บริษัท เซรามิคอุตสาหกรรมไทย จำกัด ผู้ผลิตกระเบื้อง “คอตโต้” มาเชิญไปทำสัมมนาอบรมพนักงานในหัวข้อ “ทีมงานแห่งความสุข” ผมก็ตอบตกลงเพราะชอบคำว่า “ความสุข”
การทำงานเป็นทีมที่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ เพราะทีมงานไม่มีความสุข ขาดศรัทธากัน มีความขัดแย้ง เครียด และมีความรู้สึก “สุดโต่ง” มากไป เช่น เกลียดมาก รักมาก เลยแบ่งพวกย่อย ๆ ได้ง่าย ที่เรียกว่า “การเมืองในทีมงาน”
มนุษย์เรามีความรู้สึกต่อคนอื่น สิ่งอื่นๆ เป็น 3 แบบ คือ
1. พอใจ ทำให้เกิดความชอบ อยากได้ อยากผูกพันต่อไป เกิดความกระวนกระวายใจ และไม่เป็นสุข
2. ไม่พอใจ ทำให้เกิดความเกลียด รังเกียจตามมา เกิดความไม่เป็นสุข
3. วางเฉย ทำให้เกิดความเฉื่อยชา โง่เขลา ไม่สนใจ ไม่รู้เรื่อง อยากเลี่ยง ทำให้ไม่เป็นสุขเช่นกัน
(ความวางเฉยกับปล่อยวางนี่คนละอย่างกันนะครับ)
ในแง่จิตวิทยาแล้ว การที่เรา “พอใจ” อะไรสักอย่างมากๆ เรามักจะให้ค่าหรือประเมินราคาของสิ่งนั้นเกินความเป็นจริงเสมอ
และการที่เรา “ไม่พอใจ” อะไรมากๆ สักอย่าง เรามักให้ค่าหรือประเมินค่าของสิ่งนั้นน้อยกว่าความเป็นจริงเสมอ
และเมื่อเราวางเฉยไม่สนใจ ก็แสดงว่าเราไม่อยากเห็นสภาพความจริงขณะนั้น อยากเลี่ยงหนี
ความทุกข์ ความสุขทั้งหลายอยู่ที่ “จิตใจ” หรือความรู้สึกของเราที่จะพอใจ ไม่พอใจ หรือวางเฉยมากน้อยแค่ไหนนี่เอง
ถ้าอยากมีความสุข ลดความทุกข์ ลดความเซ็ง ก็ต้องบริหารจิตใจหรือความรู้สึกให้ดี
ในทางพุทธศาสนาแนะให้มีการฝึกจิตโดยการทำสมาธิ (Meditation) เพื่อให้จิตเข้มแข็ง เกิดสติ ไม่อ่อนแอ ไม่โทษผู้อื่น และสามารถควบคุมได้ด้วยตนเอง เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีสมดุลเหมาะสมต่อไป
ปัญญา (Wisdom) ที่เกิดขึ้นต่อจากสติที่ตั้งมั่นได้นานๆ แล้ว จะทำให้เรารู้จักลดความคิดสุดโต่งเหล่านั้นลง โดยความรู้เท่าทันถึงความไม่แน่นอนและการยึดถือครอบครองไม่ได้ของสิ่งเหล่านั้น
จิตของเราจะเข้มแข็ง เป็นสุข-สงบขึ้น ทนต่อความทุกข์ที่ผ่านเข้ามาได้ดีขึ้น ไม่แสวงหาความพอใจหรือความสุขแบบสุดโต่ง ไม่ปล่อยใจให้โกรธเกลียดอะไร หรือวางเฉย อีกต่อไป
เกิดสมาธิสุข (สุขที่อยู่กับปัจจุบันที่มีสติ) และวิมุติสุข(สุขที่เกิดจากการปล่อยวาง) ได้มากน้อยต่างกันตามวิธีคิดและการฝึกปฏิบัติของแต่ละคน
ในการทำงานเป็นทีมนั้น ถ้าสมาชิกของกลุ่มได้รับการฝึกสมาธิแบบดังกล่าวบ้าง เขาจะเริ่มเข้าใจตัวเอง เข้าใจคนอื่นและมีความสุขกับสภาพที่เห็นอยู่ เป็นอยู่ได้มากขึ้น ไม่รู้สึกสุดโต่งดังกล่าวแล้ว
จากนั้นจึงสอนถึงวิธีการทำงานเป็นทีมแบบทั่วไปให้ฟัง
เขาก็จะทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ง่าย เกิดศรัทธา ลดข้อขัดแย้ง แก่งแย่ง และมี “พลัง” ในการทำงาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามกำลังความสามารถ เพราะเขาลดความรู้สึก “สุดโต่ง” ในตัวเขาได้แล้ว
ทุกคนก็มีความสุข องค์กรมีความสุข เพราะมีทีมงานที่มีความสุขนี่เอง
ฝากไว้ให้คิดในการจะทำงานเป็นทีมกันต่อไปครับ
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี