วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / เขียนให้คิด
เขียนให้คิด

เขียนให้คิด

เฉลิมชัย ยอดมาลัย
วันอาทิตย์ ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2567, 02.00 น.
ผู้บริหารจุฬาฯ กับตราพระเกี้ยว

ดูทั้งหมด

  •  

คงไม่ต้องพูดซ้ำให้มากความและเสียเวลาว่าตราประจำของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เรียกสั้นๆ ว่าจุฬาฯ) คือตราพระเกี้ยว และตราพระเกี้ยวก็คือเครื่องหมายแทนพระองค์ของสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานรากเหง้าของการศึกษาแห่งสยามจนได้พัฒนาสืบต่อมาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ผู้พระราชทานนาม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อราว 1 ศตวรรษเศษที่ผ่านมา 


จากวันวานถึงบัดนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงใช้ตราประจำมหาวิทยาลัยคือพระเกี้ยว แต่ก็มีคำถามว่าแล้วบัดนี้ผู้บริหารจุฬาฯ จะใช้ตราพระเกี้ยวองค์ใดเป็นตราประจำมหาวิทยาลัยกันแน่ เพราะเมื่อสังเกตในงานสำคัญของจุฬาฯ ก็กลับพบว่ามีการติดตราพระเกี้ยวที่ไม่เหมือนกัน ทั้งๆ ที่
ผู้บริหารจุฬาฯ จำเป็นต้องสำเหนียกไว้ตลอดเวลาว่า ตราประจำมหาวิทยาลัยที่ตนเองไปทำหน้าที่ผู้บริหารนั้นคือตราประจำพระองค์ในรัชกาลที่ 5 (ขออนุญาตไม่ลงรายละเอียดความเป็นมาของตราพระเกี้ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เพราะได้เขียนถึงไปแล้วหลายครั้ง)

มีคำถามมากมายในเชิงห่วงใยจากผู้คนจำนวนมากที่ให้ความสำคัญกับพระนามจุฬาลงกรณ์ กับชื่อของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคำถามว่า
ตกลงแล้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในยุคนี้จะใช้ชื่อมหาวิทยาลัยว่า Chula หรือ เพราะตั้งแต่ยุคที่บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ดำรงตำแหน่งอธิการบดีของจุฬาฯ ก็พบว่ามีความจงใจใช้ชื่อ Chula แทนคำว่า Chulalongkorn University หรือ CU มาโดยตลอด แม้จะถูกตั้งคำถามและถูกท้วงติงจากคนจำนวนไม่น้อย แต่ก็ไม่ปรากฏว่าบัณฑิตจะให้ความใส่ใจกับคำท้วงติง

ครั้นมาถึงยุควิเลิศ ภูริวัชร รับตำแหน่งอธิการบดีจุฬาฯก็ยังคงพบว่าภายในหน่วยงานต่างๆ ของจุฬาฯ ใช้ตราประจำมหาวิทยาลัยแตกต่างกัน ทั้งๆ ที่อยู่ในงานเดียวกันเช่น ในงานพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาฯ งานรับตำแหน่งอธิการบดีจุฬาฯ และงานเลี้ยงสังสรรค์ของจุฬาฯ 

คำถามสำคัญคือผู้บริหารจุฬาฯ ยุคนี้ อาทิ นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตกลงจะใช้ตราประจำมหาวิทยาลัยตราใดกันแน่ ทำไมจึงมีตราประจำมหาวิทยาลัยสองชนิดในงานเดียวกัน ผู้บริหารจุฬาฯ ต้องการสื่อสารอะไรกับคนทั่วไปโดยการใช้ตราประจำมหาวิทยาลัยสองชนิดในโอกาสและวาระเดียวกัน กระนั้นหรือ 

อันที่จริงผู้บริหารจุฬาฯ เกือบทั้งหมดก็ล้วนแล้วแต่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากจุฬาฯ ก็น่าจะทราบดีว่าตราพระเกี้ยวคือตราประจำมหาวิทยาลัย เพราะฉะนั้นการที่ผู้บริหารจุฬาฯ ใช้ตราพระเกี้ยวสองชนิดสองแบบในงานเดียวกันก็จึงเท่ากับบ่งบอกว่าไม่ได้ให้ความสำคัญกับเอกลักษณ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

มันจะเป็นเรื่องดีที่สุด หากผู้บริหารจุฬาฯ จะใส่ใจในเรื่องที่เป็นรายละเอียดสำคัญของเอกลักษณ์แห่งจุฬาฯ โดยเฉพาะตราพระเกี้ยว ซึ่งต้องย้ำว่าเป็นตราประจำรัชกาลที่ 5 ที่พระราชทานให้เป็นตราของโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาสำหรับข้าราชการพลเรือน แล้วตราพระราชทานนั้นได้สืบต่อมาเป็นตราประจำของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ 26 มีนาคม 2459 โดยพระผู้สถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นพระราชอนุสรณ์แด่พระบรมราชชนก

ภาพที่นำมาประกอบเรื่องในวันนี้ เป็นสิ่งยืนยันว่าผู้บริหารจุฬาฯ ยุคนี้ใช้ตราพระเกี้ยวสองชนิดในงานเดียวกันซึ่งเป็นเรื่องประหลาดมหัศจรรย์มาก และก็ต้องย้ำว่าเรื่องเช่นนี้เป็นสิ่งที่ผู้บริหารจุฬาฯ ต้องตอบให้กระจ่างชัดว่ามีเหตุผลใดกับการใช้ตราพระเกี้ยวสองแบบ

มีเรื่องเล่าว่าตราพระเกี้ยวแบบใหม่เกิดมาจากความต้องการ Rebranding จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยคนที่อ้างว่าเป็นกูรูการตลาดจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ แต่คำถามคือจำเป็นต้อง Rebranding จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหรือ Branding จุฬาฯ ไม่มีความน่าเชื่อถือ ไม่เป็นที่รู้จักของสังคมไทยและสังคมโลก จริงหรือ แล้วการ Rebranding จุฬาฯ ด้วยการใช้ชื่อว่า Chula และมีตราพระเกี้ยวใหม่ มันทำให้สังคมไทยและสังคมโลกรู้จักจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมากขึ้นกว่าเดิมหรือ หรือว่าการเปลี่ยนจาก CU Chulalongkorn University ให้เหลือเพียง Chula พร้อมกับการเปลี่ยนตราประจำมหาวิทยาลัยเป็นพระเกี้ยวแบบ minimalism จะทำให้จุฬาฯมีความดีเด่นดังด้านวิชาการมากกว่าเดิม

ประชาคมชาวจุฬาฯ จำนวนไม่น้อยตั้งคำถามว่า ตกลงแล้วผู้บริหารจุฬาฯ ยุคนี้จะใช้ตราประจำมหาวิทยาลัยเป็นรูปพระเกี้ยวแบบใดกันแน่ ขอให้เลือกใช้สักอย่างให้ชัดเจน โปรดอย่าใช้ตราประจำมหาวิทยาลัยทั้งสองแบบในงานเดียวกัน เพราะมันทำให้เห็นว่าผู้บริหารจุฬาฯ ไม่มีหลักไม่มีเกณฑ์ชัดเจนในการทำงาน และยังแสดงให้เห็นอีกว่าผู้บริหารจุฬาฯ ไม่ตระหนักในความเป็นเอกภาพขององค์กร เพราะองค์กรใดก็ตามที่ยังหาความเป็นหลักเป็นเกณฑ์ชัดเจนไม่ได้ องค์กรนั้นก็ยากที่จะเจริญก้าวหน้าต่อไป แต่จะเป็นได้แค่เพียงองค์กรที่เต็มไปด้วยความฉาบฉวย สร้างภาพไปวันๆ เท่านั้น องค์กรใดมีผู้บริหารที่ฉาบฉวย ก็คือองค์กรที่ไม่สามารถดำรงได้อย่างมั่นคง แม้จะยังอยู่ได้ แต่ก็น่าจะอยู่แบบรอวันล่มสลาย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
08:45 น. ด่วน!!! โปรดเกล้าฯ'ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2' 'นายกฯ'ควบ'รมว.วัฒนธรรม'
08:33 น. รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว
08:27 น. 'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย
08:01 น. ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่
07:56 น. หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า
ดูทั้งหมด
วอน'ญี่ปุ่น'ช่วยหย่าศึก! 'ฮุน เซน'ขอร้องให้ช่วยพูดกับไทย จี้ให้ศาลโลกช่วยตัดสินปมพื้นที่พิพาท
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
'ลุงเตีย'ลำบากใจ!ร่วม'ฮุนเซน'ตรวจชายแดนท่ามกลางสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาตึงเครียด
'ปานเทพ' พอใจภาพรวมชุมนุม 28 มิ.ย. เผยยอดเงินหนุน 'มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน' 24 ล้านแล้ว
ดูทั้งหมด
แวดวงการเงิน : 1 กรกฎาคม 2568
หุ้นเด่น : 1 กรกฎาคม 2568
วิกฤตกัญชาในพายุการเมือง
ขำกันหลังวันม็อบ
กูไม่ออก?
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย

'ไพศาล'แทงสวน! หาก'อิ๊งค์'หยุดปฏิบัติหน้าที่'นั่ง'รมว.วธ.'ได้

หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า

ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด

‘ชูวิทย์’เลคเชอร์‘เรื่องตลก’พรรคร่วมฯ เหน็บจุกๆทุกครั้ง‘เพื่อไทย’เป็นรัฐบาล ต้องไล่ถึงจะลง

'หมอสุรพล'ชี้ทางออก!!! 'ถ้าไม่เปลี่ยนวัฒนธรรมพลเมืองวันนี้ ประเทศไทยจะไม่มีวันเปลี่ยน'

  • Breaking News
  • ด่วน!!! โปรดเกล้าฯ\'ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2\' \'นายกฯ\'ควบ\'รมว.วัฒนธรรม\' ด่วน!!! โปรดเกล้าฯ'ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2' 'นายกฯ'ควบ'รมว.วัฒนธรรม'
  • รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว
  • \'ปากีสถาน\'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย 'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย
  • ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่ ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่
  • หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ทายาท (อสูร) การเมืองไทย

ทายาท (อสูร) การเมืองไทย

29 มิ.ย. 2568

อยู่เพื่อทำลายประเทศไทย

อยู่เพื่อทำลายประเทศไทย

22 มิ.ย. 2568

แพทองธาร : ความเจริญ-ความวิบัติของประเทศไทย

แพทองธาร : ความเจริญ-ความวิบัติของประเทศไทย

15 มิ.ย. 2568

อย่ารักชาติแบบศาสตราจารย์ไร้สาระบางจำพวก

อย่ารักชาติแบบศาสตราจารย์ไร้สาระบางจำพวก

8 มิ.ย. 2568

งบประมาณฯ ผลาญชาติ???

งบประมาณฯ ผลาญชาติ???

1 มิ.ย. 2568

แพทองธารไปอังกฤษ ไปพบยิ่งลักษณ์???

แพทองธารไปอังกฤษ ไปพบยิ่งลักษณ์???

25 พ.ค. 2568

ทิดแย้ม ไร่ขิง ปัญหาบนยอดภูเขาน้ำแข็ง

ทิดแย้ม ไร่ขิง ปัญหาบนยอดภูเขาน้ำแข็ง

18 พ.ค. 2568

บ่อนกาสิโน-แพทองธาร ชินวัตร : ภาพลักษณ์ไทย

บ่อนกาสิโน-แพทองธาร ชินวัตร : ภาพลักษณ์ไทย

11 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved