วันอังคาร ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ปรีชา'ทัศน์
ปรีชา'ทัศน์

ปรีชา'ทัศน์

วันศุกร์ ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2563, 02.00 น.
เค้าโครงการเศรษฐกิจ:รัฐสวัสดิการไทย

ดูทั้งหมด

  •  

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการได้จัดเสวนาเรื่อง “รัฐธรรมนูญใหม่สู่รัฐสวัสดิการ : ประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญรัฐสวัสดิการ” เพื่อร่วมแสดงความเห็น ความเป็นไปได้ในการจัดสรรงบประมาณประเทศเพื่อรัฐสวัสดิการ อย่างไรก็ตาม การนำเสนอแนวคิดเรื่องรัฐสวัสดิการในสังคมไทยไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มีมายาวนานแล้ว

ใน “หนังสือ 120 ปี ชาตกาลปรีดี พนมยงค์” รศ.ดร.อิสริยา นิติทัณฑ์ประภาศ บุญญะศิริ ได้เขียนถึง “เค้าโครงการเศรษฐกิจ” ซึ่งถือเป็นแผนแม่บทการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับแรก
ของประเทศไทยที่เสนอแนวคิดรัฐสวัสดิการ ของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (อาจารย์ปรีดี พนมยงค์) รัฐบุรุษอาวุโส ผู้วางแผนเศรษฐกิจไทยคนแรก จึงขอนำบางส่วนที่อาจารย์อิสริยาได้เล่าถึงความเป็นมาแนวคิดรัฐสวัสดิการของท่านอาจารย์ปรีดี ดังนี้


......แนวคิดเรื่องรัฐสวัสดิการ ที่มีการอภิปรายในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นจากการอธิบายเนื้อหาในบทความ “คุณภาพแห่งชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” ของอาจารย์ป๋วย โดยไม่ได้มีการกล่าวถึงเค้าโครงการเศรษฐกิจ ที่อาจารย์ปรีดี เสนอในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ซึ่งถือเป็นแผนแม่บทการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับแรกของประเทศไทยที่เสนอแนวคิดรัฐสวัสดิการและได้เสนอหลักการและร่างกฎหมายว่าด้วยการประกันสวัสดิการทางสังคมอย่างเป็นรูปธรรมการจะทำความเข้าใจเค้าโครงการเศรษฐกิจได้อย่างถ่องแท้ จำป็นต้องเข้าใจบริบทของโลก และการหล่อหลอมแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ของอาจารย์ปรีดี และบริบทของไทย ในช่วงก่อนปี พ.ศ. ๒๔๗๖

บริบทของโลกในช่วงปี ค.ศ. ๑๙๒๙-๑๙๓๒ (พ.ศ. ๒๔๗๒-๒๔๗๕) เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก เศรษฐกิจระบบเสรีนิยมในอังกฤษเริ่มมีปัญหา มีคนว่างงานจำนวนมาก ทำให้เริ่มมีแนวคิดที่รัฐต้องเข้ามาวางแผนเศรษฐกิจแทนที่จะปล่อยให้เป็นไปตามระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมซึ่งเป็นกระแสหลักของโลกเช่นในกลุ่มสังคมนิยม (สหภาพโซเวียต) และกลุ่มฟาร์ซีสต์ (อิตาลี เยอรมนี ญี่ปุ่น) ที่เสนอให้รัฐเข้ามาจัดการเศรษฐกิจและในสมัยนั้นภาพของการที่รัฐจัดการเศรษฐกิจถูกมองเป็นภาพบวก ยังไม่มีใครเห็นผลเสียของการที่รัฐเข้ามาจัดการ ดังนั้น ในสมัยนั้นประเทศทั้งหลายต่างดำเนินนโยบายชาตินิยม พยายามพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจและคุ้มครองการค้า เช่น การตั้งกำแพงภาษี

ในช่วงที่ท่านอาจารย์ปรีดีศึกษาอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส
ในปี พ.ศ. ๒๔๖๓-๒๔๖๙ ได้รับอิทธิพลของนักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส “ชาร์ลส์ จี๊ด” ที่อธิบายแนวคิดภราดรภาพนิยมหรือลัทธิโซลิดาริสม์ (Solidarism) “มนุษยชาติต้องพึ่งพาอาศัยกันตั้งแต่เกิดจนตาย ดังนั้น จึงจะต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมในความลำบากของผู้อื่นด้วย ซึ่งการนี้เป็นมูลฐานแห่งความยุติธรรมของสังคม อย่างไรก็ตาม โซลิดาริสม์แตกต่างไปจากลัทธิสังคมนิยม คือมีการเคารพในกรรมสิทธิ์ของบุคคลและยอมรับให้มีมรดกตกทอดได้ ตลอดจนให้ความอิสระเสรีต่อบุคคลในการใช้จ่าย นอกจากนี้ลัทธิโซลิดาริสม์ยังยอมรับความไม่เสมอภาคในสังคม ให้คนที่อ่อนแอและแข็งแรงรับผิดชอบการดำเนินชีวิตร่วมกันโดยความสมัครใจ ภายใต้ระบบประกันสังคม เพื่อความมั่นคงแห่งสังคม”

นอกจากนี้ “ชาร์ลส์ จี๊ด” ยังเป็นผู้สนับสนุนแนวคิดสหกรณ์ “สหกรณ์สามารถตอบสนองความต้องการของตนด้วยวิธีการตนเอง คือ เป็นผู้ผลิตเอง พ่อค้าเอง นายธนาคารเอง เจ้าหนี้เอง และผู้ใช้แรงงานเอง” โดยมีความมุ่งหมายเพื่อล้มล้างกำไร กล่าวคือ สหกรณ์จะส่งคืนกำไรให้แก่สมาชิกตามที่มีส่วนร่วม และระบบเศรษฐกิจแบบสหกรณ์ยังสามารถดูแลการกระจายรายได้ให้เกิดความยุติธรรมยิ่งกว่าเครื่องมือทางกฎหมาย

สำหรับบริบทของไทยในช่วงก่อนปี ๒๔๗๖ อาชีพหลักของคนไทยคือชาวนา (ประมาณร้อยละ ๘๐ ของประชากรทั้งประเทศ) รองลงมาคือข้าราชการ สินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่ ข้าว (คิดเป็น
ร้อยละ ๖๐-๗๐) ดีบุก ยางพารา และไม้สัก การค้าอยู่ในมือของต่างชาติ โดยเฉพาะพ่อค้าชาวจีน ชาวนาในช่วงนั้นมีความเป็นอยู่ลำบาก จากการค้าข้าวผ่านคนกลาง โอกาสการเป็นเจ้าของที่ดินมีน้อย ชาวนายังเข้าไม่ถึงเทคโนโลยีในการผลิต เสียค่าเช่านา ถูกเก็บภาษีโค กระบือ และภาษีรัชชูปการที่ไม่เป็นธรรมรวมทั้งมีปัญหาชลประทานฝนแล้งและน้ำท่วม ในช่วงนั้นรัฐให้บริษัทเอกชนคือ บริษัทขุดคลองแลคูนาสยามซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มขุนนางร่วมทุนกับต่างชาติ ได้สัมปทานขุดคลองทั่วประเทศแต่การขุดคลองไม่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้บริษัทยังได้สัมปทานขยายที่ดินสองฝั่งคลอง ทำให้ราคาที่ดินเพิ่มสูงขึ้น โอกาสที่ชาวนาจะเป็นเจ้าของที่ดินยิ่งน้อยเข้าไปอีก

จากการที่อาจารย์ปรีดีมีบิดาเป็นชาวนา ได้มีโอกาสสัมผัสและรับรู้สภาพของชาวนาไทยตั้งแต่เยาว์วัย จึงได้รับทราบถึงปัญหาความเดือดร้อนของชาวนาประกอบกับในขณะที่ศึกษาที่ประเทศฝรั่งเศส ได้รับอิทธิพลจาก “ชาร์ลส์ จี๊ด” จึงได้ตกผลึกในความคิดว่า ปัญหาของประเทศไทยในขณะนั้นอยู่ที่เศรษฐกิจราษฎรในพื้นที่ชนบท การที่จะได้มาซึ่งประชาธิปไตยทั้งทางเศรษฐกิจการเมือง และสังคม จึงต้องเริ่มจากการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและความยากจนของชาวชนบท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวนาและจากการที่บริบทในช่วงนั้น ราษฎรอ่อนแอ เนื่องจากมีความเป็นอยู่ลำบากแร้นแค้น ขาดที่ดิน เงินทุนเทคโนโลยี ลำพังชาวนาแต่ละบุคคลแต่ละครอบครัวจึงไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ วิธีการแก้ไขปัญหาจึงต้องสนับสนุนให้ราษฎรที่เป็นชาวนายากจนรวมตัวกันเป็น “สหกรณ์” โดยสมาชิกสหกรณ์จะร่วมกันผลิต จัดการด้านตลาดและร่วมกันบริโภค

อาจารย์ปรีดี จึงได้เสนอเค้าโครงการเศรษฐกิจในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ให้รัฐบาลเป็นผู้จัดการเศรษฐกิจที่อาศัยหลักวิชา แผน และโครงการ โดยแบ่งการเศรษฐกิจออกเป็นสหกรณ์ต่างๆ เพื่อให้ราษฎรมีความสุขสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจตามหลักเอกราชทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นหนึ่งในหลัก ๖ ประการ ซึ่งเขียนไว้ใน “หมวดที่ ๑ ประกาศของคณะราษฎร”ของเค้าโครงการเศรษฐกิจ “จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก” การเสนอเค้าโครงเศรษฐกิจ เป็นการนำแนวคิดที่ดีของลัทธิเศรษฐกิจต่างๆ ทั้งเสรีนิยม และสังคมนิยมเข้ามาปรับปรุงมาเป็นเค้าโครงทางเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ในการอ่านเค้าโครงการเศรษฐกิจจำเป็นต้องเข้าใจบริบทที่อาจารย์ปรีดีขณะเขียนเค้าโครงการเศรษฐกิจมีอายุเพียง ๓๒ ปี และเขียนด้วยความรีบเร่ง เนื่องจากจะต้องรีบร่างโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ เสนอรัฐบาลตามที่ได้แถลงต่อราษฎรไว้ในประกาศของคณะราษฎร โดยมีความมุ่งหมายที่จะให้มีการพิจารณาในหลักวิชา “อะไรดีก็รับไว้ อะไรมีเหตุผลควรปฏิเสธก็เลิกไปได้”
แล้วจึงค่อยมาคิดรายละเอียดในภายหลัง โดยหากมีการรับร่างเค้าโครงในหลักการแล้วจะตั้งคณะกรรมการ นักวิชาการ ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะชาวต่างประเทศมาช่วยกันทำ มาร่วมพิจารณาในรายละเอียดต่อไป การเขียนเค้าโครงด้วยความรีบเร่ง ทำให้อาจารย์ปรีดี ยังไม่ได้ตกผลึกในความคิดในเรื่องบทบาทของรัฐในการจัดการเศรษฐกิจ และไม่ได้มีการพิจารณาถ้อยคำที่ใช้อย่างรอบคอบมีการใช้ถ้อยคำที่รุนแรง หรือมีการใช้ถ้อยคำบางคำไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่แท้จริงนำไปสู่การเข้าใจผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้อยคำที่ “รัฐบาลจะต้องเป็นผู้ประกอบการหรือผู้จัดการเศรษฐกิจเสียเอง” แทนที่จะใช้ถ้อยคำ “รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบดูแลการเศรษฐกิจ”

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าเสียดายที่เค้าโครงการเศรษฐกิจไม่ได้ถูกนำมาพิจารณา เนื่องจากได้มีการประณามกล่าวหาอาจารย์ปรีดีว่าเป็น “คอมมิวนิสต์” และบังคับให้หลวงประดิษฐ์ฯ เดินทางออกนอกประเทศ ต่อมาได้มีการสอบสวนหลวงประดิษฐ์ฯ ว่าเป็นคอมมิวนิสต์หรือไม่ ซึ่งความเห็นของกรรมาธิการเข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้รับรองว่าหลวงประดิษฐ์ฯ ไม่มีมลทินในเรื่องที่ถูกกล่าวหาซึ่งหากพิจารณาเค้าโครงเศรษฐกิจจะเห็นได้ว่าไม่ได้เป็นแนวคิดคอมมิวนิสต์ดังที่ถูกกล่าวหา เนื่องจากไม่มีการริบที่ดินของผู้มั่งมี แต่รัฐยังรับรองกรรมสิทธิ์ของเอกชนที่มีอยู่เดิม และยอมรับกรรมสิทธิ์แห่งการประดิษฐ์คิดค้นของบุคคล ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญของการสร้างนวัตกรรมทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน มีข้อยกเว้นให้เอกชนประกอบการเศรษฐกิจกรณีได้รับสัมปทานจากรัฐบาล และยกเว้นการรับราชการให้กับคนที่แสดงได้ว่า “มีฐานะที่จะเลี้ยงตัวเอง” และครอบครัว…

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ปรีชา สุวรรณทัต

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
22:48 น. ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศ สธ. ให้ยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาควบคุมพิเศษ
22:21 น. 'ปราชญ์ สามสี' วิเคราะห์กำแพงภาษี 36% ทรัมป์ บททดสอบความ'ศิโรราบ'ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจ
22:18 น. 'กินเนสส์ฯ'ประกาศสุดยอดบลูชีสจากสเปน ขึ้นแท่น'ชีสที่แพงที่สุดในโลก'ด้วยราคา1.35ล้าน
22:08 น. (คลิป) เจรจาภาษีอย่าหวังได้อะไรจาก'ทรัมป์' อย่าเสีย 'ฐานทัพเรือพังงา' เป็นพอ
22:05 น. 'สุทิน' จวก 'โฆษกเพื่อไทย' ย้ำรัฐบาล'ชวน หลีกภัย'ไม่เคยปรึกษา'ทักษิณ'
ดูทั้งหมด
อื้อหือ! เพจดังเปิดภาพ 'สีกากอล์ฟ' ย้อนอดีต 10 ปี ไม่แปลกใจทำไมพระหวั่นไหว
วินาที'ในหลวง'ส่งสัญญาณพระหัตถ์ถึง'พระราชินี' ทรงรีบเข้าประคองพระองค์อย่างว่องไว
'สีกากอล์ฟ'ฟาดเรียบ ทั้งเจ้าอาวาส ทั้งคนขับรถ สารภาพถูกชวนมีสัมพันธ์ลึกซึ้ง
‘สม รังสี’แฉเหยื่อกว่า 120,000 คนในกัมพูชา ถูกขังใน 53 ตึก โดนบังคับใช้เป็นทาสมาเฟียจีน
สลดวันพระ! ยิงดับ 2 ศพ คาวัดดัง ย่านเพชรเกษม
ดูทั้งหมด
‘ฮุน เซน’เล่นใหญ่‘ทักษิณขายชาติ’
ซูเปอร์ฮีโร่
สองพ่อลูก
ศึกเขากระโดง ใครจะโดน 157 ? ปรับ ครม. เพื่อชำระแค้นการเมือง
คนไทยส่วนใหญ่เสียอะไร/ได้อะไรจากเจรจาภาษีการค้ากับสหรัฐ
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศ สธ. ให้ยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาควบคุมพิเศษ

'กินเนสส์ฯ'ประกาศสุดยอดบลูชีสจากสเปน ขึ้นแท่น'ชีสที่แพงที่สุดในโลก'ด้วยราคา1.35ล้าน

(คลิป) เจรจาภาษีอย่าหวังได้อะไรจาก'ทรัมป์' อย่าเสีย 'ฐานทัพเรือพังงา' เป็นพอ

(คลิป) 'ฮุนเซน' พร้อมสวนกลับ ขอเวลา 3 ชม. ซัด 'ทักษิณ'

'มหาเธร์'อดีตนายกฯมาเลเซียออกจากรพ.แล้ว โพสต์คลิปเดินปร๋อขึ้นรถยนต์ส่วนตัว

คู่รักสูงวัยถูกหลอกใน‘มาเลเซีย’ เดินทางไกลไปขึ้นกระเช้าที่ไม่มีอยู่จริง-พบแค่คลิปโปรโมทด้วย‘AI’

  • Breaking News
  • ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศ สธ. ให้ยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาควบคุมพิเศษ ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศ สธ. ให้ยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาควบคุมพิเศษ
  • \'ปราชญ์ สามสี\' วิเคราะห์กำแพงภาษี 36% ทรัมป์ บททดสอบความ\'ศิโรราบ\'ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจ 'ปราชญ์ สามสี' วิเคราะห์กำแพงภาษี 36% ทรัมป์ บททดสอบความ'ศิโรราบ'ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจ
  • \'กินเนสส์ฯ\'ประกาศสุดยอดบลูชีสจากสเปน ขึ้นแท่น\'ชีสที่แพงที่สุดในโลก\'ด้วยราคา1.35ล้าน 'กินเนสส์ฯ'ประกาศสุดยอดบลูชีสจากสเปน ขึ้นแท่น'ชีสที่แพงที่สุดในโลก'ด้วยราคา1.35ล้าน
  • (คลิป) เจรจาภาษีอย่าหวังได้อะไรจาก\'ทรัมป์\' อย่าเสีย \'ฐานทัพเรือพังงา\' เป็นพอ (คลิป) เจรจาภาษีอย่าหวังได้อะไรจาก'ทรัมป์' อย่าเสีย 'ฐานทัพเรือพังงา' เป็นพอ
  • \'สุทิน\' จวก \'โฆษกเพื่อไทย\' ย้ำรัฐบาล\'ชวน หลีกภัย\'ไม่เคยปรึกษา\'ทักษิณ\' 'สุทิน' จวก 'โฆษกเพื่อไทย' ย้ำรัฐบาล'ชวน หลีกภัย'ไม่เคยปรึกษา'ทักษิณ'
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายในฐานะเครื่องมือจริยธรรม

กฎหมายในฐานะเครื่องมือจริยธรรม

11 ก.ค. 2568

วันชาติอเมริกาในบางแง่มุม

วันชาติอเมริกาในบางแง่มุม

4 ก.ค. 2568

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ  กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

27 มิ.ย. 2568

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐  และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

20 มิ.ย. 2568

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

13 มิ.ย. 2568

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

6 มิ.ย. 2568

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

30 พ.ค. 2568

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓  ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓ ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

23 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved