วันอาทิตย์ ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / จิระพงษ์ เต็มเปี่ยม
จิระพงษ์ เต็มเปี่ยม

จิระพงษ์ เต็มเปี่ยม

จิระพงษ์ เต็มเปี่ยม
วันอังคาร ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2563, 02.00 น.
ชลประทานภาคประชาชน

ดูทั้งหมด

  •  

ผมเคยเขียนเรื่องระบบชลประทาน การแก้ไขปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม ไปแล้ว เพราะ 2 อย่างนี้เป็นสิ่งที่คู่กันกับประเทศไทย และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกฯและรมว.กลาโหม ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก แม้จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็ต้องช่วยทำให้ปัญหาเบาบางลง


น่าสนใจ คือ ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เคยกล่าวไว้ว่า “การบริหารจัดการน้ำนั้น เราจะต้องมีน้ำ มีแหล่งกักเก็บน้ำต้นทุน”

แหล่งน้ำต้นทุนก็คือ อ่างเก็บน้ำตลอดจนระบบส่งน้ำเข้าพื้นที่และระบบระบายน้ำในกรณีที่เกิดอุทกภัย ทุกวันนี้กว่าสร้างอ่างเก็บน้ำขึ้นมาได้แต่ละแห่งต้องใช้เวลานานกว่า 10 ปีขึ้นไป บางแห่งอาจต้องใช้เวลานานถึง 15 ปี ไม่ทันอกทันใจกับความต้องการของชุมชนที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีความต้องการใช้น้ำทั้งเพื่อการอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นทุกปี

ในขณะที่ นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ฝ่ายวิชาการ ซึ่งรับผิดชอบงานด้านสิ่งแวดล้อมของกรมชลประทานได้กล่าวถึงการดำเนินงานของกรมในส่วนที่ต้องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอันเป็นปัจจัยในการดำเนินงานสร้างแหล่งน้ำต้นทุนว่า ในการจะสร้างแหล่งน้ำต้นทุนหรือระบบส่งน้ำระบายน้ำ กรมชลประทานจะต้องผ่านกระบวนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติที่กำหนดขึ้นมาให้ทุกหน่วยงานที่จะสร้างโครงการเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติต้องปฏิบัติ

สำหรับแนวทางการศึกษาในการพัฒนาแหล่งน้ำนั้น ก่อนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการจัดสรรทรัพยากรน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการ กรมชลประทานจะต้องศึกษาและพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด จะต้องศึกษาทั้ง ด้านวิศวกรรม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐศาสตร์และสังคม ที่สำคัญที่สุดคือ ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน

ในด้านวิศวกรรมนั้น จะต้องศึกษาความเหมาะสมทางโครงสร้างวิศวกรรมเพื่อพิจารณาทางเลือกในการพัฒนา โดยเปรียบเทียบประเภท ขนาดและตำแหน่ง บนพื้นฐานความเหมาะสมของสภาพภูมิประเทศและความต้องการน้ำในปัจจุบันและอนาคต

ส่วนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็จะต้องศึกษาสภาพปัจจุบันเพื่อประเมินผลกระทบทั้งด้านกายภาพ ชีวภาพ คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์และคุณภาพชีวิต พร้อมมาตรการป้องกันแก้ไข ต้องมีการศึกษาในเรื่องของทรัพยากรดิน ธรณีวิทยาและการเกิดแผ่นดินไหว ศึกษาถึงนิเวศทางน้ำและประมง ต้องศึกษาด้านทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ศึกษาระบบชลประทานเพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดิน การบริหารจัดการน้ำในอนาคต ต้องศึกษาและเตรียมการเรื่องการชดเชยในกรณีมีผู้ได้รับผลกระทบ ต้องดูในด้านการสาธารณสุขและบริการ แหล่งโบราณสถานการส่งเสริมการเกษตร ตลอดจนมาตรการป้องกันแก้ไขและติดตามผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม

สำหรับการศึกษาในด้านเศรษฐศาสตร์และสังคมนั้น จะเป็นการวิเคราะห์ความเหมาะสมในเชิงเศรษฐกิจ โดยพิจารณาผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการวิเคราะห์ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้เสียจากการพัฒนาโครงการ เป็นการศึกษาถึงความคุ้มค่าในการลงทุนกับผลตอบแทนที่จะได้รับ

ที่สำคัญที่สุดคือการศึกษาด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ต้องให้โอกาสประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ร่วมเสนอแนะและร่วมในการตัดสินใจ โดยผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็น พร้อมสอบถามผู้ได้รับผลกระทบ 100% เช่น การจัดการประชุม ปฐมนิเทศ และปัจฉิมนิเทศ การสอบถามผ่านการสัมภาษณ์ผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด

นายเฉลิมเกียรติกล่าวว่า ในกระบวนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมนั้น กรมชลประทานให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนมากที่สุดโดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ที่จะสร้างแหล่งน้ำต้นทุน ถ้าหากประชาชนไม่ยอมรับ ไม่ว่าผลศึกษาในอีก 3 ด้านจะเหมาะสมแค่ไหน กรมชลประทานก็ไม่สามารถจะดำเนินการได้

“การจะบริหารจัดการน้ำให้ยั่งยืน อันดับแรกเราต้องดูวัตถุประสงค์ของประชาชนก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเดือดร้อนที่เกิดจากน้ำท่วม หรือว่าภัยแล้งดูผลกระทบที่เกิดทั้งภาคการเกษตร การอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รวมทั้งการรักษาระบบนิเวศวิทยา ดังนั้นเราต้องดูความต้องการของประชาชนเป็นอันดับแรก การมีส่วนร่วม การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าจุดนี้ไม่ผ่าน ทุกอย่างก็จบ”

ครับ ส่วนราชการ จะพัฒนาแหล่งน้ำสร้างระบบชลประทานที่ใด พี่น้องประชาชนสามารถมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นได้ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในโครงการและเกิดประโยชน์ต่อสาธารณมากที่สุด

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
16:01 น. (คลิป) อดีตฝ่ายแค้น'พรรคส้ม'ร้อนรน! เมื่อคนรุ่นใหม่เริ่มตาสว่าง! ตัวปัญหาคือ'ทักษิณ'ไม่ใช่'ทหาร'
15:50 น. (คลิป) เจาะลึก! เล่ห์เหลี่ยม'พรรคส้ม' วาทกรรมลอยๆ ร่างนิรโทษกรรม ม.112
15:32 น. เลย์ออฟครั้งใหญ่! 'กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ'ปลดเจ้าหน้าที่ 1,350 คน
15:29 น. เก๋งเสียหลักตกคลอง มุดท่อระบายน้ำ ดับสลด 2 เจ็บ 2
15:25 น. จับหนุ่มเสพยาซึ่งจยย.ย้อนศรหนีตร.ไปไม่รอด
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
อื้อหือ! เพจดังเปิดภาพ 'สีกากอล์ฟ' ย้อนอดีต 10 ปี ไม่แปลกใจทำไมพระหวั่นไหว
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
ดูทั้งหมด
การดูแลรักษาสุนัขมีค่าเอนไซม์ตับสูงกว่าปกติ
ผู้ว่าฯแบงก์ชาติต้องมีกระดูกสันหลัง
บุคคลแนวหน้า : 13 กรกฎาคม 2568
ชีวิตประจำวันของผม-ความเก่ง
บทบรรณาธิการ : 13 กรกฎาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เลย์ออฟครั้งใหญ่! 'กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ'ปลดเจ้าหน้าที่ 1,350 คน

รวบหนุ่มไทยมุดชายแดน! ขายบัญชีม้าให้แก๊งคอลฯ พบมีคดีออนไลน์17คดี

รัฐผ่อนปรนรถบัสสองชั้นวิ่ง‘6 เส้นทางเสี่ยง’ได้180วัน เริ่ม 21 ก.ค.

เกมเศรษฐี’เชลซี’vs‘เปแอสเช’:ใครจะครองแชมป์ทีมโลก2025

เก๋งเสียหลักตกคลอง มุดท่อระบายน้ำ ดับสลด 2 เจ็บ 2

เชื่อไม่เกิดสุญญากาศ! แม้ปัญหารุมเร้าทำรบ.เปราะบาง 'สุทิน'ย้ำต้องให้กำลังใจเร่งสร้างเชื่อมั่น

  • Breaking News
  • (คลิป) อดีตฝ่ายแค้น\'พรรคส้ม\'ร้อนรน! เมื่อคนรุ่นใหม่เริ่มตาสว่าง! ตัวปัญหาคือ\'ทักษิณ\'ไม่ใช่\'ทหาร\' (คลิป) อดีตฝ่ายแค้น'พรรคส้ม'ร้อนรน! เมื่อคนรุ่นใหม่เริ่มตาสว่าง! ตัวปัญหาคือ'ทักษิณ'ไม่ใช่'ทหาร'
  • (คลิป) เจาะลึก! เล่ห์เหลี่ยม\'พรรคส้ม\' วาทกรรมลอยๆ ร่างนิรโทษกรรม ม.112 (คลิป) เจาะลึก! เล่ห์เหลี่ยม'พรรคส้ม' วาทกรรมลอยๆ ร่างนิรโทษกรรม ม.112
  • เลย์ออฟครั้งใหญ่! \'กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ\'ปลดเจ้าหน้าที่ 1,350 คน เลย์ออฟครั้งใหญ่! 'กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ'ปลดเจ้าหน้าที่ 1,350 คน
  • เก๋งเสียหลักตกคลอง มุดท่อระบายน้ำ ดับสลด 2 เจ็บ 2 เก๋งเสียหลักตกคลอง มุดท่อระบายน้ำ ดับสลด 2 เจ็บ 2
  • จับหนุ่มเสพยาซึ่งจยย.ย้อนศรหนีตร.ไปไม่รอด จับหนุ่มเสพยาซึ่งจยย.ย้อนศรหนีตร.ไปไม่รอด
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

บูรณาการรับมือฤดูฝน ปี 2568

บูรณาการรับมือฤดูฝน ปี 2568

18 พ.ค. 2568

แผ่นดินไหวไม่กระทบตึกบัญชาการน้ำแห่งชาติ  เขื่อนแข็งแรงปลอดภัยพร้อมรับมือฤดูฝน

แผ่นดินไหวไม่กระทบตึกบัญชาการน้ำแห่งชาติ เขื่อนแข็งแรงปลอดภัยพร้อมรับมือฤดูฝน

6 เม.ย. 2568

วันน้ำโลกปีนี้...การอนุรักษ์ธารน้ำแข็ง

วันน้ำโลกปีนี้...การอนุรักษ์ธารน้ำแข็ง

23 มี.ค. 2568

ฟันธง!โครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่าง  สามารถแก้ปัญหาน้ำได้ทั้งระบบ

ฟันธง!โครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่าง สามารถแก้ปัญหาน้ำได้ทั้งระบบ

22 ธ.ค. 2567

ปตร.ศรีสองรักฯความงดงามแห่งสถาปัตยกรรมเลอค่า  และแบบอย่างของการแก้ปัญหาน้ำ..ลุ่มน้ำโขง

ปตร.ศรีสองรักฯความงดงามแห่งสถาปัตยกรรมเลอค่า และแบบอย่างของการแก้ปัญหาน้ำ..ลุ่มน้ำโขง

17 พ.ย. 2567

สืบสานพระราชปณิธาน...แก้ปัญหาน้ำเชียงใหม่

สืบสานพระราชปณิธาน...แก้ปัญหาน้ำเชียงใหม่

10 พ.ย. 2567

อ่างเก็บน้ำ‘ห้วยน้ำรี’สืบสานพระราชดำริ สร้างความมั่นคงที่ยั่งยืนให้ราษฎร

อ่างเก็บน้ำ‘ห้วยน้ำรี’สืบสานพระราชดำริ สร้างความมั่นคงที่ยั่งยืนให้ราษฎร

13 ต.ค. 2567

เปิดนับหนึ่งเจรจา FTA ไทย-อียู สร้างแต้มต่อ

เปิดนับหนึ่งเจรจา FTA ไทย-อียู สร้างแต้มต่อ

17 มี.ค. 2566

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved