วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / pet care
pet care

pet care

ผศ.น.สพ.ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร
วันอาทิตย์ ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2565, 02.00 น.
อันตรายจากความตะกละ (ตอนที่ 1)

ดูทั้งหมด

  •  

หลายครั้งที่เราวางข้าวของเกะกะในบ้าน โดยที่อาจไม่ทราบว่า สิ่งของเหล่านั้นก็พร้อมที่จะเป็นอาวุธร้ายที่อาจพรากชีวิตสัตว์เลี้ยงที่เรารักไปจากเราได้โดยง่าย  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับสุนัขที่มีนิสัยชอบกินชอบแทะไม่เลือก ลักษณะเช่นนี้ก็ไม่แตกต่างอะไรไปจากเด็กเล็กๆ ที่ชอบหยิบสิ่งของเข้าปาก  และหลายครั้ง ก็เผลอกลืนสิ่งเหล่านั้นเข้าไปโดยไม่ตั้งใจ (หรืออาจจะตั้งใจกลืนกินเข้าไปเลยก็ได้) ซึ่งเมื่อสิ่งเหล่านั้นถูกกลืนเข้าคอไปแล้ว สิ่งร้ายๆ อาจเกิดตามมาได้ในระยะเวลาอันใกล้  ดังนั้นวันนี้เรามาคุยกัน เพื่อเป็นหนทางช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายกับเจ้าตูบเจ้าเหมียวของเรากันครับ 

@ อะไรบ้าง ที่อาจจะเป็นอันตรายได้หากสุนัขเผลอกลืนลงไป 


ตอบเลยว่า ทุกอย่างที่มีขนาดใหญ่ หรืออะไรก็ตามที่เป็นของมีคม ตัวอย่างที่เราพบเห็นได้เสมอเลย นั่นก็คือ “กระดูก”  ไม่ว่าจะเป็น“กระดูกหมูชิ้นใหญ่พอดีคำ” กับการอุดทางเดินอาหาร (ถ้าชิ้นใหญ่มากๆ ก็จะกลืนเข้าไปไม่ได้  คงได้แต่นอนคุมเชิงกันท่าไม่ให้สุนัขตัวอื่นมายุ่งเท่านั้น)  “กระดูกสันหลังหมู” หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “เล้ง” ที่มีมุมมีแง่งยื่นออกมา หรือ “กระดูกไก่” ที่เมื่อแตกหักแล้วจะมีความแหลมคมมากและพร้อมที่จะอุดตันหรือทิ่มแทงหลอดอาหารและกระเพาะอาหารได้อย่างง่ายดาย  

แม้กระทั่ง “ชิ้นเนื้อ” ที่เราเอาให้กิน ถ้าเป็นชิ้นที่ใหญ่มากๆ แล้วเผอิญว่ามีเพื่อนสุนัขในบ้านหลายตัว พร้อมที่จะแย่งกันกิน ก็พร้อมที่จะกลืนลงคอได้ทั้งชิ้นทันทีแน่นอน  

นอกจากนี้ ยังมีของอีกหลายชนิดที่อาจก่อให้เกิดปัญหาได้ ได้แก่... 

- เบ็ดตกปลา ที่ถูกกลืนลงไปพร้อมกับปลาหรือเหยื่อ 

- ก้อนหิน ก้อนปูนซีเมนต์

- เมล็ดผลไม้ ที่มีรสชาติหอมหวานได้แก่ เมล็ดทุเรียน และเมล็ดมะม่วง

- เชือกผูกรองเท้า ไหมขัดฟัน เศษผ้า เศษด้าย เศษไหมซึ่งเป็นของที่มีลักษณะเป็นเส้นยาว 

- ถุงพลาสติก ที่เผลอกลืนกินลงไปพร้อมกับอาหาร    

@เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสุนัขของเรากินสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นเข้าไปแล้ว 

ก่อนอื่น เจ้าของจะต้องรู้นิสัยของสุนัขที่เราเลี้ยงนั้นก่อนว่า เขามีความซุกซนตะกละ มีนิสัยกินไม่เลือก หรือหลงๆ ลืมๆ ที่กินแล้วก็รู้สึกว่าตัวเองยังไม่ได้กิน เลยหาอะไรกินตลอดเวลาหรือเปล่า ถ้าใช่แล้วละก็ เราจะต้องเริ่มระมัดระวังสักหน่อย เมื่อพบว่ามีของบางอย่างในบ้านหายไปโดยที่ยังหาจำเลยไม่ได้  จากนั้นการสังเกตอาการของผู้ต้องสงสัย (นั่นคือเจ้าตูบ) ที่อาจมีอะไรติดทางเดินอาหาร โดยการสังเกตดังนี้

- การตรวจสอบสภาพการกินอาหาร ว่ากินได้หรือไม่ ?

- มีอาการพยายามใช้สองขาหน้าตะกุย หรือเขี่ยช่องปากหรือลำคอหรือไม่ ?

- แสดงอาการสำรอก พยายามขย้อน หรืออาเจียนให้เห็นหรือไม่ ?

- เมินหรือปฏิเสธอาหาร แม้แต่สิ่งที่เขาชอบมากๆ ก็ตามหรือไม่ ?

หากพบอาการเหล่านี้ และเจ้าของละเลยปล่อยทิ้งไว้นานเกินไปปัญหาที่ตามมาอาจรุนแรงขึ้นได้ โดยเฉพาะในรายที่สุนัขมีน้ำหนักตัวลดลงมาก หรือแสดงอาการปวดท้องอย่างรุนแรง

รายที่เจ้าของเห็นเหตุการณ์ซึ่งหน้า เช่นในรายที่ตับไก่ปิ้งหอมๆพร้อมทั้งไม้เสียบ ถูกกลืนลงไปต่อหน้าต่อตา หรือกระโดดกินปลาพร้อมเบ็ดลงไปโดยที่ยังมีสายเบ็ดคาอยู่ที่มุมปาก หากมีหลักฐานชัดแบบนี้ ก็หมดข้อกังขา ว่าเจ้าตูบเราได้ก่อปัญหาให้กับตัวเองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 

@ถ้าพบว่าสุนัขเรากินสิ่งแปลกปลอมเข้าไป (หรือเพียงแต่สงสัยก็ตาม) เราควรทำอย่างไร ?

ในกรณีที่ฉุกเฉิน เช่น สงสัยว่าสิ่งแปลกปลอมอุดตันเข้าไปในส่วนของ “หลอดลม” ก็มีความจำเป็นต้องไปโรงพยาบาลสัตว์ที่ใกล้บ้านโดยทันที  เพราะถ้าทางเดินหายใจถูกปิดกั้น นับว่าเป็นอันตรายรุนแรงถึงชีวิต

ส่วนในกรณีที่เป็นเบ็ดตกปลาที่ยังมีสายเบ็ดยื่นออกมาจาก“ปาก”  ให้เจ้าของตัดสายเบ็ด (เชือกหรือเอ็น) ให้ยาวออกมาจากปากประมาณ 1 คืบ  เพื่อช่วยสัตวแพทย์ให้ทำการเอาออกได้ง่ายขึ้น  อย่าพยายามดึงย้อนออกมาเด็ดขาด เพราะจะยิ่งทำให้บาดเจ็บเนื้อเยื่อมากขึ้น

ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม เจ้าของควรพามาพบสัตวแพทย์ให้เร็วที่สุด เพราะหากทิ้งไว้นาน จะนำมาซึ่งผลเสียที่รุนแรงได้ เช่น การเกิดหลอดอาหารโป่งพองหรือฉีกขาดจากการอุดตันนานๆ  หรือกระเพาะอาหารหรือลำไส้ทะลุ หากสิ่งแปลกปลอมมีความแหลมคม เช่น ไม้เสียบลูกชิ้นถ้าปล่อยทิ้งไว้นานอาจทะลุผ่านกระเพาะอาหารไปทิ่มและฝังที่ตับได้   

ข้อที่ต้องคำนึงมากที่สุดคือ  ต้องงดให้อาหารหลังประสบเหตุทันที เพราะจะช่วยลดโอกาสการรั่วของอาหารหรือน้ำ ผ่านออกมาจากทางเดินอาหารเจ้าช่องอกหรือช่องท้องได้ รวมถึงจะช่วยลดความเสี่ยงจากการสำลักจากการวางยาซึม หรือยาสลบ ในกรณีที่สัตวแพทย์จำเป็นต้องวางยาสลบเพื่อช่วยเหลือหรือแก้ไขอีกด้วย

สัปดาห์หน้ามาดูกันว่า คุณหมอจะมีวิธีตรวจวินิจฉัยและแก้ไขปัญหาอย่างไร

“หมอโอห์ม”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
20:08 น. 'โตโน่'สุดซึ้ง! แฟนคลับในสวีเดนส่งการ์ดให้กำลังใจ
20:04 น. 'ในหลวง-พระราชินี'พระราชทานดอกไม้และตะกร้าสิ่งของ แก่อาสาสมัครทหารพรานที่ได้รับบาดเจ็บ
19:49 น. 'ตั้ม วิชญะ'ไลฟ์แจงดราม่า'หญิงออน' วอนอย่าโยงแม่'ดวงดาว'
19:40 น. 'เจิมศักดิ์'ฟาด'อ.พนัส' รักหรือหลง'อิ๊งค์'ทำตรรกะผิดเพี้ยน
19:32 น. 'เติร์ด Tilly Birds'โพสต์ขอโทษบุคลากรทางการแพทย์ รับสื่อสารไม่ครบถ้วน
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
บิ๊กเนม'ปชป.'ร่วมวงเพียบ!! 'คุณหญิงกัลยา'ตั้ง'พรรคไทยก้าวใหม่' พร้อมตั้ง'สุชัชวีร์'นั่งหัวหน้าฯ
หมอดังเผยเคยไม่เข้าใจ 'เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์' ทรงงานแม้พระอาการประชวร ก่อนป่วยมะเร็งเองจึงซึ้งพระทัย
ดูทั้งหมด
ต้องเลือกตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือ
บุคคลแนวหน้า : 6 กรกฎาคม 2568
ชีวิตประจำวันของผม-การทำงาน
หน้าต้องทนสูงมาก จึงทำแบบนี้ได้
วิวาทะ ว่าด้วย‘อภิปรายไม่ไว้วางใจ’
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'โตโน่'สุดซึ้ง! แฟนคลับในสวีเดนส่งการ์ดให้กำลังใจ

'ตั้ม วิชญะ'ไลฟ์แจงดราม่า'หญิงออน' วอนอย่าโยงแม่'ดวงดาว'

'เจิมศักดิ์'ฟาด'อ.พนัส' รักหรือหลง'อิ๊งค์'ทำตรรกะผิดเพี้ยน

'เติร์ด Tilly Birds'โพสต์ขอโทษบุคลากรทางการแพทย์ รับสื่อสารไม่ครบถ้วน

'โรม-เท้ง'ดูปราบแก๊งคอลฯเขมร ย้ำไม่มีปิดด่าน ถาม'อังเคิล'เดือดร้อน เพราะมีเอี่ยว!?

อดีตสว.สมชายชี้เป้า!จับตา'เลื่อนตำแหน่งตำรวจผู้ใหญ่'

  • Breaking News
  • \'โตโน่\'สุดซึ้ง! แฟนคลับในสวีเดนส่งการ์ดให้กำลังใจ 'โตโน่'สุดซึ้ง! แฟนคลับในสวีเดนส่งการ์ดให้กำลังใจ
  • \'ในหลวง-พระราชินี\'พระราชทานดอกไม้และตะกร้าสิ่งของ แก่อาสาสมัครทหารพรานที่ได้รับบาดเจ็บ 'ในหลวง-พระราชินี'พระราชทานดอกไม้และตะกร้าสิ่งของ แก่อาสาสมัครทหารพรานที่ได้รับบาดเจ็บ
  • \'ตั้ม วิชญะ\'ไลฟ์แจงดราม่า\'หญิงออน\' วอนอย่าโยงแม่\'ดวงดาว\' 'ตั้ม วิชญะ'ไลฟ์แจงดราม่า'หญิงออน' วอนอย่าโยงแม่'ดวงดาว'
  • \'เจิมศักดิ์\'ฟาด\'อ.พนัส\' รักหรือหลง\'อิ๊งค์\'ทำตรรกะผิดเพี้ยน 'เจิมศักดิ์'ฟาด'อ.พนัส' รักหรือหลง'อิ๊งค์'ทำตรรกะผิดเพี้ยน
  • \'เติร์ด Tilly Birds\'โพสต์ขอโทษบุคลากรทางการแพทย์ รับสื่อสารไม่ครบถ้วน 'เติร์ด Tilly Birds'โพสต์ขอโทษบุคลากรทางการแพทย์ รับสื่อสารไม่ครบถ้วน
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

การดูแลรักษาสุนัขมีค่าเอนไซม์ตับสูงกว่าปกติ

การดูแลรักษาสุนัขมีค่าเอนไซม์ตับสูงกว่าปกติ

6 ก.ค. 2568

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

14 ก.ค. 2567

‘สุนัขปากเหม็น’

‘สุนัขปากเหม็น’

7 ก.ค. 2567

อยากแปรงฟันให้น้องหมา ต้องเตรียมตัวอย่างไร

อยากแปรงฟันให้น้องหมา ต้องเตรียมตัวอย่างไร

30 มิ.ย. 2567

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

เมื่อสุนัขต้องเข้ารับการขูดหินปูน เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไร?

23 มิ.ย. 2567

สุนัขปากเหม็น

สุนัขปากเหม็น

16 มิ.ย. 2567

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอนจบ)

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอนจบ)

9 มิ.ย. 2567

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอน1)

การเป็นแม่นมให้ลูกสัตว์ (ตอน1)

2 มิ.ย. 2567

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved