วันพุธ ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ปรีชา'ทัศน์
ปรีชา'ทัศน์

ปรีชา'ทัศน์

วันศุกร์ ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2563, 02.00 น.
จากคำประกาศอิสรภาพถึงป้าเจมิม่า

ดูทั้งหมด

  •  

จนถึงวันนี้.....การประท้วงเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้กับชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ครั้งล่าสุดในสังคมอเมริกันซึ่งถูกจุดชนวนมาอีกครั้ง จากการเสียชีวิตของ จอร์จ ฟลอยด์ ด้วยการใช้ความรุนแรงเกินกว่าเกินของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการจับกุม ดูจะยังไม่จบง่ายๆ เพราะการประท้วงเริ่มบานปลายออกไปในหลายวงการทั้ง บันเทิง กีฬาและล่าสุดคือวงการสินค้าอุปโภคและบริโภคโดยเฉพาะสินค้าที่ใช้รูปคนผิวสีเป็นพรีเซ็นเตอร์ ที่กำลังจะหาโลโก้หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นมาทดแทนของเก่า เช่นผลิตภัณฑ์ตราคุณป้าเจมิม่า(Aunt Jemima)


น้ำเชื่อมและแพนเค้ก ตราคุณป้าเจมิม่า

โลโก้นี้ถูกใช้มาตั้งแต่ปี 1889 โดยตัวตนที่แท้จริงของคุณป้าคนนี้คือ แนนซี่ กรีน เธอเกิดเมื่อปี1834 ในครอบครัวแรงงานทาส อย่างไรก็ตาม ในปี 1865 ภายหลังสภาคองเกรสแก้รัฐธรรมนูญห้ามใช้แรงงานทาสทั่วสหรัฐอเมริกา และอีกหนึ่งปีต่อมาก็ผ่านกฎหมายสิทธิแห่งพลเมือง ปี 1866 (Civil Right Act of 1866) ซึ่งให้สิทธิอันเท่าเทียมกันกับบุคคลทุกคนที่เกิดในอเมริกา กฎหมายใหม่ทั้งสองฉบับนี้ทำให้ แนนซี่ กรีน มีทางเลือกในชีวิตมากขึ้น

ด้วยความสามารถในการทำแพนเค้กกับการเป็นนักเล่าเรื่องราวที่เก่งทำให้เธอเริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังและต่อมาก็ได้รับเชิญไปสาธิตการทำแพนเค้กในงาน the World Columbian Exposition ที่เมืองชิคาโกในปี 1893 ซึ่งเป็นเทศกาลแสดงสินค้าและอาหารที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลอง 400 ปีแห่งการค้นพบทวีปอเมริกาของโคลัมบัสหลังจากนั้น แนนซี่ กรีน ก็กลายเป็นที่รู้จักของชาวอเมริกันทั่วประเทศในฐานะโลโก้ของผลิตภัณฑ์น้ำเชื่อมและแพนเค้กสำเร็จรูปตรา Aunt Jemima ซึ่งถ้าดูโดยไม่คิดอะไรมากแล้ว โลโก้นี้ก็เป็นเพียงรูปของผู้หญิงผิวสีธรรมดาๆ คนหนึ่งเท่านั้นเอง

แต่อย่างไรก็ตามความหมายทางสังคมที่แฝงอยู่ในโลโก้นี้ก็คือ ภาพที่ตัดย้อนกลับไปในยุคสมัยของการเหยียดผิวที่มีอย่างเข้มข้นในสังคมอเมริกันโดยเฉพาะรัฐทางใต้ก่อนจะมีการปลดปล่อยทาส อันเป็นผลมาจากกฎหมายสองฉบับข้างต้นที่กล่าวมา....ผู้หญิงผิวสีอย่างคุณป้าเจมิม่า คือ ภาพจดจำแบบเหมารวม (stereotype) ของ “mammy” หรือ คนรับใช้ผิวสีที่นอกจากจะต้องทำงานรับใช้สารพัดอย่างให้กับครอบครัวเจ้านายผิวขาวของเธอแล้วmammy ยังต้องอุทิศตัวเพื่อเลี้ยงดูประคบประหงมบรรดาคุณหนูๆ ทั้งหลายของเจ้านาย โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกินให้ดียิ่งกว่าการดูแลฟูมฟักลูกหลานของตัวเธอเอง....

โลโก้ผลิตภัณฑ์น้ำเชื่อมและแพนเค้ก ตรา Aunt Jemima เป็นหนึ่งในเครื่องหมายการค้าที่อยู่มาอย่างยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์การโฆษณาอเมริกันหรือกว่า 130 ปี ปัจจุบันกำลังจะถูกแทนที่ด้วยโลโก้อย่างอื่น เช่นเดียวกับสินค้าอีกหลายๆ ชนิดที่ใช้คนผิวสีเป็นเครื่องหมายทางการค้า อันเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงออกเพื่อประท้วงเรียกร้องความยุติธรรมให้กับชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ซึ่งดูท่าทางแล้วน่าจะไม่จบลงง่ายๆ และอาจจะเป็นจุดเปลี่ยนของประเทศสหรัฐอเมริกาอีกครั้งหนึ่ง

หรือในทางกลับกัน การประท้วงครั้งนี้ก็อาจจะจบลงโดยไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ เลยก็ได้ เพราะยังมีคนอเมริกันอีกจำนวนมากที่คิดว่าเรื่องนี้ ก็แค่...คน (ผิวสี) ดำตายแค่คนเดียว มันจะอะไรกันนักกันหนา (ว่ะ).....คำพูดลักษณะนี้ที่หลุดจากปากคนอเมริกันประเภทชาตินิยมผิวขาวที่เชื่อในความสูงสุดของ
คนขาว (white supremacy) มีอยู่ในความคิดของอเมริกันชนทุกระดับและทุกวงการอีกเช่นกัน

หลายคนอาจจะสงสัยว่า แล้วเหตุใดความรู้สึกเหยียดผิวถึงยังคงฝังลึกอยู่ในสายเลือดคนอเมริกันกลุ่มนี้ ทั้งๆ ที่ฐานคิดการสร้างประเทศของคณะบิดาผู้ก่อตั้งประเทศ (the Founding Fathers of the United States) นั้นวางอยู่บนหลักการของสิทธิ ความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันของมนุษย์ทุกคน

ดังที่ โทมัส เจฟเฟอร์สัน เขียนประกาศก้องไว้ในคำประกาศอิสรภาพ (Declaration of Independent)ว่า.....มนุษย์ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน และได้รับมอบสิทธิอันไม่สามารถจะถูกพรากออกไปจากพวกเขาได้ ไม่ว่าจะเป็น สิทธิในการมีชีวิต การมีอิสรภาพและการแสวงหาความสุข..หรือ....that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable Right, that among these are Life, Liberty and the pursuit of Happiness.

แต่อย่างไรก็ตาม...เป็นที่รู้กันในหมู่ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์อเมริกันและ คำประกาศอิสรภาพ ของโทมัส เจฟเฟอร์สัน หนึ่งในคณะผู้ก่อตั้งประเทศ รัฐมนตรีต่างประเทศคนแรกและประธานาธิบดีคนที่สาม....ผู้รังสรรค์ประโยค...all men are created equal…นั้นเจฟเฟอร์สันหมายถึงเฉพาะคนผิวขาวและเฉพาะเจาะจงผิวขาวที่เป็นผู้ชายด้วยซ้ำเพราะเอาเข้าจริง ๆ แล้วสภาคองเกรสก็พึ่งผ่านมติการแก้รัฐธรรมนูญครั้งที่ 19 เรื่องสิทธิในการเลือกตั้งของสตรีเมื่อปี 1920 หรือเมื่อ 100 ปีที่แล้วนี้เอง

และในช่วงเวลาที่คณะบิดาผู้ก่อตั้งประเทศกำลังจะอ่านคำประกาศอิสรภาพ ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 1776 เพื่อประกาศว่าจะไม่ขึ้นกับการปกครองของอังกฤษ เจ้าอาณานิคมอีกต่อไป เจฟเฟอร์สันก็มีทาสผิวดำติดสอยห้อยตามคอยรับใช้มาด้วยสองคนจากจำนวนทาสหกสิบกว่าคนที่เขามีอยู่ในเวลานั้น และก่อนตายในปี 1826 เจฟเฟอร์สันครอบครองทาสอยู่ทั้งสิ้นกว่า600 คน โดยไม่มีหลักฐานยืนยันว่าเขามีเจตจำนงที่จะปลดปล่อยทาส 600 คนนี้ให้เป็นอิสระขณะที่ จอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีคนแรกได้สั่งเสียไว้ก่อนตายว่าให้ปลดปล่อยทาสจำนวนประมาณ 130 หลังจากที่เขาตายแล้ว และปล่อยไปให้หมดที่เหลืออีกเกือบ 200 คน ภายหลังจากที่ภรรยาของเขาได้เสียชีวิตลง

กระนั้นก็ตาม มีหลักฐานหนึ่งที่นักประวัติศาสตร์ค่อนข้างเห็นตรงกันว่า เจฟเฟอร์สันได้ปลดปล่อยให้ทาสหกคนมีอิสรภาพ แต่....ทาสผิวสีหกคนนี้คือ...ลูกๆ ของเขาเองที่เกิดกับซัลลี เฮมิงส์ (Sally Hemming)ทาสรับใช้ในบ้าน เจฟเฟอร์สันเริ่มมีความสัมพันธ์กับ ซัลลี ขณะที่เธออายุได้เพียงแค่ 16 ปี และต้องติดตามเจฟเฟอร์สันซึ่งตอนนั้นไปเป็นทูตอยู่ที่กรุงปารีสระหว่างปี 1785-1789 เพื่อไปเป็นพี่เลี้ยง หรือ mammy ให้กับลูกของเจฟเฟอร์สันที่เกิดกับอดีตภรรยาซึ่งเสียชีวิตไปก่อนหน้านั้นสามปีโดยก่อนที่ภรรยาของเขากำลังจะเสียชีวิต ได้เคยขอร้องไม่ให้เขาแต่งงานใหม่

อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันอย่างชัดเจนว่า เจฟเฟอร์สันมีเจตจำนงอยู่แล้วที่จะให้ลูกๆ ของเขากับซัลลีเป็นอิสระหรือไม่ ถ้าซัลลีไม่ต่อรองกับเจฟเฟอร์สันตอนที่เขาจะต้องกลับอเมริกาเพื่อไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ ในรัฐบาลจอร์จ วอชิงตัน ว่า…เธอจะไม่กลับไปอเมริกาพร้อมกับเขา ถ้าเจฟเฟอร์สันไม่รับปากว่าจะปลดปล่อยลูกของเธอให้เป็นอิสระเมื่ออายุครบ 21....เพราะในที่ฝรั่งเศส ซัลลี เพียงแค่เดินไปที่ศาลาว่าการกรุงปารีส และก็บอกกับเจ้าหน้าที่ว่า เธอเป็นทาสที่ถูกกักตัวอยู่ในฝรั่งเศส เพียงเท่านี้เธอก็จะได้รับการช่วยให้มีอิสรภาพทันที

ดร.ธิติ สุวรรณทัต

หมายเหตุ: เรื่องราวการครอบครองแรงงานทาสของจอร์จ วอชิงตัน และโทมัส เจฟเฟอร์สัน อ่านเพิ่มเติมได้ใน David M.Rubenstein,The American Story: Conversations with Master Historian (New York: Simon & Schuster,2019)

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
10:22 น. 'วราวุธ'หนุนไอเดีย'ทักษิณ'ปันงบกระตุ้นศก. 1.57 แสนล้านเร่งแก้ปัญหายาเสพติด
10:17 น. “บิ๊กโอ ก้องเกียรติ”สส.คนที่ 26 พรรคกล้าธรรม รายงานตัว-ปฏิญาณตนก่อนปฏิบัติหน้าที่แล้ว
10:09 น. เปิดสาเหตุ‘ทหารไทย-เขมร’ปะทะสนั่น‘ช่องบก’
10:03 น. 'วุฒิชาติ'ยันวิปวุฒิ​ไม่ได้ลักไก่ ตั้งกมธ.ตรวจประวัติกกต.-ศาลรธน.โยนดูกฎหมายทำได้หรือไม่ถอดวาระเลือกองค์กรอิสระ
09:56 น. ‘หมอวรงค์’ฟันธง‘สมศักดิ์’วีโต้ กังขา‘สทร.’มุ่งทำลายความน่าเชื่อถือ‘แพทยสภา’
ดูทั้งหมด
‘หมอวี’ฉายภาพระบบสาธารณสุข อีก 3 ปีพัง ‘รักษาฟรี’อาจเหลือแค่ในความทรงจำ
'อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ'ชี้ ลำดับเหตุการณ์ก็รู้ 'ใครรังแก อดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์'
วงการแพทย์ทั่วโลกฮือฮา! ผลวิจัยชี้ยารักษาเบาหวาน ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง
(คลิป) 'แพทยสภา'หักหน้า! 'สมศักดิ์' ไม่ให้เอกสารลงโทษแพทย์ 3 ราย
‘เซเลบผ้าท้องถิ่น’จัดหนัก! ถล่ม‘อิ๊งค์’ไร้กาลเทศะ ไม่รู้ธรรมเนียมปฏิบัติการทูต
ดูทั้งหมด
บาปของ‘ทักษิณ’ใน‘สงครามยาเสพติด’
ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เริ่มผลักดันสันติภาพโลก ด้วยการเจรจาทางการทูต
การแจ้งเบาะแส เทคโนโลยี และการแก้คอร์รัปชัน
เพื่อนซี้ไม่มีในผู้แพ้?
ยาเสพติด อาชญากรรมข้ามชาติ บทเรียนการเอายอดคนตาย เป็นผลงาน
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'วราวุธ'หนุนไอเดีย'ทักษิณ'ปันงบกระตุ้นศก. 1.57 แสนล้านเร่งแก้ปัญหายาเสพติด

‘หมอวรงค์’ฟันธง‘สมศักดิ์’วีโต้ กังขา‘สทร.’มุ่งทำลายความน่าเชื่อถือ‘แพทยสภา’

เย้ย‘โมฆะบุรุษ’! อดีตบิ๊กข่าวกรองจับไต๋แค่ใช้เวทีป.ป.ส.โชว์ตัว รอดู 13 มิ.ย.อยู่หรือไป

'ประชาคมแพทย์'เดือด!! ลั่นผู้นำแพทยสภาต้อง'ปกป้อง'เกียรติยศ หลัง'ทักษิณ'ฉะไร้จริยธรรม

Synopsis TikTok AR Game #หรือฉันก็เป็นเอเลี่ยน

ปลุกส่งกำลังใจให้‘แพทยสภา’ รักษาจริยธรรม เดินตามรอย‘พระบิดา’

  • Breaking News
  • \'วราวุธ\'หนุนไอเดีย\'ทักษิณ\'ปันงบกระตุ้นศก. 1.57 แสนล้านเร่งแก้ปัญหายาเสพติด 'วราวุธ'หนุนไอเดีย'ทักษิณ'ปันงบกระตุ้นศก. 1.57 แสนล้านเร่งแก้ปัญหายาเสพติด
  • “บิ๊กโอ ก้องเกียรติ”สส.คนที่ 26 พรรคกล้าธรรม รายงานตัว-ปฏิญาณตนก่อนปฏิบัติหน้าที่แล้ว “บิ๊กโอ ก้องเกียรติ”สส.คนที่ 26 พรรคกล้าธรรม รายงานตัว-ปฏิญาณตนก่อนปฏิบัติหน้าที่แล้ว
  • เปิดสาเหตุ‘ทหารไทย-เขมร’ปะทะสนั่น‘ช่องบก’ เปิดสาเหตุ‘ทหารไทย-เขมร’ปะทะสนั่น‘ช่องบก’
  • \'วุฒิชาติ\'ยันวิปวุฒิ​ไม่ได้ลักไก่ ตั้งกมธ.ตรวจประวัติกกต.-ศาลรธน.โยนดูกฎหมายทำได้หรือไม่ถอดวาระเลือกองค์กรอิสระ 'วุฒิชาติ'ยันวิปวุฒิ​ไม่ได้ลักไก่ ตั้งกมธ.ตรวจประวัติกกต.-ศาลรธน.โยนดูกฎหมายทำได้หรือไม่ถอดวาระเลือกองค์กรอิสระ
  • ‘หมอวรงค์’ฟันธง‘สมศักดิ์’วีโต้ กังขา‘สทร.’มุ่งทำลายความน่าเชื่อถือ‘แพทยสภา’ ‘หมอวรงค์’ฟันธง‘สมศักดิ์’วีโต้ กังขา‘สทร.’มุ่งทำลายความน่าเชื่อถือ‘แพทยสภา’
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓  ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓ ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

23 พ.ค. 2568

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (จบ)

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (จบ)

16 พ.ค. 2568

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (2)

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (2)

9 พ.ค. 2568

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (1)

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (1)

2 พ.ค. 2568

ความคิดในการใช้กฎหมาย

ความคิดในการใช้กฎหมาย

25 เม.ย. 2568

คนตัวเหม็นแต่จิตใจงามไม่เหม็น

คนตัวเหม็นแต่จิตใจงามไม่เหม็น

18 เม.ย. 2568

อเมริกัน(ดับเบิ้ล)สแตนดาร์ด

อเมริกัน(ดับเบิ้ล)สแตนดาร์ด

11 เม.ย. 2568

เอกสารงบประมาณแผ่นดิน

เอกสารงบประมาณแผ่นดิน

4 เม.ย. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved