วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / เส้นใต้บรรทัด
เส้นใต้บรรทัด

เส้นใต้บรรทัด

จิตกร บุษบา
วันพุธ ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2563, 02.00 น.
‘ตู้ปันสุข’...ความดีที่ดีกว่าเดิมได้

ดูทั้งหมด

  •  

เรื่อง “ตู้ปันสุข” กำลังเป็นที่สนใจของสังคม เพราะว่ากันว่าเป็นตู้วัดสำนึก หรือเป็นดัชนีคุณธรรมของสังคมไทยกันเลยทีเดียว เป็นตู้ใจงามที่คนให้อยากให้ และคนรับก็ได้ประโยชน์

แต่มันเริ่มรู้สึกแย่ เมื่อพบว่า คนรับมันปะปนกันอยู่ระหว่าง “คนอด” กับคนโลภ” ยกตัวอย่างความรู้สึกของคนให้ สักตัวอย่างหนึ่ง คือ


“...วันนี้หนูเป็นคนหนึ่งที่มีโอกาสได้ไปเติมของใส่ตู้ที่หน้าร้านสันติและหน้าพิพิธภัณฑ์อุบลค่ะ

เมื่อไปถึงตู้หน้าพิพิธภัณฑ์ ไปเจอรถมอเตอร์ไซค์2 คัน พ่อและลูกชาย 3 คน มาหอบของในตู้จนหมดค่ะ

คันพ่อเอาน้ำเปล่าใส่ตะกร้าหน้ารถจนเต็ม จนไม่สามารถใส่อะไรได้อีก และมีถุงพลาสติกใส่ไข่น่าจะ 1-2 ถาดค่ะ ส่วนคันลูกชาย มีตะกร้าใบใหญ่ ใส่ของจนเต็มและเอาผ้าปิดบังไว้ ในตู้เหลือน้ำเปล่าแค่ 4-5 ขวดเอง คือ เกลี้ยงตู้เลยค่ะ

เลยลงรถไปถาม พอลงรถคนพ่อขับหนีค่ะ เลยถามลูกว่า ไม่แบ่งคนอื่นเลยเหรอ ลูกก็บอกว่า “คนอื่นเอาเยอะกว่าผมอีก”

ใช่ครับ ภาพคนรุมทึ้ง แย่งของ หรือหยิบเกินจำนวนที่ควร ไม่นึกถึงคนอื่น ยังเกิดขึ้นอีกหลายที่

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านทะเลไทย ได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊คส่วนตัว “Thon Thamrongnawasawat” ระบุว่า

“...แถวบ้านผมมีตู้ปันสุขอยู่หนึ่งตู้ มีมานานก่อนโควิด เป็นตู้แช่อย่างดี เปิดเครื่องตลอด บางทีผมก็จะเอาของมาใส่ไว้

วันนี้ธรรธแก้บนเอนซ์ติดกับเจ้าที่ที่บ้าน เสร็จแล้วผมถือไข่ต้มตั้งใจจะไปใส่ตู้ พอเดินมาใกล้ถึง มีสาวรายหนึ่งกำลังโกยบะหมี่ออกจากตู้ บะหมี่มาจากร้านค้าแถวนี้ ช่วยกันเอาของสดมาใส่ไว้เป็นประจำ ผมเหลือบดูถุงใส่บะหมี่ น่าจะมีสัก 20 ก้อนได้ เธอเหลือไว้ในตู้ 1 ก้อน

ผมรอจนเธอเดินจากไป จากนั้นก็เอาไข่ต้มใส่ไว้เต็มตู้ จากนั้นก็เดินไป 7 ซื้อปลากระป๋องมาอีกโหล นำกลับมาใส่ในตู้ ตอนมาอีกครั้ง ผมเห็นไข่พร่องไป 2-3 ฟอง แต่ไข่ที่เหลือยังคงอยู่ดี

เล่าให้เพื่อนธรณ์ฟังเพื่อบอกว่า “เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่” กับ “โลภโมโทสัน” มันเป็นของคู่กัน

แต่ความ “อยากให้” ไม่จำเป็นต้องลดน้อยถอยลงเมื่อเห็นการ “กอบโกย”

“น้ำใจ” คือความดีงาม เป็นสิ่งที่มีคุณค่า มากเกินกว่าจะมีอะไรมาทำให้แปดเปื้อนครับ...”

แต่สำหรับผม การให้ สามารถทำให้ “ประณีต” เพื่อเป็น “การให้เชิงคุณภาพ” ได้ ก็ในเมื่อเป้าหมายของการให้ คือ ให้คนที่เดือดร้อน ทำไมเราไม่ “หาคนที่เดือดร้อนตัวจริง” ให้เจอ แล้วค่อยให้ล่ะครับ

ยกตัวอย่างเช่น นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ค เกี่ยวกับการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้ประชาชนจำนวนมากโดยเฉพาะผู้หาเช้ากินค่ำหรือผู้ที่ไม่มีเงินสำรองฉุกเฉินได้รับผลกระทบอย่างมาก ระบุว่า “...พวกเราถามคำถามที่น่าสนใจว่า การลงไปช่วยชุมชนแล้วให้อาหารกล่อง 1 มื้อ แล้วมื้อต่อๆ ไปจะให้ทำอย่างไร จะให้รอการบริจาคไปเรื่อยๆ?

ผมว่าวิกฤติโควิดในชุมชนครั้งนี้ มันเกิดจากการที่เราร่วมมือกันหยุดกิจกรรมต่างๆ เพื่อชะลอการแพร่กระจายของไวรัส ทำให้ร้านค้า สปา สนามกอล์ฟ ศูนย์การค้า การเดินทางลดลง ต้องปิดกิจการอย่างกะทันหัน และส่งผลกระทบถึงแรงงานที่ถูกหยุดจ้างเลิกจ้าง รายได้น้อยลง ซึ่งจะกระทบคนในชุมชนที่ส่วนใหญ่เป็นคนหาเช้ากินค่ำ ไม่ได้มีเงินสำรองยามฉุกเฉิน แต่เมื่อไรที่สถานการณ์ดีขึ้น ธุรกิจเปิดให้บริการได้ งานส่วนหนึ่งก็จะกลับคืนมาและผลกระทบก็จะค่อยๆ ลดลง

ดังนั้น สิ่งที่คนในชุมชนต้องการตอนนี้ คือ การช่วยประทังให้อยู่รอดไปจนถึงช่วงที่ธุรกิจต่างๆ เริ่มกลับมาเปิดอีกที ข้าวกล่อง อาหารแต่ละมื้อ สิ่งช่วยเหลือต่างๆ ก็จะช่วยให้ทุกคนมีกำลังที่จะอยู่รอดไปได้จนถึงเวลานั้น ส่วนในระยะยาวคงเป็นเรื่องของทางภาครัฐที่ต้องมาปรับยุทธศาสตร์ให้เหมาะสมต่อไป...”

ชัชชาติพูดถึง “การให้” ที่มี “การจัดการ” จนเกิดเป็นโครงการชื่อ “บ้านใกล้เรือนเคียง” ขึ้นมา

เขาบอกว่า “...ผมดีใจที่ช่วงนี้เห็นพวกเราหลายๆคนลงมาช่วยชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียงกันเยอะเลยครับ มีตัวอย่างที่น่ารักดี คือเพื่อนของผมชื่อคุณต้อม บ้านอยู่แถวรามอินทรา คุณต้อมใช้วิธีง่ายๆ คือ ไปจ่ายค่าอาหารล่วงหน้าให้คนขายอาหารแถวๆ ละแวกบ้าน มีข้าวราดแกง รามอินทรา ซอย 21 ก๋วยเตี๋ยวไก่ รามอินทราซอย 19 อาหารตามสั่ง รามอินทรา ซอย 5 รวมแล้ว120 อิ่ม คนที่ลำบากทานฟรีแล้วติ๊กเพื่อเช็คยอด คนที่พอไหวก็จ่ายตังค์ตามปกติ เป็นการช่วยเหลือเศรษฐกิจชุมชน ช่วยเหลือคนที่ยากลำบาก และใช้ระบบความไว้วางใจในการบริหารจัดการ น่ารักดีครับ...”

ในเวลาต่อมา เขาให้ข้อมูลเรื่องโครงการบ้านใกล้เรือนเคียงว่า

“ในกรุงเทพมหานคร เรามีชุมชนที่กำลังได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ และสุขอนามัยกระจายอยู่ทั่วทั้ง 50 เขต ประมาณอย่างน้อย 1,500 ชุมชน ผมคิดว่าการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเหล่านี้ อาจจะเริ่มจากการที่เราลองดูใกล้ๆ ตัวเรา บ้านใกล้เรือนเคียงของเรา ว่ามีใครเดือดร้อนไหม มีอะไรที่พอจะช่วยกันได้ไหม โดยเริ่มจากใกล้ๆ ตัวเราก่อน

ทางทีมอาสาสมัครเลยลองคิดโครงการ “บ้านใกล้เรือนเคียง” ขึ้น เป็นโครงการที่พวกเราจะสามารถหาข้อมูลของชุมชน ที่อยู่ใกล้ๆ บ้าน หรือที่ทำงาน พร้อมชื่อผู้ติดต่อ และให้ช่วยเหลือกันตรงเลย (ไม่ต้องผ่านหน่วยงานกลาง) คล้ายเราแต่ละคนไปหาเพื่อนกับชุมชนในพื้นที่ใกล้ๆ บ้าน และช่วยเหลือตามกำลัง

1. ชุมชนเป็นกำลังสำคัญของธุรกิจและกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่ คนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นแม่บ้าน แม่ครัว รปภ. คนส่งของ ทำงานในละแวกนั้น เป็นกลุ่มที่เปราะบางในระดับเส้นเลือดฝอย การแก้ปัญหาตรงที่ระดับเส้นเลือดฝอยจะช่วยลดปัญหาในระดับใหญ่ได้

2. ถ้าชุมชนไม่เจ็บไม่ป่วย จะช่วยลดการระบาด ลดปัญหาของพื้นที่ในอนาคต และลดภาระของบุคลากรสาธารณสุขได้มาก

3. การให้ช่วยเหลือโดยตรง ลดการบริหารจัดการ เพิ่มความโปร่งใส กระจายอำนาจ ถ้าผู้นำชุมชนจัดการไม่ดี คนที่ลงไปช่วยก็จะไม่กลับมาช่วย และทำให้เราเข้าใจปัญหาในพื้นที่ของเราดีขึ้น

4. ตอนนี้ความช่วยเหลือต่างๆ เน้นไปรวมศูนย์อยู่ด้านบน การกระจายลงมาสู่คนที่ลำบากจริงๆไม่ทั่วถึงถ้าเราช่วยกันกระจายกันดูแลโดยตรงในพื้นที่ใกล้ๆ เราจะช่วยให้เข้าถึงปัญหาได้เร็วและตรงจุด

“บ้านใกล้เรือนเคียง” จึง “ประณีต” กว่า“ตู้ปันสุข” ตรงที่ไป “เสาะหา” ผู้ที่ “ควรได้รับ” และทำความรู้จักกัน มนุษย์สัมผัสใจมนุษย์ กัลยาณมิตรในชีวิตจริงเกิดขึ้น มากกว่าตู้ปันสุข คือ เกิดความสัมพันธ์เชิงคุณภาพขึ้นมาด้วย

เช่นเดียวกับโครงการของ ทยา ทีปสุวรรณ กับครอบครัวและมิตรสหาย ที่ส่งข้อความมาเชิญชวนว่า

“...เชิญชวนเพื่อนๆร่วมช่วยเหลือชุมชนยากไร้ ภายใต้โครงการ “130 บาท ทำ-ส่ง-กิน” แนวคิดใหม่ของการแบ่งปันแบบ “เศรษฐกิจหมุนเวียน”

1.เราจะขอรับเงินบริจาคขั้นต่ำคนละ 130 บาท นำมาจ้างร้านป้าขายอาหารตามสั่งในซอย โดยให้พี่วินมอเตอร์ไซค์ปากซอยเป็นผู้ส่งอาหาร

2.แต่ละบ้านมีอาหารกิน ผ่านรูปแบบ “cashless system” โดยแต่ละบ้านจะได้รับการ์ด 1 ใบ หัวหน้าครอบครัวเอาบัตรมาตื๊ดที่ร้านข้าว รับข้าว 2 กล่องต่อมื้อ ตอนเที่ยง และเย็น รวม 4 กล่อง บ้านไหนไกลจากร้าน หรือ มีผู้สูงอายุ เด็กเล็ก คนพิการ ผู้ป่วยติดเตียง พี่วินก็จะมาส่งให้ถึงบ้าน ไม่ต้องออกจากบ้านไปเสี่ยงรับเชื้อ

3.ทุกเย็นเราสามารถตรวจสอบได้ว่า บ้านหลังไหนรับข้าวไปแล้ว ร้านค้าทำข้าวไปกี่กล่อง วินวิ่งกี่บ้าน จบวันเราโอนค่าจ้างทำอาหารและค่าวิ่งวินให้ทุกวัน

130 บาทของคุณช่วยได้ “1 วัน 1 บ้าน 1 ร้าน 1 วิน”

ประกอบด้วยค่าข้าวกล่องละ 30 บาท x 2 กล่องต่อบ้าน x 2 มื้อต่อวัน + ค่าวินส่ง 2 มื้อคิด 10 บาทต่อหลัง

เริ่มแล้วตั้งแต่ 11 ถึง 25 พ.ค นี้ นำร่องใน 4 ชุมชนแรก 180 ครอบครัว ทดลอง 15 วัน ถ้าประสบความสำเร็จดี เตรียมขยายต่อไปเขตต่างๆ ใน กทม แน่นอน!

เพียง 130 บาท หรือ มากกว่านั้นตามจิตศรัทธา (เพื่อขยายการช่วยเหลือชุมชนที่เดือดร้อนให้กว้างขึ้นเรื่อยๆ) สร้างวงจรแบ่งปัน “ร้านค้าได้เงิน พี่วินได้งาน ชาวบ้านได้กิน”

สำหรับใครที่สนใจสามารถร่วมบริจาค ในโครงการ “130 บาท ทำ-ส่ง-กิน” ได้ที่ บัญชี “saveเรา saveหมอ” ธนาคารกรุงเทพ สาขาเซ็นทรัล เอ็มบาสซี เลขที่บัญชี 009 806 9255”

ความดี...ยังไงก็ดี แต่จะให้ดี เราจัดการให้มัน “ดีจริงๆ” ได้ด้วยครับ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
14:33 น. เปิดผล‘ดัชนีสร้างชาติ’2025-26 ‘ไทย’พุ่งอันดับ 3 อาเซียน ติดท็อป 46 โลก สะท้อนรากฐานมั่นคง
13:42 น. ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
13:22 น. ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
13:14 น. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
13:08 น. 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ดุ๊ก ภาณุเดช'วอนหยุดบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่ สุดทนคนแห่ถ่ายรูป-เดินชิลเหมือนอยู่คาเฟ่
ดูทั้งหมด
จีนยกระดับปราบ Cyber Scam ฉ้อโกงออนไลน์ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว
ฮุนเซน-ทักษิณ (แพทองธาร) มิตรหรือศัตรู
บุคคลแนวหน้า วันที่ 12 ก.ค. 2568
ทักษิณยังคงคุยโวเหมือนเดิม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน

‘ทนายวันชัย’มองเรื่อง‘สีกากอล์ฟ’ เปรียบฆาตกามต่อเนื่อง กระชากหน้ากาก‘คนห่มเหลือง’

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ 12 ก.ค.68

สุดทน!‘สุทิน’จี้ผู้รักษากฎหมายต้องขยับ ปล่อยให้‘สทร.’ย่ำยีประเทศไม่ได้อีกแล้ว

‘นักเขียนซีไรต์’ฟาดนักการเมืองขี้ขลาด มุ่งแก้ ม.112 นิรโทษกรรมตัวเอง

  • Breaking News
  • เปิดผล‘ดัชนีสร้างชาติ’2025-26 ‘ไทย’พุ่งอันดับ 3 อาเซียน ติดท็อป 46 โลก สะท้อนรากฐานมั่นคง เปิดผล‘ดัชนีสร้างชาติ’2025-26 ‘ไทย’พุ่งอันดับ 3 อาเซียน ติดท็อป 46 โลก สะท้อนรากฐานมั่นคง
  • ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
  • ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้ ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
  • รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
  • \'ตะไลชนโคม\' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน\'งานบุญวันเข้าพรรษา\' 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

ความไม่รู้สี่รู้แปดของ‘แพทองธาร’

ความไม่รู้สี่รู้แปดของ‘แพทองธาร’

9 ก.ค. 2568

วิวาทะ ว่าด้วย‘อภิปรายไม่ไว้วางใจ’

วิวาทะ ว่าด้วย‘อภิปรายไม่ไว้วางใจ’

6 ก.ค. 2568

พรรคส้ม...กับ ‘พรรคทักษิณ’

พรรคส้ม...กับ ‘พรรคทักษิณ’

2 ก.ค. 2568

ปฏิบัติการ ‘แก้ผ้าตัวเอง’ ของ ‘ฮุนเซน’

ปฏิบัติการ ‘แก้ผ้าตัวเอง’ ของ ‘ฮุนเซน’

29 มิ.ย. 2568

รอพิกุลทองร่วงจากปาก ‘พีระพันธุ์

รอพิกุลทองร่วงจากปาก ‘พีระพันธุ์

25 มิ.ย. 2568

‘พ่อ’ นายกฯ

‘พ่อ’ นายกฯ

22 มิ.ย. 2568

‘หนี้’ ที่ไทยต้องทวง ‘กัมพูชา’

‘หนี้’ ที่ไทยต้องทวง ‘กัมพูชา’

18 มิ.ย. 2568

ประตู ‘คุก’ ยังเปิดรอ...นะพ่อนะ

ประตู ‘คุก’ ยังเปิดรอ...นะพ่อนะ

15 มิ.ย. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved