วันเสาร์ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ต่อต้านคอร์รัปชัน
ต่อต้านคอร์รัปชัน

ต่อต้านคอร์รัปชัน

ต่อตระกูล-ต่อภัสสร์
วันพุธ ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2565, 02.00 น.
วิจัยพบถ้าตำรวจโกง ต่อต้านคอร์รัปชันพังเลย

ดูทั้งหมด

  •  

เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปร่วมงานประชุมทางวิชาการ Cambridge International Symposium on Economic Crime ครั้งที่ 39 ที่มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง พฤติกรรมของอาญากรต่อการเพิ่มการลงโทษหรือเพิ่มการตรวจจับ : เมื่อมีการคอร์รัปชันในการบังคับใช้กฎหมาย ที่ผมเขียนร่วมกับ ผศ.ดร.ธานี ชัยวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและการทดลอง จุฬาฯ ปรากฏว่าได้รับความสนใจและการตอบรับดีมากจากนักวิชาการและนักต่อต้านคอร์รัปชันทั่วโลกจนผมได้รับเชิญไปรับประทานอาหารค่ำต่อกับผู้จัดงาน เพื่อพูดคุยรายละเอียดของงานวิจัยนี้ ในบทความนี้ผมจึงอยากนำผลสรุปจากงานวิจัยดังกล่าวมาเขียนให้ทุกท่านได้อ่านกันครับ

งานนี้เริ่มจากคำถามง่ายๆ เลยว่า อาชญากรหรือคนโกงกลัวอะไรมากกว่ากัน การเพิ่มบทลงโทษ หรือ การเพิ่มโอกาสการตรวจจับถ้าคิดเร็วๆ การเพิ่มบทลงโทษให้รุนแรงก็น่าจะทำให้คนขี้โกงทั้งหลายกลัวไม่กล้าโกงได้ ดูได้จากคำตอบแบบสอบถามทั่วไปที่ถามว่าคุณคิดว่าจะแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันอย่างไร คำตอบยอดฮิตอันดับแรกๆ ก็คือการเพิ่มบทลงโทษ จำคุกตลอดชีวิต หรือ ไม่ก็ประหารชีวิตไปเลยเสียด้วยซ้ำ


อย่างไรก็ตาม ถ้าคิดดีๆ ต่อให้เพิ่มบทลงโทษแรงแค่ไหน ถ้าตรวจจับไม่ได้ อาชญากรและคนโกงทั้งหลายก็รอดกันหมดอยู่ดี ดังนั้นเราก็ควรจะให้ความสำคัญกับการตรวจจับให้มากขึ้น นี่จึงเป็นสาเหตุให้หลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย ก่อตั้งหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจสอบการทุจริตโดยตรงหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็น ป.ป.ช. หรือ ป.ป.ท. แต่ก็ดูเหมือนยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเพราะการตรวจจับมันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น กว่าจะรวบรวมพยานหลักฐาน ซึ่งก็หายากมาก เพราะการคอร์รัปชันก็ทำกันอย่างลับๆ อยู่แล้ว กว่าจะหาความเชื่อมโยง สรุปสำนวนคดีออกมาได้ บางคดีใช้เวลาเป็นสิบปีเลยทีเดียว ก็เลยไม่แปลกใจที่หลายคนมีความเห็นว่า เราเพิ่มบทลงโทษให้รุนแรงมากๆ เลยเพื่อขู่ น่าจะง่ายและถูกกว่าเยอะ

เมื่อทั้งสองแนวทางมีข้อดีและข้อด้อยในเชิงทฤษฎี ที่ดูจะหาบทสรุปทางเลือกที่ดีที่สุดไม่ได้เช่นนี้ จึงจำเป็นต้องใช้แนวคิดเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและการทดลองมาหาคำตอบ เพราะด้วยวิธีนี้เราจะได้ทดสอบให้เห็นกันไปชัดๆ ได้เลยว่า การเปลี่ยนแปลงปัจจัยอะไร ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการก่ออาชญากรรมหรือการคอร์รัปชันอย่างไร โดยผมได้สรุปกระบวนการทดลองอย่างย่อตามนี้ครับ

เราใช้การเล่นเกมตลาดค้ายาเสพติด (ปลอม เพราะถ้าจริงผู้วิจัยอาจติดคุกก่อน!) ที่ออกแบบโดย Professor Gwendolyn Tedeschi โดยแบ่งกลุ่มผู้ร่วมการทดลองเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ ผู้ขายยาเสพติด และ ผู้ซื้อยาเสพติด ในรายละเอียดเราแบ่งผู้ร่วมทดลองทั้งสองกลุ่มนี้เป็นกลุ่มย่อยๆ ลงไปอีก เช่น ในกลุ่มติดยาก็จะแบ่งเป็น กลุ่มติดยา ที่ยินดีจะจ่ายค่ายาเสพติดแพงกว่ากลุ่มอื่น เพราะมีความต้องการสูงมาก กลุ่มทั่วไป และกลุ่มคนลังเล ซึ่งจะมีราคาที่ยอมจ่ายลดหลั่นกันลงมาเรื่อยๆ เช่นเดียวกับกลุ่มผู้ขาย ที่แบ่งเป็นกลุ่มขายราคาแพง และราคาถูก จากนั้นเราแจกเงิน (ปลอม แต่ตอนจบสามารถไปแลกเป็นเงินจริงได้ เพื่อให้การตัดสินใจเหมือนจริงมากที่สุด) ให้ผู้ซื้อ ไปเจรจากับผู้ขายอย่างเสรีเลย

ผลการเล่นเกมนี้ออกมาตามคาดการณ์ คือ ก็มีความพยายามเจรจากันระหว่างผู้ซื้อผู้ขายเป็นคู่บ้าง เป็นกลุ่มเล็กบ้าง กลุ่มใหญ่บ้าง คนที่ยอมจ่ายมากก็ได้ยาเสพติดไปก่อน ไล่ลงมาเรื่อยๆ ถึงกลุ่มกลางๆ ก็ยังพอได้บ้าง จนถึงจุดที่ตกลงกันไม่ได้แล้วผู้ซื้อไม่ยอมจ่ายแพงขนาดนั้นและผู้ขายไม่ยอมลดราคาลงมามากกว่านี้อีกแล้ว ก็ถือเป็นอันสิ้นสุดเกมแรก เราเล่นเกมนี้กับผู้เข้าร่วมหลายกลุ่มเพื่อให้ได้ผลที่เชื่อถือได้ทางสถิติ เราพบว่าจากผู้ซื้อผู้ขายกลุ่มละ 30 คน (รวมมีคนเล่นเกมละ 60 คน) สามารถจับกลุ่มซื้อขายกันได้เฉลี่ย 17.65 ครั้งต่อเกม และมีราคาสินค้าเฉลี่ยชิ้นละ 32.03 หน่วย (สมมุติเป็นบาทก็ได้ครับ)

ทีนี้เราลองเล่นอีกที โดยคราวนี้บอกทุกคนว่า ต่อไปจะมีตำรวจแล้วนะ แล้วเราก็สุ่ม ให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ปลอมตัวเป็นตำรวจจำนวน 8 คน ถ้าใครโชคไม่ดี ไปตกลงซื้อขายยาเสพติดกับตำรวจปลอมตัวมา ก็จะถูกจับและปรับเงิน (ปลอม) ที่ได้รับมาตอนแรกผลก็เป็นไปตามที่คาดครับ จำนวนครั้งที่มีการเจรจาตกลงซื้อขายกันได้จริงลดลงเหลือเพียง 4.26 ครั้ง และราคาสินค้าก็เพิ่มไปเป็น 36.91 หน่วยเลยทีเดียว จะเห็นได้ว่า การมีตำรวจในสังคม ช่วยแก้ปัญหาอาชญากรรมได้จริง

ทีนี้มาถึงคำถามสำคัญคือ เพิ่มการตรวจจับ (จำนวนตำรวจ) หรือ บทลงโทษ (ค่าปรับ) แบบไหนส่งผลให้คนตกลงซื้อขายยาเสพติด (ก่ออาชญากรรม) น้อยลงมากกว่ากัน เราก็ใช้วิธีค่อยๆ เพิ่มจำนวนตำรวจเข้าไปทีละ 2 คน ตั้งแต่ 2, 4, 6, และ 8 ตามลำดับ โดยคงค่าปรับให้เท่าเดิม ในขณะที่อีกห้องหนึ่งเราเล่นเกมอีกแบบโดยเพิ่มค่าปรับในสัดส่วนเดียวกันการเพิ่มตำรวจคือ 25%, 50%, 75%, และ 100% ของราคาที่ตกลงซื้อขายตามลำดับ เราเล่นกันอยู่หลายครั้งเช่นกันจนได้ผลที่มากพอตามหลักสถิติ และผลที่ได้ออกมานี้ก็น่าสนใจมากๆ ครับ

ในกรณีที่เราเพิ่มจำนวนตำรวจ (การตรวจจับ) ปรากฏว่าการเพิ่มตำรวจเข้าไปแม้จะน้อยที่สุดคือแค่ 2 คน สามารถลดการเจรจาค้ายาเสพติด (ก่ออาชญากรรม) ได้อย่างมากในทันที คือลดจาก 17.65 ครั้ง เหลือเพียง 5.75 ครั้งเลยทีเดียว หลังจากนั้นการเพิ่มจำนวนตำรวจเป็น 4, 6, และ 8 คน ก็ยังช่วยลดอาชญากรรมได้อีกนิดหน่อย แต่ไม่มากเท่าครั้งแรก ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งที่เราใช้วิธีเพิ่มค่าปรับ ส่งผลให้จำนวนการซื้อขายลดลงแบบค่อยเป็นค่อยไปเรื่อยๆ เท่าๆ กันตั้งแต่ค่าปรับ 25% 50% 75% และ 100% ไม่มีผลลดฮวบฮาบเหมือนตอนเพิ่มตำรวจ ผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่า การเพิ่มโอกาสการตรวจจับมีผลกระทบต่อการลดอาชญากรรมอย่างมากตั้งแต่แรก ดังนั้นสรุปได้ว่า ถ้าเราต้องเลือกระหว่างการเพิ่มโอกาสการตรวจจับ กับ การเพิ่มค่าปรับ ให้เลือกเพิ่มโอกาสการตรวจจับก่อน

ทีนี้ เราไม่อยากจบแค่นี้ เพราะมันยังไม่ตอบสถานการณ์ในความเป็นจริงของโลก ที่ผู้บังคับใช้กฎหมายก็อาจไม่ได้ทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาทั้งหมด ถึงจับได้คาหนังคาเขา ก็อาจจะเรียกรับผลประโยชน์แล้วก็ปล่อยไปก็ได้ (คุ้นๆ กันไหมครับ) เราเลยทดลองเพิ่มอีก โดยครั้งนี้กำหนดให้มีตำรวจดีและตำรวจโกงด้วย ลองดูว่าจะมีผลต่อพฤติกรรมของอาชญากรไหม

วิธีการทดสอบก็ง่ายๆ ครับ ในกลุ่มแรก เราเริ่มจากการสุ่มให้มีตำรวจ 8 คนเหมือนเดิม แต่ทีนี้เราแอบกระซิบตำรวจบางคนว่า ให้เป็นตำรวจโกงนะ ถ้าจับคนซื้อขายยาเสพติดได้ก็ให้ปล่อยไป (เหมือนว่าได้รับสินบนแล้วปล่อย) แล้วเราก็ค่อยๆ เพิ่มตำรวจโกงไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ 2, 4, 6 และ 8 คนตามลำดับ (8 คนคือโกงหมดเลย!) ผลปรากฏว่า จำนวนการซื้อขายยาเสพติด เพิ่มขึ้นอย่างสูงสุดตั้งแต่กระซิบให้มีตำรวจโกงน้อยที่สุดเลยแค่ 2 คน จากการตกลงซื้อขายยาเสพติดกันเฉลี่ย 4.26 ครั้งพุ่งไปเป็น 13.9 ครั้งเลย จากนั้นก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ อีกทีละนิดตามจำนวนตำรวจโกงที่เพิ่มขึ้น จนกลับไปที่เดิมที่ 17.65 ครั้งเมื่อตำรวจทั้ง 8 คนโกงหมด (จำนวนครั้งเท่ากับตอนที่ไม่มีตำรวจเลย)

ผลการทดลองนี้หมายความว่า การมีตำรวจโกง หรือ การที่สังคมรับรู้ว่ามีตำรวจโกง จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการป้องกันอาชญากรรมลดลงอย่างรวดเร็วทันทีและมาก ซึ่งเหตุการณ์นี้สามารถอธิบายได้ด้วยหลักการการคิดว่าเราน่าจะโชคดี (lucky bias) ซึ่งหมายความว่า มนุษย์มักให้น้ำหนักกับโอกาสความโชคดีมากกว่าความเป็นจริง เช่น คิดว่าโกงไปเถอะ ถ้าถูกจับได้ก็อาจจะเจอตำรวจโกง สามารถจ่ายสินบนและรอดตัวได้อยู่ดี (คุ้นๆ อีกไหมครับ) ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ถ้าคนในสังคมคิดว่าผู้บังคับใช้กฎหมายหรือผู้ตรวจจับสามารถโกงได้ การบังคับใช้กฎหมายทั้งระบบจะพังทลายลงได้เลย

ดังนั้นจากบทเรียนทั้ง 2 ข้อหลักของงานวิจัยนี้ คือ หนึ่ง ภายใต้ทรัพยากรที่มีจำกัด ถ้าเราต้องเลือกระหว่างการเพิ่มโอกาสการตรวจจับ กับ การเพิ่มค่าปรับ ให้เลือกเพิ่มโอกาสการตรวจจับก่อน และ สอง ถ้าคนในสังคมคิดว่าผู้บังคับใช้กฎหมายหรือผู้ตรวจจับสามารถโกงได้ การบังคับใช้กฎหมายทั้งระบบจะพังทลายลงได้ง่ายๆ เลย จึงนำมาสู่ข้อเสนอว่า ถ้าเราอยากลดอาชญากรรมในสังคม เราต้องให้ความสำคัญกับผู้บังคับใช้กฎหมายอย่างมากและเป็นลำดับแรกๆ ซึ่งหมายถึงทั้งตำรวจและหน่วยงานต่อต้านคอร์รัปชันทั้งหลาย เพราะถ้าป้องกันการโกงในกลุ่มผู้บังคับใช้กฎหมายไม่ได้ก่อน ระบบก็จะพังทลาย และการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมและคอร์รัปชันในส่วนอื่นๆ ก็จะเกิดขึ้นได้ยากมาก

ก่อนผมจะลงจากเวที ผมได้นำเสนอตัวอย่างว่าจะป้องกันการโกงในกลุ่มผู้บังคับใช้กฎหมายได้อย่างไร ผมเสนอว่า การเปิดข้อมูลสาธารณะให้ประชาชน เพื่อให้ประชาชนเข้าร่วมร่วมตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐอีกชั้นหนึ่งเป็นทางออกที่ง่ายและถูกที่สุด เช่น การติดกล้องที่ตัวตำรวจขณะปฏิบัติหน้าที่ หรือ ACT Ai ที่รวบรวมข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างของรัฐทั้งหมดไว้ ให้ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบความผิดปกติได้โดยง่ายและสะดวกที่สุด สิ่งนี้จะทำให้ผู้บังคับใช้กฎหมายทั้งหลายต้องทำงานอย่างตรงไปตรงมาอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การแก้ไขปัญหาอื่นๆ ในสังคมอย่างมีประสิทธิผลด้วย

ตอนผมเดินลงมาจากเวที มีอดีตผู้บัญชาการตำรวจลอนดอนมาคุยด้วยเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นและประสบการณ์ เขาบอกผมว่า ถ้ามีโอกาสเขายินดีมาให้คำปรึกษากับการพัฒนาระบบการตรวจจับอาชญากรรมของประเทศไทยเลย ซึ่งถ้าเกิดขึ้นได้จริง น่าจะเป็นประโยชน์กับเรามาก นอกจากนี้ก็ยังมีนักวิชาการและนักต้านคอร์รัปชันจากหน่วยงานต่างๆ ในหลายประเทศทั่วโลกมาร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นกันอย่างสนุกสนาน อยู่กันตั้งแต่เช้าจนเกือบเที่ยงคืน เรียกว่าเป็นวันที่เหนื่อยมาก แต่ก็สนุกและได้รับความรู้มากเลยทีเดียวครับ

รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค และ ผศ.ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
15:38 น. ‘บุญจันทร์’ พร้อมแจง ‘กกต.’ ปม ‘ฮั้ว สว.’ 19 พ.ค.นี้ทุกประเด็น
15:29 น. 'เม็กซิโก'ฟ้อง'กูเกิล' ฐานใช้ชื่อ'อ่าวอเมริกา'ในแผนที่ ชี้สหรัฐฯไม่ได้มีอำนาจขนาดนั้น
15:27 น. 'อ.ไชยันต์'ชี้เคส'ผู้ป่วยชั้น 14' สะท้อนทฤษฎี'ทรราช' แทรกแซงความยุติธรรม
15:16 น. (คลิป) ชำแหละเบื้องหลัง! 'ทักษิณ' ขอไปกาตาร์ หนี หรือไปคุย 'ทรัมป์'
15:13 น. ทะลุชิง! 'น้องพิงค์' ชี้ชะตาลุ้นแชมป์เวิลด์ทัวร์
ดูทั้งหมด
ภาพอบอุ่นใจความรักที่งดงามของ 'กษัตริย์จิกมี-สมเด็จพระราชินี-เจ้าชาย-พระธิดา' ในยามค่ำคืนของทะเลทรายโกบี
(คลิป) 'ฐปณีย์' เละคาบ้าน! ด้อยค่าคนไม่เห็นด้วย 'เมียจ่าปืน' ออกโรงตอกกลับไม่ใช่ IO
หยามเกียรติธงชาติไทย! ทนายแจ้งเอาผิด โพสต์เฟสบุ๊คดูหมิ่น'ธงคือผ้าเช็ดเท้า'
‘ลาออก’ไปเถอะ! ฉะ‘นายกฯ’มีสติปัญญาแค่นี้ แผ่นเสียงตกร่องชู‘กาสิโน’แก้เศรษฐกิจ
'แก้ว อภิรดี'ควงลูกสาวเปิดสถานะหัวใจ เผยเตรียมสละโสดก่อนอายุ 35
ดูทั้งหมด
แวดวงการเงิน : 10 พฤษภาคม 2568
หุ้นเด่น : 10 พฤษภาคม 2568
จีนแนะอเมริกาแสวงจิตวิญญาณอเมริกันแทนเป็นอันธพาลโลก
เตรียมหาช่องทางธรรมชาติไว้หนีคดี
บุคคลแนวหน้า : 10 พฤษภาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'เม็กซิโก'ฟ้อง'กูเกิล' ฐานใช้ชื่อ'อ่าวอเมริกา'ในแผนที่ ชี้สหรัฐฯไม่ได้มีอำนาจขนาดนั้น

(คลิป) ชำแหละเบื้องหลัง! 'ทักษิณ' ขอไปกาตาร์ หนี หรือไปคุย 'ทรัมป์'

ทะลุชิง! 'น้องพิงค์' ชี้ชะตาลุ้นแชมป์เวิลด์ทัวร์

‘สรชาติ’มั่นใจล้างข้อกล่าวหา ‘ฮั้ว สว.’ได้ กังขา ‘ดีเอสไอ’ ใช้วิธีสุ่มเรียกแทนการดูจากพฤติกรรมน่าสงสัย

เอ็งก็สบายใจเกิน! 'แมวหลงหน้าแบ๊ว'เจอเจ้าของแล้ว ตร.เตรียมเรียกค่าปรับกับผู้ปกครองข้อหา'พยายามสวบ'

ยุติภารกิจค้นหาผู้สูญหาย อาคาร สตง.แล้ว หลังเปิดพื้นที่ครบ พบแต่ชิ้นส่วนอวัยวะเล็กน้อย

  • Breaking News
  • ‘บุญจันทร์’ พร้อมแจง ‘กกต.’ ปม ‘ฮั้ว สว.’ 19 พ.ค.นี้ทุกประเด็น ‘บุญจันทร์’ พร้อมแจง ‘กกต.’ ปม ‘ฮั้ว สว.’ 19 พ.ค.นี้ทุกประเด็น
  • \'เม็กซิโก\'ฟ้อง\'กูเกิล\' ฐานใช้ชื่อ\'อ่าวอเมริกา\'ในแผนที่ ชี้สหรัฐฯไม่ได้มีอำนาจขนาดนั้น 'เม็กซิโก'ฟ้อง'กูเกิล' ฐานใช้ชื่อ'อ่าวอเมริกา'ในแผนที่ ชี้สหรัฐฯไม่ได้มีอำนาจขนาดนั้น
  • \'อ.ไชยันต์\'ชี้เคส\'ผู้ป่วยชั้น 14\' สะท้อนทฤษฎี\'ทรราช\' แทรกแซงความยุติธรรม 'อ.ไชยันต์'ชี้เคส'ผู้ป่วยชั้น 14' สะท้อนทฤษฎี'ทรราช' แทรกแซงความยุติธรรม
  • (คลิป) ชำแหละเบื้องหลัง! \'ทักษิณ\' ขอไปกาตาร์ หนี หรือไปคุย \'ทรัมป์\' (คลิป) ชำแหละเบื้องหลัง! 'ทักษิณ' ขอไปกาตาร์ หนี หรือไปคุย 'ทรัมป์'
  • ทะลุชิง! \'น้องพิงค์\' ชี้ชะตาลุ้นแชมป์เวิลด์ทัวร์ ทะลุชิง! 'น้องพิงค์' ชี้ชะตาลุ้นแชมป์เวิลด์ทัวร์
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ตึกถล่ม…ระบบถลำ: เมื่อคอร์รัปชันในวงการก่อสร้างไทยยังไม่หายไปไหน

ตึกถล่ม…ระบบถลำ: เมื่อคอร์รัปชันในวงการก่อสร้างไทยยังไม่หายไปไหน

7 พ.ค. 2568

บทเรียนจาก ตึก สตง.: จริยธรรมและความโปร่งใสแบบครึ่งๆ กลางๆ

บทเรียนจาก ตึก สตง.: จริยธรรมและความโปร่งใสแบบครึ่งๆ กลางๆ

2 เม.ย. 2568

ความหวัง...ในวันที่ดูจะไม่มีความหวัง

ความหวัง...ในวันที่ดูจะไม่มีความหวัง

5 มี.ค. 2568

ต้านโกง สื่อผิด ชีวิตเปลี่ยน กลยุทธ์สื่อสารที่ได้ผลจากงานวิจัย

ต้านโกง สื่อผิด ชีวิตเปลี่ยน กลยุทธ์สื่อสารที่ได้ผลจากงานวิจัย

5 ก.พ. 2568

ความหวังสู้โกงไทย ปี 2568

ความหวังสู้โกงไทย ปี 2568

8 ม.ค. 2568

โอกาสและความสำคัญของการกลับคืนเป็นภาคี TI Thailand

โอกาสและความสำคัญของการกลับคืนเป็นภาคี TI Thailand

4 ธ.ค. 2567

ปฏิวัติไม่ใช่ทางออก : การแก้ปัญหาคอร์รัปชันอย่างยั่งยืนในสังคมไทย

ปฏิวัติไม่ใช่ทางออก : การแก้ปัญหาคอร์รัปชันอย่างยั่งยืนในสังคมไทย

6 พ.ย. 2567

ข้อตกลงคุณธรรม : เครื่องมือสำคัญของประชาชน เพื่อต่อสู้คอร์รัปชัน เมื่อรัฐบาลเมินเฉย

ข้อตกลงคุณธรรม : เครื่องมือสำคัญของประชาชน เพื่อต่อสู้คอร์รัปชัน เมื่อรัฐบาลเมินเฉย

2 ต.ค. 2567

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved