วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / ที่นี่แนวหน้า
ที่นี่แนวหน้า

ที่นี่แนวหน้า

วิภาวดี หลักสี่
วันเสาร์ ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2564, 02.00 น.
หยุดบริโภคสัตว์น้ำวัยอ่อน รักษาทรัพยากรทะเลให้ยั่งยืน

ดูทั้งหมด

  •  

“สัตว์น้ำ” เป็นหนึ่งในแหล่งอาหารที่สำคัญทั้งของไทยและโลก แต่หนึ่งในปัญหาสำคัญคือ “การจับและบริโภคสัตว์น้ำวัยอ่อน” ซึ่งที่ผ่านมามีการรณรงค์กันอย่าง
ต่อเนื่องว่า “อย่าทำ” เพราะเป็นการทำลายความยั่งยืนของทรัพยากร รวมถึงเมื่อเร็วๆ นี้ที่มีเสวนา (ออนไลน์) เรื่อง “ปลาเล็กๆ เราไม่...ปลาใหญ่ๆ เรากิน : ชาวประมง x วรรณสิงห์” โดยมีพิธีกรหนุ่มสายลุยอย่าง วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล รับหน้าที่ผู้ดำเนินรายการ

ธันวา เทศแย้ม ชาวประมงรุ่นใหม่ เล่าว่า ออกเรือทำประมงตั้งแต่อายุ 12 ปี ส่วนใหญ่ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยจับได้อย่างน้อย 300 กิโลกรัมขึ้นไป แต่ระยะหลังๆ จำนวนปลาทูเริ่มน้อยลงเป็นอย่างมาก โดยการทำประมงนั้นสามารถแบ่งออกได้ 2 รูปแบบ คือ 1.การจับแบบแยกประเภท ซึ่งจะกำหนดไว้แล้วว่าจะจับสัตว์น้ำชนิดไหน ก็นำเครื่องมือที่จับสัตว์น้ำชนิดนั้นมาใช้ เช่น จับปูม้า ก็นำอวนจับปูม้ามาใช้ หรือจับกุ้ง ก็นำอวนจับกุ้งมาใช้ ซึ่งการจับแบบนี้จะนำไปสู่ความยั่งยืนกับท้องทะเล


2.การจับแบบเหมารวม คือการสร้างเครื่องมือการจับเพียงชิ้นเดียว แต่เป็นการทำตาอวนให้ถี่ ที่เห็นได้ชัดเจนคือ “อวนลากคู่” ซึ่งเป็นการลากอวนจากกลางน้ำถึงหน้าดิน โดยสัตว์ที่จะจับได้มักได้เป็นเต่า ปลาตัวเล็ก เป็นต้น ซึ่งเครื่องมือชนิดนี้ไม่สามารถเลือกจับได้ จึงทำให้ทรัพยากรของปลาน้อยลง การทำประมงแบบหลังนี้เองนำมาสู่การผลักดันหัวข้อรณรงค์ในแคมเปญ “ปลาเล็กๆ เราไม่..ปลาใหญ่ๆ เรากิน” หวังให้ทุกคนไม่บริโภคลูกสัตว์น้ำ

“อยากให้ทะเลของไทยมีปลาให้จับ จะได้สืบสานอาชีพประมงต่อไป และไม่ต้องนำเข้าปลาจากประเทศเพื่อนบ้าน การจับสัตว์น้ำวัยอ่อนเปรียบเสมือนเป็นการตัดวงจร โดยในประเทศไทยมีฤดูห้ามการจับปลา ซึ่งเป็นฤดูที่ปลาวางไข่ แต่ปัญหาก็ยังอยู่เพราะปลาไม่มีโอกาสได้เติบโตเพราะถูกจับมาก่อนวัย แคมเปญดังกล่าวจะเน้นกลุ่มซูเปอร์มาร์เก็ต เนื่องจากมีการกะจายสินค้าไปทั่วประเทศ ซึ่งจะเป็นการสื่อสารให้ผู้บริโภคได้รับรู้มากที่สุด” ธันวา กล่าว

ขณะที่ชาวประมงอีกราย จิรศักดิ์ มีฤทธิ์จาก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีประสบการณ์ในท้องทะเลมานานถึง 36 ปี ตั้งข้อสังเกตเรื่อง “การทำประมงโดยใช้เครื่องปั่นไฟ” ที่ผ่านมามีข้อห้ามทำประมงในเวลากลางคืน เนื่องจากปลาจะชอบแสงไฟ ซึ่งรวมถึงลูกปลาที่ยังไม่โตเต็มวัยด้วย แต่ก็พบว่ามีการใช้วิธีเปิดไฟแช่ทิ้งไว้โดยเมื่อถึงเวลาเช้าก็จับปลาได้โดยไม่ผิดกฎหมาย นอกจากนี้ ยังมีเครื่องมือที่เรียกว่า “อวนครอบช้อนยก”ซึ่งกฎหมายไม่ได้ห้ามใช้

“ไม่ค่อยมีชาวประมงให้ความร่วมมือเท่าที่ควร เพราะทุกอย่างมีมูลค่า เช่น ถ้าหาปลาไม่ได้ก็ได้ค่าน้ำมันในการออกเรือจากนายทุน ซึ่งการแก้ปัญหาจะต้องควบคู่ไปทั้ง 2 อย่าง คือ 1.ข้อกฎหมาย จากบทลงโทษที่แรงขึ้นส่งผลให้ทำผิดน้อยลง และ 2.การรณรงค์ ซึ่งเป็นการขอความร่วมมือจากซูเปอร์มาร์เก็ตและผู้บริโภค ซึ่งทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกัน โดยสังเกตได้จากอาหารทะเลที่แพงขึ้น เพราะสัตว์ทะเลหายาก ถ้าหากอยากให้อาหารทะเลถูกลง ทุกคนต้องช่วยกันไม่ซื้อ ไม่กินไม่ขายลูกปลา ถือได้ว่ามีผลกะทบกับทุกคนในประเทศถ้าปลาหมดทะเล” จิรศักดิ์ ระบุ

ด้าน วิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย กล่าวว่า การนับว่าอะไรคือสัตว์น้ำวัยอ่อนจะนับการที่วิธีการสืบพันธุ์ หรือขยายพันธุ์ไม่ได้ ซึ่งจะมีวัยอ่อนหลายระดับ เช่น ระดับทารก ระดับวัยรุ่น ระดับก่อนแต่งงาน เป็นต้น ตัวอย่างเช่น “ปลากะตัก”จะมีหลายชื่อเรียกในแต่ละท้องถิ่น แต่เป็นสายพันธุ์เดียวกัน โดยขนาดทารกมักเรียกว่า “ปลาข้าวสาร” ซึ่งเป็นตัวอ่อนของปลากะตัก พอเติบโตขึ้นมาจะเรียกว่า “ปลาสายไหม” ซึ่งจะมีความยาวลำตัวยืดขึ้น แต่ยังไม่โตเต็มที่ พอโตเต็มวัยแล้วจึงจะเรียกว่าปลากะตัก

“ข้อมูลการจับปลาในไทย พบว่าปลาที่ไทยจับได้มากที่สุดในปัจจุบันคือปลากะตัก โดยจับสัตว์น้ำประมาณ 1.4 ล้านตันต่อปี แบ่งเป็นกลุ่มปลา 1 ล้านตัน
ย่อยออกเป็นปลาเป็ด 3 แสนตัน และอีก 7 แสนตันเป็นกลุ่มปลาที่บริโภค ซึ่งใน 7 แสนตันจะมีปลากะตักอยู่ประมาณ 1.4 แสนตัน โดยการจับในแต่ละครั้งจะมีปลาวัยอ่อนในนั้นด้วย เช่น ลูกปลาทู ลูกปลาอินทรีลูกปลาสาบ รวมไปถึงปลาสายไหมและปลาข้าวสารด้วย แต่เวลารายงานผลการจับปลาจะรวมกลุ่มเป็นปลากะตักทั้งหมด เพราะจับโดยเรือจับปลากะตัก”วิโชคศักดิ์ กล่าว

ปิดท้ายด้วยมุมมองนักวิชาการ เพชร มโนปวิตร นักวิทยาศาสตร์ด้านการอนุรักษ์ และผู้ร่วมก่อตั้งเพจ Rereef ให้ความเห็นว่า เมื่อพูดถึงสัตว์น้ำวัยอ่อน หรือสัตว์น้ำที่ไม่ได้ขนาด ในแง่ของการจัดการประมงคือการสูญเสีย และเป็นเครื่องมือแรกๆ ในการที่จะทำอย่างไรให้การประมงเกิดความยั่งยืน นั่นคือต้องมีเรื่องของการควบคุมเรื่องของขนาด ตามจริงหลายๆประเทศออกเป็นกฎหมายกันมานานแล้ว ซึ่งประเทศไทยก็มีกฎหมายที่ควบคุมสัตว์น้ำวัยอ่อนเช่นกัน แต่ยังไม่มีประกาศ
จากรัฐฯขึ้นมารองรับ

“เมื่อมองในมุมทรัพยากรธรรมชาติ ปลามีหน้าที่เหมือนสัตว์ป่าบนบก ฉะนั้นทะเลที่จะอุดมสมบูรณ์ได้จะต้องมีความหลากหลาย แต่สิ่งที่ทั่วโลกเผชิญปัญหา คือ การจับสัตว์น้ำที่มากเกินไป ปลาที่ทำหน้าที่ปรับสมดุลในท้องทะเลจึงถูกใช้ประโยชน์ ยิ่งชนิดไหนเป็นที่ต้องการยิ่งถูกจับเยอะขึ้น จากข้อมูลที่มีพบว่าปลาขนาดใหญ่
ทั่วโลก เมื่อเทียบกับ 50-60 ปีที่แล้ว มีจำนวนลดลงมากถึงร้อยละ 90

จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้มีการจับปลาที่ไม่เคยบริโภคมาก่อน เรียกได้ว่าเป็นยุทธศาสตร์ของตลาดอาหารทะเล ซึ่งจะพยายามหาสิ่งที่ผู้บริโภคไม่คุ้นชิน โดยการเปลี่ยนชนิดของปลา เปลี่ยนชื่อของปลา หรือการจับสัตว์วัยอ่อนเข้ามาสำแดงเป็นอาหารทะเลชนิดใหม่สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นปรากฏการณ์ที่ว่า ปลาถูกจับมากเกินไป จะต้องไปจับปลาชนิดอื่นเข้ามาแทน”นักวิชาการผู้นี้ อธิบาย

เพชร ยกตัวอย่าง เมื่อ 5-6 ปีก่อน ซึ่งมีกะแสของการบริโภคปลานกแก้วเกิดขึ้น ปลาชนิดนี้ในไทยไม่ค่อยบริโภคกันเท่าไร แต่มีความพยายามที่จะหาตลาดในซูเปอร์มาร์เก็ต ส่วนนักวิจัยก็เร่งแก้ปัญหาปะการังฟอกขาว เนื่องจากปลานกแก้วมีความสำคัญในการควบคุมไม่ให้สาหร่ายมาปกคลุมปะการัง การรณรงค์จึงทำให้คนเห็นภาพมากยิ่งขึ้น หากจะอนุรักษ์ระบบนิเวศทางทะเลจะต้องมีการจัดการประมงให้ยั่งยืน!!!

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
16:53 น. ยกระดับ!‘รวมพลังแผ่นดิน’นัดชุมนุมใหญ่กลางเดือนส.ค. ฉะ‘พท.’เกลียดแต่นอนกอดเผด็จการ
16:39 น. ‘ณัฐวุฒิ’ออกโรงค้านคำวินิจฉัยศาลรธน. ซัดแรงอำนาจตุลาการทำลายประชาธิปไตย
16:32 น. 'ไต้ฝุ่น'ชวน 'คุณเจมส์-วรปรัชญ์'เปิดสูตรลับธุรกิจร้อยล้านตอบโจทย์โลกออนไลน์ใน'ติดลมบน'
16:30 น. 'ช่อง 7HD'รวมตัวสายบู๊ 3 สังเวียนดัง 'ONE ลุมพินี 115 - Fairtex Fight มวยมันพันธุ์ EXTREME - มวยไทย 7 สี'
16:26 น. ‘ศาลรธน.’สั่งเสนอความเห็นใน 15 วัน ปม‘แส จิ้นเจียง’เจ้าของบ่อนกาสิโน ยื้อส่งตัวไปจีน
ดูทั้งหมด
วอน'ญี่ปุ่น'ช่วยหย่าศึก! 'ฮุน เซน'ขอร้องให้ช่วยพูดกับไทย จี้ให้ศาลโลกช่วยตัดสินปมพื้นที่พิพาท
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
'ลุงเตีย'ลำบากใจ!ร่วม'ฮุนเซน'ตรวจชายแดนท่ามกลางสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาตึงเครียด
แกว่งเท้าหาเสี้ยน! ปรากฏการณ์แฉโพย‘สายส้ม’เข้มข้น-ล่อนจ้อน
ดูทั้งหมด
แวดวงการเงิน : 1 กรกฎาคม 2568
หุ้นเด่น : 1 กรกฎาคม 2568
วิกฤตกัญชาในพายุการเมือง
ขำกันหลังวันม็อบ
กูไม่ออก?
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'สาวไฟแนนซ์'หายตัวนับเดือน! พบเป็นศพคาซากรถคู่ใจ จมคลองชลประทาน

ชาวเน็ตแห่ห่วง! หลัง'ใหม่ ดาวิกา'เตรียมให้'เต๋อ ฉันทวิชช์'ยกครอบครัวมาอยู่ด้วยกัน

(คลิป) 'อนุทิน' เย้ย! ครม.ใหม่ พท. ปูดแหลกเบื้องหลัง!!

‘ดร.ดิเรกฤทธิ์’กระตุกฝ่ายค้านรักษามาตรฐานตรวจสอบรัฐบาล หยุดเล่นเกม

'ช่อ'ไม่เห็นด้วยศาลสั่ง'อิ๊งค์'หยุดปฏิบัติหน้าที่ แนะนายกฯ ยุบสภา-ลาออก แสดงความรับผิดชอบ

สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568

  • Breaking News
  • ยกระดับ!‘รวมพลังแผ่นดิน’นัดชุมนุมใหญ่กลางเดือนส.ค. ฉะ‘พท.’เกลียดแต่นอนกอดเผด็จการ ยกระดับ!‘รวมพลังแผ่นดิน’นัดชุมนุมใหญ่กลางเดือนส.ค. ฉะ‘พท.’เกลียดแต่นอนกอดเผด็จการ
  • ‘ณัฐวุฒิ’ออกโรงค้านคำวินิจฉัยศาลรธน. ซัดแรงอำนาจตุลาการทำลายประชาธิปไตย ‘ณัฐวุฒิ’ออกโรงค้านคำวินิจฉัยศาลรธน. ซัดแรงอำนาจตุลาการทำลายประชาธิปไตย
  • \'ไต้ฝุ่น\'ชวน \'คุณเจมส์-วรปรัชญ์\'เปิดสูตรลับธุรกิจร้อยล้านตอบโจทย์โลกออนไลน์ใน\'ติดลมบน\' 'ไต้ฝุ่น'ชวน 'คุณเจมส์-วรปรัชญ์'เปิดสูตรลับธุรกิจร้อยล้านตอบโจทย์โลกออนไลน์ใน'ติดลมบน'
  • \'ช่อง 7HD\'รวมตัวสายบู๊ 3 สังเวียนดัง \'ONE ลุมพินี 115 - Fairtex Fight มวยมันพันธุ์ EXTREME - มวยไทย 7 สี\' 'ช่อง 7HD'รวมตัวสายบู๊ 3 สังเวียนดัง 'ONE ลุมพินี 115 - Fairtex Fight มวยมันพันธุ์ EXTREME - มวยไทย 7 สี'
  • ‘ศาลรธน.’สั่งเสนอความเห็นใน 15 วัน ปม‘แส จิ้นเจียง’เจ้าของบ่อนกาสิโน ยื้อส่งตัวไปจีน ‘ศาลรธน.’สั่งเสนอความเห็นใน 15 วัน ปม‘แส จิ้นเจียง’เจ้าของบ่อนกาสิโน ยื้อส่งตัวไปจีน
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

พิพาท‘ไทย-กัมพูชา’ ในมุมกลไกระหว่างประเทศ

28 มิ.ย. 2568

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

ครูถูกพรากเวลาสอน แถมกลายเป็นอาชีพเสี่ยง

21 มิ.ย. 2568

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

‘Caregiver’ขาดแคลน ‘สูงวัย’ยอดพุ่งใครดูแล?

14 มิ.ย. 2568

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

‘เข้าใจวิธีคิดผู้เห็นต่าง’ ทักษะยุคสังคมแบ่งพวก

7 มิ.ย. 2568

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

‘ภาคีอาสา’ดัน‘เชียงราย’ เดินหน้าสู่เมืองแห่งความสุข

31 พ.ค. 2568

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

ถ่ายโอน‘รพ.สต.’สู่‘อบจ.’ ต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ

24 พ.ค. 2568

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

‘อว.’เปิดโครงการพัฒนาคน ทักษะสูงรองรับ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’

17 พ.ค. 2568

เสริมศักยภาพวัยเก๋า ปรับตัวรับยุคดิจิทัล

เสริมศักยภาพวัยเก๋า ปรับตัวรับยุคดิจิทัล

10 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved