วันพุธ ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / ทันโลกทันเหตุการณ์
ทันโลกทันเหตุการณ์

ทันโลกทันเหตุการณ์

แพทยสภา
วันเสาร์ ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2567, 06.00 น.
แอลกอฮอล์มีกี่ชนิด

ดูทั้งหมด

  •  

แอลกอฮอล์แบ่งได้เป็น 2 ชนิดหลัก คือชนิดที่กินได้ กับชนิดที่ห้ามกิน ชนิดที่กินได้มีชนิดเดียวคือ เอทิลแอลกอฮอล์ (เอทานอล) นอกนั้นเป็นชนิดที่ห้ามกิน เช่น เมทิลแอลกอฮอล์ (เมทานอล),ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์, บิวทิลแอลกอฮอล์,เบนซิลแอลกอฮอล์ ตลอดจนเอทิลแอลกอฮอล์ที่ทำให้เป็นสีฟ้าและมีรสขม เพื่อให้ไม่ให้นำมาบริโภค แต่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น

แอลกอฮอล์ชนิดที่ห้ามกิน มีการนำไปใช้ประโยชน์ด้านใด


ประโยชน์ของแอลกอฮอล์ชนิดที่ห้ามกินคือ ใช้เป็นสารหล่อเย็นเพื่อต้านการแข็งตัวของน้ำในหม้อน้ำรถยนต์ หรือเครื่องปรับอากาศ ใช้เป็นตัวทำละลาย ใช้ในกระบวนการผลิตพลาสติก ใช้เป็นเชื้อเพลิง ใช้เช็ดล้างทำความสะอาดพื้นผิวต่างๆ ใช้ทำน้ำยาล้างกระจกหน้ารถ น้ำยาในเครื่องถ่ายเอกสาร แชล็คทาไม้ และน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่ผิวหนัง เช่น มือ เป็นต้น แอลกอฮอล์ที่เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือนและใช้ในทางอุตสาหกรรมเป็นแอลกอฮอล์ชนิดที่เป็นพิษต่อร่างกาย จึงต้องระมัดระวังและป้องกันการได้รับสารพิษเหล่านี้โดยไม่ตั้งใจทั้งในเด็กและผู้ทำงานใกล้ชิดกับสารเหล่านี้ซึ่งอาจเข้าสู่ร่างกายทางปาก ผ่านการสัมผัสกับผิวหนัง และการสูดไอระเหยของสารเหล่านี้ในสถานที่ทำงานที่การระบายอากาศไม่ดี

แอลกอฮอล์ชนิดที่ห้ามกิน เช่น เมทานอล มีอันตรายต่อร่างกายอย่างไร

แอลกอฮอล์ชนิดที่ห้ามกิน เช่น เมทานอล มีความเป็นพิษสูง ผู้ที่ได้รับเมทานอลเข้าสู่ร่างกาย เช่น ดื่มยาดองเหล้าที่มีเมทานอลเป็นส่วนประกอบ จะเกิดภาวะเลือดเป็นกรด ไตวาย หายใจล้มเหลว หัวใจล้มเหลว ตาบอด โคม่า และเสียชีวิตได้ ซึ่งหากไม่เสียชีวิต อาจเกิดความพิการถาวรเนื่องจากสมองบางส่วนถูกทำลาย ทำให้มีอาการคล้ายผู้เป็นโรคพาร์กินสัน

เลือดเป็นกรด หมายความว่าอย่างไร

ในคนปกติ ร่างกายจะปรับสมดุลของความเป็นกรดด่างในเลือดให้มีค่าเป็นด่างเล็กน้อย คือมีค่า pH ที่ประมาณ 7.4 หากค่านี้ลดลงต่ำกว่า 7.35 เรียกว่าเกิดภาวะเลือดเป็นกรด โดยในขณะเดียวกันจะพบว่าค่าไบคาร์บอเนตในเลือดลดต่ำลงด้วย

เมทานอลทำให้เลือดเป็นกรดได้อย่างไร

เมื่อเมทานอลตกถึงกระเพาะอาหาร จะถูกเปลี่ยนสภาพเป็นสาร “ฟอร์มาลดีไฮด์” แล้วถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดผ่านไปที่ตับ และถูกเปลี่ยนรูปด้วยเอนไซม์เป็น “กรดฟอร์มิก” ซึ่งขจัดออกจากร่างกายได้ยาก จึงเกิดการสะสม ทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด และสร้างความเสียหายต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ความเป็นกรดในเลือดจากพิษของเมทานอล ยังเกิดจากการเพิ่มขึ้นของ “กรดแลคติก”ด้วยอีกทางหนึ่งเนื่องจากการนำออกซิเจนไปใช้เป็นพลังงานของเซลล์ต่างๆ ในร่างกายถูกขัดขวาง

หลังดื่มกินเมทานอลจะมีอาการทันทีหรือไม่

แม้เมทานอลจะถูกดูดซึมจากกระเพาะอาหารได้อย่างรวดเร็วภายใน 10 นาทีหลังดื่ม แต่ในระยะแรกอาจไม่มีอาการผิดปกติ นอกจากอาการที่คล้ายกับการดื่มสุราโดยทั่วไป เช่น เวียนศีรษะมวนท้อง หลังจากนั้นอาการต่างๆ ที่รุนแรงจะเริ่มแสดงให้เห็น โดยทั่วไปมักเกิดขึ้นใน 18-24 ชั่วโมงหลังดื่มกินเมทานอล โดยอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อาการคล้ายคนเมา ซึมลง ตามัวและหายใจหอบเมื่อเลือดเริ่มเป็นกรด หากมีอาการในลักษณะข้างต้นคือช่วงแรกเหมือนไม่มีอาการผิดปกติ แต่ต่อมามีอาการที่ต่างไปจากทุกครั้งที่ดื่มกินควรรีบไปพบแพทย์ทันที และนำสิ่งที่ดื่มกินนั้นไปที่โรงพยาบาลด้วยเพื่อการตรวจพิสูจน์

พิษจากเมทานอลอาจทำให้ตาบอดได้อย่างไร

กรดฟอร์มิกขัดขวางการนำออกซิเจนไปใช้เป็นพลังงานของเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เซลล์ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด คือเซลล์สมองและเซลล์จอประสาทตา นอกจากนี้ กรดฟอร์มิกยังทำให้เกิดการสลายของปลอกหุ้มเส้นประสาทตา ซึ่งความผิดปกติทั้งหมดนำไปสู่อาการตามัว เห็นภาพไม่ชัด กลัวแสง ประสาทตาบวม และตาบอดในที่สุด

ต้องได้รับเมทานอลในปริมาณเท่าใดจึงจะเกิดพิษ ทำไมบางคนเสียชีวิต บางคนไม่เสียชีวิต

การดื่มกินเมทานอลที่ไม่ผ่านการเจือจางในปริมาณ 80-150 มล. อาจทำให้เสียชีวิตได้ยาดองเหล้าโดยทั่วไปมักใช้แอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นประมาณ 35% ที่เรียกกันว่า 35 ดีกรี และมักดื่มกันครั้งละ 1 เป๊ก คือประมาณ 50-60 มล. ซึ่งจะได้เมทานอลไปประมาณ 17.5-21 มล. ด้วยเหตุนี้ผู้ได้รับยาดองเหล้าที่มีเมทานอลเป็นส่วนประกอบบางรายจึงรักษาหายและกลับบ้านได้อันเนื่องมาจากการดื่มเมทานอลไปในปริมาณที่น้อยกว่าปริมาณที่จะเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ผู้ที่มีอาการหนักและบางรายเสียชีวิตน่าจะเกิดจากการดื่มยาดองเหล้าเหล่านั้นในปริมาณมากและตัดสินใจเข้ารับการรักษาช้าเกินไป นอกจากนี้การได้รับเมทานอลเพียง 4 มล. อาจทำให้ตาบอดได้ และผู้มีน้ำหนักตัวน้อยมีโอกาสได้รับพิษจากเมทานอลง่ายกว่าผู้มีน้ำหนักตัวมากที่ดื่มกินในปริมาณเท่าๆ กัน

สถานการณ์พิษจากเมทานอลในประชาชนจำนวนมากจากการดื่มยาดองเหล้าและเหล้าเถื่อนในขณะนี้เป็นอย่างไร

รายงานข่าว ณ เวลา 08.00 น. วันที่ 28 สิงหาคม 2567 จากศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข รายงานตัวเลขคลัสเตอร์เหล้าเถื่อน มีผู้ป่วยสะสมจำนวน 37 คน เสียชีวิตเพิ่มอีก 2 คน รวมเป็น 6 คน โดยมี 1 คนเสียชีวิตที่บ้าน อยู่ระหว่างการรักษา 22 คน ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ 7 คน ฟอกไต 23 คน ส่วนผู้ป่วยรักษาหายกลับบ้านแล้ว 9 คน และล่าสุดพบผู้ป่วยสะสมเพิ่มขึ้นเป็น 44 ราย เสียชีวิตเพิ่มอีก 1 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยในจังหวัดพะเยา ที่ได้ซื้อเหล้าจากซอยหทัยราษฎร์ 33 เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร ก่อนเดินทางกลับบ้านที่จังหวัดพะเยา

นอกจากเมทานอลในยาดองเหล้าและเหล้าเถื่อนเหล่านี้ ยังพบแอลกอฮอล์ชนิดห้ามกินอื่นๆ อีกหรือไม่

จากการตรวจวิเคราะห์สุราของกลาง โดยห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ของกรมสรรพสามิต ยังพบสารอีกชนิดในเหล้าขาว-ยาดอง คือไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ ที่สถานผลิตเหล้าเถื่อน ที่บ้านของ “เจ๊ปู” และซุ้มยาดองทั้ง 18 ซุ้ม ในเขตมีนบุรี หนองจอก ลาดกระบัง ประเวศ คันนายาว และคลองสามวา

เมทานอลมีกลิ่นและรสที่แตกต่างจากเอทานอลหรือไม่

เมทานอลเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี มีกลิ่นและรสไม่แตกต่างจากเอทานอล ผู้ดื่มกินยาดองเหล้าหรือสุราเถื่อนที่ปนเปื้อนเมทานอลจึงไม่รู้ตัวว่ากำลังได้รับสารพิษ

การรักษาพิษจากเมทานอลทำอย่างไร

สารต้านพิษเมทามอลมี 2 ชนิดคือ โฟมีพิโซล(fomepizole) และเอทานอล สารเหล่านี้ออกฤทธิ์ยับยั้งการเปลี่ยนรูปของเมทานอลไปเป็นสารเมแทบอไลท์ที่เป็นพิษคือกรดฟอร์มิก ในปัจจุบันโฟมีพิโซลยังไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย จึงมีเพียงการใช้เอทานอลเป็นยาต้านพิษ แพทย์อาจให้การรักษาอื่นๆโดยใส่ท่อช่วยหายใจ ให้สารโซเดียมไบคาร์บอเนตทางหลอดเลือดดำเพื่อแก้ไขภาวะเลือดเป็นกรด ให้กรดโฟลิก (folic acid) เพื่อช่วยขจัดกรดฟอร์มิก และทำการฟอกเลือดเพื่อขจัดเมทานอลออกจากร่างกาย อย่าทำการรักษาพิษจากเมทานอลด้วยตนเองที่บ้าน

เอทานอลต้านพิษของเมทานอลได้อย่างไร

เอทานอลขัดขวางการเปลี่ยนรูปของเมทานอลไปเป็นกรดฟอร์มิก ซึ่งเป็นสารเมแทบอไลท์ที่เป็นพิษ โดยแย่งจับกับเอนไซม์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนรูปเมทานอล ทั้งนี้ เอทานอลจับกับเอนไซม์ดังกล่าวได้ดีกว่าเมทานอลถึง 15 เท่าทำให้การเปลี่ยนรูปของเมทานอลไปเป็นสารพิษเกิดขึ้นน้อยลง แพทย์อาจให้เอทานอลได้ทั้งทางปากและทางหลอดเลือดดำ ซึ่งต้องระวังการเกิดพิษจากเอทานอลระหว่างการให้สารดังกล่าวอย่างใกล้ชิดด้วยการดูแลผู้ป่วยในไอซียู อย่าทำการรักษาพิษของเมทานอลด้วยตนเองที่บ้าน

หากเมทานอลเข้าปากโดยไม่ตั้งใจในสถานที่ทำงาน จะช่วยเหลือเบื้องต้นได้อย่างไร

เตรียมการนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว อย่าทำการช่วยเหลือด้วยการทำให้อาเจียน แต่หากผู้ได้รับเมทานอลกำลังจะอาเจียนให้ผู้นั้นอยู่ในท่าเอียงตัวไปด้านหน้าเพื่อป้องกันการนำเมทานอลลงปอด ระหว่างนั้นให้ดื่มน้ำเปล่า 1 แก้ว คือประมาณ 240-300 มล. เพื่อเจือจางเมทานอลในกระเพาะอาหาร

ความสำเร็จในการรักษาขึ้นอยู่กับอะไร

ความสำเร็จในการรักษาขึ้นกับปริมาณสารพิษที่ผู้ป่วยได้รับ และระยะเวลาก่อนถึงมือแพทย์ หากได้รับแล้วรีบไปพบแพทย์โดยเร็วและให้ประวัติได้ชัดเจน เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยได้ในเบื้องต้นว่าอาจได้รับแอลกอฮอล์ชนิดที่เป็นพิษ แพทย์จะดูแลได้ทันท่วงทีด้วยสารต้านพิษ ในทางกลับกัน หากได้รับแล้วรอเวลาเพราะเห็นว่ายังไม่มีอาการใดๆ เมื่อเกิดอาการต่างๆ ขึ้นแล้วจึงค่อยไปพบแพทย์ อวัยวะและระบบร่างกายต่างๆ อาจเสียหายไปมากเกินกว่าที่แพทย์จะแก้ไขได้ เช่น เลือดเป็นกรดอย่างรุนแรงและเสียชีวิต หรือตาอาจจะบอดแบบถาวร ดังนั้นเมื่อรู้หรือสงสัยว่าได้รับแอลกอฮอล์ที่เป็นพิษต้องรีบไปพบแพทย์ในทันที อย่ารอช้า

อ้างอิง

-Ashurst JV, Nappe TM. Methanol Toxicity. [Updated 2023 Jun 12]. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2024 Jan-. [Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK482121/]

-Methanol Workplace Safety. The Canada Safety Council. [Available from: https://canadasafetycouncil.org/methanol/#:~:text=Methanol%20tastes%20and%20smells%20much,substitute%20in%20illegal%20alcoholic%20beverage s.

-Thai PBS. เสียชีวิตอีก 2 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนตายแล้ว 6 คน 2567 [สืบค้นได้จาก : https://www.thaipbs.or.th/news/content/343577]

-อาจารย์นายแพทย์กิติศักดิ์ แสนประเสริฐ. ภาวะพิษจากเมทานอล [สืบค้นได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/poisoncenter/sites/default/files/public/pdf/books/Antidote_book4-07_Methanol-Poisoning.pdf

นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล

ประธานคณะทำงานสร้างความเข้มแข็งประชาชนด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (สยส.)

กรรมการแพทยสภา

28 สิงหาคม 2567

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
11:10 น. ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันพุธ 2​ กรกฎาคม 2568
11:03 น. 'แอ๊ด คาราบาว'ฟันธง! ถ้าเพื่อไทยดันทุรังสร้างกาสิโน 'พรรค-ตระกูลเจ้าปัญหา'สาปสูญแน่
10:57 น. ลุงพลาดท่าถูกหลานชายป่วยทางจิตกระทืบดับ หลังทะเลาะกันในวงเหล้า
10:55 น. รวบสาว Sex Creator สร้างคอนเทนต์ลามกอนาจาร
10:46 น. เหตุเกิดที่‘เกาหลีใต้’! โชเฟอร์แท็กซี่หื่นขอมีอะไรกับนทท.สาวไทย แต่เอาผิดไม่ได้เพราะใช้แค่คำพูด
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
แกว่งเท้าหาเสี้ยน! ปรากฏการณ์แฉโพย‘สายส้ม’เข้มข้น-ล่อนจ้อน
'ออสเตรเลีย'ออกคำเตือนพลเมืองมา'ไทย'หลังพบวัตถุต้องสงสัยหลายเมืองท่องเที่ยวภาคใต้
ดูทั้งหมด
ต้นสนยักษ์ร่วมสมัยกับฟาโรห์
‘คลิปเขมร’เหตุอัปยศ‘แพทองธาร’
รู้ทันคอร์รัปชันด้วยวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่แค่ศีลธรรม
วาทกรรมเจ็บจี๊ด
อุ๊งอิ๊งค์ 2 ปรับ ครม. ฟอร์มาลีน
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันพุธ 2​ กรกฎาคม 2568

'ฮุน มาเนต'ฮึ่ม! 'ไทย'หยุดใช้อำนาจฝ่ายเดียวกีดกัน'คนเขมร'เข้า4พื้นที่พิพาท

สืบพยานคดี 112 วันที่สอง 'ทนาย'ยัน'ทักษิณ'มาฟังทุกนัด ยันไม่เครียดเรื่อง'อิ๊งค์'หลุดนายกฯ

เตือน!!! 'แพทองธาร'ถวายสัตย์ฯ เสี่ยงซ้ำรอยผิดจริยธรรม ชี้อาจนำ'ผู้ขาดคุณสมบัติ'เข้าเฝ้าฯ

เหตุเกิดที่‘เกาหลีใต้’! โชเฟอร์แท็กซี่หื่นขอมีอะไรกับนทท.สาวไทย แต่เอาผิดไม่ได้เพราะใช้แค่คำพูด

'สมชาย'เตือน'แพทองธาร'อย่าดันทุรัง ถวายสัตย์ปฏิญาณ เพื่อรับตำแหน่ง'รมว.วัฒนธรรม'

  • Breaking News
  • ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันพุธ 2​ กรกฎาคม 2568 ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันพุธ 2​ กรกฎาคม 2568
  • \'แอ๊ด คาราบาว\'ฟันธง! ถ้าเพื่อไทยดันทุรังสร้างกาสิโน \'พรรค-ตระกูลเจ้าปัญหา\'สาปสูญแน่ 'แอ๊ด คาราบาว'ฟันธง! ถ้าเพื่อไทยดันทุรังสร้างกาสิโน 'พรรค-ตระกูลเจ้าปัญหา'สาปสูญแน่
  • ลุงพลาดท่าถูกหลานชายป่วยทางจิตกระทืบดับ หลังทะเลาะกันในวงเหล้า ลุงพลาดท่าถูกหลานชายป่วยทางจิตกระทืบดับ หลังทะเลาะกันในวงเหล้า
  • รวบสาว Sex Creator สร้างคอนเทนต์ลามกอนาจาร รวบสาว Sex Creator สร้างคอนเทนต์ลามกอนาจาร
  • เหตุเกิดที่‘เกาหลีใต้’! โชเฟอร์แท็กซี่หื่นขอมีอะไรกับนทท.สาวไทย แต่เอาผิดไม่ได้เพราะใช้แค่คำพูด เหตุเกิดที่‘เกาหลีใต้’! โชเฟอร์แท็กซี่หื่นขอมีอะไรกับนทท.สาวไทย แต่เอาผิดไม่ได้เพราะใช้แค่คำพูด
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ทำไมผู้สูงอายุต้องได้รับวัคซีนและวัคซีนที่แนะนำสำหรับผู้สูงอายุ

ทำไมผู้สูงอายุต้องได้รับวัคซีนและวัคซีนที่แนะนำสำหรับผู้สูงอายุ

28 มิ.ย. 2568

การเลือกนมและผลิตภัณฑ์ของนม

การเลือกนมและผลิตภัณฑ์ของนม

21 มิ.ย. 2568

โรคพาร์กินสัน : รู้เร็ว รักษาไว คุณภาพชีวิตยั่งยืน

โรคพาร์กินสัน : รู้เร็ว รักษาไว คุณภาพชีวิตยั่งยืน

14 มิ.ย. 2568

สุขภาพตา by สมาคมจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ‘ภูมิแพ้ขึ้นตา’ โดย นายแพทย์ วีรภัทร อุดมวงศ์

สุขภาพตา by สมาคมจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ‘ภูมิแพ้ขึ้นตา’ โดย นายแพทย์ วีรภัทร อุดมวงศ์

7 มิ.ย. 2568

แพทยสภา วัณโรคยุคใหม่ ต้องรู้ให้ทัน

แพทยสภา วัณโรคยุคใหม่ ต้องรู้ให้ทัน

31 พ.ค. 2568

หาสาเหตุของนอนกรนด้วย DISE ส่องกล้องขณะหลับ

หาสาเหตุของนอนกรนด้วย DISE ส่องกล้องขณะหลับ

24 พ.ค. 2568

การตรวจหาคราบแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจและความหมายของ calcium score

การตรวจหาคราบแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจและความหมายของ calcium score

16 พ.ค. 2568

มะเร็งกระเพาะอาหาร โรคร้ายภายใต้ความสงัด

มะเร็งกระเพาะอาหาร โรคร้ายภายใต้ความสงัด

10 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved