“กำไรจากการลงทุนมาช่วยชดเชย”
บริษัทหลักทรัพย์(บล.)เคจีไอ(ประเทศไทย)วิเคราะห์หุ้นกลุ่มธนาคาร กำไรสุทธิรวมของธนาคาร 7 แห่งเพิ่มขึ้น 13% QoQ และ 6% YoY ผลประกอบการของธนาคารใหญ่ที่แข็งแกร่งที่สุด คือ BBL รองลงมาคือ SCB, KTB และ KBANK ทั้งนี้ กำไรจากการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างมาก และ เกินพอที่จะชดเชย NII ที่ลดลงจากการที่ NIM ต่ำกว่าที่คาดไว้ ขณะที่ รายได้ค่าธรรมเนียม เติบโตใกล้ศูนย์และ แนวโน้มค่าใช้จ่ายสำรองฯ (credit cost) โดยรวมยังไม่ลดลงยกเว้น KBANK
NIM ของธนาคารทุกแห่งลดลงถึง 14bps QoQ และ 24bps YoY โดย NIM ของ BBL ลดลงเป็นครั้งแรก 25bps QoQ และ 24bps YoY เพราะมีสินเชื่อ TDR ที่กลับมาเป็น NPL (relapsed NPL) ก้อนใหญ่ ทำให้ต้องกลับรายการรายได้ดอกเบี้ยที่เคยบันทึกไว้ และ NIM ของกิจการธนาคารในอินโดนีเซียลดลง ขณะที่ NIM ของ KTB, SCB ก็ลดลงมากเพราะยีลด์สินเชื่อถูกกดดันจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ขณะที่ต้นทุนการระดมเงินลดลงเล็กน้อย ขณะที่ NIM ของ KBANK ลดลงช้ากว่าธนาคารอื่นเพราะมีสัดส่วนสินเชื่อที่คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่สูงกว่าธนาคารอื่น ๆ ส่วน NIM ของ TTB, TISCO และ KKP ยังคงลดลงในอัตราสม่ำเสมอ จากแรงกดดันทางด้าน margin ที่เกิดกับทุกธนาคาร ทำให้ NIM ของธนาคารส่วนใหญ่อยู่ขอบล่างของเป้าเต็มปีของแต่ละธนาคาร และ เนื่องจากคาดว่าจะลดอัตราดอกเบี้ยอีกสองรอบ NIM ธนาคารต่าง ๆ จึงน่าจะต่ำกว่าเป้าที่วางไว้
ถึงแม้ว่าการลดดอกเบี้ยกดดันให้ NIM ลดลงใน 1Q68 แต่อีกด้านหนึ่งก็ทำให้ธนาคารมีกำไรจากการลงทุนในตราสารหนี้มากขึ้น โดย BBL และ KBANK บันทึกกำไรจากการลงทุนสูงที่สุด ซึ่งยังมากกว่า NII ที่ลดลงจาก NIM ที่ลดลง สถานการณ์คล้าย ๆ กันกับ KTB, SCB และ TTB ดังนั้นกำไรจากการลงทุนจึงคิดเป็นประมาณ 30% ของกำไรสุทธิของธนาคารใหญ่ เนื่องจากคาดว่าจะมีการลดดอกเบี้ยลงอีกสองครั้ง กำไรจากการลงทุนจึงจะเป็นรายได้หลักที่มาช่วยหนุนผลประกอบการ อย่างไรก็ตามขนาดของกำไรจากการลงทุนอาจจะผันผวนมากขึ้นเนื่องจาก GDP ที่แผ่วลงอาจเพิ่มแรงกดดันต่อ NPL เกิดใหม่ และ credit cost
แนวโน้ม NPL มีทั้งเพิ่มขึ้น/ลดลงในรายธนาคารโดย NPL ของ KBANK ลดลงเพราะ NPL เกิดใหม่ลดลง ส่วนNPL ของ BBL เพิ่มขึ้นจากหนี้ปรับโครงสร้างไหลกลับเป็น NPL ส่วนNPL ของสินเชื่อธุรกิจที่ลดลงช่วยชดเชย NPL ใหม่จากสินเชื่อรายย่อยของ SCB และ KTB ทั้งนี้ ธนาคารทุกแห่งยกเว้น KBANK ตั้งสำรองฯอยู่ในช่วงขอบบนของเป้าหมาย และการที่ธนาคารหลายแห่งปรับลดประมาณการ GDP อาจทำให้ไม่สามารถลด credit cost ลงได้ตามเป้า ซึ่งในภาวะดอกเบี้ยขาลง ธนาคารที่ margin อ่อนไหวอย่าง BBL จะถูกกดดันหนักกว่าธนาคารอื่น ๆ
ปัจจัยเสี่ยงจากNPLs เพิ่มขึ้น และ ตั้งสำรองเพิ่มขึ้น, รายได้ค่าธรรมเนียมลดลง, ผลขาดทุน FVTPL จากการลงทุน
ที่มา..บล.เคจีไอ(ประเทศไทย)
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี