กว่า ๕๐ ปี ในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่เป็นธรรม ในสังคมไทย ได้ยึดหลักธรรม ดังนี้
l 1. “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม
พระปฐมบรมราชโองการ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓
l 2. การแสวงหาสัจจะจากความเป็นจริง
สังคมไทย เป็นสังคมที่โครงสร้างและระบบ เหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรม และขาดคุณภาพทั้งระบบและประชาชนฉะนั้น การเข้าใจ “ความยุติธรรม” ต้องเข้าใจหลักการ และความเป็นจริง
๑.“ความเป็นธรรม ความยุติธรรม”อันมีความหมายเน้นถึงความเสมอภาคที่คนทุกคน ทุกกลุ่มในสังคมไทยต้องได้รับอย่าง “เท่าเทียม” กัน
๒.กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม
คือคำสั่งและกฎกติกาที่ได้ถูกกำหนดมาจากผู้ปกครอง และผู้บริหารประเทศ ซึ่งมีทั้งส่วน ที่ถูกต้องเป็นธรรม และไม่ยุติธรรม
@ ในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่เป็นธรรม เพื่อให้เกิดความถูกต้องเป็นธรรมที่มากขึ้นในสังคมนักต่อสู้ และกลุ่มคนที่ร่วมกันต่อสู้ ต้องคำนึงถึงความจริงที่ว่า
(๑) ผู้นำ ผู้ริเริ่ม ในการต่อสู้ อาจจะต้องเผชิญกับความไม่เป็นธรรม ถูกจับ โดนคดี คุกตะราง ยึดทรัพย์ฯ
(๒) เราต้องใช้สติปัญญา ความจริง คิดวิเคราะห์ สิ่งที่ควรพูด ควรทำ ให้สอดคล้องกับกติกาฯให้ดีที่สุด
3.แนวคิดความยุติธรรมที่พึงประสงค์ตามหลักพระพุทธศาสนา
มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่
1) แนวคิดเกี่ยวกับความยุติธรรม
2) วิธีการปฏิบัติ
3) กระบวนการปฏิบัติเพื่อให้เกิดความยุติธรรม
l 1) แนวคิดเกี่ยวกับความยุติธรรม คือ หลักธรรมและหลักพระวินัยโดยภาพรวม เฉพาะหลักธรรมประกอบด้วย
๑.หลักธรรมเพื่อส่งเสริมความยุติธรรม ได้แก่
อธิปไตย 3 ศีล 5 ทิศ 6 สาราณียธรรม 6 และ อริยมรรคมีองค์ 8
๒.หลักธรรมที่ควรละเว้น ได้แก่ อคติ 4 และมัจฉริยะ 5
๓.หลักธรรมสำหรับเป็นเครื่องมือส่งเสริมให้เกิดความยุติธรรม คือ อริยสัจ 4
ซึ่งครอบคลุมหลักธรรมอื่นๆ ทั้งหมด
l 2) วิธีการ คือการนำเอา อธิกรณสมถะ 7มาประยุกต์ใช้
l 3) ส่วนกระบวนการปฏิบัติอันจะนำไปสู่ความยุติธรรมได้ คือ นิคหกรรม ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบันได้ เพราะนิคหกรรมมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ทำผิดได้สำนึกตนและปรับเปลี่ยนความประพฤติของตนใหม่ไปในทางที่ดีขึ้น และมีแนวทางปฏิบัติที่หลากหลายตามความเหมาะสมกับสภาพของปัญหาที่มีความขัดแย้ง
l ต่อไปนี้ ขอนำ ความหมายของบางคำที่สำคัญมาอธิบาย (ใครสนใจจริง ต้องไปศึกษาค้นคว้าต่อ)
อธิปไตย 3 (ความเป็นใหญ่, ภาวะที่ถือเอาเป็นใหญ่)
๑.อัตตาธิปไตย (ความมีตนเป็นใหญ่, ถือตนเป็นใหญ่, กระทำการด้วยปรารภตน เป็นประมาณ)
๒.โลกาธิปไตย (ความมีโลกเป็นใหญ่, ถือโลกเป็นใหญ่, กระทำการด้วยปรารภนิยมของโลก เป็นประมาณ)
๓.ธัมมาธิปไตย (ความมีธรรมเป็นใหญ่, ถือธรรมเป็นใหญ่, กระทำการด้วยปรารภความถูกต้อง เป็นจริง สมควรตามธรรม เป็นประมาณ)
ผู้เป็นอัตตาธิปก พึงใช้สติให้มาก
ผู้เป็นโลกาธิปก พึงมีปัญญาครองตนและรู้พินิจ
ผู้เป็นธรรมาธิปก พึงประพฤติให้ถูกหลักธรรม
ผู้เป็นนักปกครอง พึงถือธรรมาธิปไตย
ศีล 5 คือ หลักคำสอนของชาวพุทธ ที่เป็นหลักพื้นฐานของชีวิต ที่ทุกคนควรรู้ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตน ทั้งทางโลกและทางธรรม ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
ทิศ 6 คือหน่วยของสังคมรอบตัวเรา คือ หน่วยของสังคมที่เล็กที่สุด สำคัญที่สุด ทรงอานุภาพที่สุด หากบุคคลในแต่ละทิศปฏิบัติตนตามหน้าที่ ซึ่งมีอยู่ประจำทิศได้สมบูรณ์จริงๆ แล้ว ย่อมสามารถที่จะฉุดสังคมส่วนใหญ่ ให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม ได้อย่างชนิดฉับพลัน
สาราณียธรรม 6 แปลว่า ธรรมอันเป็นไปเพื่อความระลึกถึงกันและกัน หมายถึง ธรรมอันเป็นไปเพื่อเสริมสร้างความรู้สึกที่ดีให้เกิดขึ้นต่อกันจนก่อเกิดเป็นความสามัคคีมีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ดังนั้นสาราณียธรรม ก็คือ วิธีสร้างความสามัคคีนั่นเอง
มรรค 8 หมายถึง แนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรู้แจ้งด้วยปัญญาสำหรับขจัดความเขลา ความหลงผิด ความทุกข์ เพื่อให้การดำเนินชีวิตดำรงอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม
อคติ 4 เป็นธรรมของผู้เป็นผู้ใหญ่ควรยึดถือ ใช้ในการพิจารณาสรรพสิ่ง ว่าเราเห็นผิดวิปลาสจากความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวง มองด้วยความลำเอียงเป็นเพราะอคติทั้ง 4 ต่อสิ่งทั้งปวง
มัจฉริยะ 5 เป็นกิเลสภายใน ความตระหนี่ ความเสียดาย ความหวงแหน เป็นเหตุให้เป็นคนใจแคบ เห็นแก่ตัว ขาดความกรุณา
อริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนสำคัญของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยบุคคล หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ รู้จริงรู้แจ้ง และบรรลุผล
ทุกข์ คือ สภาพของปัญหาที่ต้องเจอ
สมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
นิโรธ คือ ความดับทุกข์
มรรค คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์
๑. สัจญาณ หยั่งรู้ความจริงสี่ประการ
๒. กิจญาณ หยั่งรู้หน้าที่ต่ออริยสัจ
๓. กตญาณ หยั่งรู้ว่าได้ทำกิจที่ควรทำได้เสร็จสิ้นแล้ว
> อธิกรณสมถะ
การทำอธิกรณ์ให้สงบระงับ หมายถึง วิธีระงับอธิกรณ์ตามพระธรรมวินัย 7 อย่าง....
นิคหกรรม แปลว่า การข่ม เป็นวิธีการลงโทษภิกษุตามพระธรรมวินัยเพื่อให้เข็ดหลาบ
4.สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงองค์แห่งวาจาสุภาษิตไว้ว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วาจาที่ประกอบด้วยองค์ ๕ นับเป็นสุภาษิตไม่เป็นทุพภาษิต ไม่มีโทษ อันผู้รู้ติไม่ได้ คือ
๑.วาจาที่กล่าวถูกต้องตามกาล
๒.วาจาที่กล่าวเป็นความจริง
๓.วาจาที่กล่าวอ่อนหวาน
๔.วาจาที่กล่าวประกอบด้วยประโยชน์
๕.วาจาที่กล่าวด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา”
5.หลักธรรมาภิบาล
๑.หลักนิติธรรม
๒.หลักคุณธรรม
๓.หลักความโปร่งใส
๔.หลักการมีส่วนร่วม
๕.หลักความรับผิดชอบ
๖.หลักความคุ้มค่า
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี