วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ปรีชา'ทัศน์
ปรีชา'ทัศน์

ปรีชา'ทัศน์

วันศุกร์ ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563, 02.00 น.
การตื่นรู้ของประชาชนกับการปฏิรูปการศึกษา

ดูทั้งหมด

  •  

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าจากผลการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ได้เกิดปรากฏการณ์ที่น่าสนใจในแวดวงการเมือง เมื่อพรรคของคนรุ่นใหม่ประสบผลสำเร็จในชัยชนะเลือกตั้ง จากฐานคะแนนเสียงทั่วประเทศที่มาจากกลุ่มประชากรคนหนุ่มสาว ที่อาจมีรสนิยม วิถีชีวิตสอดคล้องรับกับการรณรงค์หาเสียงของพรรคใหม่ๆ เหล่านี้ โดยเฉพาะพรรคอนาคตใหม่

น่าเสียดายที่ไม่มีการศึกษาวิเคราะห์ว่าพฤติกรรมการลงคะแนนเลือกตั้งของกลุ่มบุคคลวัยนี้ มาจากปัจจัยอันใด จากรสนิยมร่วม เรื่องการใช้เครื่องมือสื่อสารแบบ “ออนไลน์” สมัยใหม่
หรือบางส่วนเกิดจากอิทธิพล หรือการเรียนการสอนในห้องเรียน/โรงเรียนในยุคใหม่-สมัยใหม่ ครู-อาจารย์ และหลักสูตรการศึกษา มีบทบาทในการหล่อหลอมทัศนคติของเขาเหล่านั้นหรือไม่? หรือปัจจัยเหตุอันใดที่บันดาลให้วิถีชีวิตต้องถูกโยงกับเครื่องมือสื่อสารดังกล่าว ซึ่งเปรียบประดุจ “ที่พักพิงทางใจ” ของคนรุ่นใหม่สมัยนี้


แต่ไม่ว่าปัจจัยใดจะมีอิทธิพลหล่อหลอมพฤติกรรม “การเมือง” เช่นนั้น นักวิชาการ ครู อาจารย์ และผู้รับผิดชอบทางนโยบายการศึกษาก็ไม่ควรละเลย หรือไม่สนใจที่จะปรับปรุง/พัฒนา/ปฏิรูป ระบบการเรียนการสอน โดยเฉพาะวิชาสังคมศึกษา ซึ่งควรจะให้จุดเน้นเรื่อง “Political literacy” ความรู้เรื่องการเมือง หรือ ความฉลาดรู้เรื่องของเหตุการณ์บ้านเมือง และมโนทัศน์ทางการเมือง (ฉบับเยาวชน) เช่น ระบอบประชาธิปไตยสายกลาง (ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข)กระบวนการเลือกตั้งระบบพรรคการเมืองสภาวะผู้นำทางการเมืองในสังคมอื่นๆ ที่ประสบผลสำเร็จในระบบรัฐสภา การศึกษา-เรียนรู้เรื่องเหล่านี้น่าจะจัดไว้ในลำดับที่สำคัญอันดับแรกๆ สำหรับสังคมที่กำลังพัฒนาเช่นประเทศไทย หลายประเทศในกลุ่มสังคมนิยมที่ประสบผลสำเร็จทางการบริหารบ้านเมือง มักให้ความสำคัญกับการให้การศึกษาทางการเมืองแก่เด็กวัยรุ่น

ในช่วงการปฏิรูปการศึกษาครั้งแรก (พ.ศ. 2517-2521) หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ได้มีการปฏิรูปหลักสูตร-กระบวนการเรียนการสอน และจัดให้มีวิชาเลือกในระดับ ม.ปลาย จำนวนหลายวิชา ทั้งวิชาชีพและวิชาสามัญ โดยเฉพาะที่ผู้เขียนสนใจเป็นพิเศษ คือ วิชาเรื่องความคิดทางการเมือง (ทฤษฎีการเมือง) ทั้งนี้ เพื่อเปิดขอบฟ้าให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้สัมผัสกับแนวคิดทางการเมืองต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการอ่านหนังสือนอกเวลา เช่นชีวประวัติบุคคลสำคัญ (เช่น จอร์จ วอชิงตัน-ประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐฯ เป็นต้น)

ความหวังดีเหล่านี้ไม่บังเกิดมรรคผลแต่อย่างใด เพราะในที่สุดก็มีการนำไปสู่การปฏิบัติน้อยมาก เพราะวิชาดังกล่าวมิใช่วิชาบังคับ แต่เป็นวิชาเลือก ซึ่งนักเรียน-นักศึกษาไม่จำเป็นต้องเลือก อีกทั้งไม่มีครูที่ได้เรียนวิชาเหล่านี้จากสถาบันฝึกหัดครู

ฉะนั้น หากจะปรับวัตถุประสงค์ของการเรียนระดับประถม-มัธยมศึกษา ให้เน้นการสร้างพลเมืองเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง (ได้แก่ ความเข้าใจระบอบ/วิถีชีวิตของสังคมประชาธิปไตยและการหลีกเลี่ยงการแก้ไขวิกฤติ (การขัดแย้ง) ทางการเมืองโดยใช้กำลังอาวุธ แต่ให้ใช้ทางสายกลางในระบอบรัฐสภา ฯลฯ) สถานศึกษามหาวิทยาลัย ก็จะต้องปรับหลักสูตรเพื่อให้โอกาสเยาวชนได้เรียนรู้และเข้าใจ ตลอดจนนิยมวิถีชีวิตในสังคมประชาธิปไตย ผู้เขียนจึงใคร่เสนอให้รัฐบาล (ผ่านกระทรวงศึกษาธิการ-กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม) ได้ปรับหลักสูตรในระดับ ม.ต้น ม.ปลาย และชั้นปีที่ 1-2 ระดับอุดมศึกษา เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการ-แนวคิด แนวทางการเมืองที่เป็นทางสายกลาง เหมาะสมกับประเทศของเรา โดยในขั้นต้นจะต้องปรับปรุงหลักสูตรการฝึกหัดครู เพื่อสร้างครูทางสังคม รวมทั้งสายอื่นๆ ให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักของการเมืองและระบบการเมือง-การปกครองที่ดีที่สุดสำหรับสังคมไทย-และราชอาณาจักรไทย ที่เป็นชาวพุทธส่วนใหญ่ และให้เสรีภาพตลอดจนการอุปถัมภ์ศาสนาอื่นๆ เช่นกัน

แนวทางของระบบของเราน่าจะเรียกว่าธรรมาธิปไตย ซึ่งก็คือประชาธิปไตย (สายกลาง) ที่ใช้ปัญญาในการตัดสินใจประเด็นปัญหาต่างๆ โดยยึดเจตนาที่เป็นธรรม (ตามนิยามซึ่งพระเดชพระคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ได้ให้คำนิยามไว้)

การวิเคราะห์เหตุและปัจจัยที่นำไปสู่ผลที่เกิดขึ้นในสังคม มีอยู่ถึง 10 แนวทาง (ดูหนังสือ พุทธธรรม ซึ่งพระคุณเจ้าพระธรรมปิฎก(สมัยนั้นได้ประพันธ์ไว้) ครอบคลุมวิธีคิดของปราชญ์ชาวตะวันตกไว้ด้วยแล้ว และเพิ่มมิติของพุทธศาสนา

นอกจากนั้น พระเดชพระคุณเจ้าฯ ยังได้ตอกย้ำอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม (ญาติมิตรสหาย) ที่จะมีอิทธิพลต่อแนวคิดและพฤติกรรมของเยาวชน และในปัจจุบันก็คือ อิทธิพลของสื่อออนไลน์ ซึ่งกลายเป็นโจทย์ยากสำหรับทุกรัฐบาลในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งจะเข้าควบคุมและหันเหทิศทางไปในทางที่สร้างสรรค์

โจทย์หินเหล่านี้ ก็คงจะต้องหวนกลับไปยังครู-อาจารย์ ผู้บริหารในสถานศึกษา ที่จะต้องปรุงแต่งบรรยากาศแวดล้อมในโรงเรียน-วิทยาลัย ให้เอื้อต่อความคิดสร้างสรรค์ และส่งเสริมอุดมการณ์ของการอยู่ร่วมกันด้วยความเสียสละและมิตรไมตรี การสร้างอุปนิสัยของเด็กในวัยเรียนจึงมีความสำคัญยิ่ง เพื่อเป็นต้นทุนสำหรับความเจริญงอกงามในอนาคต การฝึกวินัยในห้องเรียนและในสถานศึกษาจึงจำเป็น การส่งเสริมให้เด็กนักเรียนได้อ่านชีวประวัติของบุคคลผู้เสียสละ และ/หรือนักการเมือง รัฐบุรุษผู้มีชื่อเสียงในอดีตจึงเป็นกลวิธีที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนได้ประกอบกรรมดีในอนาคต

ขบวนการศึกษาจึงมิได้จำกัดอยู่เพียงในห้องเรียน แต่รวมถึงกิจกรรมนอกห้องเรียนด้วย เพื่อสร้างอุปนิสัยของความรัก สามัคคี การเสียสละ การแสดงศักยภาพของความเป็นผู้นำในอนาคต

ที่สำคัญคือการศึกษาในระดับปี 1 ปี 2 ในมหาวิทยาลัย-วิทยาลัย ซึ่งควรเปิดกว้าง โดยเฉพาะวิชาการเมืองเปรียบเทียบ (ศึกษาระบบหลายๆ ประเทศ เช่น อังกฤษ อเมริกา ฝรั่งเศส เป็นต้น) เพื่อเปิดทัศนะให้กว้างขวาง และอีกวิชาหนึ่งที่จะมีบทบาทในการสร้าง “ปัญญา ความคิดทางการเมืองที่สร้างสรรค์” คือการเรียนปรัชญาการเมือง ในระดับพื้นฐานเพื่อให้เยาวชนหลุดพ้นจากกับดักของลัทธิต่างๆ ได้สามารถวิเคราะห์/คิดได้ด้วยตัวเองว่า อะไรดี อะไรชั่ว?

นักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่สมัยกรีก ได้แก่ เพลโต และอริสโตเติล มิได้สรุปว่า ระบบการเมือง-การปกครองแบบใดดีที่สุด ทุกๆ รูปแบบที่ได้วิเคราะห์และเสนอมา ได้แก่ ระบอบกษัตริย์ ระบอบ
อภิชนาธิปไตย และระบอบประชาธิปไตย มีทั้งข้อดีข้อเสีย เพลโตจึงเสนอให้ตั้งโรงเรียนฝึกเยาวชน (โดยคัดเลือกอย่างเข้มข้น) เพื่ออบรม-ให้การศึกษา ให้มีความรอบรู้ระดับนักปราชญ์และผู้มีคุณธรรม เพื่อจะได้เป็นนักปกครองต่อไปในอนาคต แต่ลูกศิษย์คือ อริสโตเติล ก็คัดค้านว่าคงไม่สำเร็จด้วยเหตุผลต่างๆ จึงเสนอรูปแบบการเมือง-การปกครองลูกผสม ผสมระหว่างรูปแบบกษัตริย์ รูปแบบอภิชนาธิปไตย (คนชั้นสูงกลุ่มน้อย) และประชาธิปไตย (คนกลุ่มใหญ่ระดับล่าง) และคิดว่าทั้งสามระบบนี้คงคานอำนาจกัน ลดโอกาสการเหลิงอำนาจของแต่ละกลุ่ม/ชนชั้น แนวคิดรัฐธรรมนูญผสมนี้ มีอิทธิพลต่อแนวคิดของชาวอังกฤษและสหรัฐอเมริกา (โดยเฉพาะในสมัยร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ. 1787)

นักคิดและผู้นำชุมชน และสถาบันต่างๆ ลองพิจารณา “สัจธรรม” ข้อนี้ของอริสโตเติล สมควรที่สังคมไทยควรจะพิจารณา “รัฐธรรมนูญลูกผสม” ดังกล่าวหรือไม่ หากเห็นด้วย เพื่อให้เกิดดุลแห่งอำนาจและป้องกันของระบบใดระบบหนึ่ง (หรือชนชั้นใดชนชั้นหนึ่ง) เราก็ควรมีทั้งสมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเครื่องยึดโยงให้เกิดความสามัคคีและความร่วมมือร่วมใจในราชอาณาจักรไทย และปรับระบบการเลือกตั้งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรให้เหมาะสม 

ดร.วิชัย ตันศิริ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
18:56 น. 'บิ๊กเล็ก' ตั้ง 12 กุนซือกลาโหม 'บิ๊กเดฟ'อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 ร่วมทีม-'ศักดา'นั่งหัวหน้าสำนักงาน
18:31 น. 'นัสเมียโชค'ทัวร์ลงหนัก ปมแซะ'นิ้ง โสภิดา' สุดท้ายต้องรัวคำขอโทษ!
18:31 น. 'ดร.ดิเรกฤทธิ์'คาดหวัง'ศาลฎีกา-ศาล รธน.' ชี้ชะตาประเทศ 'สันติสุขหรือลุกเป็นไฟ'
18:22 น. แฟนหนังดังเดือด! ทัวร์ลงสนั่นไอจี'เอม สรรเพชญ์' ลุกลามหนักด่าถึง'คุณพ่อดู๋ สัญญา'
17:58 น. วิจารณ์ยับ! 'วิรังรอง'ฟันธง 'พ่อออกโรง'ช่วยลูกตกกระป๋อง โผล่บ้านพิษณุโลกแค่ปั่นกระแส
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ดุ๊ก ภาณุเดช'วอนหยุดบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่ สุดทนคนแห่ถ่ายรูป-เดินชิลเหมือนอยู่คาเฟ่
ดูทั้งหมด
จีนยกระดับปราบ Cyber Scam ฉ้อโกงออนไลน์ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว
ฮุนเซน-ทักษิณ (แพทองธาร) มิตรหรือศัตรู
บุคคลแนวหน้า วันที่ 12 ก.ค. 2568
ทักษิณยังคงคุยโวเหมือนเดิม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'นัสเมียโชค'ทัวร์ลงหนัก ปมแซะ'นิ้ง โสภิดา' สุดท้ายต้องรัวคำขอโทษ!

'อ.ยิ่งศักดิ์'ฟาดยับ 'รัฐบาล'ทำอะไรกัน? 'ลำไย' อ.จอมทอง ดิ่งกิโลละ 1 บาท (ชมคลิป)

แฟนหนังดังเดือด! ทัวร์ลงสนั่นไอจี'เอม สรรเพชญ์' ลุกลามหนักด่าถึง'คุณพ่อดู๋ สัญญา'

'ผู้นำเผด็จการเมียนมา'ตอบกลับจดหมาย'ทรัมป์' ดีใจสหรัฐฯยอมรับ-ขอบคุณสำหรับภาษีนำเข้า40%

'บิ๊กเต่า'เข้าพบสมเด็จพระราชาคณะ เสนอออกหนังสือเรียกพระในสังกัด เอี่ยว'สีกากอล์ฟ'

'พี่คนดี'ร่ายกลอนเจ็บจี๊ด! ขาประจำ จี้ใจดำคนทำเฮีย 'ตนนั่นแหละ ที่ไทยโกรธ อย่าโทษเตี่ย'

  • Breaking News
  • \'บิ๊กเล็ก\' ตั้ง 12 กุนซือกลาโหม \'บิ๊กเดฟ\'อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 ร่วมทีม-\'ศักดา\'นั่งหัวหน้าสำนักงาน 'บิ๊กเล็ก' ตั้ง 12 กุนซือกลาโหม 'บิ๊กเดฟ'อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 ร่วมทีม-'ศักดา'นั่งหัวหน้าสำนักงาน
  • \'นัสเมียโชค\'ทัวร์ลงหนัก ปมแซะ\'นิ้ง โสภิดา\' สุดท้ายต้องรัวคำขอโทษ! 'นัสเมียโชค'ทัวร์ลงหนัก ปมแซะ'นิ้ง โสภิดา' สุดท้ายต้องรัวคำขอโทษ!
  • \'ดร.ดิเรกฤทธิ์\'คาดหวัง\'ศาลฎีกา-ศาล รธน.\' ชี้ชะตาประเทศ \'สันติสุขหรือลุกเป็นไฟ\' 'ดร.ดิเรกฤทธิ์'คาดหวัง'ศาลฎีกา-ศาล รธน.' ชี้ชะตาประเทศ 'สันติสุขหรือลุกเป็นไฟ'
  • แฟนหนังดังเดือด! ทัวร์ลงสนั่นไอจี\'เอม สรรเพชญ์\' ลุกลามหนักด่าถึง\'คุณพ่อดู๋ สัญญา\' แฟนหนังดังเดือด! ทัวร์ลงสนั่นไอจี'เอม สรรเพชญ์' ลุกลามหนักด่าถึง'คุณพ่อดู๋ สัญญา'
  • วิจารณ์ยับ! \'วิรังรอง\'ฟันธง \'พ่อออกโรง\'ช่วยลูกตกกระป๋อง โผล่บ้านพิษณุโลกแค่ปั่นกระแส วิจารณ์ยับ! 'วิรังรอง'ฟันธง 'พ่อออกโรง'ช่วยลูกตกกระป๋อง โผล่บ้านพิษณุโลกแค่ปั่นกระแส
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายในฐานะเครื่องมือจริยธรรม

กฎหมายในฐานะเครื่องมือจริยธรรม

11 ก.ค. 2568

วันชาติอเมริกาในบางแง่มุม

วันชาติอเมริกาในบางแง่มุม

4 ก.ค. 2568

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ  กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

27 มิ.ย. 2568

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐  และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

20 มิ.ย. 2568

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

13 มิ.ย. 2568

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

6 มิ.ย. 2568

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

30 พ.ค. 2568

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓  ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓ ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

23 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved