วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ปรีชา'ทัศน์
ปรีชา'ทัศน์

ปรีชา'ทัศน์

วันศุกร์ ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563, 02.00 น.
เก็บตก : เลือกตั้งสหรัฐฯ 2020(จบ)

ดูทั้งหมด

  •  

สัปดาห์ก่อน ได้เก็บตกเลือกตั้งสหรัฐฯ 2020 ถึงเรื่องว่าที่คณะรัฐมนตรีไบเดน-1 ว่าน่าจะมีความหลากหลายเป็นอย่างมากทั้งทางเชื้อชาติ สีผิว เพศสภาพ โดยรายชื่อรัฐมนตรีทั้ง 15 กระทรวงนั้น จะมีรัฐมนตรีทั้งหญิงและชายในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกัน และยังมีรัฐมนตรีกลุ่ม LGBTQ เสริมเข้าไปอีกด้วยโดยจะมีทั้งรัฐมนตรีที่มาจากเชื้อชาติต่างๆ คละเคล้ากันไป ไม่ว่าจะเป็นชนเผ่าพื้นเมืองอินเดียนแดงเม็กซิกัน-อเมริกัน อินเดียน-อเมริกัน จีน-อเมริกัน และแม้กระทั่งไทย-อเมริกันอย่าง คุณลัดดา แทมมี ดักเวิร์ธ ก็เป็นหนึ่งในแคนดิเดตด้วย

พูดถึงความหลากหลายในสถาบันการเมืองแล้ว ก็อดไม่ได้ที่ต้องชื่นชมสภาผู้แทนราษฎร นิวซีแลนด์ชุดใหม่ล่าสุดนี้ที่พึ่งมีการเลือกตั้งไปเมื่อเดือนก่อนซึ่งได้ทำให้สภาผู้เทนราษฎรชุดที่ 53 ของนิวซีแลนด์นี้กลายเป็นสภาที่มีความหลากหลายที่สุดในโลกโดยเกือบครึ่งหรือ 47% (57 คน จากจำนวน สส. ทั้งหมด 120 คน) เป็น สส.หญิงหน้าใหม่ และอีก 11% เป็นกลุ่ม LGBTQ นอกจากนั้น ยังมีผู้แทนที่เป็นชนเผ่าเมารี (Maori) ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมและผู้แทนที่เป็นชาวเลหรือกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ได้รับเลือกเข้าไปในอัตราส่วนที่สูงกว่าสัดส่วนของจำนวนชนเผ่าเหล่านี้เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรนิวซีแลนด์ทั้งหมด


ความหลากหลายดังกล่าวนี้เป็นตัวชี้วัดระดับความเป็นประชาธิปไตยของแต่ละสังคมได้ดีตัวหนึ่ง เพราะถ้าหันไปดูที่สถาบันนิติบัญญัติของประเทศที่ระดับความเป็นประชาธิปไตยต่ำหรือเป็นเผด็จการก็มักจะประกอบไปด้วยคนอยู่ไม่กี่ประเภทซึ่งส่วนใหญ่ก็คือผู้ชายที่มีอาชีพทหาร แต่ไม่ใช่ทหารหญิงหรือนายทหารอาชีพ......

ขอกลับมาเก็บตกเลือกตั้งสหรัฐฯ 2020 ต่อในประเด็นสุดท้ายคือเรื่องศึกเลือกตั้งในรัฐจอร์เจีย

ถ้าการเลือกตั้งปี 2000 ฟลอริดาเป็นรัฐชี้ขาด เพราะบุช จูเนียร์ ชนะ อัล กอร์ เพียงแค่ห้าร้อยกว่าคะแนนในรัฐนี้ หรือตั้งแต่ปี 1960 โอไฮโอก็ถือเป็นรัฐชี้ชะตาตำแหน่งประธาธิบดี สหรัฐฯ ในเชิงสถิติ เพราะ 60 ปีที่ผ่านมานี้ ไม่มีประธานาธิบดีที่ชนะการเลือกตั้งคนไหน พ่ายแพ้ในรัฐโอไฮโอ จนมาถึงปีนี้ที่โจ ไบเดน ได้หยุดสถิติดังกล่าวนี้ เพราะถึงโจจะพ่ายแพ้ในรัฐโอไฮโอ แต่ก็ยังชนะได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี

สำหรับศึกเลือกตั้งปี 2020 จอร์เจียได้กลายเป็นรัฐชี้ขาด...และจะเป็นรัฐสำคัญในทางภูมิรัฐศาสตร์ของการเมืองอเมริกันต่อไป เพราะ...

1.ด้วยคะแนนที่ห่างกันเพียงไม่ถึง 0.3% หรือหมื่นกว่าคะแนน จากจำนวนผู้มาใช้สิทธิทั้งหมดประมาณ 5 ล้านคน ในจอร์เจีย ทำให้ต้องมีการนับคะแนนกันใหม่ ซึ่งถ้าเกิดผลการนับคะแนนใหม่ของจอร์เจียพลิกกลับกลายเป็นว่าทรัมป์ชนะ ก็จะเป็นโอกาสให้ทรัมป์มีพื้นที่ในการรุกคืบต่อไป ด้วยการใช้ทั้งทีมกฎหมายต่อสู้ด้านเทคนิคและปลุกระดมผู้สนับสนุนผ่านทางทวิตเตอร์ เพื่อขอให้มีการนับคะแนนใหม่ในรัฐวิสคอนซิสและเพนซิลวาเนียต่อไปเพราะคะแนนของทั้งคู่ห่างกันไม่ถึง 1% ในสองรัฐนี้

และถ้าการนับคะแนนใหม่ในสามรัฐนี้พลิกกลับเป็นชัยชนะของทรัมป์ คะแนนคณะผู้เลือกตั้งหรือ Electoral vote ของทรัมป์ก็จะพลิกกลับมามากกว่าไบเดนทันที (ขณะเขียนบทความนี้ การนับคะแนนใหม่ที่จอร์เจียยังไม่เสร็จสิ้น แต่ผลการนับ ณ ตอนนี้ ไบเดนก็ยังมีคะแนนนำทรัมป์อยู่ประมาณหนึ่งหมื่นกว่าคะแนนเท่าเดิม ซึ่งกฎหมายเลือกตั้งจอร์เจียกำหนดเส้นตายการนับคะแนนใหม่ต้องเสร็จภายในวันพุธที่ 18 พ.ย. หรือไม่เกินเที่ยงวันของวันพฤหัสบดีที่ 19 พ.ย.เวลาที่เมืองไทย)

2.จอร์เจียไม่เพียงแต่เป็นรัฐชี้ขาดว่าใครจะได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ แล้ว ยังจะเป็นรัฐที่จะชี้ขาดว่าพรรคไหนจะได้คุมเสียงข้างมากในวุฒิสภาอีกด้วย เพราะในการเลือกตั้งครั้งนี้ จอร์เจียมีการเลือกตั้งวุฒิสมาชิก 2 ที่นั่ง ซึ่งผลการเลือกตั้งในวันที่ 3 พ.ย.นั้น ปรากฏว่าไม่มีผู้สมัครคนไหนได้คะแนนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งจึงทำให้ต้องมาเลือกตั้งกันใหม่อีกครั้งในวันที่ 5 ม.ค. ปีหน้าระหว่างผู้สมัครจากรีพับลิกันและเดโมแครต ซึ่งในตอนนี้รีพับลิกันมีวุฒิสมาชิก 50 ส่วนเดโมแครตมี 48 คน และถ้าการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 5 ม.ค. พรรคเดโมแครตชนะทั้งสองที่นั่งนี้ก็จะทำให้อัตราส่วนวุฒิสมาชิกจากสองพรรคนี้เท่ากันคือ 50 : 50

และถ้าเสียงเท่ากันแบบนี้ เมื่อมีการโหวตกันในวุฒิสภา เสียงชี้ขาดก็จะเป็นเสียงของประธานวุฒิสภา โดยกฎหมายกำหนดให้รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นประธานวุฒิสภาโดยตำแหน่ง ซึ่งก็คือนางกมลา แฮร์ริส(Kamala Harris) จากพรรคเดโมแครต และถ้าเป็นเช่นนี้พรรคเดโมแครตก็จะกุมอำนาจทั้งฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติโดยมีเสียงข้างมากทั้งสภาผู้แทนราษฎรและมีเสียงชี้ขาดในวุฒิสภาจากนางกมลา

ในรอบเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา จอร์เจียถือว่าเป็น Red states หรือพื้นที่ของพรรครีพับลิกันมาตลอด พรรคเดโมแครตมีชัยในรัฐนี้ครั้งสุดท้ายก็ในปี 1992 ตอนที่บิล คลินตัน ลงชิงชัยกับ บุช ซีเนียร์ หลังจากนั้นเดโมแครตก็ไม่เคยชนะการเลือกตั้งระดับประธานาธิบดีในจอร์เจียอีกเลย ส่วนระดับผู้ว่าการรัฐหรือวุฒิสมาชิกส่วนใหญ่ก็จะโดนผูกขาดโดยรีพับลิกันจะชนะก็แต่การเลือกตั้ง สส. นายกเทศมนตรีหรือระดับท้องถิ่นบ้าง

การที่เดโมแครตกลับเข้ามายึดครองพื้นที่ในจอร์เจียได้นั้น ต้องให้เครดิตกับ สเตซี่ อับรามส์ (Stacey Abrams) นักการเมืองหญิงผิวสี ดีกรีนิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเยล ดาวรุ่งพุ่งแรงของพรรคที่เมื่อสองปีก่อนต้องพ่ายแพ้การเลือกตั้งในตำแหน่งผู้ว่าการรัฐจอร์เจียไปอย่างน่ากังขา ต่อนายไบรอัน คีม ผู้ว่าการรัฐจอร์เจีย สังกัดพรรครีพับลิกัน คนปัจจุบัน ที่ในตอนนั้นมีตำแหน่งเป็นรองผู้ว่าการฝ่ายกิจการของรัฐจอร์เจีย (Secretary of State) ซึ่งมีหน้าที่ดูแลการเลือกตั้งทั่วไปในจอร์เจีย

การจัดการเลือกตั้งภายใต้การดูแลของนายไบรอัน คีม นั้นถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก เพราะเขาได้ออกกฎเกณฑ์หลายอย่างที่ทำให้การไปใช้สิทธิลงคะแนนของคนผิวสี คนยากคนจน ผู้ไร้ที่อยู่อาศัยในจอร์เจียเป็นไปด้วยความยากลำบากหรือง่ายต่อการเป็นบัตรเสีย กลุ่มคนเหล่านี้ล้วนเป็นผู้สนับสนุนสเตซี่ อับรามส์ หลังจากการพ่ายแพ้อย่างไม่เป็นธรรมและมีข้อกังขาเมื่อสองปีก่อนสเตซี่ก็ออกมาจัดตั้งองค์กรเอกชนแบบไม่แสวงหากำไร (NGO) ชื่อ Fair Fight เพื่อมารณรงค์ให้ความรู้เรื่องการเลือกตั้งกับชาวจอร์เจียนโดยเฉพาะกับกลุ่มคนดังกล่าวข้างต้น พร้อมกับผลักดันให้ชาวจอร์เจียนออกไปใช้สิทธิกันมากๆ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งในระดับไหน

ผลการเลือกตั้งของจอร์เจียในครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าสองปีที่ผ่านนี้ การทำงานของเธอนั้นไม่สูญเปล่า ซึ่งถ้าในวันที่ 5 ม.ค. 2564 พรรคเดโมแครตสามารถคว้าชัยในอีกสองที่นั่งของวุฒิสภา คนที่โจ ไบเดน และพรรคเดโมแครตต้องขอบคุณเป็นอย่างมากก็คือ สเตซี่ อับรามส์ และขอให้จับตาเธอคนนี้ต่อไปในอนาคต เพราะสเตซี่อาจจะสร้างประวัติศาสตร์ให้กับการเมืองอเมริกันเหมือนกับที่ กมลา แฮร์ริส ได้ทำไว้ในการเลือกตั้งครั้งนี้ในฐานะรองประธานาธิบดีหญิง ผิวสี เชื้อชาติอินเดียน-จาไมกา-อเมริกัน คนแรก

ดร.ธิติ สุวรรณทัต

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
16:39 น. ‘ณัฐวุฒิ’ออกโรงค้านคำวินิจฉัยศาลรธน. ซัดแรงอำนาจตุลาการทำลายประชาธิปไตย
16:32 น. 'ไต้ฝุ่น'ชวน 'คุณเจมส์-วรปรัชญ์'เปิดสูตรลับธุรกิจร้อยล้านตอบโจทย์โลกออนไลน์ใน'ติดลมบน'
16:30 น. 'ช่อง 7HD'รวมตัวสายบู๊ 3 สังเวียนดัง 'ONE ลุมพินี 115 - Fairtex Fight มวยมันพันธุ์ EXTREME - มวยไทย 7 สี'
16:26 น. ‘ศาลรธน.’สั่งเสนอความเห็นใน 15 วัน ปม‘แส จิ้นเจียง’เจ้าของบ่อนกาสิโน ยื้อส่งตัวไปจีน
16:21 น. 'สาวไฟแนนซ์'หายตัวนับเดือน! พบเป็นศพคาซากรถคู่ใจ จมคลองชลประทาน
ดูทั้งหมด
วอน'ญี่ปุ่น'ช่วยหย่าศึก! 'ฮุน เซน'ขอร้องให้ช่วยพูดกับไทย จี้ให้ศาลโลกช่วยตัดสินปมพื้นที่พิพาท
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
'ลุงเตีย'ลำบากใจ!ร่วม'ฮุนเซน'ตรวจชายแดนท่ามกลางสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาตึงเครียด
แกว่งเท้าหาเสี้ยน! ปรากฏการณ์แฉโพย‘สายส้ม’เข้มข้น-ล่อนจ้อน
ดูทั้งหมด
แวดวงการเงิน : 1 กรกฎาคม 2568
หุ้นเด่น : 1 กรกฎาคม 2568
วิกฤตกัญชาในพายุการเมือง
ขำกันหลังวันม็อบ
กูไม่ออก?
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'สาวไฟแนนซ์'หายตัวนับเดือน! พบเป็นศพคาซากรถคู่ใจ จมคลองชลประทาน

ชาวเน็ตแห่ห่วง! หลัง'ใหม่ ดาวิกา'เตรียมให้'เต๋อ ฉันทวิชช์'ยกครอบครัวมาอยู่ด้วยกัน

(คลิป) 'อนุทิน' เย้ย! ครม.ใหม่ พท. ปูดแหลกเบื้องหลัง!!

‘ดร.ดิเรกฤทธิ์’กระตุกฝ่ายค้านรักษามาตรฐานตรวจสอบรัฐบาล หยุดเล่นเกม

'ช่อ'ไม่เห็นด้วยศาลสั่ง'อิ๊งค์'หยุดปฏิบัติหน้าที่ แนะนายกฯ ยุบสภา-ลาออก แสดงความรับผิดชอบ

สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568

  • Breaking News
  • ‘ณัฐวุฒิ’ออกโรงค้านคำวินิจฉัยศาลรธน. ซัดแรงอำนาจตุลาการทำลายประชาธิปไตย ‘ณัฐวุฒิ’ออกโรงค้านคำวินิจฉัยศาลรธน. ซัดแรงอำนาจตุลาการทำลายประชาธิปไตย
  • \'ไต้ฝุ่น\'ชวน \'คุณเจมส์-วรปรัชญ์\'เปิดสูตรลับธุรกิจร้อยล้านตอบโจทย์โลกออนไลน์ใน\'ติดลมบน\' 'ไต้ฝุ่น'ชวน 'คุณเจมส์-วรปรัชญ์'เปิดสูตรลับธุรกิจร้อยล้านตอบโจทย์โลกออนไลน์ใน'ติดลมบน'
  • \'ช่อง 7HD\'รวมตัวสายบู๊ 3 สังเวียนดัง \'ONE ลุมพินี 115 - Fairtex Fight มวยมันพันธุ์ EXTREME - มวยไทย 7 สี\' 'ช่อง 7HD'รวมตัวสายบู๊ 3 สังเวียนดัง 'ONE ลุมพินี 115 - Fairtex Fight มวยมันพันธุ์ EXTREME - มวยไทย 7 สี'
  • ‘ศาลรธน.’สั่งเสนอความเห็นใน 15 วัน ปม‘แส จิ้นเจียง’เจ้าของบ่อนกาสิโน ยื้อส่งตัวไปจีน ‘ศาลรธน.’สั่งเสนอความเห็นใน 15 วัน ปม‘แส จิ้นเจียง’เจ้าของบ่อนกาสิโน ยื้อส่งตัวไปจีน
  • \'สาวไฟแนนซ์\'หายตัวนับเดือน! พบเป็นศพคาซากรถคู่ใจ จมคลองชลประทาน 'สาวไฟแนนซ์'หายตัวนับเดือน! พบเป็นศพคาซากรถคู่ใจ จมคลองชลประทาน
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ  กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

27 มิ.ย. 2568

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐  และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

20 มิ.ย. 2568

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

13 มิ.ย. 2568

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

6 มิ.ย. 2568

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

30 พ.ค. 2568

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓  ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓ ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

23 พ.ค. 2568

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (จบ)

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (จบ)

16 พ.ค. 2568

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (2)

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (2)

9 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved