วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์โลกธุรกิจ / โลกการค้า
โลกการค้า

โลกการค้า

วันพฤหัสบดี ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2567, 02.00 น.
การค้าระหว่างประเทศเผชิญความเสี่ยง ความต้องการอ่อนและการกีดกันทางการค้ารุนแรง

ดูทั้งหมด

  •  

nn ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ได้เผยแพร่บทวิเคราะห์ของภาพรวมเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก โดยสรุปประเด็นสำคัญได้ว่าภาคการผลิตในประเทศสำคัญของโลกอยู่ในภาวะหดตัวท่ามกลางความต้องการที่อ่อนแอและการกีดกันทางการค้า สะท้อนความเสี่ยงต่อการค้าระหว่างประเทศ

ทั้งนี้สัญญาณการปรับลดดอกเบี้ยในเดือนกันยายนชัดเจนขึ้นหลังตลาดแรงงานชะลอตัว รวมถึงเงินเฟ้อมีความคืบหน้าในการปรับตัวสู่เป้าหมายที่ 2% ในเดือนกรกฎาคม ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 114,000 ตำแหน่ง จากเดือนก่อนที่ 179,000 ตำแหน่ง ชะลอตัวมากสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564 ส่วนอัตราการว่างงานปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 4.3% สูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ขณะที่ ตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงานเพิ่มขึ้น 3.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 3.8%


คณะกรรมการเฟด (FOMC) มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 5.25-5.50% พร้อมส่งสัญญาณเริ่มลดดอกเบี้ย 25bps ในการประชุมเดือนกันยายน เครื่องชี้สำคัญทางเศรษฐกิจสะท้อนความเป็นไปได้ในการปรับลดดอกเบี้ยอย่างน้อย 2 ครั้งในปีนี้ จากปัจจัยสนับสนุนของ 1.ตลาดบ้านที่ชะลอตัวต่อเนื่อง 2.อัตราการว่างงานปรับขึ้นสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 3.ดัชนี ISM ภาคการผลิตที่หดตัวมากที่สุดในรอบ 7 เดือน ขณะที่ ISM ภาคบริการพลิกหดตัวมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 และ 4.การบริโภคภาคครัวเรือนที่ชะลอตัวรวมถึงความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับลดลง ขณะเดียวกัน สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) ออกมาระบุว่าการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีน เช่น รถยนต์ไฟฟ้า (EV) แบตเตอรี่ชิพคอมพิวเตอร์ และผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ อาจล่าช้าออกไปอย่างน้อย 2 สัปดาห์ จากเดิมที่เคยประกาศว่าจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 สิงหาคม โดยการเก็บภาษีนั้นจะเริ่มมีผลบังคับใช้ประมาณ 5 สัปดาห์ หลังประกาศผลการตัดสินใจขั้นสุดท้าย

ธนาคารกลางญี่ปุ่น ( BOJ ) ขึ้นดอกเบี้ย พร้อมประกาศลดวงเงินซื้อพันธบัตรรายเดือนลงครึ่งหนึ่ง ในเดือนกรกฎาคม ดัชนี PMI ภาคการผลิตพลิกกลับมาหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือนอยู่ที่ 49.2 ส่วน ดัชนี PMI ภาคบริการกลับมาขยายตัวที่53.9 สูงสุดในรอบ 4 เดือน ในส่วนของรายงานยอดขายของผู้ค้าปลีกรายใหญ่โต 7% YoY ในเดือนมิถุนายน ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดย (BOJ) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 15bps สู่ระดับ 0.25% พร้อมประกาศปรับลดวงเงินซื้อพันธบัตรในเดือนมกราคม-ธันวาคม 2568 เหลือครึ่งหนึ่งของระดับปัจจุบัน โดยตั้งเป้าไว้ที่เดือนละ 3 ล้านล้านเยน
ต่อเดือน ขณะที่คาดการณ์ GDP ปี 2567 ถูกปรับลดลงสู่ระดับ 0.6% จากเดิมที่ 0.8% เช่นเดียวกับคาดการณ์เงินเฟ้อพื้นฐานที่ปรับลดลงสู่ระดับ 2.5% จากเดิมที่ 2.8% หลังเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีสัญญาณเติบโตน้อยกว่าคาดในไตรมาส 2 จากการบริโภคภาคเอกชนที่อ่อนแอ รวมถึงแนวโน้มการชะลอตัวที่ต่อเนื่องของ PMI ภาคการผลิต อย่างไรก็ตาม วิจัยกรุงศรีประเมินว่าการเติบโตของเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะเริ่มทยอยดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง จากผลของการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงาน การฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและส่งออก รวมถึงความเชื่อมั่นทางธุรกิจของกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ที่เพิ่มสูงขึ้น

ขณะที่ภาคการผลิตของจีนหดตัวในช่วงต้นไตรมาส 3 ภาคบริการโตต่ำสุดในปีนี้ ทางการกระตุ้นการบริโภค คาดผลเชิงบวกจำกัด ภาคเอกชนโดย Caixin รายงานว่ากิจกรรมภาคการผลิต
ในเดือนกรกฎาคมหดตัวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 ที่ระดับ 49.8 หลังจากขยายตัวในเดือนมิถุนายนที่ 51.8 สอดคล้องกับการรายงานของทางการที่ระบุว่ากิจกรรมภาคการผลิตในเดือนเดียวกันลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์และหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ 49.4 ในเดือนกรกฎาคม จาก 49.5 ในเดือนมิถุนายน ส่วนกิจกรรมภาคบริการเติบโตในอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2566 ที่ระดับ 50.2 จาก 50.5 ในเดือนก่อนหน้า

ทั้งนี้ ดัชนีชี้นำต่างๆ ส่งสัญญาณการชะลอตัวทางเศรษฐกิจชัดเจนขึ้น อาทิ ภาคเอกชนรายงานคำสั่งซื้อใหม่ (new orders) ในภาคการผลิตหดตัวช่วงต้นไตรมาส 3 หลังจากขยายตัวต่อเนื่อง11 เดือน คำสั่งซื้อจากต่างประเทศโตชะลอลง ส่วนทางการรายงานว่ากิจกรรมโดยรวมของภาคการผลิตและภาคบริการต่ำสุดในรอบ 19 เดือน ในระยะต่อไป มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคประกอบกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอาจช่วยพยุงเศรษฐกิจได้บ้าง แต่คาดว่าผลบวกค่อนข้างจำกัดเนื่องจากดอกเบี้ยลดลงเพียง 0.10-0.20% และมาตรการช่วยหนุนเพียงบางภาคการผลิต เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องจักร นอกจากนี้ คำสั่งซื้อทั้งในและต่างประเทศยังอ่อนแอ ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังประสบปัญหา การกีดกันทางการค้ามีแนวโน้มรุนแรงขึ้น รวมทั้งเงินลงทุนจากต่างประเทศลดลง ล่าสุด การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศหดตัวถึง 29% YoY ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้

สำหรับเศรษฐกิจในเดือนมิถุนายนชะลอลงจากเดือนก่อนตามภาคท่องเที่ยวและการบริโภคที่แผ่วลง แต่ภาพรวมในไตรมาส 2 ยังฟื้นตัวต่อเนื่องธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนมิถุนายน จำนวนและรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติหดตัวลงจากเดือนก่อน (-4.4% และ-3.5% MoM sa) ประกอบกับการบริโภคภาคเอกชนที่แผ่วลงต่อเนื่อง (-0.2%) จากการหดตัวของการบริโภคสินค้าคงทนในหมวดยานยนต์ ขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้าไม่รวมทองคำลดลง (-0.7%) อย่างไรก็ตาม การลงทุนภาคเอกชนกลับมาขยายตัว (+0.6%) และการใช้จ่ายของภาครัฐขยายตัวจากปีก่อนทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน

โดยรวมเครื่องชี้เศรษฐกิจในไตรมาส 2 (เดือนเมษายน-มิถุนายน) ฟื้นตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน ปัจจัยหนุนสำคัญจากการขยายตัวของภาคท่องเที่ยว ส่งผลให้กิจกรรมในภาคบริการ การจ้างงานและการบริโภคภาคเอกชนปรับดีขึ้น ประกอบกับการใช้จ่ายภาครัฐที่เร่งตัวขึ้นหลังจากการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ต้องล่าช้าไปกว่า 7 เดือน แต่ในช่วงที่เหลือของปีเศรษฐกิจไทยยังเผชิญกับแรงกดดันจากปัญหาเชิงโครงสร้างในภาคการผลิตซึ่งอาจกระทบต่อการฟื้นตัวของภาคส่งออก ส่งผลให้รายรับธุรกิจและรายได้ครัวเรือนในบางกลุ่มยังเปราะบาง ซึ่งเป็นปัจจัยลบต่อการบริโภคของภาคเอกชนที่ประสบกับค่าจ้างโดยรวมเฉลี่ยทั้งประเทศลดลง (-1.2%YoY ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567) อีกทั้งหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง

อย่างไรก็ตาม มูลค่ายอดขอรับส่งเสริมการลงทุนในช่วงครึ่งปีแรกขยายตัวถึง 35% แต่เครื่องชี้อื่นๆ สะท้อนว่าการลงทุนในระยะนี้อาจยังฟื้นตัวช้า และแม้ว่าสัญญาณการลงทุนในระยะปานกลางปรับดีขึ้นในบางอุตสาหกรรมเป้าหมาย สะท้อนจากข้อมูลทั้งยอดขอรับส่งเสริมที่ขยายตัวทั้งทางด้านจำนวนและมูลค่าเงินลงทุน รวมถึงข้อมูลการอนุมัติให้การส่งเสริมในช่วงครึ่งปีแรกมีจำนวน 1,451 โครงการ เงินลงทุน 476.3 พันล้านบาท (+27% YoY) ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า นอกจากนี้ การออกบัตรส่งเสริมการลงทุนซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใกล้เคียงกับการลงทุนจริงที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า มีจำนวน 1,332 โครงการ เงินลงทุนรวม 438.7 พันล้านบาท (+87% YoY) อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลธปท.รายงานดัชนีการลงทุนภาคเอกชนในช่วงครึ่งปีแรกยังเติบโตต่ำ (+0.6% YoY) ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมยังอยู่ในภาวะหดตัว (-2.0% YoY) และอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ในระดับต่ำกว่า 60% รวมถึงล่าสุดดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (BSI) เดือนกรกฎาคมปรับลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 โดยส่วนใหญ่ปรับลดลงตามภาคการผลิต ซึ่งอาจชี้ว่าการลงทุนภาคเอกชนในระยะนี้ยังคงฟื้นตัวช้า ทั้งนี้ ยังต้องติดตามสถานการณ์การเมืองไทย ซึ่งอาจกระทบความเชื่อมั่นและอาจส่งผลต่อแนวโน้มการลงทุนของภาคเอกชนในระยะถัดไป (วันที่ 7 สิงหาคม ศาลรัฐธรรมนูญนัดฟังคำวินิจฉัยคดียุบพรรคก้าวไกล และวันที่ 14 สิงหาคม ฟังคำวินัยฉัยคดีถอดถอนนายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน)

กระบองเพชร

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
14:33 น. เปิดผล‘ดัชนีสร้างชาติ’2025-26 ‘ไทย’พุ่งอันดับ 3 อาเซียน ติดท็อป 46 โลก สะท้อนรากฐานมั่นคง
13:42 น. ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
13:22 น. ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
13:14 น. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
13:08 น. 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ดุ๊ก ภาณุเดช'วอนหยุดบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่ สุดทนคนแห่ถ่ายรูป-เดินชิลเหมือนอยู่คาเฟ่
ดูทั้งหมด
จีนยกระดับปราบ Cyber Scam ฉ้อโกงออนไลน์ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว
ฮุนเซน-ทักษิณ (แพทองธาร) มิตรหรือศัตรู
บุคคลแนวหน้า วันที่ 12 ก.ค. 2568
ทักษิณยังคงคุยโวเหมือนเดิม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน

‘ทนายวันชัย’มองเรื่อง‘สีกากอล์ฟ’ เปรียบฆาตกามต่อเนื่อง กระชากหน้ากาก‘คนห่มเหลือง’

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ 12 ก.ค.68

สุดทน!‘สุทิน’จี้ผู้รักษากฎหมายต้องขยับ ปล่อยให้‘สทร.’ย่ำยีประเทศไม่ได้อีกแล้ว

‘นักเขียนซีไรต์’ฟาดนักการเมืองขี้ขลาด มุ่งแก้ ม.112 นิรโทษกรรมตัวเอง

  • Breaking News
  • เปิดผล‘ดัชนีสร้างชาติ’2025-26 ‘ไทย’พุ่งอันดับ 3 อาเซียน ติดท็อป 46 โลก สะท้อนรากฐานมั่นคง เปิดผล‘ดัชนีสร้างชาติ’2025-26 ‘ไทย’พุ่งอันดับ 3 อาเซียน ติดท็อป 46 โลก สะท้อนรากฐานมั่นคง
  • ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
  • ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้ ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
  • รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
  • \'ตะไลชนโคม\' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน\'งานบุญวันเข้าพรรษา\' 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

โลกการค้า 10 กรกฏาคม 2568

โลกการค้า 10 กรกฏาคม 2568

10 ก.ค. 2568

พาณิชย์...ถอดรหัสพฤติกรรมการบริโภคผลไม้ของคนไทย

พาณิชย์...ถอดรหัสพฤติกรรมการบริโภคผลไม้ของคนไทย

3 ก.ค. 2568

โลกการค้า : 26 มิถุนายน 2566

โลกการค้า : 26 มิถุนายน 2566

26 มิ.ย. 2568

3ตลาดสำคัญในอาเซียนของสินค้าไทย ที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบจากภาษีสหรัฐฯ

3ตลาดสำคัญในอาเซียนของสินค้าไทย ที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบจากภาษีสหรัฐฯ

19 มิ.ย. 2568

ความเสี่ยง”ภาษีทรัมป์”ลากยาว  การค้าโลกไม่สมดุล...คือต้นตอของปัญหา

ความเสี่ยง”ภาษีทรัมป์”ลากยาว การค้าโลกไม่สมดุล...คือต้นตอของปัญหา

12 มิ.ย. 2568

โลกการค้า : 5 มิถุนายน 2568

โลกการค้า : 5 มิถุนายน 2568

5 มิ.ย. 2568

โลกการค้า : 29 พฤษภาคม 2568

โลกการค้า : 29 พฤษภาคม 2568

29 พ.ค. 2568

7-11 ยังเดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ที่จะยกระดับSMEไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

7-11 ยังเดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ที่จะยกระดับSMEไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

22 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved