ข้อมูล ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565
ตาบอดสีคืออะไร
l คือการพร่องของการมองเห็นสี ทำให้มองเห็นสีไม่เหมือนคนส่วนใหญ่
l เกิดจากปัญหาที่ระดับยีน เกิดความผิดปกติของเซลล์รับสีในจอประสาทตา
ประเภทของตาบอดสีที่พบบ่อย ได้แก่ Red-Green Deficiency ( บอดสีเขียว-แดง )
l บุคคลพร่องการเห็นสี ส่วนใหญ่มักดำเนินชีวิตตามปกติ แทบจะไม่รู้ว่าตัวเอง พร่องการมองเห็นสี มักจะรู้ตัวเมื่อเข้าสู่ขั้นใดขั้นหนึ่งของชีวิต เช่น ตอนตรวจตาเพื่อสมัครเข้าศึกษาในบางสาขาวิชา, ตอนสอบใบขับขี่
l เซลล์รับสีที่จอประสาทตา จะรับสีสามโทนเป็นหลัก ได้แก่ เขียว เหลือง แดง ขึ้นกับว่าชนิดใดบกพร่อง แต่ที่พบบ่อยคือจากกรรมพันธุ์ เป็นชนิดที่สีเขียวและแดงบกพร่องไป
วิธีการทดสอบภาวะพร่องการมองเห็นสี
1.Ishihara ทดสอบภาวะพร่องการมองเห็นสีเขียวแดง
2.Farnworth เอาแท่งสีมาเรียงกัน บอกได้ทุกโทนสี ในไทยหายาก มีเฉพาะในโรงพยาบาลใหญ่หรือโรงเรียนแพทย์
ปัจจุบัน โหลดแอปจากมือถือมาทดสอบได้ มีการแปลผลให้ถ้าผิดปกติก็ให้มาพบจักษุแพทย์ ถ้าปกติโอกาสบกพร่องก็น้อย
ปัญหาของผู้บกพร่องการมองเห็นสี
l การศึกษา ในวัยเด็ก เช่น ในวิชาศิลปะ, วิชาที่มีสีเข้ามาเกี่ยวข้อง ระดับมหาวิทยาลัยในบางสาขาวิชา หรือบางหน่วยงานเช่น ตำรวจหรือทหารที่ไม่อนุญาตให้ผู้พร่องการเห็นสีเข้าเรียนขณะนี้สาขาแพทย์, ทันตแพทย์ และสาธารณสุขสามารถเรียนได้ ไม่ได้มีข้อห้ามเด็ดขาด
l อาชีพ เช่น ตำรวจหรือทหาร, ภาคเอกชนบางแห่ง
l การใช้ชีวิตประจำวัน เช่น อาจถูกทดสอบเหมือนเป็นเรื่องแปลก, การสอบใบขับขี่ในประเทศไทย
สาขาอาชีพแพทย์ อนุโลมไม่ต้องตรวจตาบอดสี ในตอนเข้าเรียนแพทย์ ให้ตรวจตอนเป็นแพทย์เฉพาะทาง ในสาขาที่ต้องใช้การแยกสีอย่างละเอียด เช่น พยาธิแพทย์, วิสัญญีแพทย์, จักษุแพทย์
การสอบใบขับขี่กับตาบอดสี
สถานีสอบที่มีผลกับคนตาบอดสี มีดังนี้
l สถานีตรวจการพร่องการเห็นสี ปัจจุบัน เป็นสัญญาณไฟตำแหน่งสลับกันไป
l สถานีตรวจลานสายตา โดยเอาหน้าไปชิดในกล่องสี่เหลี่ยม เปิดไฟข้างๆ หู ใช้สัญญาณไฟสีเขียวเหลืองแดง ทำให้มีผลกับผู้ที่เป็นตาบอดสีได้ ปัจจุบันทางราชวิทยาลัยและสมาคมกำลังผลักดันให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการทดสอบให้เอื้อประโยชน์กับผู้ที่เป็นตาบอดสีมากขึ้น
ตาบอดสีกับปัญหาทางด้านจิตใจ
5 ปฏิกิริยาต่อการสูญเสียหรือการได้รับข่าวร้าย โดยดอกเตอร์ อลิสเบท คับเบลอร์-รอส (Elizabeth Kubler-Ross) ซึ่งปฏิกิริยาทางจิตใจที่มักจะเกิดขึ้น หลังได้รับข่าวร้าย มักจะเป็นไปตามลำดับขั้นดังต่อไปนี้
1.Denial (Shock) คือการตกใจและปฏิเสธความจริงว่ามันไม่ได้เป็นอย่างนั้นแน่ๆ
2.Anger คือความโกรธ มีความคิดว่า “ทำไมต้องเป็นฉันด้วย”
ในระยะตกใจและโกรธ สิ่งที่เราควรทำ คือ ตั้งสติ ตรวจสอบอารมณ์ตัวเอง ยอมรับในความรู้สึก คนที่ยอมรับอารมณ์ตัวเอง จะเกิดปัญหาด้านจิตใจในระยะยาวลดลง ให้ตัวเองได้แสดงความรู้สึก เช่น ระบาย พูดคุยกับคนใกล้ชิด, มองสิ่งดีๆ ที่มีอยู่ ดูแลตัวเอง,รักตัวเองอย่างที่เป็น ทำชีวิตให้เหมือนปกติ แต่!!! หากเป็นมากเกินไป เป็นเวลานาน อารมณ์เศร้าหมอง ควรพบจิตแพทย์เพื่อรับการรักษา
3.Bargaining คือ อยากต่อรองกับโชคชะตา และความสูญเสีย เช่น บนบานศาลกล่าว
4.Depression คือภาวะซึมเศร้า
5.Acceptance คือระยะที่ยอมรับความจริง กล้าเผชิญหน้าความจริง
ตัวอย่างการปรับเปลี่ยนให้ทำงานได้ในผู้ที่มีภาวะพร่องการมองเห็นสี
l คอนแทคท์เลนส์สีๆ จะทำให้สามารถอ่านการทดสอบIshihara ได้ดีขึ้น ทำให้ส่วนใหญ่หน่วยงานต่างๆ มักจะตรวจยืนยันเองอีกรอบ ป้องกันผู้ที่พร่องตาบอดสีใช้วิธีต่างๆ ทำให้มองเห็นสีได้ดีขึ้นกว่าปกติ
l มีแว่นที่ช่วยในคนบอดสีเขียวแดง เรียกแว่น Enchroma ให้สามารถมองเห็นใกล้เคียงคนปกติ โดยใช้ในการปฏิบัติงานบางอย่างเป็นหลัก แต่ไม่ช่วยในการใช้ชีวิตประจำวัน ปัจจุบันกำลังพัฒนาให้เป็นแว่นที่สามารถใช้ได้ทั่วไปเพื่อช่วยผู้พร่องการเห็นสี
อาชีวเวชศาสตร์ (Occupational Medicine)
l เพื่อป้องกันไม่ให้คนทำงานเจ็บป่วยจากการทำงานจุดประสงค์คือ ดูแลสุขภาพคนทำงาน และไม่กีดกันการทำงาน
l การตรวจร่างกายที่เกี่ยวกับการทำงาน
1.ตรวจก่อนการเข้าทำงาน เป็นการตรวจโดยภาพรวม โดยลูกจ้างชำระเงินค่าตรวจเอง ถ้าหากงานนั้นมีความเสี่ยง อาจมีการตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจสมรรถภาพการมองเห็นเพื่อใช้เปรียบเทียบ หากเกิดความผิดปกติขึ้นภายหลัง
2.ตรวจเพื่อให้เข้ากับลักษณะงาน ว่าสุขภาพของเราสามารถทำงานดังกล่าวได้หรือไม่ ถ้าไม่เข้ากัน จะมีการปรับวิธีการทำงานหรือสิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้สามารถทำงานได้ แม้จะมีข้อจำกัด โดยนายจ้างจะเป็นผู้จ่ายค่าตรวจ จึงไม่ค่อยได้นิยมตรวจ
l ตามกฎหมายกระทรวงแรงงาน ให้ตรวจสุขภาพของลูกจ้างก่อนเข้าทำงาน ตรวจภายใน 30 วัน
บทความโดย ศ.วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์, พญ.ฉันทนา ผดุงทศ
พ.ท. หญิง ลาวัลย์ สุฤทธิกามล และ ว่าที่ ร.ท.พรชัย น้อยบ้านโง้ง
เรียบเรียงโดย นศพ.ปิยาพัชร จารุนิภากุล
ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี