วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ต่อต้านคอร์รัปชัน
ต่อต้านคอร์รัปชัน

ต่อต้านคอร์รัปชัน

ต่อตระกูล-ต่อภัสสร์
วันพุธ ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2566, 02.00 น.
อยากแก้ปัญหาปากท้องก่อน แต่ถ้าไม่ปฏิรูปตำรวจ ก็แก้ยาก!

ดูทั้งหมด

  •  

หมูเถื่อน กำนันนก จีนสีเทา และข่าวอาชญากรรมต่างๆ อีกมากมายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ ที่ผ่านมานั้น มีปัจจัยหนึ่งที่คาบเกี่ยวกันคือ ตำรวจ เพียงแต่แทนที่จะเกี่ยวข้องในฐานะผู้บังคับใช้กฎหมายเพื่อความสงบสุขของประชาชน กลับไปเกี่ยวข้องในฐานะผู้ที่อาจจะมีส่วนร่วมในอาชญากรรมเหล่านั้นด้วย ช่างเป็นความน่าตลกร้ายของสังคมไทยอย่างมาก

นอกเหนือจากการรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม คุ้มครองความปลอดภัย เป็นที่พึ่งด้านความเป็นธรรมทางกฎหมายให้กับประชาชนคนไทยแล้ว การให้บริการของตำรวจยังส่งผลต่อชาวต่างชาติอีกด้วย สะท้อนมาในภาพของปริมาณการลงทุนจากต่างประเทศ ที่มีความแปรผันตรงกับประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการให้บริการของตำรวจอย่างมาก


ดังนั้นที่เราอาจจะเคยได้ยินข่าวว่า รัฐบาลจะจัดให้มีตำรวจจีนมาเดินตรวจร่วมกับตำรวจไทยตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ซึ่งแม้ว่าต่อมาทางการไทยได้แก้ข่าวไปแล้วว่าเป็นข่าวปลอม ก็สะท้อนให้เห็นความไม่ไว้วางใจของนักท่องเที่ยวจีนต่อตำรวจไทย ตามที่เห็นการพูดคุยในโซเชียลมีเดียว่า เมืองไทยไม่น่ามาแล้วเพราะประเทศไทยไม่ปลอดภัย ตำรวจเป็นที่พึ่งไม่ได้

เรื่องการปฏิรูปตำรวจจึงสำคัญมาก ถ้าทำเรื่องนี้ไม่ได้ เศรษฐกิจไทยก็ขับเคลื่อนต่อไปได้ไม่ถึงไหน ปัญหาปากท้องประชาชนที่ตั้งใจจะแก้ ก็คงแก้ไม่ได้ ตราบใดที่ยังมีเรื่องราวตำรวจรีดไถ ไม่ว่าจะเป็นกรณีเพียงเล็กๆ น้อยๆ ก็จะเป็นตัวบ่อนทำลายเศรษฐกิจไปอย่างน่าเสียดาย

ตัวช่วยเรื่องการปฏิรูปตำรวจนี้อย่างหนึ่งคือ การที่ปัญหาการทุจริตในวงการตำรวจนั้น ไม่ได้มีแค่ในประเทศไทย แต่เกิดขึ้นในอีกหลายประเทศทั่วโลก จึงน่าจะเป็นประโยชน์ที่เราจะศึกษาความสำเร็จและความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหานี้จากประเทศอื่นๆ ด้วย

ในหนังสือ “Police Corruption and Police Reforms in Developing Societies” โดย Kempe Ronald Hope ที่ได้รีวิววิธีการต่อสู้กับการทุจริตในตำรวจใน 8 รัฐ ทั่วโลก ทั้งในแอฟริกา, ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และลาตินอเมริกาและแคริบเบียนรวมถึงฮ่องกง โดยสรุปเป็นวิธีการต่างๆ มากมายในการปฏิรูปองค์กร ทั้งการตั้งหลักสูตรการฝึกอบรม การนำกำหนดระเบียบจริยธรรม การปฏิรูปการสรรหาและการเลื่อนตำแหน่ง และการเพิ่มค่าจ้างเพื่อสร้างตำรวจมืออาชีพที่มีความซื่อสัตย์ ซึ่งสำเร็จแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบปัญหาของแต่ละพื้นที่

ยกตัวอย่างประเทศเคนยา ที่มีปัญหาความขัดแย้งภายในองค์กรตำรวจ จึงได้ใช้วิธีปฏิรูปองค์กรทั้งหมด ในขณะที่ในหมู่เกาะโซโลมอน ที่มีปัญหาการซื้อขายตำแหน่งเป็นปัญหาใหญ่ จึงเลือกที่จะใช้กระบวนการตรวจสอบคุณสมบัติและความสามารถของคนที่จะขึ้นมาเป็นผู้บังคับบัญชาการระดับสูงก่อน

อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากความพยายามปฏิรูปตำรวจในประเทศทต่างๆ เหล่านี้ ที่ดูเหมือนจะสร้างความเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่ก็ยังไม่มากเพียงพอ ดูได้จากที่ ริชาร์ด เมสสิก เขียนสรุปสถานการณ์ปัจจุบันของการปฏิรูปตำรวจในหลายๆ พื้นที่ไว้ใน Global Anti-Corruption Blog ว่า

อาร์เจนตินา: “แม้จะผ่านการปฏิรูปตำรวจครั้งสำคัญล่าสุดในปี 2010 แต่ผลสำรวจและการประเมินด้านคอร์รัปชันของตำรวจก็ยังคงตกต่ำ”

แคเมอรูน: “การทุจริตเป็นองค์ประกอบที่เกิดขึ้นซ้ำและยืนยาวในการตำรวจ... ไม่สามารถมองเป็นเหตุการณ์ที่แยกออกมาได้ เพราะมันฝังลึกและเป็นระบบ”

กานา : “การปฏิรูปที่เกิดขึ้น ไม่ได้ลดลงการทุจริตในวงการตำรวจกานาเลย... มีความไม่พอใจของประชาชนที่แพร่หลายต่อการดำเนินงานของตำรวจ”

อินเดีย: “การทุจริตของตำรวจมีอยู่อย่างแพร่หลายในอินเดีย...ตำรวจทำงานโดยมีการตรวจสอบและตรวจสอบน้อย”

เคนยา: “แม้จะมีการสถาปนาสถาบันตำรวจใหม่ที่มุ่งเปลี่ยนแปลงการให้บริการของตำรวจและการปฏิรูปต่างๆ นั้น การทุจริตของตำรวจยังคงเกิดขึ้นในกิจวัตรประจำวันของตำรวจเคนยา...”

หมู่เกาะโซโลมอน: “กองกำลังตำรวจยังใหม่อยู่มากกับการสอบสวนการทุจริต”

แอฟริกาใต้: “แม้จะมีการปฏิรูปหลังอพาร์ไธด์ ยังมีหลักฐานการทุจริตในตำรวจระดับสูงที่เพิ่มขึ้นอยู่”

ตรินิแดดและโตเบโก: “แม้จะมีความพยายามปฏิรูปตำรวจมากมายในช่วงหลังยุคอาณานิคม ตำรวจยังคงถูกมองว่าเป็นคนรุนแรง ทุจริต ไม่มีความสามารถ และต่อต้านการเปลี่ยนแปลง”

ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า การปฏิรูปตำรวจนั้น ไม่ได้สูตรสำเร็จและไม่ใช่เรื่องง่ายเลยจริงๆ ผู้สนใจสามารถอ่านรายละเอียดได้ที่ https://globalanticorruptionblog.com/2015/11/20/the-challenge-of-police-reform-in-developing-nations/

ในประเด็นนี้ ศาสตราจารย์ แมทธิว สตีเฟนสัน แห่งฮาร์วาร์ดมีข้อสังเกตว่า ที่ตำรวจในหลายๆ ประเทศมีปัญหาเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันมาก นั่นเป็นเพราะตำรวจมีลักษณะบางอย่างที่คล้ายคลึงกันทั่วโลก ได้แก่

1. การมีความภักดีภายในต่อกัน “มากเกินไป”: แม้ว่าความรักใคร่กลมเกลียวและภักดีต่อกัน จะเป็นคุณสมบัติที่ดี ทำให้องค์กรดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพได้ แต่ถ้ามีมากเกินไป อาจจะทำให้ความสำคัญของความภักดีนี้ เหนือกว่าเป้าหมายที่แท้จริงขององค์กร ซึ่งคือการให้บริการประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเกิดการแบ่งแยกระหว่างคนภายในและภายนอกกลุ่มอย่างชัดเจน เช่น ตำรวจไม่ฆ่าน้อง ไม่ฟ้องนาย ไม่ขายเพื่อน เพราะเป็นพวกเดียวกัน แต่กับประชาชนที่เป็นคนนอก จะฆ่า จะฟ้อง หรือจะขายก็ทำได้

2. การใช้วลี “หน้างานจริง” เป็นข้อแก้ตัว: หนึ่งในกลไกทางจิตวิทยาที่คนโกงมักใช้เพื่อเป็นข้ออ้างในการทำความผิด โดยตัวเองไม่รู้สึกผิดคือ คือการอ้างว่าตัวเองเป็น “นักปฏิบัติหน้างานจริง” ไม่ใช่แค่ “นักทฤษฎี” เช่น เป็นไปไม่ได้หรอกที่จะจับโจรด้วยวิธีตามตำรา เพราะ “หน้างานจริง” มันต้องรุนแรงแบบนี้หรือต้องรับสินบนเพื่อเอาเงินไปทำให้งานสำเร็จ ซึ่งอาจเป็นจริงในบางกรณี แต่หากปล่อยให้สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้เรื่อยๆ โดยไม่ต้องสนใจขั้นตอน กฎ ระเบียบแล้ว การทุจริตที่ใหญ่ขึ้นก็จะตามมาได้อย่างรวดเร็ว

3. การไม่บังคับใช้ระเบียบจริยธรรมจริง: หลายองค์กรมีระเบียบจริยธรรมเขียนไว้อย่างชัดเจน แต่ในความเป็นจริงก็ไม่ได้ให้ความสำคัญ รวมถึงตำรวจในหลายๆ ประเทศ ที่มองเป้าหมายปลายทางสำคัญที่สุด เช่น จับโจรให้ได้ก่อน เรื่องอื่นค่อยว่ากันแล้วถ้าเรื่องไหนแดงขึ้นมา ก็ค่อยปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวกับองค์กรอย่าเหมารวม คนโกงเป็นแค่ปลาเน่าตัวนึงเท่านั้น

4. วัฒนธรรมยอมรับทุจริตขององค์กร: เมื่อลักษณะทั้ง 3 ประการในข้างต้นเกิดขึ้นแล้ว มันก็จะค่อยๆ สะสมจนกลายเป็นวัฒนธรรมทุจริตขององค์กร และองค์กรที่ทุจริตก็มักดึงดูดคนที่ทุจริตเข้ามาร่วม เกิดเป็นวงจรอุบาทว์ที่ยากจะแก้ไข อย่างที่เกิดขึ้นในหลายๆ พื้นที่

ผู้สนใจสามารถอ่านรายละเอียดได้ที่ https://global-anticorruptionblog.com/2020/06/09/are-there-common-features-of-dysfunctional-organizational-cultures-corruption-and-police-brutality/

ทีนี้ เมื่อเรารู้แบบนี้แล้ว ทำอะไรได้บ้าง จึงขอยกตัวอย่างข้อเสนอการปฏิรูปองค์กรตำรวจของไนจีเรีย ซึ่งได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ว่า เป็นแนวทางข้อเสนอที่มีความครอบคลุม ได้แก่

1. การควบคุมความซื่อสัตย์อย่างเข้มงวด: มีการตรวจสอบการใช้งานอุปกรณ์และวัสดุ ความถูกต้องของรายงานตำรวจ และการชำระเงินค่าปรับและค่าธรรมเนียมต่างๆ ให้กับเจ้าหน้าที่แต่ละคนนอกจากนี้ ยังควรมีการปฏิรูประบบการประเมินผลโดยประชาชน เพื่อเน้นย้ำความซื่อสัตย์และความเป็นมืออาชีพ

2. ความเป็นอิสระ: ตำรวจไนจีเรียต้องมีความเป็นอิสระจากอิทธิพลทางการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาที่ประกอบด้วยตัวแทนจากพรรคการเมืองหลักทุกพรรค เพื่อเลือกผู้ตรวจการและผู้บัญชาการตำรวจ ซึ่งจะช่วยให้แน่ใจว่าผู้นำของกองกำลังตำรวจได้รับการตรวจสอบอย่างเพียงพอ

3. การปฏิรูปความโปร่งใส: การพัฒนาเครื่องมือออนไลน์ที่ช่วยให้ประชาชนสามารถให้คะแนนและรายงานเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต เช่นเดียวกับการติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อตรวจจับการทุจริต

4. การปฏิรูปเงินเดือน: การเพิ่มเงินเดือนของตำรวจเป็นส่วนหนึ่งของแพ็กเกจการปฏิรูป เพื่อลดแรงจูงใจในการทำผิดและเพิ่มความสามารถในการปฏิบัติตามมาตรฐานด้วยความซื่อสัตย์

สุดท้ายก็ขอกลับมาย้ำอีกทีว่า ไม่ว่ารัฐบาลอยากจะแก้ไขปัญหาปากท้องประชาชนก่อน อยากจะสร้าง Soft Power ก่อน อยากจะแก้ปัญหาหนี้สินภาคการเกษตรก่อน หรืออยากกระตุ้นการท่องเที่ยวก่อน ก็จะประสบความสำเร็จได้ยาก หากไม่แก้ปัญหาคอร์รัปชันไปด้วย และจุดเริ่มต้นที่สำคัญมาก ก็คือวงการตำรวจนี่ล่ะครับ

รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค และ ผศ.ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
14:21 น. 'ศิริโชค'ฟันธง! คนร้ายเผารถยนต์ปั่น'การเมือง' ไม่อยากให้ลงสมัคร สส.สงขลา
14:18 น. จับผู้ต้องหาลอบขนแรงงานต่าวด้าวชาวจีนผิดกม.
14:15 น. บอลหญิงฝันสลาย! ร่วงคัดเอเชียชวดตั๋วบอลโลก
14:12 น. แชมป์เก่าร่วง! 'ซินเนอร์-โนเล่'ยังลิ่ว8คนวิมเบิลดัน
14:00 น. ดีล‘ปชน.-ภท.’เกิดยาก! ‘ชูศักดิ์’บอกแปลกประหลาด ชี้การเมืองยังไม่ถึงทางตัน
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
บิ๊กเนม'ปชป.'ร่วมวงเพียบ!! 'คุณหญิงกัลยา'ตั้ง'พรรคไทยก้าวใหม่' พร้อมตั้ง'สุชัชวีร์'นั่งหัวหน้าฯ
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
ดูทั้งหมด
ต้องเลือกตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือ
บุคคลแนวหน้า : 6 กรกฎาคม 2568
ชีวิตประจำวันของผม-การทำงาน
หน้าต้องทนสูงมาก จึงทำแบบนี้ได้
วิวาทะ ว่าด้วย‘อภิปรายไม่ไว้วางใจ’
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บอลหญิงฝันสลาย! ร่วงคัดเอเชียชวดตั๋วบอลโลก

แชมป์เก่าร่วง! 'ซินเนอร์-โนเล่'ยังลิ่ว8คนวิมเบิลดัน

ดีล‘ปชน.-ภท.’เกิดยาก! ‘ชูศักดิ์’บอกแปลกประหลาด ชี้การเมืองยังไม่ถึงทางตัน

'เพื่อไทย'โต้เฟกนิวส์!! ยัน'รัฐบาล'ไม่มีส่งวัตถุโบราณ 20 ชิ้นให้กัมพูชา

‘เด็จพี่’เย้ย‘นายกฯชั่วคราว’แค่ฝันกลางวัน ไล่‘ฝ่ายค้าน’ไปเคลียร์กันก่อนจะชูใคร

‘จิรวัฒน์’จวกวิธีการคนจี้ยุบสภาฯเร่งร้อน-ชิงความได้เปรียบเกินไป

  • Breaking News
  • \'ศิริโชค\'ฟันธง! คนร้ายเผารถยนต์ปั่น\'การเมือง\' ไม่อยากให้ลงสมัคร สส.สงขลา 'ศิริโชค'ฟันธง! คนร้ายเผารถยนต์ปั่น'การเมือง' ไม่อยากให้ลงสมัคร สส.สงขลา
  • จับผู้ต้องหาลอบขนแรงงานต่าวด้าวชาวจีนผิดกม. จับผู้ต้องหาลอบขนแรงงานต่าวด้าวชาวจีนผิดกม.
  • บอลหญิงฝันสลาย! ร่วงคัดเอเชียชวดตั๋วบอลโลก บอลหญิงฝันสลาย! ร่วงคัดเอเชียชวดตั๋วบอลโลก
  • แชมป์เก่าร่วง! \'ซินเนอร์-โนเล่\'ยังลิ่ว8คนวิมเบิลดัน แชมป์เก่าร่วง! 'ซินเนอร์-โนเล่'ยังลิ่ว8คนวิมเบิลดัน
  • ดีล‘ปชน.-ภท.’เกิดยาก! ‘ชูศักดิ์’บอกแปลกประหลาด ชี้การเมืองยังไม่ถึงทางตัน ดีล‘ปชน.-ภท.’เกิดยาก! ‘ชูศักดิ์’บอกแปลกประหลาด ชี้การเมืองยังไม่ถึงทางตัน
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

รู้ทันคอร์รัปชันด้วยวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่แค่ศีลธรรม

รู้ทันคอร์รัปชันด้วยวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่แค่ศีลธรรม

2 ก.ค. 2568

เมื่อ‘งบก่อสร้าง’ไม่ได้สร้างแค่ถนน แต่สร้างรายได้พิเศษให้บางคนด้วย

เมื่อ‘งบก่อสร้าง’ไม่ได้สร้างแค่ถนน แต่สร้างรายได้พิเศษให้บางคนด้วย

4 มิ.ย. 2568

ตึกถล่ม…ระบบถลำ: เมื่อคอร์รัปชันในวงการก่อสร้างไทยยังไม่หายไปไหน

ตึกถล่ม…ระบบถลำ: เมื่อคอร์รัปชันในวงการก่อสร้างไทยยังไม่หายไปไหน

7 พ.ค. 2568

บทเรียนจาก ตึก สตง.: จริยธรรมและความโปร่งใสแบบครึ่งๆ กลางๆ

บทเรียนจาก ตึก สตง.: จริยธรรมและความโปร่งใสแบบครึ่งๆ กลางๆ

2 เม.ย. 2568

ความหวัง...ในวันที่ดูจะไม่มีความหวัง

ความหวัง...ในวันที่ดูจะไม่มีความหวัง

5 มี.ค. 2568

ต้านโกง สื่อผิด ชีวิตเปลี่ยน กลยุทธ์สื่อสารที่ได้ผลจากงานวิจัย

ต้านโกง สื่อผิด ชีวิตเปลี่ยน กลยุทธ์สื่อสารที่ได้ผลจากงานวิจัย

5 ก.พ. 2568

ความหวังสู้โกงไทย ปี 2568

ความหวังสู้โกงไทย ปี 2568

8 ม.ค. 2568

โอกาสและความสำคัญของการกลับคืนเป็นภาคี TI Thailand

โอกาสและความสำคัญของการกลับคืนเป็นภาคี TI Thailand

4 ธ.ค. 2567

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved