วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ปรีชา'ทัศน์
ปรีชา'ทัศน์

ปรีชา'ทัศน์

วันศุกร์ ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562, 02.00 น.
การปฏิรูปการเรียนการสอนเพื่อสร้างสังคมประชาธิปไตย

ดูทั้งหมด

  •  

โดยความคิดเห็นส่วนตัวที่บังเอิญในชีวิตการงานที่กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีโอกาสสัมผัสภารกิจสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ ในเรื่องการปฏิรูปการศึกษาถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรกช่วงหลังวิกฤติ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เมื่อขบวนการของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาได้ยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ที่สำคัญคือ การปฏิรูประบบการศึกษา ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้มีบทบาทเป็นเจ้าภาพ และมีผลดีหลายประการ ตั้งแต่ พ.ศ. 2520-2521 ที่ปรับระบบการศึกษาเป็นระบบ 6-3-3 (ประถมศึกษา 6 ปี, มัธยมต้น 3 ปี และมัธยมปลาย 3 ปี) และเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาของชีวิต หรือประสบการณ์ของชีวิต ตลอดจนเพิ่มมิติการเรียนการสอนทางวิชาชีพหรือพื้นฐานวิชาชีพให้เกิดทักษะชีวิต ฯลฯ

ส่วนครั้งที่สอง ก็คือ หลังวิกฤติต้มยำกุ้ง เมื่อรัฐบาล ฯพณฯ ท่าน นายชวน หลีกภัย (พ.ศ. 2540 -2544) ได้ดำเนินการ
ปฏิรูปการศึกษา โดยออก พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ยังผลให้จัดการศึกษาภาคบังคับจากประถมศึกษาจนกระทั่งจบมัธยมศึกษาตอนต้น (รวม 9 ปี) และบวกอีก 3 ปี ระดับมัธยมปลาย เรียกว่า การศึกษาพื้นฐาน ซึ่งจัดให้แก่ทุกคนที่ต้องการจะเรียนโดยไม่เก็บเงินค่าเล่าเรียน โดยหวังว่าเยาวชนส่วนใหญ่ในวัยนี้จะเรียนจบมัธยมปลาย ซึ่งจะเป็นบันไดส่งต่อไปยังระดับอุดมศึกษา


ฉะนั้น ในรอบ 10 ปี หรือทศวรรษที่ผ่านมา จำนวนนักศึกษาระดับอุดมศึกษาซึ่งรวมถึง ปวส. จากกรมอาชีวศึกษาด้วย จึงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเป็นที่น่าพอใจ ขณะที่สถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งก็อาจขยายตัวเกินเป้าหมาย จนมีข่าวออกมาในปัจจุบันว่าเริ่มมีห้องเรียนว่าง เพราะตัวป้อนนักศึกษาเริ่มลดลง เพราะอัตราการเกิดของประชากรลดลง

ประเด็นที่จะต้องพิจารณาในขณะนี้ก็คือ มิใช่ปัญหาของปริมาณ แต่เป็นปัญหาของคุณภาพ หากระบบเศรษฐกิจของไทยจะต้องออกจากกับดักของประเทศที่มีรายได้ปานกลาง จึงได้มีการพูดถึงโครงการที่จะต้องให้ความสำคัญ คือ “STEM” (Science, Technology,Engineering, Mathematic) แต่ที่สำคัญคือ บทบาทของมหาวิทยาลัยในการผลิตผลงานการวิจัยทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ซึ่งการจัดตั้งกระทรวงใหม่ รวมงานอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม น่าจะเป็นนโยบายที่ตอบสนองต่อปัญหาปัจจุบัน เพื่อผลิตผลงานที่จะรองรับภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ

ผู้เขียนไม่ห่วงมากนักในภารกิจใหม่ดังกล่าว เพราะเชื่อมั่นในความสามารถของนักวิชาการ-นักวิทยาศาสตร์ไทยในเรื่องนี้ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ในด้านการเรียนการสอนทางวิชาสังคม โดยเฉพาะการสร้างคนรุ่นใหม่ที่จะต้องเข้าใจทั้งมรดกวัฒนธรรมของไทยที่ดีงาม และวิถีชีวิตใหม่ตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย ที่จะต้องถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ไม่ใช่เกมส์แห่งอำนาจที่จะต้องเอาเป็นเอาตาย มิใช่ Zero-Sum Game(ที่ไม่รู้จักประนีประนอม และต้องชนะกันแบบกินรวบ) ระบอบประชาธิปไตยเป็นวิถีชีวิตของ “ผู้ดี” ของ “สุภาพบุรุษ” ที่เล่นเกมส์ในสภาจบ ก็จบที่ตรงนั้น ไม่นำเหตุแห่งการขัดแย้งในสภาให้เป็นเรื่องหมองใจในชีวิต เกมส์ของการเมืองในสภา จึงเป็นเกมส์ของผู้ดี ของมือสมัครเล่น ในแง่ที่จบเกมส์ก็ใช้ชีวิตต่อไป หากเป็นเพื่อนกัน ก็เป็นเพื่อนต่อไป แพ้ชนะในสภา หรือในการเลือกตั้ง ก็เหมือนแพ้ชนะในเกมส์แข่งขันกีฬา ไว้คราวหน้า เมื่อแข่งกันใหม่ค่อยกลับมาเล่นใหม่ นี่คือลีลาของชีวิตของ “สุภาพบุรุษ” ในสังคมแบบชาวตะวันตก (โดยเฉพาะอังกฤษ) ที่แบ่งแยกกิจกรรมการเมืองออกจากความสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งจะต้องดำเนินไปตามปกติ ฉะนั้น หากสังคมให้คุณค่าแก่การพูดจาที่สุจริต-ซื่อตรง หากนักการเมืองผู้ใดพูดปดกลางสภาหรือในที่สาธารณะ ก็จะกลายเป็นตรงกันข้ามกับความเป็นสุภาพบุรุษ และต้องถูกเนรเทศออกจากการสมาคมทั่วไป “กิจกรรมการเมือง” จึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชีวิต มิใช่ทั้งหมด

ฉะนั้น ระบบการศึกษา ซึ่งมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของอังกฤษ ได้แก่ อ๊อกซฟอร์ด และเคมบริดจ์ จึงเป็นผู้นำ มิใช่กระทรวงศึกษาธิการ การจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยต่างๆ ในอังกฤษ จึงมีสองมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ดังกล่าวเป็นผู้ออกข้อสอบ เพื่อวางมาตรฐานให้แก่มหาวิทยาลัยอื่นๆ ทั่วประเทศ และอุดมการณ์ หรือเป้าหมายหลักของการศึกษาของ “ผู้ดีอังกฤษ” สมัยเมื่อผู้เขียนไปศึกษาหลายปีมาแล้ว ก็คือ “Liberal Education” นัยหนึ่ง การศึกษาที่ให้ความสำคัญต่อความเป็นมนุษย์ (วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ศิลปะทุกแขนง โบราณคดี รวมถึงวิทยาศาสตร์ และปรัชญา) และในสมัยที่ผู้เขียนศึกษาอยู่ ณ มหาวิทยาลัยดังกล่าว หากเราเกิดสอบไม่ผ่านวิชาเฉพาะที่เป็นวิชา “Major” ของเรา เช่น “ประวัติศาสตร์ยุโรป” แต่ถ้าหากเราสอบผ่านวิชา “General Paper” ซึ่งได้แก่การเขียนเรียงความในเรื่องทั่วๆ ไปที่มหาวิทยาลัยกำหนด ทางมหาวิทยาลัยก็ยังยินยอมประศาสน์ปริญญาตรีให้แก่ผู้นั้น แต่ไม่อาจจะได้ระดับปริญญาเกียรตินิยม ซึ่งจะต้องผ่านทุกวิชาระดับดี ถึงดีมาก

ประเด็นที่อาจจะเถียงกัน ก็คือ ความหมายของ “Liberal Education” คืออย่างไร?

โดยสรุป ก็คือ ความรู้ ความเข้าใจ (และซาบซึ้ง) ในมรดกทางความคิดและศิลปะวรรณกรรมของชนชาติตนเองและของโลก ฉะนั้น วิชาภาษา ทั้งภาษาของตนเองและของต่างประเทศ วรรณกรรม ประวัติศาสตร์ ปรัชญา (การเมือง) วิทยาศาสตร์ ที่มักเรียกว่า “Liberal Education” มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ในประเทศ เช่น ธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ และศิลปากร (เท่าที่เคยทราบ) ก็ดูจะออกแบบหลักสูตรในทำนองนี้ มาตรฐานอุดมศึกษาที่ “ทบวง” อุดมศึกษาสมัยก่อน กำหนด ก็จะมีวิชาที่เรียกว่า “พื้นฐาน” ดังกล่าวแต่คงจะหลีกเลี่ยงการสอนวิชาปรัชญา/และปรัชญาการเมือง (ตามที่ผู้เขียนอนุมาน) เพราะค่อนข้างจะเข้าใจยาก หากไม่มีพื้นฐาน และในช่วงประกาศหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ประมาณปี พ.ศ. 2524 ที่กำหนดให้มีวิชาเลือกมากมาย รวมวิชาปรัชญา (หรือความคิด) ทางการเมือง อีกทั้งกำหนดให้อ่านหนังสือนอกเวลามากขึ้น เช่น ประวัติบุคคลสำคัญของโลก ก็คงไม่ได้เกิดมรรคผลดังความตั้งใจ เพราะคงจะขาดครู-อาจารย์ ที่ได้เคยเรียนมาทางวิชาเหล่านี้ และการสอนวิชา “นามธรรม” ที่ยากแก่ความเข้าใจ ก็คงจะเกิดความเบื่อหน่าย ขณะที่ศาสตราจารย์ผู้คงแก่เรียนทางด้านสังคม ก็จะยึดถือเป็นสรณะว่า หากกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว ไม่เคยเรียนรู้ประวัติศาสตร์ทางความคิดของมนุษย์ในช่วง 2 พันปีที่แล้ว ก็ถือว่าได้สูญเสียโอกาสที่สำคัญของชีวิต โดยสรุป การไม่สอนประวัติศาสตร์ของยุโรป และการปฏิรูป (หรือวิวัฒนาการ) ของความคิดเมื่อ 2,000 ปีที่แล้ว ถือว่าเป็นการพลาดโอกาสที่สำคัญของชีวิต

การเรียนการสอนหลักการและกระบวนการทางการเมือง-การปกครองที่กว้างขวาง ตลอดจนการฝึกอบรมบ่มนิสัยให้เป็นสุภาพบุรุษในสังคมการเมือง และรู้ประวัติศาสตร์ของประเทศตนเองและประเทศอื่นที่มีบทบาทสำคัญต่อประวัติศาสตร์โลก คือเส้นทางหนึ่งที่สังคมไทยจะหาทางออกจากกับดักของประเทศกำลังพัฒนา ที่ต้องเผชิญกับวิกฤติรัฐประหาร และการขัดแย้งไม่ต่างจากสงครามกลางเมือง ซึ่งทำให้สังคม-ธุรกิจ เสียโอกาสของการพัฒนาก้าวหน้าทางเศรษฐกิจให้พ้นจากกับดักของประเทศที่มีรายได้ปานกลาง

จัดการศึกษาให้ถูกต้องให้ตรงจุด จึงเปรียบเสมือนการเยียวยารักษาโรคได้ถูกต้อง และรอดพ้นจากความตายและหายนะ ซึ่งปริ่มจะกลืนกินสังคมไทยได้ทุกเวลานาที

จงอย่าประมาทกับวิกฤติที่กำลังจะถาโถมเข้ามาเป็นอันขาด

 

 

ดร.วิชัย ตันศิริ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
16:32 น. เปิดศึกปลาร้า! 'กัมพูชา'ซัดไทยใช้ตราสินค้า'ปลาฮกเสียมเรียบ'ที่ขึ้นทะเบียนGIในตลาดต่างประเทศ
16:24 น. 'กัน จอมพลัง'ไม่ทน! เห็นคลิปหลานชายทำร้ายตาวัย 80 บุกมาสอนหลานถึงบ้าน
16:22 น. 'ทิดประดิษฐ์'อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธฉาย โชว์ส่งมอบเอกสารวัด ปัดข่าวหอบเงินหนี
16:19 น. 'สะพานเข้าชุมชนถล่ม' ชาวบ้านกว่า30หลังคาเรือน-ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก
16:14 น. ‘ขอนแก่น’ยกขบวนศิลปินดัง-สินค้าเด็ด‘ของดีเมืองแคน’บุกเวสต์เกต ครบจบถึง 14 ก.ค.นี้
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ดุ๊ก ภาณุเดช'วอนหยุดบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่ สุดทนคนแห่ถ่ายรูป-เดินชิลเหมือนอยู่คาเฟ่
ดูทั้งหมด
จีนยกระดับปราบ Cyber Scam ฉ้อโกงออนไลน์ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว
ฮุนเซน-ทักษิณ (แพทองธาร) มิตรหรือศัตรู
บุคคลแนวหน้า วันที่ 12 ก.ค. 2568
ทักษิณยังคงคุยโวเหมือนเดิม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เปิดศึกปลาร้า! 'กัมพูชา'ซัดไทยใช้ตราสินค้า'ปลาฮกเสียมเรียบ'ที่ขึ้นทะเบียนGIในตลาดต่างประเทศ

'กัน จอมพลัง'ไม่ทน! เห็นคลิปหลานชายทำร้ายตาวัย 80 บุกมาสอนหลานถึงบ้าน

อดีตผู้พิพากษาเลคเชอร์ 6 ข้อ ‘ทักษิณ’ทำอย่างน้อย 4 ครั้ง เสี่ยงครอบงำ-‘พท.’อาจถูกยุบพรรค

ติดเชื้อ'ไวรัสซิกา' 7 ราย ใน 4 จังหวัดอีสาน เตือนหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง ลูกอาจพิการได้

‘วิสุทธิ์’ย้อนเกล็ด‘ภท’ สส.โหวตสวนเรียก‘งูเห่า’ ตอนย้ายคอกเข้าพรรคบอก‘อุดมการณ์’

เกษตรกรกำแพงเพชร บุกพรรคประชาชน หลัง'ไอซ์'ปูดงบ 'ไผ่' หวั่นเดือดร้อนถูกตัดงบ

  • Breaking News
  • เปิดศึกปลาร้า! \'กัมพูชา\'ซัดไทยใช้ตราสินค้า\'ปลาฮกเสียมเรียบ\'ที่ขึ้นทะเบียนGIในตลาดต่างประเทศ เปิดศึกปลาร้า! 'กัมพูชา'ซัดไทยใช้ตราสินค้า'ปลาฮกเสียมเรียบ'ที่ขึ้นทะเบียนGIในตลาดต่างประเทศ
  • \'กัน จอมพลัง\'ไม่ทน! เห็นคลิปหลานชายทำร้ายตาวัย 80 บุกมาสอนหลานถึงบ้าน 'กัน จอมพลัง'ไม่ทน! เห็นคลิปหลานชายทำร้ายตาวัย 80 บุกมาสอนหลานถึงบ้าน
  • \'ทิดประดิษฐ์\'อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธฉาย โชว์ส่งมอบเอกสารวัด ปัดข่าวหอบเงินหนี 'ทิดประดิษฐ์'อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธฉาย โชว์ส่งมอบเอกสารวัด ปัดข่าวหอบเงินหนี
  • \'สะพานเข้าชุมชนถล่ม\' ชาวบ้านกว่า30หลังคาเรือน-ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก 'สะพานเข้าชุมชนถล่ม' ชาวบ้านกว่า30หลังคาเรือน-ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก
  • ‘ขอนแก่น’ยกขบวนศิลปินดัง-สินค้าเด็ด‘ของดีเมืองแคน’บุกเวสต์เกต ครบจบถึง 14 ก.ค.นี้ ‘ขอนแก่น’ยกขบวนศิลปินดัง-สินค้าเด็ด‘ของดีเมืองแคน’บุกเวสต์เกต ครบจบถึง 14 ก.ค.นี้
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายในฐานะเครื่องมือจริยธรรม

กฎหมายในฐานะเครื่องมือจริยธรรม

11 ก.ค. 2568

วันชาติอเมริกาในบางแง่มุม

วันชาติอเมริกาในบางแง่มุม

4 ก.ค. 2568

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ  กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

27 มิ.ย. 2568

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐  และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

20 มิ.ย. 2568

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

13 มิ.ย. 2568

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

6 มิ.ย. 2568

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

30 พ.ค. 2568

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓  ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓ ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

23 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved