วันศุกร์ ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / กวนน้ำให้ใส
กวนน้ำให้ใส

กวนน้ำให้ใส

สารส้ม
วันอังคาร ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2568, 02.00 น.
อย่าลืมอาฟเตอร์ช็อก หลังอภิปรายนายกฯ

ดูทั้งหมด

  •  

หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยังมีอาฟเตอร์ช็อกหลายประเด็นที่ต้องติดตาม


สำคัญไม่น้อยไปกว่าการแก้ปัญหาอาฟเตอร์ช็อกหลังแผ่นดินไหว

1. ประเด็นที่จะมีอาฟเตอร์ช็อก ได้แก่

ที่ดินธรณ์สงฆ์อัลไพน์

ที่ดินโรงแรมเขาใหญ่ของนายกฯ

ชั้น 14 เอื้อประโยชน์บิดานายกฯ

และกรณีหลบเลี่ยงภาษีด้วยตั๋วสัญญาใช้เงิน

2. ประเด็นเลี่ยงภาษี เป็นประเด็นที่ สส.ฝ่ายค้าน ทั้งพรรคพลังประชารัฐ และพรรคส้ม ต่างหยิบขึ้นมาอภิปราย

2.1 น.ส.พิมพ์พร พรพฤฒิพันธุ์ สส.เพชรบูรณ์ เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)กล่าวอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ โดยชี้ว่า เป็นนิติกรรมที่เป็นข้อสงสัยต่อสาธารณะ

กรณียื่นแสดงในทรัพย์สินและหนี้สินของนายกฯ ซึ่งบัญชีแสดงรายการหนี้สินอื่นจำนวนกว่า 4,434 ล้านบาท หนี้สินนี้ประกอบไปด้วยหนี้ตามต่อสัญญาใช้เงินเพื่อชำระค่าหุ้นให้กับพี่น้องเครือญาติและบุคคลในครอบครัวของนายกฯ จากการตรวจสอบตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว ทั้ง 9 ฉบับเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2559 ล้วนเป็นตัวสัญญาใช้เงินที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา ชำระหนี้คืนและไม่มีการคิดดอกเบี้ย

“...กรณีนี้ ดิฉันไม่เข้าใจว่า นายกรัฐมนตรีมีเจตนาที่จะผ่องถ่ายทรัพย์สินโอนหุ้น กันระหว่างเครือญาติหรือไม่

เพราะโดยปกติในการกู้ยืมเงินกัน หรือการซื้อขายกัน

หากมีการกู้ยืมเงินกันจริงก็ต้องมีการกำหนดระยะเวลาใช้คืน และมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ ซึ่งตั๋วเงินสัญญาในลักษณะนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 ระบุว่าหากเป็นการกู้ยืมการระหว่างบุคคลและไม่ได้ตกลงอัตราดอกเบี้ยกันไว้ สามารถเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามกฎหมายได้ร้อยละ 3 บาทต่อปี ซึ่งในลักษณะตัวสัญญาใช้เงินจำนวนดังกล่าวหากคิดดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะคิดดอกเบี้ยได้เป็นจำนวนเงินถึง132 ล้านบาทต่อปี ซึ่งรัฐสามารถเก็บภาษีต่อเนื่องได้อีกเป็นจำนวนเงินหนึ่ง” - น.ส.พิมพ์พร กล่าว

น.ส.พิมพ์พร ยังอภิปรายไว้ด้วยว่า เงินจำนวนนี้อาจจะไม่ได้มากนัก แต่หากเงินจำนวนนี้ตกไปในพื้นที่ถิ่นทุรกันดารแบบที่ประชาชนรอคอยความช่วยเหลือ เงินจำนวนนี้ก็จะสามารถสร้างประโยชน์มหาศาลให้กับพี่น้องในพื้นที่ได้ และจากการตรวจสอบเอกสารภาษีในการยื่นบัญชีทรัพย์สินและใช้หนี้สิน กลับไม่พบการตั้งหนี้ภาษีรายได้บุคคลธรรมดาเอาไว้และไม่พบรายจ่ายสำหรับภาษีเงินได้ที่แจ้งเอาไว้เช่นกัน ตนจึงตั้งข้อสังเกตว่า การกู้เงินตามตั๋วสัญญา ดังกล่าวนี้ เป็นการทำนิติกรรมที่อาจทำให้รัฐเสียหายจากรายได้ภาษีหรือไม่

บทบัญญัติประมวลรัษฎากรมาตรา 39 คือเงินได้พึงประเมิน ย่อมหมายถึงตัวเงินที่เป็นตัวเงิน รวมถึงทรัพย์สินและประโยชน์อย่างอื่นที่อาจประเมินมูลค่าเป็นตัวเงินได้ ฉะนั้น ตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวที่เกิดจากการได้รับหุ้นก็ต้องถือเป็นเงินได้พึงประเมินเช่นเดียวกัน

ส่วนประเด็นความผิดที่อาจจะเกิดขึ้นจากตัวสัญญาใช้เงินกว่า 4,434 ล้านบาท ซึ่งหากมองในแง่ของการทำธุรกรรมกรณีดังกล่าวอาจจะไม่ชี้ชัดว่าขัดต่อเรื่องข้อกฎหมายในข้อใดอย่างชัดเจน แต่หากมองในเรื่องของจริยธรรมผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งหากนายกฯจะสามารถชี้แจงได้ก็คงเป็นประโยชน์กับสาธารณะ

น.ส.พิมพ์พร ระบุว่า เรื่องการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของนายกฯ ซึ่งเอกสารได้แสดงถึงรายได้และรายจ่ายต่อปีโดยประมาณ และรายได้จากค่าเช่าทรัพย์สินซึ่งรายการดังกล่าว ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามกฎหมายตามประมวลรัษฎากรมาตราที่ 40 (5) ซึ่งผู้มีเงินได้ตามรายการดังกล่าวนั้นจะต้องยื่นแบบแสดงรายการการเสียภาษีด้วยแบบ ภ.ง.ด.94 นั่นหมายความว่าการที่นายกฯ ได้แสดงรายได้จากค่าเช่าทรัพย์สินแต่กลับไม่พบแบบแสดงรายการภาษี ภ.ง.ด.94 ปรากฏอยู่ในเอกสารประกอบรายการทรัพย์สินที่นายกฯ
ยื่นไว้ ที่พบเพียงภ.ง.ด.90 และ 91 ซึ่งหากนายกฯไม่ได้ยื่นภ.ง.ด.94 อาจจะเข้าข่ายความผิดต่อหน้าที่ของบุคคลตามรัฐธรรมนูญมาตรา 50 (9) นั่นคือหน้าที่ของปวงชนชาวไทยที่ต้องเสียภาษีตามที่กฎหมายบัญญัติ และในกรณีดังกล่าวอาจจะไม่ได้มีความผิดร้ายแรงหากนายกฯ ได้ยื่นเพิ่มเติมหลังจากตรวจสอบเสียภาษี เสียเงินเพิ่ม และเสียเบี้ยปรับไปแล้ว

“การเปลี่ยนแปลงการโอนหุ้น ตนตั้งข้อสังเกตว่าเมื่อมีการโอนหุ้นเกิดขึ้นแล้วการโอนหุ้นนี้กลับไม่ปรากฏรายได้ค่าหุ้นค้างรับหรือรายได้จากการขายหุ้นใดๆที่แสดงในบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินที่นายกฯ ได้ยื่นแสดงต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และรายได้ที่นายกฯแสดงก็ไม่ปรากฏถึงรายได้จากการโอนหุ้น ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่านายกฯ อาจยื่นแสดงรายการขายทรัพย์สินไม่ครบถ้วนหรือไม่ เพราะหากนายกฯบอกว่าเป็นการโอนหรือการให้โดยเสน่หาท่านก็ยังคงต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีกอยู่ดี ดิฉันจึงอยากให้นายกฯไปชี้แจงประเด็นทางบัญชีต่างๆ ด้วย” - สส. พลังประชารัฐกล่าวไว้ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

2.2 สส.พรรคส้ม นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ได้อภิปรายประเด็นนี้เป็นหลัก

หลังจากนั้น ได้ไปยื่นเรื่องให้สรรพากรตรวจสอบและดำเนินเรื่องนี้อย่างเป็นทางการ

นายวิโรจน์ ระบุว่า ประเด็นที่กรมสรรพากร ต้องมีการวินิจฉัยอย่างเป็นทางการ ก็คือการซื้อหุ้นจากคนในครอบครัวของนายกรัฐมนตรี เป็นนิติกรรมอำพราง เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีการรับให้ หรือไม่

“..28 มี.ค.2568 ผมได้เดินทางไปยื่นหนังสือให้อธิบดีกรมสรรพากร ดำเนินการตามมาตรา 13 สัตต (3) โดยให้อธิบดีกรมสรรพากรขอให้คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร วินิจฉัยการซื้อหุ้นของนายกรัฐมนตรี ว่าเป็นนิติกรรมอำพราง โดยเป็นการซื้อแต่เพียงรูปแบบ แต่เจตนาที่แท้จริงคือการรับให้ เพื่อหลีกเลี่ยง “ภาษีการรับให้” หรือไม่

ซึ่งการสืบสวน มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องติดตามตรวจสอบพฤติกรรมการใช้ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋ว P/N ที่ไม่มีกำหนดการชำระเงิน และไม่มีดอกเบี้ย ในการซื้อเชื่อหุ้น ระหว่างคุณแพทองธาร กับบุคคลในครอบครัว และระหว่างบุคคลในครอบครัวด้วยกันเอง ย้อนหลังตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ว่าตั๋ว P/N ที่เคยออกให้ระหว่างกัน เพื่อการซื้อหุ้นนั้นมีทั้งสิ้นกี่ฉบับ และสถานะการชำระหนี้ในปัจจุบันเป็นอย่างไร เคยมีการชำระหนี้กันจริงหรือไม่

สำหรับหุ้นที่นายกรัฐมนตรีรับโอนมาจากพี่สาว พี่ชาย ลุง ป้าสะใภ้ และแม่ ที่ผ่านมาเคยมีการจ่ายเงินปันผลบ้างหรือไม่ จ่ายในอัตราเท่าไหร่ และในเมื่อได้รับเงินปันผลแล้ว จึงยังไม่ยอมชำระหนี้ค่าซื้อหุ้นอีก

ซึ่งทั้งหมดนี้ จะเป็นข้อมูลสำคัญที่จะชี้เจตนาในการทำธุรกรรมในครั้งนี้ของนายกรัฐมนตรี รวมทั้งจะเป็นประโยชน์ในการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ หรือองค์ประกอบแห่งพฤติการณ์ใด ที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการพิจารณาตัดสินว่าธุรกรรมการซื้อหุ้นแบบไหน ที่เข้าข่ายเป็นนิติกรรมอำพรางเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีการรับให้

ผมต้องยืนยันตรงนี้ก่อนว่า การใช้ตั๋ว P/N ในการซื้อขายหุ้นไม่ใช่ปัญหา ถ้าเจตนาที่แท้จริง คือต้องการที่จะซื้อขายหุ้นกันจริงๆ

แต่ถ้าเจตนาที่แท้จริง คือ การรับให้หุ้น แต่สร้างธุรกรรมการซื้อขายแต่เพียงรูปแบบ เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีการรับให้ ก็ย่อมถือว่า พฤติกรรมดังกล่าวเข้าข่ายการกระทำผิดกฎหมายตามมาตรา 37 แห่งประมวลรัษฎากร

ที่ผ่านมา ทั้งนายกรัฐมนตรี และอธิบดีกรมสรรพากร ชี้แจงเฉพาะในแง่มุมของภาษีเงินได้ส่วนบุคคล ที่พี่สาว พี่ชาย ลุง ป้าสะใภ้ และแม่ของนายกฯ ซึ่งเป็นผู้ขายหุ้นต้องเป็นผู้ชำระ ซึ่งไม่ได้เป็นประเด็นหลักที่สังคมตั้งข้อสงสัยเลย เพราะสังคมเข้าใจดีว่า หากเป็นการซื้อขายหุ้นกันจริงๆ ผู้ขายหุ้นหากมีกำไร ก็จะต้องเสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดา ในส่วนของการวางแผนภาษีแบบดุดัน (Aggressive Tax Planning) ของพี่สาว พี่ชาย ลุง ป้าสะใภ้ และแม่ ทั้งในประเด็นที่ว่า หากการขายหุ้นเป็นการขายในราคาทุน หรือราคาพาร์ โดยไม่มีกำไร ทั้งพี่สาว พี่ชาย ลุง ป้าสะใภ้ และแม่ของนายกฯก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเลยแม้แต่บาทเดียว

หรือในประเด็นของการใช้ตั๋ว P/N แทนการทำสัญญาเงินกู้ เพื่อประหยัดค่าอากรแสตมป์ โดยถ้าหากทำเป็นสัญญาเงินกู้ ก็จะต้องเสียค่าอากรแสตมป์ในอัตรา 1 บาทต่อมูลค่าหนี้ 2,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่งหนี้ 9 รายการ ก็ต้องเสียค่าอากรแสตมป์ทั้งสิ้น 90,000 บาท แต่ถ้าหากใช้ตั๋ว P/N ก็จะจ่ายค่าอากรแสตมป์เพียงฉบับละ 3 บาทเท่านั้น 9 รายการ ก็จะจ่ายค่าอากรแสตมป์เพียง แค่ 27 บาท เท่านั้น

หรือการใช้ตั๋ว P/N ดึงการจ่ายค่าซื้อหุ้นออกไปเรื่อยๆ เพื่อที่จะได้นำเงินไปลงทุนออกดอกออกผลก่อน เพราะเงิน 4,434.5 ล้านบาท หากชำระในอีก 10-20 ปีถัดไป มูลค่าที่แท้จริงของเงินที่ต้องจ่ายเป็นค่าหุ้น ก็จะลดลงจากอัตราเงินเฟ้ออยู่แล้ว

การวางแผนภาษีแบบดุดัน (Aggressive Tax Planning) ของบุคคลในครอบครัวของนายกฯแม้ว่าจะมีข้อถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง แต่ผมคิดว่าสังคมเข้าใจได้ เพราะทั้งพี่สาว พี่ชาย ลุง ป้าสะใภ้ และแม่ ของนายกฯก็เป็นประชาชนคนหนึ่ง เมื่อกฎหมายเปิดช่องก็ย่อมสามารถทำได้

ผมยืนยันว่า ประเด็นในเรื่องการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของพี่สาว พี่ชาย ลุงป้าสะใภ้ และแม่ของนายกฯนั้นไม่ใช่ประเด็นหลัก ที่สังคมสงสัย

ประเด็นหลักที่สังคมสงสัย ก็คือ การจ่าย “ภาษีการรับให้” ที่นายกฯต้องเป็นผู้ชำระตามมาตรา 42 (27) และ (28) ของประมวลรัษฎากร สังคมไม่ได้สงสัยการจ่าย “ภาษีรายได้บุคคลธรรมดา” ที่พี่สาว พี่ชาย ลุง ป้าสะใภ้ และแม่ของนายกฯต้องเป็นผู้ชำระตามมาตรา 40(4)(ช) ของประมวลรัษฎากร

เรื่องนี้มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องวินิจฉัยอย่างเป็นทางการ เพื่อให้มีข้อสรุปที่เป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งในแง่ของความเสมอภาคกันต่อหน้ากฎหมาย และผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของประเทศ

ถ้าหากพฤติกรรม และธุรกรรมที่นายกฯสร้างขึ้น ทำให้ไม่ต้องจ่ายภาษีการรับให้ ประชาชนที่กำลังจะโอนที่ดิน โอนหุ้นของบริษัทให้ลูก หรือโอนระหว่างกันเอง ก็จะได้ใช้รูปแบบการซื้อขาย ในแบบที่นายกฯทำ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องจ่ายภาษีการรับให้เหมือนกับนายก และจะได้ไม่ต้องกังวลว่าจะถูกเจ้าหน้าที่สรรพากรมาเรียกเก็บภาษี หรือดำเนินคดีย้อนหลัง

แต่ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า ถ้าประชาชนทุกคนทำเช่นนี้ได้ ก็อาจจะทำให้รัฐไม่สามารถที่จะจัดเก็บภาษีการรับให้ได้อีกต่อไป ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของแผ่นดินอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งหากกรณีนี้ถูกพิจารณาเป็นความเสียหายต่อภาครัฐ ทั้งอธิบดีกรมสรรพากร และคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ก็จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ

ซึ่งหลังจากนี้ ผมจะประสานเพื่อใช้กลไกของคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร ในการติดตามความคืบหน้าต่อไป โดยจะเชิญผู้แทนจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เข้ามาร่วมหารือด้วย ตามมาตรา 85 ของ พ.ร.ป.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งเกี่ยวข้องกับกรณีที่พบว่ามีกฎหมาย หรือระเบียบใด ที่เป็นช่องว่างก่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ” – นายวิโรจน์ย้ำประเด็นสำคัญในเฟซบุ๊กของตนเอง

3. อย่าลืมประเด็นเหล่านี้เสีย

อย่าลืมว่า เคยมีข้าราชการสรรพากรติดคุก เพราะช่วยครอบครัวนายกฯหลบเลี่ยงภาษีมาแล้ว

อาฟเตอร์ช็อกหลังอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯตระกูลชินวัตร สำคัญไม่น้อยไปกว่าอาฟเตอร์ช็อกหลังแผ่นดินไหว

 

สารส้ม

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
20:51 น. 'ธรรมนัส'รับคุยทักษิณ ก่อนดึง'อนุดิษฐ์-การุณ' เปรยเตรียมเปิด'บิ๊กเนม-สส.'อีกเพียบ
20:38 น. ด่วน! ‘เปรมชัย-พวก’นอนคุก! ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว
20:30 น. คดีพลิก! 'จัสติน บีเบอร์'ติดหนี้อดีตผู้จัดการ200ล้าน แฉเดือดไม่ยอมใช้หนี้อ้างไม่มีเงิน
20:28 น. ฟ้องด้วยภาพ! 'เอกนัฏ'อึ้ง! เหล็ก'ซิน เคอ หยวน' โผล่คาซากอาคาร โรงงานถล่มที่ 'นิคมฯอมตะซิตี้ 10'
20:06 น. ดินเนอร์หวาน! 'กล้าธรรม'ปิดดีล'อนุดิษฐ์-การุณ' การันตี 2 คนมีตำแหน่งในพรรคแน่นอน
ดูทั้งหมด
'El Clásico2025' เมื่อเก้าอี้ดนตรีเริ่มบรรเลง
เช็คผลที่นี่!!! 'เลือกตั้งเทศบาล'ส่วนใหญ่แชมป์เก่าคว้าชัย
เช็คผลเลือกตั้งเทศบาลบุรีรัมย์ ‘บิ๊กเนม’พาเหรดยึดเก้าอี้นายกเทศมนตรี
นายกสมาคมทนาย ชี้'ทักษิณ'รักษาตัวชั้น 14 เจ้าตัวถูกจำคุกตามหมายศาลเเล้ว
สั่งย้าย! รอง ผบ.พัน กองบิน 23 พ้นตำแหน่ง หลังใช้ทหารวิ่งไรเดอร์เพื่อประโยชน์ส่วนตัว
ดูทั้งหมด
การตรวจหาคราบแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจและความหมายของ calcium score
คุกรออยู่ถ้า‘สมศักดิ์ เทพสุทิน’วีโต้
อดีต รมต.คลังแนะว่าอย่าก้มหัวให้สหรัฐหากรัฐบาลอยู่ถึงวันเจรจา
‘สวนกระแสลิซ่าสู่ต้นธารแห่งบรรพชน’
ขยายฐาน....ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'ธรรมนัส'รับคุยทักษิณ ก่อนดึง'อนุดิษฐ์-การุณ' เปรยเตรียมเปิด'บิ๊กเนม-สส.'อีกเพียบ

คดีพลิก! 'จัสติน บีเบอร์'ติดหนี้อดีตผู้จัดการ200ล้าน แฉเดือดไม่ยอมใช้หนี้อ้างไม่มีเงิน

ฟ้องด้วยภาพ! 'เอกนัฏ'อึ้ง! เหล็ก'ซิน เคอ หยวน' โผล่คาซากอาคาร โรงงานถล่มที่ 'นิคมฯอมตะซิตี้ 10'

แกนนำกล้าธรรม ร่วมดินเนอร์ ‘อนุดิษฐ์-การุณ’ เตรียมเปิดตัวเป็นสมาชิกคนใหม่

จับผู้ร่วมก่อตั้งไอศกรีมแบรนด์ดัง'Ben & Jerry’s' หลังประท้วงสงครามในกาซา

ไม่ใช่ 300 ล้าน! สอบพระผู้ช่วย 'อดีตเจ้าคุณแย้ม' พบโอนเงินกว่า 847 ล้านให้'อรัญญาวรรณ'

  • Breaking News
  • \'ธรรมนัส\'รับคุยทักษิณ ก่อนดึง\'อนุดิษฐ์-การุณ\' เปรยเตรียมเปิด\'บิ๊กเนม-สส.\'อีกเพียบ 'ธรรมนัส'รับคุยทักษิณ ก่อนดึง'อนุดิษฐ์-การุณ' เปรยเตรียมเปิด'บิ๊กเนม-สส.'อีกเพียบ
  • ด่วน! ‘เปรมชัย-พวก’นอนคุก! ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว ด่วน! ‘เปรมชัย-พวก’นอนคุก! ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว
  • คดีพลิก! \'จัสติน บีเบอร์\'ติดหนี้อดีตผู้จัดการ200ล้าน แฉเดือดไม่ยอมใช้หนี้อ้างไม่มีเงิน คดีพลิก! 'จัสติน บีเบอร์'ติดหนี้อดีตผู้จัดการ200ล้าน แฉเดือดไม่ยอมใช้หนี้อ้างไม่มีเงิน
  • ฟ้องด้วยภาพ! \'เอกนัฏ\'อึ้ง! เหล็ก\'ซิน เคอ หยวน\' โผล่คาซากอาคาร โรงงานถล่มที่ \'นิคมฯอมตะซิตี้ 10\' ฟ้องด้วยภาพ! 'เอกนัฏ'อึ้ง! เหล็ก'ซิน เคอ หยวน' โผล่คาซากอาคาร โรงงานถล่มที่ 'นิคมฯอมตะซิตี้ 10'
  • ดินเนอร์หวาน! \'กล้าธรรม\'ปิดดีล\'อนุดิษฐ์-การุณ\' การันตี 2 คนมีตำแหน่งในพรรคแน่นอน ดินเนอร์หวาน! 'กล้าธรรม'ปิดดีล'อนุดิษฐ์-การุณ' การันตี 2 คนมีตำแหน่งในพรรคแน่นอน
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ไม่ใช่ที่คุมขังนักโทษป่วย  ต้องกลับเข้าคุกจริง

ไม่ใช่ที่คุมขังนักโทษป่วย ต้องกลับเข้าคุกจริง

16 พ.ค. 2568

G-Token ช่องทางกู้เงินของรัฐบาล  ทางสะดวก หรือทางเลี่ยง?

G-Token ช่องทางกู้เงินของรัฐบาล ทางสะดวก หรือทางเลี่ยง?

15 พ.ค. 2568

ต้องยอมรับปัญหา แล้วลงมือแก้ไข  ใบส่งตัวล่าช้า จนมีคนตายแล้ว!

ต้องยอมรับปัญหา แล้วลงมือแก้ไข ใบส่งตัวล่าช้า จนมีคนตายแล้ว!

14 พ.ค. 2568

หวงแหนปราสาท ‘ตาเมือนธม”  รักชาติ สมเหตุสมผล

หวงแหนปราสาท ‘ตาเมือนธม” รักชาติ สมเหตุสมผล

13 พ.ค. 2568

รบจริง ไม่เหมือนในหนังฮอลลีวู้ด

รบจริง ไม่เหมือนในหนังฮอลลีวู้ด

12 พ.ค. 2568

นักการเมือง ‘ส้มสารพิษ’

นักการเมือง ‘ส้มสารพิษ’

9 พ.ค. 2568

\'จิตป่วย\' ไม่ใช่เรื่องน่าอาย เร่งป้องกันและรักษากันเถอะ

'จิตป่วย' ไม่ใช่เรื่องน่าอาย เร่งป้องกันและรักษากันเถอะ

8 พ.ค. 2568

ผู้ว่าฯชัชชาติ อย่าทำลายโครงการบ้านมั่นคง

ผู้ว่าฯชัชชาติ อย่าทำลายโครงการบ้านมั่นคง

7 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved