเหนือสุดจนถึงภาคใต้ชายฝั่งทะเลอันดามัน ดังนั้นความสัมพันธ์ไทยกับพม่าจึงลึกซึ้งกันมาตั้งแต่ระดับประชาชน วัฒนธรรมประเพณี ตลอดถึงความมั่นคงซึ่งกันและกัน ฐานที่มั่นของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารพม่าหรือความเคลื่อนไหวของกองกำลังติดอาวุธกลุ่มชาติพันธุ์ที่ต่อต้านทหารพม่าอยู่ตรงไหนจุดไหน ทั้งหน่วยงานมั่นคงไทยและพม่ารู้พอๆ กัน

อินโดนีเซียกับสหรัฐอเมริกาเหมือนกับประชาคมโลกส่วนใหญ่ที่รับรู้ข่าวสารในพม่า จากโฆษณาชวนเชื่อจากปฏิบัติการข่าวของตะวันตก ซึ่งนำโดยอดีตทหารอเมริกัน ที่แปลงกายมาเป็นเอ็นจีโอเคลื่อนไหวอยู่ที่รัฐกะเหรี่ยง เป็นผู้ปั่นแสสงครามกลางเมืองในพม่าและสร้างภาพให้เห็นว่ากลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ใกล้ชายแดนไทยยังเป็นขุมกำลังที่ยิ่งใหญ่สามารถต่อกรกับกองทัพพม่าได้ ทั้งๆ ที่กองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านั้นล่มสลายไปแล้วตั้งแต่ปี 2545

แต่เอ็นจีโอ อเมริกันยังสมคบกับสื่อตะวันตกปั่นกระแสสร้างภาพให้กองกำลังชาติพันธุ์ที่ใกล้ชายแดนไทยไม่ว่าจะเป็นกะเหรี่ยง KNU มอญใหม่ คะยาหรือแม้แต่กองกำลังของฉานใต้RCSS/SSA ให้ดูยิ่งใหญ่ ทั้งๆ ที่กองกำลังเหล่านั้นมีไว้เพื่อสวนสนามโชว์ปีละครั้งเท่านั้น

ปฏิบัติการข่าวของเอ็นจีโอ อเมริกันกับสื่อตะวันตก ไม่เคยบอกความจริงกับประชาคมนานาชาติและสหรัฐอเมริกาว่ากองกำลังติดอาวุธของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ยิ่งใหญ่นั้นอยู่ทางภาคเหนือของพม่าใกล้ชายแดนจีน ไม่ว่าจะเป็น UWSA หรือUnited Wa State Army ของชาติพันธ์ุว้าว่ากันว่ามีกำลังติดอาวุธกว่า 30,000 นายหรือกองกำลังติดอาวุธ KachinIndependent Army=KIA ของชาติพันธุ์คะฉิ่น และกองกำลังติดอาวุธของฉานเหนือ หรือ Shan StatePeople Party /Shan State Army =SSPP/ SSA และกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ฉานและกลุ่มอื่นๆ ที่อยู่ทางภาคเหนือพม่า

กองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ใกล้ชายแดนจีน ล้วนแต่มีอิทธิพลอยู่เหนือพื้นที่มีทรัพยากรธรรมชาติมีค่ามากมายมหาศาล อาทิ หยก พลอย แร่หายากหรือ Rare earth และอื่นๆ ที่สำคัญกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับจีนและทหารพม่าเนื่องจากว่ามีผลประโยชน์ร่วมกัน

ในฐานะผู้สังเกตการณ์จึงกล้าฟันธงว่าทูตอาเซียนประจำพม่าซึ่งรับการแต่งตั้งโดยที่ผู้กุมอำนาจ รัฏฐาธิปัตย์ไม่เต็มใจ ไม่มีวันได้พบปะเจรจาปรองดองกับตัวแทนผู้ขัดแย้งจากทุกฝ่าย อย่างดีก็พบปะเจรจากับหน้าม้าที่เจ้าบ้านจัดให้แต่ไม่ใช่ตัวจริงเสียงจริง

จึงสรุปตามคำทำนายของ “เบอร์ธิล ลิเนอร์”

สุทิน วรรณบวร

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
14:27 น. 'คาโอ'เปิดตัว TEN แคมเปญแอมบาสเดอร์ฉลอง 60 ปีส่งต่อรอยยิ้มในงาน‘Kao X TEN susTENable Smiles’
14:11 น. 'ฮุน เซน'ขู่ตัดขาดไทย! จี้รัฐบาลกัมพูชาเลิกหนุนสินค้าทุกชนิด กร้าว'แม้ไม่มีจะกินก็อย่าพึ่งเขา'
13:51 น. จับหนุ่มหนีคดีพยายามฆ่าซุกตัวในซากเรือ
13:42 น. สุดโรแมนติก! 'โปรต้า'คุกเข่าขอ'ครูเบียร์'แต่งงานริมทะเล
13:39 น. วัดแทบแตก! ครอบครัวฝรั่งหัวใจพุทธ สร้างวัด-แจกไข่ไก่ชาวบ้าน
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
'ออสเตรเลีย'ออกคำเตือนพลเมืองมา'ไทย'หลังพบวัตถุต้องสงสัยหลายเมืองท่องเที่ยวภาคใต้
ดูทั้งหมด
ทิศทางของไทยคือความเป็นกลาง
‘หนีดีกว่า’อวสาน‘ตระกูลชิน’
สองพ่อลูกลุยกรรม
ไทยประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา
เดือน ก.ค. อำนาจตุลาการพิทักษ์แผ่นดิน
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'ฮุน เซน'ขู่ตัดขาดไทย! จี้รัฐบาลกัมพูชาเลิกหนุนสินค้าทุกชนิด กร้าว'แม้ไม่มีจะกินก็อย่าพึ่งเขา'

สุดโรแมนติก! 'โปรต้า'คุกเข่าขอ'ครูเบียร์'แต่งงานริมทะเล

วัดแทบแตก! ครอบครัวฝรั่งหัวใจพุทธ สร้างวัด-แจกไข่ไก่ชาวบ้าน

(คลิป) ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2 ชุดขาวในเงามืด!

สมศักดิ์ศรีสาวบุรีรัมย์! 'ลิซ่า ลลิษา'โชว์สกิลเทพตำส้มตำปลาร้า ดันอาหารไทยสู่สายตาชาวโลก

'ญี่ปุ่น'แผ่นดินไหวทะลุ1,000ครั้ง! แถลงการณ์ฉุกเฉินสั่งปชช.เตรียมพร้อมอพยพทุกเมื่อ

  • Breaking News
  • \'คาโอ\'เปิดตัว TEN แคมเปญแอมบาสเดอร์ฉลอง 60 ปีส่งต่อรอยยิ้มในงาน‘Kao X TEN susTENable Smiles’ 'คาโอ'เปิดตัว TEN แคมเปญแอมบาสเดอร์ฉลอง 60 ปีส่งต่อรอยยิ้มในงาน‘Kao X TEN susTENable Smiles’
  • \'ฮุน เซน\'ขู่ตัดขาดไทย! จี้รัฐบาลกัมพูชาเลิกหนุนสินค้าทุกชนิด กร้าว\'แม้ไม่มีจะกินก็อย่าพึ่งเขา\' 'ฮุน เซน'ขู่ตัดขาดไทย! จี้รัฐบาลกัมพูชาเลิกหนุนสินค้าทุกชนิด กร้าว'แม้ไม่มีจะกินก็อย่าพึ่งเขา'
  • จับหนุ่มหนีคดีพยายามฆ่าซุกตัวในซากเรือ จับหนุ่มหนีคดีพยายามฆ่าซุกตัวในซากเรือ
  • สุดโรแมนติก! \'โปรต้า\'คุกเข่าขอ\'ครูเบียร์\'แต่งงานริมทะเล สุดโรแมนติก! 'โปรต้า'คุกเข่าขอ'ครูเบียร์'แต่งงานริมทะเล
  • วัดแทบแตก! ครอบครัวฝรั่งหัวใจพุทธ สร้างวัด-แจกไข่ไก่ชาวบ้าน วัดแทบแตก! ครอบครัวฝรั่งหัวใจพุทธ สร้างวัด-แจกไข่ไก่ชาวบ้าน
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลแพทองธารปรับครม.ไม่ได้ เพราะคดีร้ายแรง

รัฐบาลแพทองธารปรับครม.ไม่ได้ เพราะคดีร้ายแรง

1 ก.ค. 2568

ความขัดแย้งอิสราเอล-อิหร่านกับไทย-กัมพูชาโศกนาฏกรรมที่แตกต่าง

ความขัดแย้งอิสราเอล-อิหร่านกับไทย-กัมพูชาโศกนาฏกรรมที่แตกต่าง

28 มิ.ย. 2568

ตรรกะวิบัติที่นักการเมืองไทยยกคนทรยศชาติเป็นวีรสตรีขี่ม้าขาว

ตรรกะวิบัติที่นักการเมืองไทยยกคนทรยศชาติเป็นวีรสตรีขี่ม้าขาว

27 มิ.ย. 2568

อิสราเอลถล่มสถานีทีวีบ่งชี้ว่ายิวกลัวสื่อกว่าปรมาณูแต่นี้ไปโลกไม่มีที่ปลอดภัย

อิสราเอลถล่มสถานีทีวีบ่งชี้ว่ายิวกลัวสื่อกว่าปรมาณูแต่นี้ไปโลกไม่มีที่ปลอดภัย

24 มิ.ย. 2568

ความขัดแย้งอิสราเอล-อิหร่าน นำความหายนะมาสู่พลเรือนและเศรษฐกิจโลก

ความขัดแย้งอิสราเอล-อิหร่าน นำความหายนะมาสู่พลเรือนและเศรษฐกิจโลก

21 มิ.ย. 2568

กลัวส้มเน่าเป็นการผิดพลาดทางยุทธศาสตร์ของ ขุนศึก 3 ป.

กลัวส้มเน่าเป็นการผิดพลาดทางยุทธศาสตร์ของ ขุนศึก 3 ป.

20 มิ.ย. 2568

นักวิชาการและพนักงานบ่อนแนะนำให้ ‘สร้างความเจ็บปวดก่อนเจรจา’

นักวิชาการและพนักงานบ่อนแนะนำให้ ‘สร้างความเจ็บปวดก่อนเจรจา’

17 มิ.ย. 2568

สงครามน้ำเงิน-แดง จบแบบเจ๊ากันไป เมื่อทั้ง 2 ฝ่ายฆ่าตัวตายทางการเมือง

สงครามน้ำเงิน-แดง จบแบบเจ๊ากันไป เมื่อทั้ง 2 ฝ่ายฆ่าตัวตายทางการเมือง

14 มิ.ย. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved