วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ปรีชา'ทัศน์
ปรีชา'ทัศน์

ปรีชา'ทัศน์

วันศุกร์ ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2568, 02.00 น.
ความคิดในการใช้กฎหมาย

ดูทั้งหมด

  •  

เมื่อกล่าวถึงเรื่อง “ความคิดในการใช้กฎหมาย” เราคงไม่ค่อยคุ้นกับคำกล่าวนี้นัก และเมื่อยิ่งกล่าวไปถึงคำว่า “การเปลี่ยนแปลงความคิดในการใช้กฎหมายให้ประสานกับสภาพของสังคมที่เปลี่ยนแปลง” ก็อาจทำให้เกิดข้อสงสัยเพิ่มขึ้นว่า สองคำดังกล่าวนี้มีลักษณะที่เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร

ในเรื่องความคิดในทางกฎหมาย ท่านศาสตราจารย์ หยุด แสงอุทัย เป็นอาจารย์ท่านแรกที่ได้นำเรื่องนี้มาเขียนไว้ในคำบรรยายความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไปของท่าน โดยได้กล่าวถึงความคิดในทางกฎหมายไว้ตอนหนึ่งว่า...


“แต่เดิมเราเคยคิดกันว่า ถ้าเราทราบหลักเกณฑ์เรื่องการตีความในกฎหมายและการอุดช่องว่างแห่งกฎหมายแล้ว เราก็ถือว่า เราสามารถใช้กฎหมายได้ถูกต้อง แต่ความจริงกลับปรากฎว่า นักกฎหมายที่ศึกษากฎหมายมาจากสำนักกฎหมายเดียวกัน มีหลักเกณฑ์แห่งการตีความในกฎหมาย และการอุดช่องว่างแห่งกฎหมายอย่างเดียวกัน แต่ก็หาได้ใช้กฎหมายในรูปลักษณะเดียวกันไม่ กล่าวคือ ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงอันเดียวกันว่าส่งผลในกฎหมายแตกต่างกัน ทั้งนี้เพราะคนหนึ่งเข้าใจกฎหมายไปอย่างหนึ่ง อีกคนหนึ่งเข้าใจกฎหมายไปอีกอย่างหนึ่ง ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเหตุว่า บุคคลต่างๆ เหล่านั้น โดยรู้สึกตัวก็ดี หรือไม่รู้สึกตัวก็ดี มีความคิดในทางกฎหมายไม่เหมือนกัน ฉะนั้นจึงเป็นข้อสำคัญของนักศึกษาที่จะทราบว่าตนเองสมควรที่จะมีความคิดในทางกฎหมายอย่างไร จึงจะเป็นความคิดที่ถูกต้อง และจะได้นำความคิดในทางกฎหมายที่ถูกต้องมาใช้เพื่อทำให้เกิดความยุติธรรมแก่คู่กรณีซึ่งความยุติธรรมนี้ควรเป็นยอดปรารถนาของนักกฎหมายทุกคนที่จะก่อให้เกิดขึ้น”

ความคิดในการใช้กฎหมาย แสดงความหมายอยู่ในตัวเองแล้วว่าจะต้องมีการ “คิด” ก่อน “ใช้” ตรงกับคำพูดที่เราพูดกันอยู่เสมอว่า “ต้องมีความรู้สึกนึกคิด” ฉะนั้นก่อนที่จะมีการใช้กฎหมายซึ่งได้แก่ การปรับตัวบทกฎหมายให้เข้ากับมูลคดีหรือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เราก็จะต้องเริ่มต้นจากการคิดที่จะใช้กฎหมายก่อน ฉะนั้นถ้าได้เริ่มจากการคิดที่ถูกต้อง ก็จะส่งผลไปถึงการใช้ที่ถูกต้องด้วย

การใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริง จึงมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญคือ เป็นการคิดจากเหตุมาหาผลซึ่งจัดเป็นลำดับขั้นตอนได้ดังนี้

๑.เป็นเรื่องอะไร

๒.มีหลักเกณฑ์ของกฎหมายสำหรับเรื่องนั้นอย่างไร

๓.ข้อเท็จจริงเข้าหลักเกณฑ์ของกฎหมายนั้นฯ
หรือไม่

๔.ถ้าข้อเท็จจริงเข้าหลักเกณฑ์ของกฎหมายแล้ว จะได้ผลอย่างไร

เมื่อเราได้ทราบว่า การที่จะใช้กฎหมายได้อย่างถูกต้องนั้นได้แก่ วิธีคิด จากเหตุมาหาผล ตามขั้นตอนดังกล่าวแล้ว และแต่ละขั้นตอนนั้น เรายังจะต้องมีความคิดในทางกฎหมายที่ถูกต้องอีกด้วย จึงจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องและมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ด้วย อันตรงกับสาขาวิชาหนึ่งที่เรียกว่า “วิธีใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์เพื่อสอบสวนหาความจริง” หรือ “วิธีวิทยา” (Methodology) อันเป็นสาขาหนึ่งของวิชาตรรกวิทยา (Logic) นั้นเอง

เหตุที่จำเป็นต้องศึกษาถึงเรื่องความคิดในการใช้กฎหมายก็เพราะว่า ระบบกฎหมายที่ใช้อยู่ในโลกนี้มีอยู่หลายระบบ ที่ไม่เหมือนกันแต่ละระบบก็มีความคิดที่แตกต่างกัน และแม้แต่จะเป็นกฎหมายของประเทศเดียวกันก็ต้องมีความคิดในทางกฎหมายแตกต่างกันตามประเภทของกฎหมายที่แตกต่างกันอีกด้วย เช่น ความคิดในการใช้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก็ต้องมีความคิดแตกต่างกับการใช้ประมวลกฎหมายอาญา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย ผู้ใช้กฎหมายจะต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ ในเรื่องการใช้กฎหมายให้ตรงกับความคิดของระบบกฎหมายที่ใช้อยู่ในประเทศไทย กล่าวคือ ประเทศไทยใช้ระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law) อันแตกต่างกับระบบ Common Law เมื่อประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้ประมวลกฎหมายแล้ว ความสำคัญจึงอยู่ที่ตัวบท ถ้อยคำต่างๆ ที่ใช้อยู่ในตัวบทนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ฉะนั้น องค์ประกอบของกฎหมายก็ดี หลักเกณฑ์ก็ดี จะต้องเกิดโดยตรงจากตัวบท ผู้ใช้กฎหมายจะคิดเพิ่มเติมหรือตัดทอนตามอำเภอใจไม่ได้

แต่ในระบบ Common Law ผู้ใช้กฎหมายอาจสามารถเปลี่ยนแปลงความคิดปรับปรุงกฎหมายจารีตประเพณีให้สอดคล้องเหมาะสมกับเหตุการณ์และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ได้อยู่เสมอ ฉะนั้น ความคิดของนักกฎหมาย Common Law จึงมีการเปลี่ยนแปลงความคิดไปในทางวางหลักปฏิบัติมากกว่าการวางหลักเกณฑ์

และสามารถใช้กฎหมายให้เหมาะสมกับชีวิตความเป็นอยู่ได้ตามธรรมชาติที่เป็นจริงได้ง่ายกว่าระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร

ฉะนั้น การเปลี่ยนแปลงความคิดในการใช้กฎหมายให้ประสานกับสภาพของสังคมที่เปลี่ยนแปลง จึงเห็นได้ว่า ในระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law) ย่อมเปลี่ยนแปลงความคิดได้ยากกว่าระบบกฎหมายจารีตประเพณี หรือ ระบบ Common Law ของอังกฤษ

แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าประสงค์จะใช้กฎหมายให้ประสานกับสภาพของสังคมที่เปลี่ยนแปลง ผู้ใช้กฎหมาย ในระบบประมวลกฎหมายหรือกฎหมายลายลักษณ์อักษรก็อาจสามารถที่จะกระทำได้ การพิจารณาปัญหาข้อนี้ขอให้เราย้อนมาพิจารณาวิเคราะห์ศัพท์พื้นๆ และง่ายๆ ของกฎหมายที่ว่า “กฎหมาย คือ หลักข้อบังคับความประพฤติที่บัญญัติขึ้น และบังคับโดยผู้ทรงอำนาจอธิปไตย” จากวิเคราะห์ศัพท์นี้ แสดงให้เห็นว่าทฤษฎีนี้มองกฎหมายในแง่แบบพิธีเท่านั้น มิได้ยอมรับหรือการสำรวจตรวจสอบถึงเนื้อหาของข้อเสนอต่างๆ ทางกฎหมาย กฎหมายจึงเปรียบเสมือนยานพาหนะที่สามารถบรรทุกสินค้าใดๆ ก็ได้ กฎหมายที่มีลักษณะกดขี่และไม่ยุติธรรมก็ใช้บังคับได้สมบูรณ์เช่นเดียวกับกฎหมายที่ดีที่สุด

แต่ถ้าเราให้คำวิเคราะห์ศัพท์ของกฎหมายขึ้นใหม่ว่า “กฎหมาย คือ ข้อจำกัดขอบเขตแห่งผลประโยชน์ต่างๆ” ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ภาระของกฎหมายที่รัฐรับรู้บัญญัติขึ้นจึงอยู่ที่การแบ่งสรรปันส่วนขอบเขตของผลประโยชน์ และธำรงไว้ซึ่งผลประโยชน์นั้นๆ โดยการใช้รัฐเป็นตุลาการคอยระวังดูแลเรื่องผลประโยชน์ที่ขัดกันต่างๆ ดังนั้น กฎหมายที่ดีจะต้องแบกภาระทั้งหลายที่จะมีอิทธิพลต่อผลประโยชน์ต่างๆ ในชีวิตของสังคม โดยมอบหมายให้รัฐหยิบยกเอาผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาพิจารณาเอาใจใส่เป็นพิเศษ เช่น การสาธารณสุข การศึกษา ความเดือดร้อนของเกษตรกร และชาวนา เป็นต้น

สังคมใดที่มีความเหลื่อมล้ำหรือมีช่องว่างในทางเศรษฐกิจที่ห่างกันมากระหว่างความ “มี” กับ “จน” ถ้าจะนำกฎหมายมาใช้ให้ประสานกับสภาพของสังคมดังกล่าว ถ้าเราใช้กฎหมายในลักษณะที่เท่าเทียมกันต่อบุคคลทุกคน ตามลักษณะของกฎหมายทั่วๆ ไปที่เรายึดถือปฏิบัติอยู่แล้ว ก็ไม่อาจที่จะแก้ปัญหาช่องว่างดังกล่าวได้ การใช้กฎหมายทางสังคมบางลักษณะ เพื่อมีจุดมุ่งหมายที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแนวความคิดในการ “สร้าง” และใช้กฎหมายอย่างไม่เท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน หรืออย่างน้อยก็เกือบจะเท่าเทียมกัน กฎหมายในลักษณะนี้ได้แก่ กฎหมายที่คุ้มครองสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของคนกลุ่มต่างๆ ที่ไม่สามารถปรับตัวในการดำรงชีวิต อันเนื่องมาจากสาเหตุต่างๆ เช่น การมีรายได้ต่ำเป็นผู้ใช้แรงงาน เป็นเกษตรกรหรือชาวนาที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง หรือผู้ที่มีอายุมาก เป็นต้น

สำหรับผู้มีส่วนใช้กฎหมาย ไม่ว่าจะอยู่ในสถาบันใดก็จะต้องเปลี่ยนแปลงความคิดและยอมรับความคิดใหม่ๆ เข้ามาประสานกับการใช้กฎหมายในสภาพของสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลง โดยไม่ใช่กฎหมายในลักษณะที่แข็งกระด้าง หรือเคร่งครัดตามตัวบทจนเกินไป โดยไม่คำนึงถึงลักษณะอันเป็นส่วนรวมอื่นๆ ที่มีอยู่ในสังคมด้วย

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ปรีชา สุวรรณทัต

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
08:45 น. ด่วน!!! โปรดเกล้าฯ'ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2' 'นายกฯ'ควบ'รมว.วัฒนธรรม'
08:33 น. รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว
08:27 น. 'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย
08:01 น. ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่
07:56 น. หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า
ดูทั้งหมด
วอน'ญี่ปุ่น'ช่วยหย่าศึก! 'ฮุน เซน'ขอร้องให้ช่วยพูดกับไทย จี้ให้ศาลโลกช่วยตัดสินปมพื้นที่พิพาท
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
'ลุงเตีย'ลำบากใจ!ร่วม'ฮุนเซน'ตรวจชายแดนท่ามกลางสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาตึงเครียด
'ปานเทพ' พอใจภาพรวมชุมนุม 28 มิ.ย. เผยยอดเงินหนุน 'มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน' 24 ล้านแล้ว
ดูทั้งหมด
แวดวงการเงิน : 1 กรกฎาคม 2568
หุ้นเด่น : 1 กรกฎาคม 2568
วิกฤตกัญชาในพายุการเมือง
ขำกันหลังวันม็อบ
กูไม่ออก?
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย

'ไพศาล'แทงสวน! หาก'อิ๊งค์'หยุดปฏิบัติหน้าที่'นั่ง'รมว.วธ.'ได้

หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า

ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด

‘ชูวิทย์’เลคเชอร์‘เรื่องตลก’พรรคร่วมฯ เหน็บจุกๆทุกครั้ง‘เพื่อไทย’เป็นรัฐบาล ต้องไล่ถึงจะลง

'หมอสุรพล'ชี้ทางออก!!! 'ถ้าไม่เปลี่ยนวัฒนธรรมพลเมืองวันนี้ ประเทศไทยจะไม่มีวันเปลี่ยน'

  • Breaking News
  • ด่วน!!! โปรดเกล้าฯ\'ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2\' \'นายกฯ\'ควบ\'รมว.วัฒนธรรม\' ด่วน!!! โปรดเกล้าฯ'ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2' 'นายกฯ'ควบ'รมว.วัฒนธรรม'
  • รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว
  • \'ปากีสถาน\'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย 'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย
  • ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่ ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่
  • หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ  กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

กฎหมายงบประมาณรายจ่ายอาจตกเป็นโมฆะ กรณีศึกษาการแปรญัตติงบประมาณปี ๒๕๖๕

27 มิ.ย. 2568

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐  และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

ความไม่ชัดเจนในมาตรา ๑๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ และกรณีศึกษาการกระทำฝ่าฝืนในมาตรานี้

20 มิ.ย. 2568

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

รัฐบาลกลางกับการอุดมศึกษาสหรัฐ

13 มิ.ย. 2568

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ กับเมืองไทย

6 มิ.ย. 2568

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

นักกฎหมายไม่มีคุณธรรม...เลวยิ่งกว่ามหาโจร

30 พ.ค. 2568

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓  ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

การยกเลิกเหตุปัจจัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓ ที่ให้พระภิกษุมีทรัพย์สินได้เพื่อให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่ได้สวดปาติโมกข์

23 พ.ค. 2568

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (จบ)

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (จบ)

16 พ.ค. 2568

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (2)

รัฐบาลกับการกู้เงิน : จากอดีตสู่ปัจจุบัน (2)

9 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved