วันเสาร์ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / คิดด้วยพลเมือง (See-Think-Cen')
คิดด้วยพลเมือง (See-Think-Cen')

คิดด้วยพลเมือง (See-Think-Cen')

วันพุธ ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2567, 02.00 น.
ชิ้นเค้กแห่งสิทธิกับกฎหมายสมรสเท่าเทียมของ LGBTQIA+

ดูทั้งหมด

  •  

“Equal rights for others does not mean fewer rights for you. It’s not pie”- Jesse Williams

เดือนมิถุนายนของทุกปี คือ หมุดหมายที่สำคัญของการเฉลิมฉลอง “Pride Month” เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ในการสนับสนุนความเสมอภาคและความภูมิใจที่หลากหลายของทุกอัตลักษณ์ทางเพศ และเป็นการย้ำเตือนประวัติศาสตร์การต่อสู้ของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIA+) แต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2567 คือ เดือนประวัติศาสตร์ของกลุ่ม LGBTQIA+ ประเทศไทยในการแสดงความก้าวหน้าในเรื่องของสิทธิผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ เนื่องจากวุฒิสภามีมติเห็นชอบ “ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม” ซึ่งทำให้ประเทศไทย เป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รองรับการแต่งงานของบุคคลเพศเดียวกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความน่ายินดีเป็นอย่างมาก ที่ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศได้รับสิทธิที่มีความเสมอภาคทางเพศมากขึ้นในประเทศไทย “ประเทศสวรรค์ของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ (Gay Paradise)”


ก่อนอื่นขอขยายความเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศตามกฎหมายสมรสเท่าเทียม ว่าได้รับสิทธิอะไรบ้างครับ คู่รักผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศสามารถสมรสกันได้อย่างถูกกฎหมาย สามารถจดทะเบียนสมรสได้ สามารถหมั้น แต่งงาน และหย่าร้างได้ มีสิทธิในการเป็นผู้ปกครองของบุตรบุญธรรม สิทธิในการลงนามยินยอมให้รักษาพยาบาลของคู่สมรสได้ สามารถรับมรดกได้ และมีสิทธิในการจัดการทรัพย์สินสมรสร่วมได้ซึ่งสิทธิเหล่านี้เป็นสิทธิที่ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศได้มีการต่อสู้มาเพื่อให้ได้สิทธิขั้นพื้นฐานนี้กว่า 23 ปี ตั้งแต่รัฐบาลของทักษิณ ชินวัตร แต่ร่างกฎหมายถูกต่อต้านและถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นต้นมาจากสังคมในประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน

ทุกคนเคยตั้งคำถามหรือไม่ว่าทำไมกฎหมายสมรสเท่าเทียมของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นสิทธิที่ต้องสู้อย่างยากลำบากเพื่อให้ได้มาเมื่อเปรียบเทียบกับสิทธิเรื่องเดียวกันของผู้ที่มีเพศสภาพตามเพศกำเนิด (Cisgender) หรือคนมักจากเรียกกันในสังคมว่า “ชายจริง หญิงแท้” ซึ่งต่อไปนี้ผู้เขียนจะขอใช้คำแทนว่า “ผู้ชาย” และ “ผู้หญิง” และทำไมสังคมบางกลุ่มถึงวิพากษ์ว่าการให้สิทธิแก่ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ทำให้สิทธิของผู้ชาย และผู้หญิงลดลง แล้วมันลดลงจริงหรือไม่

ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา รัฐ ผู้มีบทบาทและมีอำนาจในการจัดการทรัพยากร กำหนดความเชื่อ กำหนดว่าอะไรคือสิ่งที่ดี และไม่ดี สิ่งที่ควรกระทำ และไม่ควรกระทำ ใครมีบทบาทอะไร ควรทำอะไรในสังคม ส่วนหนึ่งเป็นสิ่งที่รัฐเป็นผู้มีอำนาจในการกำหนด เช่นเดียวกับเพศสภาวะ (Gender) และบทบาททางเพศ (Gender role) ที่ผ่านมารัฐใช้ระบบกรอบเพศแบบสองขั้ว (Gender Binary) คือ การแบ่งประชากรออกเป็น 2 เพศ ตามเพศกำเนิด (Sex) เท่านั้น คือ เพศชาย และเพศหญิงตามหลักทางกายภาพทางวิทยาศาสตร์ ขณะเดียวกัน รัฐก็ยึดถือบทบาทและรสนิยมทางเพศแบบชอบเพศตรงข้าม (Heterosexuality)เป็นกรอบของสังคม เพราะฉะนั้น การวางระบบของรัฐไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรม บทบาทในสังคม กฎหมาย ก็มักจะพัฒนาขึ้นมาตามระบบโครงสร้างกรอบเพศแบบสองขั้วเท่านั้นเป็นต้นมา รัฐเลยพยายามบอกเราว่ามันมีแค่สองเพศนี้เท่านั้น โดยตีกรอบผ่านเครื่องแบบ ทรงผม เสื้อผ้า อาชีพที่ควรทำในสังคม พฤติกรรมที่เราควรจะปฏิบัติ ของเล่นที่เราควรจะเล่นและสีที่เราควรที่จะชอบ เป็นต้น ทุกอย่างมักจะถูกจัดแบ่งเอาไว้แล้วว่าอะไรเหมาะสมกับเพศไหน ถ้าอ้างอิงจากทฤษฎีชีวการเมือง (Biopolitics) โดย มิเชล ฟูโกต์ การตั้งระบบและโปรแกรมแบบนี้คงจะช่วยให้ระบบสังคมนั้นดำเนินการไปอย่างราบรื่น และง่ายดีตามที่รัฐจัดสรรไว้

ทั้งนี้ มนุษย์มีความซับซ้อนในเรื่องทางเพศในทุกมิติมากกว่านั้น กลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQIA+ (Lesbian, Gay, Bisexual, Transgenders, Queer, Asexual, Intersex and more) เป็นผู้ที่มีอัตลักษณ์ทางเพศ (Genderidentity) รสนิยมทางเพศ และการแสดงออกทางเพศที่ไม่ได้อยู่ในระบบกรอบเพศแบบสองขั้ว ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศเหล่านี้จึงต้องประสบกับความท้าทายที่เกิดขึ้น เช่น “การลงโทษทางสังคม” สังคมมองว่าสิ่งนี้ คือ สิ่งแปลกปลอมและเป็นสิ่งที่ประหลาด จึงมีการตีตรา (Stigmatize) หรือการล้อเลียนในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น และความท้าทายต่อมา คือ “การไม่มีกฎหมาย และสิทธิขั้นพื้นฐานรองรับ” ซึ่งสอดคล้องกับกรณีกฎหมายสมรสเท่าเทียมซึ่งไม่มีการรับรองผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ และรสนิยมทางเพศแบบชอบเพศเดียวกัน (Homosexuality) เป็นต้น ทั้งนี้ เมื่อมีการรองรับการมีตัวตนของ ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศและรองรับรสนิยมทางเพศแบบชอบเพศเดียวกันแล้วจึงกลายเป็นเรื่องที่ใหม่ และสร้างความไม่สบายใจให้กับสังคมที่มีกรอบความเชื่อเดิม และแนวปฏิบัติเดิมของสังคมที่ยอมรับการมีอยู่ของผู้ชายและผู้หญิงเท่านั้นได้

สิ่งที่เกิดขึ้นเลยจากการที่มีการประกาศว่า กฎหมายสมรสเท่าเทียมได้ผ่านการเห็นชอบของมติ สว. แล้วคือ สังคมบางส่วนมองว่าผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศเป็น “ผู้ที่แย่งพื้นที่เดิมของผู้ชายจริง หญิงแท้ในสังคม” หรือ มองว่าการให้สิทธิผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ มักเป็น “การลิดรอนและลดทอนสิทธิบางส่วนของกลุ่มคนชายจริงหญิงแท้” โดยกลุ่มคนที่ไม่พอใจมักวิพากษ์ว่าผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศขัดต่อหลักศาสนาที่เชื่อว่ามนุษย์มีแค่เพศชายและเพศหญิงเพียงเท่านั้น การรับรองสิทธิของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ จึงเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเป็นผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศมากขึ้น ซึ่งกระทบกับผู้ที่มีความเชื่อทางศาสนาใดศาสนาหนึ่งในประเทศ อีกประการหนึ่งเลยคือ การมีกฎหมายสมรสเท่าเทียมจะส่งผลต่อการให้กำเนิดประชากรใหม่ๆสู่สังคมลดลง และขัดกับหลักความเชื่อทางศาสนาเดิมว่า การให้กำเนิดบุตร คือ หน้าที่ที่พึงกระทำ เป็นต้น

ในความเป็นจริงแล้วหลายคนคงปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศมีมานานมากแล้ว และมีอยู่ในสังคมทั่วโลกมาโดยตลอด หากแต่โดนกรอบของสังคมกดทับทำให้ ต้องปกปิดตัวตนของตนเองโดยเสมอมา และอัตลักษณ์ทางเพศ และรสนิยมทางเพศควรเป็นสิ่งที่เลือกได้ ปัจจุบันมีความก้าวหน้าในเรื่องกฎหมาย และสิทธิมากขึ้น ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศรู้สึกปลอดภัยและสิทธิมากขึ้นจึงกล้าที่จะแสดงตัวตนมากขึ้น (Out of closet) การให้สิทธิและมีกฎหมายที่สนับสนุนความเสมอภาค และปกป้องผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศจึงไม่ใช่เป็นการลดสิทธิใคร แต่เป็นการเพิ่มสิทธิที่พึงมีให้แก่ประชาชนในสังคมให้มีความเสมอภาคกับคนอื่น และการรองรับการมีอยู่ของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศให้และได้รับการปฏิบัติแบบชายจริงหญิงแท้ที่ได้มีสิทธิในการใช้ชีวิตอย่างเสรีมานานมากแล้ว นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจของความหลากหลายของคนในสังคมให้มากขึ้น สิทธิ จึงไม่ใช่ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด แบบ Zero-sum game หรือขนมเค้กที่เมื่อเกิดการแบ่งผลประโยชน์กัน แล้วชิ้นเค้กของใครบางคนจะลดน้อยลง แต่การให้สิทธิที่เสมอภาคเป็นเครื่องการันตีว่าทุกคนจะได้มีเสรีภาพในการใช้ชีวิตได้อย่างมีความภาคภูมิใจ และเต็มศักยภาพเท่าที่มนุษย์หนึ่งคนควรมี

บทความนี้ ผู้เขียนมีความพยายามที่สร้างความตระหนักที่ความสำคัญของการส่งเสริมความเสมอภาคของของกลุ่มคนทุกเพศ ความพยายามชี้ให้เห็นถึงกรอบของสังคมที่กดทับประชาชนบางกลุ่มอยู่ และพยายามชี้ให้เห็นว่าการให้สิทธิที่เสมอภาคคือ การสร้างเสริมสร้างความเป็นมนุษย์ หากแต่เป็นการลิดรอนสิทธิของใคร กฎหมายสมรสเท่าเทียมจึงเป็นหมุดหมายที่สำคัญ และเป็นฐานที่ส่งต่อให้การพัฒนาสิทธิในมิติอื่นๆ ของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศต่อไป จนกว่าท้องฟ้าจะเป็นสีรุ้ง จนกว่าทุกคนจะเสมอภาค และจนกว่าจะไม่มีคำว่าสิทธิของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ แต่เป็นสิทธิมนุษยชนที่เสมอภาคกันSo Be Bold, Be Strong and Be Pride!!!

เจริญ สู้ทุกทิศ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
06:00 น. สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
06:00 น. ปล่อยรัว 3 เพลงติด ‘loserpop’ กับเพลงรักคอมโบเซ็ท
06:00 น. ‘ใบเฟิร์น สุทธิยา’ สลัดลุคหวาน สาดความแซ่บ! พร้อมคัมแบ็กสุดปังในเพลงใหม่ ‘นัดฟิน’
06:00 น. ‘เอิร์น’ปล่อยซิงเกิลใหม่ ‘ซัพพอร์ตผู้หญิงคนนี้ได้ไหมคะ’ แนวน่ารัก สดใส เอาใจสาวไร้คู่
06:00 น. ‘จุฬาฯ’ จับมือ ‘ช่อง 7HD’ส่งรายการใหม่ ‘THE CRACK HUNTER หน่วยล่ารอยร้าว’
ดูทั้งหมด
ภาพอบอุ่นใจความรักที่งดงามของ 'กษัตริย์จิกมี-สมเด็จพระราชินี-เจ้าชาย-พระธิดา' ในยามค่ำคืนของทะเลทรายโกบี
(คลิป) 'ฐปณีย์' เละคาบ้าน! ด้อยค่าคนไม่เห็นด้วย 'เมียจ่าปืน' ออกโรงตอกกลับไม่ใช่ IO
หยามเกียรติธงชาติไทย! ทนายแจ้งเอาผิด โพสต์เฟสบุ๊คดูหมิ่น'ธงคือผ้าเช็ดเท้า'
‘ลาออก’ไปเถอะ! ฉะ‘นายกฯ’มีสติปัญญาแค่นี้ แผ่นเสียงตกร่องชู‘กาสิโน’แก้เศรษฐกิจ
'แก้ว อภิรดี'ควงลูกสาวเปิดสถานะหัวใจ เผยเตรียมสละโสดก่อนอายุ 35
ดูทั้งหมด
แวดวงการเงิน : 10 พฤษภาคม 2568
หุ้นเด่น : 10 พฤษภาคม 2568
จีนแนะอเมริกาแสวงจิตวิญญาณอเมริกันแทนเป็นอันธพาลโลก
เตรียมหาช่องทางธรรมชาติไว้หนีคดี
บุคคลแนวหน้า : 10 พฤษภาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'โฆษก​ มท.'แจงแล้ว! ​ปมเรียก​สรรพนาม'คุณลูกค้า'แทน'คุณลุง​-​คุณป้า'

มิตรภาพแน่นแฟ้น! 'ปูติน-สี จิ้นผิง'ร่วมชมขบวนพาเหรดวันแห่งชัยชนะ

ชั้น 14 ส่อวุ่นอีก!!! 'รพ.ราชทัณฑ์'เล็งฟ้องศาลเพิกถอนมติ'แพทยสภา'

อดทนต่อคำปรามาส! 'นิพิฏฐ์'ขอบคุณทุกฝ่าย ยืนหยัดต่อสู้'คดีชั้น 14'

ปตท. ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติส่วนเพิ่มแหล่งอาทิตย์เสริมความมั่นคงพลังงานไทย

สุดกลั้น! 'นุ่น ดารัณ'เปิดบทเรียนเข้มงวดจนลูกหนีออกจากบ้าน

  • Breaking News
  • สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’ สกู๊ปแนวหน้า : ฟื้น‘กะปิกุ้งเคย’ ภูมิปัญญา‘เกาะลิบง’
  • ปล่อยรัว 3 เพลงติด ‘loserpop’ กับเพลงรักคอมโบเซ็ท ปล่อยรัว 3 เพลงติด ‘loserpop’ กับเพลงรักคอมโบเซ็ท
  • ‘ใบเฟิร์น สุทธิยา’ สลัดลุคหวาน สาดความแซ่บ!  พร้อมคัมแบ็กสุดปังในเพลงใหม่ ‘นัดฟิน’ ‘ใบเฟิร์น สุทธิยา’ สลัดลุคหวาน สาดความแซ่บ! พร้อมคัมแบ็กสุดปังในเพลงใหม่ ‘นัดฟิน’
  • ‘เอิร์น’ปล่อยซิงเกิลใหม่ ‘ซัพพอร์ตผู้หญิงคนนี้ได้ไหมคะ’ แนวน่ารัก สดใส เอาใจสาวไร้คู่ ‘เอิร์น’ปล่อยซิงเกิลใหม่ ‘ซัพพอร์ตผู้หญิงคนนี้ได้ไหมคะ’ แนวน่ารัก สดใส เอาใจสาวไร้คู่
  • ‘จุฬาฯ’ จับมือ ‘ช่อง 7HD’ส่งรายการใหม่  ‘THE CRACK HUNTER หน่วยล่ารอยร้าว’ ‘จุฬาฯ’ จับมือ ‘ช่อง 7HD’ส่งรายการใหม่ ‘THE CRACK HUNTER หน่วยล่ารอยร้าว’
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

The Corruption ระบบแท้ คนเก๊: วิเคราะห์ปัญหาคอร์รัปชันที่ประเทศไทยไม่มีทางแก้?

The Corruption ระบบแท้ คนเก๊: วิเคราะห์ปัญหาคอร์รัปชันที่ประเทศไทยไม่มีทางแก้?

30 เม.ย. 2568

การกลับคืนสู่อำนาจของทรัมป์: ผลกระทบต่อกระแสความคิดและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกลับคืนสู่อำนาจของทรัมป์: ผลกระทบต่อกระแสความคิดและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

23 เม.ย. 2568

สงกรานต์เป็นเทศกาลแห่งความสุขของใครกันแน่

สงกรานต์เป็นเทศกาลแห่งความสุขของใครกันแน่

16 เม.ย. 2568

เมื่อชีวิตมีแค่ทางเลือกที่แย่กับแย่น้อยกว่า : ปัญหามลพิษในประเทศไทยหนักแค่ไหน?

เมื่อชีวิตมีแค่ทางเลือกที่แย่กับแย่น้อยกว่า : ปัญหามลพิษในประเทศไทยหนักแค่ไหน?

9 เม.ย. 2568

6 ปี ACT Ai - เครื่องมือสู้โกงของประชาชน

6 ปี ACT Ai - เครื่องมือสู้โกงของประชาชน

26 มี.ค. 2568

เมื่อจีนใช้ AI ช่วยสะสางการคอร์รัปชันอย่างได้ผล ไทยจะเรียนรู้อะไรได้บ้าง

เมื่อจีนใช้ AI ช่วยสะสางการคอร์รัปชันอย่างได้ผล ไทยจะเรียนรู้อะไรได้บ้าง

19 มี.ค. 2568

ราโชมอนและคอร์รัปชัน : เมื่อภาพยนตร์มีหลายมุมมอง แต่คอร์รัปชันมีความจริงเพียงหนึ่งเดียว

ราโชมอนและคอร์รัปชัน : เมื่อภาพยนตร์มีหลายมุมมอง แต่คอร์รัปชันมีความจริงเพียงหนึ่งเดียว

12 มี.ค. 2568

หากเงินซื้อความปลอดภัยได้ แล้วเงินเท่าไหร่ถึงจะซื้อความปลอดภัยที่มากพอสำหรับผู้หญิงได้

หากเงินซื้อความปลอดภัยได้ แล้วเงินเท่าไหร่ถึงจะซื้อความปลอดภัยที่มากพอสำหรับผู้หญิงได้

26 ก.พ. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved