วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / ทันโลกทันเหตุการณ์
ทันโลกทันเหตุการณ์

ทันโลกทันเหตุการณ์

แพทยสภา
วันเสาร์ ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568, 06.00 น.
ลืมกัน...แค่วันเดียว

ดูทั้งหมด

  •  

ภาวะหลงลืมชั่วคราว (Transient Global Amnesia, TGA) คือภาวะที่ผู้ป่วยมีการสูญเสียความทรงจำอย่างเฉียบพลันโดยเฉพาะเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น (anterograde amnesia) ร่วมกับสูญเสียความสามารถในการจดจำเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น (anterograde amnesia) แบบชั่วคราว ส่งผลให้ผู้ป่วยที่มีภาวะดังกล่าวมีความสับสนเกี่ยวกับวัน เวลา สถานที่ และเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น ผู้ป่วยจึงมักถามซ้ำๆ ว่ามาที่นี่ได้อย่างไรเกิดอะไรขึ้น เมื่อได้ให้คำตอบไปแล้วก็มักจะถามคำถามเดิมซ้ำๆ อีกส่งผลให้เกิดความกังวล สับสนมากยิ่งขึ้น โดยที่ผู้ป่วยยังคงรู้สึกตัวดีรู้จักตนเอง (self-awareness) จำญาติ พี่ น้อง และเพื่อนได้ เข้าใจภาษาและสามารถสื่อสารได้เป็นปกติ การสูญเสียความทรงจำจากภาวะนี้จะเป็นชั่วคราวและหายได้เองภายใน 24 ชั่วโมง ความทรงจำที่เสียไปโดยส่วนใหญ่จะค่อยๆ กลับคืนมา โดยไม่พบความผิดปกติทางระบบประสาทอื่นๆ อันเป็นผลต่อเนื่องจากภาวะดังกล่าว

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดที่ทำให้เกิดภาวะหลงลืมชั่วคราว แต่เชื่อว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นที่สมองส่วนฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดเก็บความจำ ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถจดจำเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นหรือกำลังเกิดขึ้นได้ ภาวะหลงลืมชั่วคราวมักเกิดในผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและเพศหญิงปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับภาวะนี้ได้แก่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคไมเกรนและโรคไขมันในเลือดสูง นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่มีภาวะดังกล่าว มักได้รับเหตุกระตุ้นบางอย่างก่อนเกิดอาการเช่น การออกกำลังกายอย่างหนัก พักผ่อนน้อย ความเครียด การเปลี่ยนอุณหภูมิอย่างเฉียบพลันเช่น จากการแช่น้ำอุ่น-น้ำเย็น, ความเจ็บปวด, เพศสัมพันธ์, การเบ่งลมหายใจแรงๆ หรือการกลั้นลมหายใจ เป็นต้น


แม้ว่าภาวะหลงลืมชั่วคราวจะสามารถหายเองได้ แต่หากมีอาการที่สงสัยเกี่ยวกับภาวะนี้ ควรมาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจร่างกาย ร่วมกับรับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อแยกจากภาวะอื่นๆ ซึ่งอาจมีลักษณะอาการคล้ายคลึงกัน เช่น โรคหลอดเลือดสมองตีบชั่วคราว (Transient Ischemic Attack, TIA) โรคลมชัก โรคไมเกรน โรคติดเชื้อในสมอง โรคเลือดออกในสมอง ซึ่งต้องการการดูแลรักษาที่ต่างกันไป ดังนั้นการวินิจฉัยภาวะหลงลืมชั่วคราวจะเกิดขึ้นเมื่อแพทย์ไม่พบสาเหตุอื่นๆ ที่สามารถอธิบายอาการในข้างต้นได้ และผู้ป่วยมีอาการเป็นปกติภายใน 24 ชั่วโมง

โดยทั่วไปผู้ป่วยมักได้รับการเข้าสังเกตอาการในโรงพยาบาลเพื่อติดตามอาการและการดำเนินโรคอย่างใกล้ชิด การรักษาส่วนใหญ่จึงเป็นการรักษาแบบประคับประคองจนผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ความจำกลับมาเป็นปกติ แม้ว่าส่วนใหญ่อาการหลงลืมชั่วคราวมักไม่เกิดขึ้นซ้ำ ผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น ลดน้ำหนัก งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา เป็นต้น จากข้อมูลในปัจจุบันภาวะหลงลืมชั่วคราว ไม่เป็นสัญญาณหรืออาการนำของโรคสมองเสื่อมโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคลมชักในอนาคต

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ประวีณ โล่ห์เลขา

หน่วยประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

และราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
17:09 น. ตัวมัมพันธุ์ใหม่!!! ได้ทีกระทืบซ้ำ‘สายสีน้ำเงิน’ สอนมารยาททางการเมือง
16:59 น. 'ไพบูลย์'เชื่อมติแพทยสภา เป็นหลักฐานสําคัญ ชี้ชะตา'ทักษิณ' 13 มิ.ย.วันศาลไต่สวน
16:58 น. ลอตแรกครบแล้ว! 'กกต.-DSI'ติดหมายเรียก'สว.พิศูจน์-สว.พิบูลย์อัฑฒ์'
16:50 น. มัลดีฟส์ลุกเป็นไฟ! 'มุก วรนิษฐ์'อวดหุ่นเซ็กซี่ในชุดบิกินี่สดใส
16:50 น. สางไฟใต้!!! 'นายกฯ'ถก'รมว.กลาโหม-ผบ.ตร.-ปลัดมท.'
ดูทั้งหมด
ภาพอบอุ่นใจความรักที่งดงามของ 'กษัตริย์จิกมี-สมเด็จพระราชินี-เจ้าชาย-พระธิดา' ในยามค่ำคืนของทะเลทรายโกบี
(คลิป) 'ฐปณีย์' เละคาบ้าน! ด้อยค่าคนไม่เห็นด้วย 'เมียจ่าปืน' ออกโรงตอกกลับไม่ใช่ IO
‘ลาออก’ไปเถอะ! ฉะ‘นายกฯ’มีสติปัญญาแค่นี้ แผ่นเสียงตกร่องชู‘กาสิโน’แก้เศรษฐกิจ
มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 4-10 พ.ค.68
หยามเกียรติธงชาติไทย! ทนายแจ้งเอาผิด โพสต์เฟสบุ๊คดูหมิ่น'ธงคือผ้าเช็ดเท้า'
ดูทั้งหมด
อวสาน‘ทักษิณ’คุกรออยู่
ความต่างของ สิงคโปร์ กับ ไทย
คุกนรก (1)
นักการเมือง ‘ส้มสารพิษ’
บุคคลแนวหน้า : 9 พฤษภาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ไม่ปล่อยให้ผ่านมือ!'รอง ผกก.สืบฯฮีโร่'ขับรถกลางดึกเจอโจรผัวเมียงัดตู้เติมเงินจับทันที

ครั้งประวัติศาสตร์!อังกฤษลุยถ้วยใหญ่ยุโรป6ทีม

ปตท. ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติส่วนเพิ่มแหล่งอาทิตย์เสริมความมั่นคงพลังงานไทย

'ไพบูลย์'เชื่อมติแพทยสภา เป็นหลักฐานสําคัญ ชี้ชะตา'ทักษิณ' 13 มิ.ย.วันศาลไต่สวน

(คลิป) หลอกหลอน 'โฆษกพรรคเพื่อไทย' ไปตลอดชีวิต

มัลดีฟส์ลุกเป็นไฟ! 'มุก วรนิษฐ์'อวดหุ่นเซ็กซี่ในชุดบิกินี่สดใส

  • Breaking News
  • ตัวมัมพันธุ์ใหม่!!! ได้ทีกระทืบซ้ำ‘สายสีน้ำเงิน’ สอนมารยาททางการเมือง ตัวมัมพันธุ์ใหม่!!! ได้ทีกระทืบซ้ำ‘สายสีน้ำเงิน’ สอนมารยาททางการเมือง
  • \'ไพบูลย์\'เชื่อมติแพทยสภา เป็นหลักฐานสําคัญ ชี้ชะตา\'ทักษิณ\' 13 มิ.ย.วันศาลไต่สวน 'ไพบูลย์'เชื่อมติแพทยสภา เป็นหลักฐานสําคัญ ชี้ชะตา'ทักษิณ' 13 มิ.ย.วันศาลไต่สวน
  • ลอตแรกครบแล้ว! \'กกต.-DSI\'ติดหมายเรียก\'สว.พิศูจน์-สว.พิบูลย์อัฑฒ์\' ลอตแรกครบแล้ว! 'กกต.-DSI'ติดหมายเรียก'สว.พิศูจน์-สว.พิบูลย์อัฑฒ์'
  • มัลดีฟส์ลุกเป็นไฟ! \'มุก วรนิษฐ์\'อวดหุ่นเซ็กซี่ในชุดบิกินี่สดใส มัลดีฟส์ลุกเป็นไฟ! 'มุก วรนิษฐ์'อวดหุ่นเซ็กซี่ในชุดบิกินี่สดใส
  • สางไฟใต้!!! \'นายกฯ\'ถก\'รมว.กลาโหม-ผบ.ตร.-ปลัดมท.\' สางไฟใต้!!! 'นายกฯ'ถก'รมว.กลาโหม-ผบ.ตร.-ปลัดมท.'
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

แพทยสภา โรคเบาหวานขึ้นจอตา ภัยเงียบที่ทำให้ตาบอดถาวรได้

แพทยสภา โรคเบาหวานขึ้นจอตา ภัยเงียบที่ทำให้ตาบอดถาวรได้

26 เม.ย. 2568

แพทยสภา สุขเพศในผู้สูงวัย

แพทยสภา สุขเพศในผู้สูงวัย

19 เม.ย. 2568

แพทยสภา หมอชวนรู้ “นิ่วในไต”

แพทยสภา หมอชวนรู้ “นิ่วในไต”

12 เม.ย. 2568

รู้ทัน \'ยาอีแทมบูทอล\' ใช้อย่างปลอดภัย ห่างไกลตาบอด

รู้ทัน 'ยาอีแทมบูทอล' ใช้อย่างปลอดภัย ห่างไกลตาบอด

5 เม.ย. 2568

อันตรายจากแมงดาทะเลและปลาปักเป้า

อันตรายจากแมงดาทะเลและปลาปักเป้า

29 มี.ค. 2568

“ภัยร้าย” ใต้ความเหลืองของเด็กทารก

“ภัยร้าย” ใต้ความเหลืองของเด็กทารก

22 มี.ค. 2568

คนที่ตามองเห็นเพียงตาข้างเดียวเป็นคนพิการหรือไม่ ขับรถได้หรือไม่

คนที่ตามองเห็นเพียงตาข้างเดียวเป็นคนพิการหรือไม่ ขับรถได้หรือไม่

15 มี.ค. 2568

ภาวะวุ้นตาเสื่อม

ภาวะวุ้นตาเสื่อม

8 มี.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved