สัปดาห์ที่ก่อนได้อธิบาย เรื่องพระราชอำนาจในการตีความกฎหมายมหาชนของพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 ในเรื่องการใช้พระราชอำนาจของพระองค์เองเป็นไปตามพระราชอัธยาศัย นอกจากการใช้พระราชอำนาจในลักษณะดังกล่าวแล้วยังมีการใช้พระราชอำนาจอีกลักษณะหนึ่งคือ การใช้พระราชอำนาจของพระองค์เองแต่มิได้เป็นไปตามลำพังตามพระราชอัธยาศัยพระราชอำนาจในการตีความกฎหมายมหาชนที่ไม่เป็นไปตามอัธยาศัย
พระราชอำนาจในการตีความกฎหมายมหาชนที่ไม่เป็นไปตามอัธยาศัยเป็นการใช้พระราชอำนาจการตีความกฎหมายมหาชนผ่านทาง (คือ การใช้พระราชอำนาจที่มีบุคคลกระทำการแทน) รัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) หรือของคณะรัฐมนตรี (ฝ่ายบริหาร) หรือผ่านทางศาล ภายใต้มาตรา 3 กำหนดไว้ ได้แก่
1.ทรงใช้พระราชอำนาจด้านนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา ดังนี้
1) ทรงแต่งตั้งประธาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธาน รองประธานวุฒิสภา จากสมาชิกแห่งสถาบันนั้นๆ ตามมติของสภามาตรา 116
2) ทรงแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร มาตรา 106
3) ทรงเรียกประชุมรัฐสภา ทรงเปิดและทรงปิดประชุม มาตรา 122 เป็นต้น
2.ทรงใช้พระราชอำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตรี (ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล) ได้แก่
1) ทรงมีอำนาจยุบสภาผู้แทนราษฎรให้มีการเลือกตั้งใหม่ มาตรา 103
2) พระราชอำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี มาตรา 158
3) พระราชอำนาจในการแต่งตั้งหรือถอดถอนรัฐมนตรี มาตรา 117
4) พระราชอำนาจในการตราพระราชกำหนด มาตรา 172-174
5) พระราชอำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกามาตรา 175
6) พระราชอำนาจในการประกาศใช้และยกเลิกกฎอัยการตามลักษณะและวิธีการที่กฎหมายกำหนดมาตรา 176
7) พระราชอำนาจในการประกาศสงครามโดยการเสนอแนะของคณะรัฐมนตรีและต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา มาตรา 177
8) พระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึกและสัญญาอื่นกับนานาประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ มาตรา 178
9) พระราชอำนาจในการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูง
10) การใช้พระราชอำนาจในการรับฎีการ้องทุกข์จากราษฎร ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ
10.1 ฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการออกพระราชกฤษฎีกา และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 179
10.2 ฎีการ้องทุกข์ขอความเป็นธรรม ซึ่งได้แก่ ร้องทุกข์ขอยืมเงิน ร้องทุกข์เรื่องการแบ่งมรดกไม่เป็นธรรม ร้องทุกข์ถูกข้าราชการรังแก ร้องทุกข์เรื่องรักษาพยาบาล ร้องทุกข์เรื่องที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย เป็นต้น มาตรา 5วรรค 2
3.ทรงใช้พระราชอำนาจตีความกฎหมายมหาชนผ่านทางตุลาการ
ประกอบด้วย ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครองและศาลทหาร มาตรา 3 ประกอบมาตรา 188-199
4.ทรงใช้พระราชอำนาจตีความกฎหมายมหาชนแต่งตั้งบุคคลในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่ใช้อำนาจ กึ่งบริหาร กึ่งนิติบัญญัติและกึ่งตุลาการผ่านทางวุฒิสภา
ได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา 222-227ผู้ตรวจการแผ่นดิน มาตรา 228-231 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มาตรา 232-237 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน มาตรา 238-245 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มาตรา 246-247 เป็นต้นสรุป นี่คือ พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ในการตีความกฎหมายมหาชน ดังนั้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ที่จะเกิดขึ้นนี้ไม่ว่าจะแก้ไข ในหมวดไหนแม้ แต่ยกเว้นห้ามแก้ไขในหมวด 1 หมวด 2 ก็ตาม ก็กระทบกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น
รองศาสตราจารย์สิทธิกร ศักดิ์แสง
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี