ยุครัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ตั้งแต่รัฐบาล คสช. มาจนถึงรัฐบาลพรรคพลังประชารัฐ
ถือเป็นยุคทองของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
ทั้งโครงสร้างดิจิทัล โครงสร้างคมนาคมขนส่ง ฯลฯ
ที่เห็นชัดๆ ปฏิเสธไม่ได้ แม้แต่คนที่ไม่ชอบนายกฯลุงตู่ ถ้าไม่อคติเกินไป ก็ต้องมองเห็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งในบ้านเรา
ข้อมูลที่น่าสนใจ ล่าสุด
1. กรมการขนส่งทางราง สรุปผลศึกษาพัฒนาแผนแม่บทรถไฟฟ้าฉบับใหม่ M-MAP 2
โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง และการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 หรือM-MAP 2
คือภาพร่างสำคัญว่าจะมีโครงการพัฒนาอะไรอีกบ้างตามแผนแม่บทรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลฉบับใหม่ หรือ M-MAP 2
มาจากการทบทวนแผน M-MAP เดิม แผน M-MAP 2 Blueprint ซึ่งทาง JICA เคยศึกษาไว้ ร่วมกับข้อเสนอแนะจากหน่วยงานและประชาชนในเขตจังหวัดปริมณฑลที่ไปรับฟังความคิดเห็นมา และที่ปรึกษานำเสนอเพิ่มเติม
สรุปออกมาเป็นโครงข่ายดังภาพที่เห็น
เป็นใยแมงมุมของแท้
นี่คือโครงการที่สร้างแล้ว เปิดแล้ว และโครงการที่อยู่ในแผนการในอนาคต
ประกอบด้วยแนวเส้นทางระบบรางที่เป็นไปได้ทั้งหมด (Project Long List) มีทั้งสิ้น 33 เส้นทาง
มีเส้นทางใหม่ เส้นทางส่วนต่อขยาย มากมาย
ซึ่งถ้าเดินหน้าตามแผนนี้ (เหมือนที่รัฐบาลนายกฯลุงตู่ทำแล้ว ทำอยู่ ทำต่อ) เชื่อว่า จะเป็นการยกระดับไปถึงขั้น
เพราะถ้าเทียบกับเมื่อปี 2557 (ดูตามภาพ) จะเห็นว่า ในยุครัฐบาลประยุทธ์ ลงมือทำจริง เกิดผลงานการเปลี่ยนแปลงจริงๆ
จึงเชื่อได้ว่า ถ้าเดินต่อเนื่องต่อไป จะเกิดผลตามแผนในอนาคตแน่นอน
2. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั่วประเทศ
คุณทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เร่งรัดพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมเพื่อวางรากฐานในการพัฒนาประเทศ รองรับการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
ทำให้หลายโครงการมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องจนเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นที่ประจักษ์
ทั้งทางถนน และทางราง ทั้งนี้ยังได้ติดตามอย่างใกล้ชิดในแผนพัฒนาต่อไปเพื่อรองรับอนาคต
ล่าสุด กรมทางหลวง รายงานสรุป (ร่าง) แผนพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) และระบบราง (Motorway-Rail Map) หรือ MR-MAP ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2564 กำหนดส่งผลการศึกษาปลายปี 2566 นี้
เผยให้เห็นภาพรวมของการเดินหน้าพัฒนาอย่างเป็นรูปเป็นร่าง สอดรับกัน และกระจายออกทั่วทุกภาค
แผนแม่บท MR-MAP มี 10 เส้นทาง (แนวเหนือ-ใต้, ตะวันออก-ตะวันตก, เชื่อมต่อกรุงเทพฯ และปริมณฑล)
มีระยะทางรวมประมาณ 6,877 กม. (มีโครงข่ายมอเตอร์เวย์ที่เปิดให้บริการแล้ว และอยู่ระหว่างก่อสร้าง 670 กม.)
และมีแผนพัฒนาเป็นมอเตอร์เวย์ร่วมกับระบบราง 3,543 กม. ประเมินว่าจะลดพื้นที่เวนคืนได้ 135,000 ไร่ และลดค่าเวนคืนได้ประมาณ 2 แสนล้านบาท
แผนพัฒนา แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
แผนระยะสั้น 5 ปี เริ่มก่อสร้าง ปี 66-70 จำนวน 9 โครงการ ระยะทางรวม 391 กม. มูลค่า 457,000 ล้านบาท ได้แก่
1.โครงการส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต-บางปะอิน ระยะทาง 22 กม. ก่อสร้าง ปี 68 เปิดให้บริการปี 71
2.โครงการบางขุนเทียน-บางบัวทอง ระยะทาง 35.85 กม. ก่อสร้างปี 68 เปิดให้บริการปี 71
3.โครงการบางบัวทอง-บางปะอิน ระยะทาง 34.10 กม. ก่อสร้างปี 68 เปิดให้บริการปี 71
4.ทางเชื่อมต่อถนนวงแหวนฯรอบที่ 2 ด้านตะวันตกและตะวันออก ระยะทาง 4.20 กม. ก่อสร้างปี 68 เปิดให้บริการปี 71
5.เส้นทางนครปฐม-ปากท่อ ระยะทาง 61.02 กม. ก่อสร้างปี 68 เปิดให้บริการปี 72
6.เส้นทางสงขลา-สะเดา ระยะทาง 69 กม. กำหนดก่อสร้างปี 70 เปิดให้บริการปี 74
7.ทางพิเศษจตุโชติ-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ รอบที่ 3 (ด้านตะวันออก) ระยะทาง 19 กม. ก่อสร้างปี 67 เปิดให้บริการปี 70
8.เส้นทางวงแหวนฯ รอบที่ 3 ด้านตะวันออกช่วง ทล.305-ทล.34 ระยะทาง 52 กม. ก่อสร้างปี 70 เปิดให้บริการปี 73
9.เส้นทางชุมพร-ระนอง ระยะทาง 94 กม. ก่อสร้าง ปี 70 เปิดให้บริการปี 73
แผนระยะกลาง 10 ปี เริ่มก่อสร้าง ปี 71-75 จำนวน 5 โครงการ ระยะทาง 397 กม. มูลค่า 413,200 ล้านบาท ได้แก่
1.นครปฐม-สุพรรณบุรี ระยะทาง 70.22 กม.
2.แหลมฉบัง-ปราจีนบุรี ระยะทาง 156 กม.
3.วงแหวนฯ รอบที่ 3 ด้านตะวันออก ช่วงทล.32 - ทล.305 ระยะทาง 67.81 กม.
4.วงแหวนฯ รอบที่ 3 ด้านใต้ ช่วง ทล.35 - ทล.35 ระยะทาง 79.07 กม.
5.วงแหวนฯ รอบที่ 3 ด้านตะวันตก ช่วง ทล.35 - นครปฐม ระยะทาง 24.26 กม.
แผนระยะยาว 11-20 ปี เริ่มก่อสร้าง ปี 76-85 จำนวน 9 โครงการ ระยะทาง 1,138 กม. มูลค่า 775,900 ล้านบาท
โดยแผนภาพรวมมีดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจ (EIRR) 13.77%
แผนพัฒนาระบบราง ประกอบด้วย รถไฟทางคู่รถไฟสายใหม่รถไฟความเร็วสูง โดยกำหนดแผนพัฒนา 3 ระยะ คือ
ระยะ 5 ปี (2566-2570) ระยะทางรวม 2,048 กม. มูลค่าลงทุน 601,500 ล้านบาท
ระยะ 10 ปี (2571-2575) ระยะทางรวม 958 กม. มูลค่าลงทุน 560,600 ล้านบาท
ระยะ 20 ปี (2576-2585) ระยะทางรวม2,959 กม.
ทั้งหมดนี้ คือภาพสะท้อนชัดถึงการวางโครงสร้างคมนาคมครั้งใหญ่ ในยุครัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานควบคู่ไปกับการขยายโอกาสทางด้านการค้า การลงทุน ผลักดันอุตสาหกรรมใหม่
คือ คำตอบว่า มีหนี้สาธารณะเพิ่มจริง แต่ก็เกิดโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมากมาย เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศในอนาคตด้วย
สารส้ม
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี