วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ปรีชา'ทัศน์
ปรีชา'ทัศน์

ปรีชา'ทัศน์

วันศุกร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562, 02.00 น.
การคลังยุคหุ่นยนต์ ตอนที่ 4

ดูทั้งหมด

  •  

รายได้สาธารณะเป็นเรื่องการหารายได้ของรัฐ โดยหลักแล้วจะได้จากการจัดเก็บภาษี ซึ่งต้องคำนึงด้วยว่าจะจัดเก็บอย่างไรจึงจะเหมาะสม ถึงจะทำให้บรรลุภาระหน้าที่ของรัฐและการคลัง1 หากรายได้กับรายจ่ายของรัฐไม่สมดุลกัน อาจทำให้รัฐต้องกู้ยืมเงินหรือก่อหนี้สาธารณะขึ้น การหารายได้โดยการเก็บภาษีนั้น เป็นเรื่องที่ไม่ต้องลงทุนมากนัก เพียงแค่มีเจ้าหน้าที่และออกกฎหมายก็สามารถจัดเก็บภาษีหารายได้เข้ารัฐแล้วโดยที่ไม่ต้องลงทุนตั้งโรงงาน ผลิตสินค้าแล้วขายเพื่อหารายได้เหมือนอย่างเอกชน อำนาจในการเก็บภาษี จึงเป็นอำนาจพิเศษในการหารายได้ ที่มีแต่รัฐเท่านั้นที่สามารถทำได้ ส่วนเอกชนทำไม่ได้เพราะภาษีเป็นเรื่องที่บังคับเก็บจากประชาชนโดยไม่มีสิ่งตอบแทนโดยตรงให้ประชาชน ดังนั้นเอกชนจึงไปบังคับให้ประชาชนต้องจ่ายเงินโดยไม่ให้อะไรตอบแทนไม่ได้ แต่ที่รัฐทำได้ก็เพราะมีทั้งความชอบธรรมและมีอำนาจอยู่ในมือใครไม่ปฏิบัติตามกฎหมายก็จะถูกบังคับยึดทรัพย์หรือจับกุมคุมขังต่างๆ ได้

ลักษณะภาษีอากรที่ดี มีหลักการที่สำคัญดังนี้


1. มีความเป็นธรรมโดยพิจารณาความสามารถในการเสียภาษีอากร (รายได้ รายจ่าย ทรัพย์สิน) รวมทั้งผลประโยชน์ที่ผู้เสียภาษีได้รับ

2. มีความแน่นอนและชัดเจน ทำให้เข้าใจได้ง่าย และป้องกันเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจโดยไม่ชอบ

3. มีความสะดวก ในวิธีการเสียภาษีอากร

4. มีประสิทธิภาพ ทำให้ประหยัดรายจ่ายทั้งในส่วนผู้จัดเก็บภาษีและผู้เสียภาษี มีต้นทุนต่ำในการเก็บภาษีอากร

5. มีความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ ทำให้การจัดเก็บภาษีไม่มีผลกระทบต่อการทำงานของกลไกตลาด หรือมีน้อย

6. อำนวยรายได้ ทำให้จัดเก็บภาษีอากรได้เป็นกอบเป็นกำ เพียงพอต่อการใช้จ่ายของรัฐบาล

7. มีความยืดหยุ่น ทำให้สามารถปรับเพิ่มลดจำนวนภาษีอากรให้เหมาะกับสถานการณ์อย่างสะดวกรวดเร็ว

สำหรับการแบ่งประเภทภาษีอากร แบ่งได้หลายวิธีแล้วแต่จุดมุ่งหมายว่าแบ่งเพื่ออะไร เช่น ถ้าจะแบ่งว่าภาระของรัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิ่นในการเก็บภาษีมีมากน้อยแค่ไหน ก็อาจจะเป็นภาษีส่วนกลาง กับภาษีส่วนท้องถิ่น แต่ถ้าแบ่งโดยใช้สิ่งที่เป็นมูลเหตุทำให้ต้องเสียภาษี เป็นเกณฑ์ เราก็เรียกว่าเป็นการแบ่งตามชนิดของฐานภาษีอากร

การแบ่งโดยใช้มูลเหตุที่ทำให้ต้องเสียภาษีเป็นฐานในการแบ่ง ก็จะแบ่งประเภทภาษีเป็น 3 ชนิดด้วยกัน

(1) ภาษีเก็บจากรายได้ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ฐานนี้เก็บจากรายได้ คือ สิ่งที่ได้เพิ่มมาในช่วงเวลาหนึ่ง ภาษีที่เก็บจากรายได้ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภาษีเงินได้ที่เก็บจากบุคคลธรรมดา) ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภาษีเงินได้ที่เก็บจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล) ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ภาษีเงินได้ที่เก็บจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่ประกอบกิจการปิโตรเลียม) เช่น บริษัทต่างชาติที่มาขุดเจาะแก๊สน้ำมันในอ่าวไทย ต้องเสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียมตามกฎหมายพิเศษ โดยทั้งหมดนี้มีหลักการจัดเก็บภาษีจากรายได้หรือกำไร ถ้าไม่มีรายได้ ไม่มีกำไรก็ไม่ต้องเสียและเงินได้ที่เสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียมแล้ว จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลซ้ำอีก

(2) ภาษีเก็บจากการใช้จ่าย/การบริโภค เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร ฐานนี้เก็บจากเงินที่ไหลออกจากกระเป๋า (ต่างจากภาษีในข้อ 1 ที่เก็บจากเงินที่ไหลเข้ากระเป๋า) เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่เก็บจากเวลาซื้อสินค้าตามห้างฯ เวลาซื้ออาหารเครื่องดื่มตามร้านอาหาร ภัตตาคาร ที่เวลาเราจ่ายเงินเขาก็จะให้ใบกำกับภาษี ซึ่งในใบนั้นจะแจ้งจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ที่คนขายเก็บไปในฐานะที่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม คนขายจะบวกภาษีลงไปในราคาสินค้าแล้วเรียกเก็บจากผู้ซื้อ เพราะฉะนั้นภาษีมูลค่าเพิ่มโดยเนื้อแท้แล้ว คือ ภาษีที่ต้องการจะเก็บจากคนใช้จ่ายหรือคนบริโภค แต่การไปเก็บโดยตรงจากผู้ใช้จ่ายเก็บได้ยาก เพราะฉะนั้นจึงเก็บจากคนขายแทน เป็นการเก็บทางอ้อม แล้วให้คนขายไปเก็บจากคนซื้ออีกต่อหนึ่ง ทำให้รัฐเก็บภาษีได้สะดวกเพราะรัฐไปเก็บจากคนขายทีเดียว ไม่ต้องไปเก็บจากผู้ซื้อทีละคน จึงเรียกว่าเป็นภาษีที่เก็บจากการใช้จ่าย โดยมีจุดมุ่งหมายเก็บจากคนใช้จ่าย โดยให้คนขายช่วยรัฐจัดเก็บ

_______________________________________________________

1 บางประเทศลงทุนสร้างโครงการบ้านจัดสรร รีสอร์ท เพื่อให้เศรษฐีมาซื้อ เช่น Dubai (โครงการ The Palm และ The World)

ภาษีธุรกิจเฉพาะ เก็บจากธุรกิจ 8 ประเภทตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ธนาคาร โรงรับจำนำ ประกันชีวิต เป็นต้น ดังนั้นคนที่ไปกู้เงินธนาคาร ก็จะถูกธนาคารผลักภาระภาษีธุรกิจเฉพาะมาให้

ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร คนเสียภาษีคือคนที่ผลิตสินค้าหรือคนที่นำเข้าสินค้า โดยภาษีสรรพสามิตส่วนใหญ่ก็จะเก็บจากพวกสินค้าบาป (เรียกกันว่า sin tax) เพราะสินค้าที่เสียภาษีสรรพสามิตส่วนใหญ่ คือสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (สุรา ยาสูบ) หรือเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจ (ของฟุ่มเฟือย) ดังนั้น ผู้ผลิตสินค้าจึงต้องเสียภาษีตั้งแต่นำสินค้าออกจากโรงงาน แต่ผู้ผลิตสินค้าจะบวกภาษีที่ต้องเสียลงไปในราคาสินค้าเพื่อผลักภาระไปให้ผู้บริโภค สินค้านำเข้า เช่น น้ำหอม เครื่องสำอาง ต่างๆ ก็จะต้องเสียภาษีนำเข้า ภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมกันทั้ง 3 ชนิดตอนนำเข้า แต่คนเสียภาษีก็จะบวกภาษีที่เสียไปทั้ง 3 ตัวลงในราคาสินค้าเพื่อผลักภาระไปให้ผู้บริโภค

(3) ภาษีเก็บจากการเป็นเจ้าของทรัพย์สินและการรับโอน2 เรียกสั้นๆ ว่า “ภาษีทรัพย์สิน” เป็นภาษีที่เก็บจากความเป็นเจ้าของทรัพย์สินและการโอนตกทอดต่างๆ (ถ้าไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีทรัพย์สิน ก็ไม่ต้องเสีย) เกือบทั้งหมดเก็บและส่งให้กับท้องถิ่นจึงจัดเป็นภาษีท้องถิ่น เช่น ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษี 2 ชนิดนี้คาดว่าจะมีการยกเลิก แล้วแก้ไขปรับปรุงเป็นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างชนิดเดียวในอนาคต ภาษี (ทะเบียน) รถยนต์ที่เก็บจากเจ้าของรถยนต์ อากรมฤดกและการรับมฤดก เก็บจากกองมรดกและทายาท ในช่วงปี 2477 และยกเลิกไปในปี 2487 ปัจจุบันเริ่มมีการเก็บภาษีการรับมรดกขึ้นใหม่ ภาษีป้ายเก็บจากเจ้าของป้ายห้างร้านและป้ายโฆษณาต่างๆ

การแบ่งประเภทภาษีโดยดูลักษณะ “การผลักภาระภาษี” ว่าผลักง่ายหรือผลักยาก กรณีนี้จะแบ่งภาษีต่างๆ เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ ภาษีทางตรง และภาษีทางอ้อม ภาษีทางตรง เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีบำรุงท้องที่ ผู้เสียภาษีกับผู้รับภาระภาษีมักเป็นบุคคลคนเดียวกัน จึงผลักภาระภาษีได้ยาก

คนเสียภาษีไม่รู้จะผลักภาระไปให้ใคร จึงต้องเป็นผู้รับภาระไว้เอง เช่น มนุษย์เงินเดือนต้องเสียภาษีเงินได้ เมื่อเสียแล้วก็ไม่อาจผลักภาระให้คนอื่นมาเสียแทน หรือกรณีบริษัทต้องเสีย “ภาษีเงินได้นิติบุคคล” ตอนสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ก็ต้องคำนวณว่าทั้งรอบฯมีกำไรเท่าไร แล้วเสียในอัตราที่กำหนดเมื่อเสียภาษีแล้วก็ไม่อาจผลักภาระไปให้ใคร เพราะเป็นการคำนวณรายได้ กำไรจากการดำเนินกิจการมาทั้งรอบฯ ว่าได้เท่าไรแล้วค่อยเสียภาษี จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะย้อนกลับไปเรียกให้คนที่ทำให้บริษัทมีกำไรมาเป็นผู้รับภาระภาษีแทน (ส่วนจะไปบวกกับผู้ซื้อในรอบบัญชีถัดไปหรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง) เพราะฉะนั้นภาษีทางตรง จึงเป็นภาษีที่ผู้เสียกับผู้รับภาระมักจะเป็นคนเดียวกัน ผลักภาระภาษีได้ยาก แต่ก็มิได้หมายความว่า จะเป็นคนละคนไม่ได้ หรือผลักภาระภาษีไม่ได้เลย เพราะในบางกรณีก็ผลักได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจ เช่น กรณีลูกจ้างที่มีความสามารถสูงที่อาจต่อรองให้นายจ้างเป็นผู้เสียภาษีเงินได้แทน3 ส่วนภาษีทางอ้อม ได้แก่ภาษีที่เก็บจากฐานการใช้จ่ายหรือการบริโภค ผู้มีหน้าที่เสียภาษีส่วนใหญ่จะผลักภาระภาษีได้ง่าย และผู้เสียภาษีกับ
ผู้รับภาระภาษีมักเป็นคนละคนกัน แต่ก็มิได้หมายความว่าในเชิงพฤตินัยจะผลักภาระภาษีได้ทุกกรณี เพราะขึ้นอยู่กับอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจเช่นกัน

________________________________________________________________

2 ปัญหาว่าค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมอสังหาริมทรัพย์ จัดเป็นภาษีการโอนหรือไม่นั้น เห็นว่า “ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมอสังหาริมทรัพย์” เก็บจากการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยกรมที่ดินเป็นผู้จัดเก็บภาษีส่วนนี้ แม้จะใช้ชื่อว่าค่าธรรมเนียม แต่พิจารณาในแง่เนื้อหาแล้วเป็นภาษี เพราะว่าค่าใช้จ่ายในการให้เจ้าหน้าที่มารับจดทะเบียนซื้อ ขาย โอน ต่างๆ มีจำนวนน้อย แต่ค่าธรรมเนียมจะเก็บ 2% ของราคาประเมิน ซึ่งถ้าที่ดินราคาสูง ค่าธรรมเนียมก็จะสูงตามไปด้วยจนเกินต้นทุนที่รัฐให้บริการประชาชน ดังนั้น ถ้ากล่าวอย่างเคร่งครัดแล้ว ส่วนนี้จึงจัดได้ว่ามีเนื้อหาเป็น “ภาษี” ไม่ใช่ค่าบริการ (ค่าธรรมเนียม) ที่รัฐเรียกเก็บ

3 ปัจจุบัน บริษัทการบินไทย จำกัด เป็นบริษัทหนึ่งที่นายจ้างเสียภาษีแทนลูกจ้างบางส่วนอยู่ นอกจากนี้ ชาวต่างชาติที่มาทำงานในเมืองไทยส่วนใหญ่
ก็เรียกร้องให้นายจ้างเสียภาษีเงินได้แทน

ศาสตราจารย์ ดร.สุเมธ ศิริคุณโชติ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
14:00 น. ดีล‘ปชน.-ภท.’เกิดยาก! ‘ชูศักดิ์’บอกแปลกประหลาด ชี้การเมืองยังไม่ถึงทางตัน
13:50 น. 'หมอวี'แว่วข่าว'เพื่อไทย'ถอนร่าง'เอ็นเตอร์เทนเมนต์ฯ'สัปดาห์หน้า หนุนเก็บไว้หาเสียงเอง
13:32 น. ลอบวางเพลิง! 'รถยนต์ไฟฟ้า'อดีต สส.ประชาธิปัตย์ ลั่นไม่กลัวอิทธิพลมืดคนเบื้องหลัง
13:25 น. สลดโลมาเกยตื้นยังไม่รู้สาเหตุเร่งส่งชันสูตร
13:22 น. 'เพื่อไทย'โต้เฟกนิวส์!! ยัน'รัฐบาล'ไม่มีส่งวัตถุโบราณ 20 ชิ้นให้กัมพูชา
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
บิ๊กเนม'ปชป.'ร่วมวงเพียบ!! 'คุณหญิงกัลยา'ตั้ง'พรรคไทยก้าวใหม่' พร้อมตั้ง'สุชัชวีร์'นั่งหัวหน้าฯ
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
ดูทั้งหมด
ต้องเลือกตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือ
บุคคลแนวหน้า : 6 กรกฎาคม 2568
ชีวิตประจำวันของผม-การทำงาน
หน้าต้องทนสูงมาก จึงทำแบบนี้ได้
วิวาทะ ว่าด้วย‘อภิปรายไม่ไว้วางใจ’
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ดีล‘ปชน.-ภท.’เกิดยาก! ‘ชูศักดิ์’บอกแปลกประหลาด ชี้การเมืองยังไม่ถึงทางตัน

'หมอวี'แว่วข่าว'เพื่อไทย'ถอนร่าง'เอ็นเตอร์เทนเมนต์ฯ'สัปดาห์หน้า หนุนเก็บไว้หาเสียงเอง

'เพื่อไทย'โต้เฟกนิวส์!! ยัน'รัฐบาล'ไม่มีส่งวัตถุโบราณ 20 ชิ้นให้กัมพูชา

‘เด็จพี่’เย้ย‘นายกฯชั่วคราว’แค่ฝันกลางวัน ไล่‘ฝ่ายค้าน’ไปเคลียร์กันก่อนจะชูใคร

‘จิรวัฒน์’จวกวิธีการคนจี้ยุบสภาฯเร่งร้อน-ชิงความได้เปรียบเกินไป

‘เพื่อไทย’ชี้ไม่มีความจำเป็นยุบสภาฯ มั่นใจ'อิ๊งค์'จะเรียกความเชื่อมั่น-ฟื้นศรัทธาปชช.กลับมา

  • Breaking News
  • ดีล‘ปชน.-ภท.’เกิดยาก! ‘ชูศักดิ์’บอกแปลกประหลาด ชี้การเมืองยังไม่ถึงทางตัน ดีล‘ปชน.-ภท.’เกิดยาก! ‘ชูศักดิ์’บอกแปลกประหลาด ชี้การเมืองยังไม่ถึงทางตัน
  • \'หมอวี\'แว่วข่าว\'เพื่อไทย\'ถอนร่าง\'เอ็นเตอร์เทนเมนต์ฯ\'สัปดาห์หน้า หนุนเก็บไว้หาเสียงเอง 'หมอวี'แว่วข่าว'เพื่อไทย'ถอนร่าง'เอ็นเตอร์เทนเมนต์ฯ'สัปดาห์หน้า หนุนเก็บไว้หาเสียงเอง
  • ลอบวางเพลิง! \'รถยนต์ไฟฟ้า\'อดีต สส.ประชาธิปัตย์ ลั่นไม่กลัวอิทธิพลมืดคนเบื้องหลัง ลอบวางเพลิง! 'รถยนต์ไฟฟ้า'อดีต สส.ประชาธิปัตย์ ลั่นไม่กลัวอิทธิพลมืดคนเบื้องหลัง
  • สลดโลมาเกยตื้นยังไม่รู้สาเหตุเร่งส่งชันสูตร สลดโลมาเกยตื้นยังไม่รู้สาเหตุเร่งส่งชันสูตร
  • \'เพื่อไทย\'โต้เฟกนิวส์!! ยัน\'รัฐบาล\'ไม่มีส่งวัตถุโบราณ 20 ชิ้นให้กัมพูชา 'เพื่อไทย'โต้เฟกนิวส์!! ยัน'รัฐบาล'ไม่มีส่งวัตถุโบราณ 20 ชิ้นให้กัมพูชา
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

วันชาติอเมริกาในบางแง่มุม

วันชาติอเมริกาในบางแง่มุม

4 ก.ค. 2568

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ  กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

27 มิ.ย. 2568

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐  และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

20 มิ.ย. 2568

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

13 มิ.ย. 2568

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

6 มิ.ย. 2568

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

30 พ.ค. 2568

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓  ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓ ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

23 พ.ค. 2568

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (จบ)

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (จบ)

16 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved