วันอังคาร ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / กวนน้ำให้ใส
กวนน้ำให้ใส

กวนน้ำให้ใส

สารส้ม
วันศุกร์ ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2564, 02.00 น.
ควรปฏิรูปการจัดการทรัพย์สินพระสงฆ์ (จบ)

ดูทั้งหมด

  •  

หากเราเริ่มต้นที่หลักการพื้นฐานของการบวชในพระพุทธศาสนา

ต้องยอมรับว่า การบวช ก็เพื่อสละซึ่งกิเลส


มิใช่บวชเพื่อกอบโกย สั่งสมเงินทอง หาทรัพย์สินเข้าพกเข้าห่อ เพื่อจะผ่องถ่ายเงินจากศรัทธาญาติโยมออกไปแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนอย่างแน่นอน

ดังนั้น การเปิดช่องให้พระสงฆ์สามารถโยกย้ายถ่ายโอนทรัพย์สินออกไปให้ใคร หรือเอาติดตัวออกไปเมื่อลาสิกขา จึงเป็น “ข้อยกเว้น” มิใช่หลักการที่พึงเป็นตั้งแต่ต้น

กฎหมายบัญญัติเรื่องนี้ไว้ว่า “ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นแต่พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่ายไปในระหว่างมีชีวิตหรือโดยพินัยกรรม” (แพ่ง มาตรา 1623)

หากมีเจตนาให้ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างการบวชเป็นสมบัติส่วนตัวของพระ กฎหมายย่อมเขียนไว้เป็นหลักในทำนองว่า ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของพระภิกษุรูปนั้น..

ถ้าเขียนไว้แบบนี้ ก็ชัดเจนว่าเป็นทรัพย์สมบัติส่วนตัวโดยแท้ ลาสิกขาหรือไม่ ก็เป็นกรรมสิทธิ์เฉพาะตน

แต่ในความเป็นจริง กฎหมายก็ไม่ได้เขียนไว้เช่นนั้น

1.  ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้วิเคราะห์ เกี่ยวกับทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างบวชไว้

“มีข้อที่สังเกตได้ในเบื้องต้นว่าประมวลแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓ไม่เกี่ยวกับสมบัติของ วัด วัดเป็นนิติบุคคล...จึงถือสิทธิและมีสิทธิในทรัพย์สินได้กรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1623 เกี่ยวเป็นเรื่องทรัพย์สินของพระภิกษุซึ่งถึงแก่มรณภาพ กฎหมายให้ทรัพย์สินของท่านที่ได้มาระหว่างอยู่ในสมณเพศตกเป็นสมบัติของวัดเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก เหตุผลในทางนิตินัยและในทางศาสนาอยู่ที่ว่า พระภิกษุอยู่ในสถาบันอนาถาเป็นผู้ไม่หามาหรือสะสมไว้ซึ่งทรัพย์สมบัติ แต่ห้ามไม่ได้ที่จะมิให้ชาวบ้านถวายของเป็นจตุปัจจัยตามศรัทธา ซึ่งสำหรับพระบางองค์ที่เทศนาโปรดสัตว์เก่งๆ อาจได้กัณฑ์เทศน์นี้เป็นเงินสะสมไว้ถึงเรือนแสนก็ได้ ของที่ชาวบ้านถวายพระนี้ในทางหลักนโยบายถือว่าเป็นของที่เขาทำบุญในศาสนา ไม่ใช่ของให้แก่พระเป็นส่วนตัวเมื่อพระถึงแก่มรณภาพ กฎหมายจึงให้ตกเป็นสมบัติของวัด ว่ากันในทางนโยบาย บทบัญญัติเช่นนี้ย่อมเป็นผลดีไปอีกทางหนึ่ง เพราะถ้าไม่มีบทบังคับให้ทรัพย์สินของพระภิกษุตกเป็นของวัดเมื่อมรณภาพ “มีข้อสังเกตว่า ทรัพย์สินของพระที่ตกได้แก่วัดนั้น ตัวบทไม่ได้กล่าวว่าเป็นมฤดก และจะกล่าวว่าเป็นมรดกของพระก็กล่าวไม่ได้ เพราะสาเหตุในหลักการนโยบายที่ให้ทรัพย์ของพระตกเป็นของวัด ก็เพราะถือว่าเป็นของที่ชาวบ้านเขาทำบุญในพระศาสนา ไม่ได้ให้แก่พระเป็นส่วนตัว”

และมีข้อยกเว้นที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๖๒๓ว่า “ทรัพย์สินของพระภิกษุจะตกเป็นของวัดต่อเมื่อท่านมิได้จำหน่ายไปในระหว่างชีวิต หรือโดยพินัยกรรมข้อนี้เป็นไปตามพระธรรมวินัย ซึ่งผู้ทรงศีลเป็นพระภิกษุจะพึงบำเพ็ญจาคะทำบุญให้ทานแก่คนอื่น กฎหมายจึงได้บัญญัติยกเว้นไว้ให้ท่านจำหน่ายทรัพย์สินได้ ทั้งในระหว่างชีวิตและโดยพินัยกรรม ทรัพย์ใดที่ท่านได้จำหน่ายไปแล้วเช่นนี้ ย่อมไม่ตกเป็นสมบัติของวัด ประเพณีในทางปฏิบัติของพระภิกษุที่เคร่งในพระธรรมวินัย เมื่อได้จตุปัจจัยมาเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด ท่านมักจะจับสลากแจกจ่ายไปในบรรดาสามเณรและศิษย์วัด ไม่เก็บสะสมไว้ แม้ท่านจะทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์เมื่อท่านมรณภาพ ก็อยู่ในหลักการของการบำเพ็ญจาคะอยู่นั่นเอง ทางวัดจะโต้แย้งเอาเป็นสมบัติของวัดไม่ได้”    

2. มีข้อคิดความเห็นที่น่าสนใจจากนักกฎหมายบางท่านว่า

เมื่อพิจารณาดูถึงที่มาของมาตรา ๑๖๒๓ ประกอบกับวัตถุประสงค์แล้ว จะเห็นว่า ทรัพย์สินที่มีผู้ให้แก่พระภิกษุในขณะอยู่ในสมณเพศนั้น กฎหมายถือว่าเป็นของที่ให้เพื่อทำบุญในพระพุทธศาสนา

ไม่ได้ให้แก่พระภิกษุเป็นการส่วนตัว เพราะถ้าไม่ใช่เป็นพระภิกษุ ก็จะไม่มีคนทำบุญให้ หรือดังที่มีผู้ตั้งคำถามว่า“ถ้าไม่บวชจะได้มาหรือ”

ส่วนการที่กฎหมายยอมให้พระภิกษุจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างอยู่ในสมณเพศได้นั้นก็เพื่อให้เป็นไปตามพระธรรมวินัยที่พระภิกษุจะพึงบำเพ็ญจาคะ ทำบุญให้ทานแก่คนอื่น

อนึ่ง มีข้อพึงสังเกตว่า กรณีที่พระภิกษุสึกออกจากสมณเพศ บุคคลนั้นจะนำทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมณเพศมาเป็นของตนเองได้หรือไม่ ประเด็นนี้ ว่ากันตามวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์แล้วไม่อาจจะทำได้ เพราะถือว่าเป็นของที่มีผู้ให้แก่พระพุทธศาสนา ไม่ใช่ให้ในฐานะส่วนตัว แต่อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติกรณีดังกล่าว ผู้ที่สึกจากสมณเพศมักจะนำทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างอยู่ในสมณเพศออกไปด้วย อีกทั้ง นักกฎหมายบางท่านยังได้ยกตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า กรณีข้างต้นสามารถกระทำได้ กล่าวคือ

“ตัวอย่าง พระภิกษุ ก. อุปสมบทครั้งแรก ระหว่างอยู่ในสมณเพศมีผู้นำพระพุทธรูปทองคำ ๑ องค์มาถวาย หลังจากสึกแล้วได้อุปสมบทอีก ครั้งหลังมีผู้ถวายเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท พระภิกษุ ก. นำเงินนั้นไปเก็บไว้ที่บ้าน ต่อมาพระภิกษุ ก. มรณภาพ ดังนี้ พระพุทธรูปทองคำตกทอดแก่ทายาทของพระภิกษุ ก. ก่อนอุปสมบทตามมาตรา ๑๖๒๔ ส่วนเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท ตกเป็นสมบัติของวัด เพราะเป็นทรัพย์ที่พระภิกษุ ก. ได้มาระหว่างอยู่ในสมณเพศแม้ขณะมรณภาพเงินจำนวนนี้ไม่ได้อยู่ที่วัดที่เป็นภูมิลำเนา วัดก็มีสิทธิเรียกร้องเงินจำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท นี้ได้ตามมาตรา ๑๖๒๓”

ทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนอุปสมบทในมาตรานี้ หมายถึง ที่มีอยู่ก่อนอุปสมบทครั้งสุดท้ายนั่นเอง ดังนั้น หากเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างดำรงสมณเพศครั้งก่อน แต่ลาสิขาบทออกไปแล้วกลับเข้ามาอุปสมบทใหม่ก็คงต้องถือว่าทรัพย์สินนี้ได้มาก่อนการดำรงสมณเพศนั่นเอง” ดังนั้น จึงน่าพิจารณาอย่างยิ่งว่า ควรแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการได้มาซึ่งทรัพย์สินของพระภิกษุระหว่างอยู่ในสมณเพศหรือไม่ โดยเฉพาะการแก้ไขโดยกำหนดให้ทรัพย์สินทั้งหมดที่ได้มาในระหว่างที่เป็นสมณเพศให้ถือเป็นทรัพย์สินของวัด

3. ดร.ปรีชา สุวรรณทัต อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยให้มุมมองไว้น่าสนใจว่า

ตามหลักพระธรรมวินัย พระสงฆ์จะมีเงินหรือทรัพย์สินจำนวนมากไม่ได้มีได้ยินดีได้ตามหลักปัจจัย 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรคที่อยู่อาศัย และพระสงฆ์จะจับเงินจับทองไม่ได้หากมีการถวายก็ต้องถวายผ่านไวยาวัจกร หากพระสงฆ์รูปใดมีเงินเป็นจำนวนมากถือว่า อาบัติ

การจะแก้เรื่องการมีทรัพย์สินของพระสงฆ์นั้น จะต้องแก้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรื่องมรดกของพระสงฆ์ ในมาตรา 1623 ซึ่งความไม่ชัดเจนในมาตราดังกล่าวทำให้มีช่องโหว่ในเรื่องทรัพย์สิน

กฎหมายเดิมระบุว่า พระสงฆ์มีทรัพย์สินได้ แต่จะตกเป็นมรดกของวัดก็ต่อเมื่อมรณภาพ และทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างในสมณเพศนั้น หากมรณภาพให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระ เว้นเสียแต่จะจำหน่ายในระหว่างมีชีวิตหรือพินัยกรรม เป็นการเปิดช่องให้พระสงฆ์เขียนพินัยกรรมได้ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาจะต้องแก้มาตรา 1623 เสียใหม่ว่า ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมณเพศนั้นให้ตกเป็นของวัดทั้งหมดตั้งแต่วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาหากเขียนแบบนี้เมื่อได้ทรัพย์สินมาถือว่าเป็นของวัดทันที และจะไม่สามารถประเมินภาษีได้ พระสงฆ์มีทรัพย์สินเงินทองไม่ได้ หมดปัญหา และยังสอดคล้องกับหลักธรรมวินัยด้วย

4. ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) อดีตประธานกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนาเคยเปิดเผยถึงรายงานผลการศึกษาฯว่า สิ่งที่จำเป็นจะต้องปฏิรูป หนึ่งในนั้นคือ การจัดการทรัพย์สินของวัดและของพระสงฆ์ ปัจจุบัน ทรัพย์สินในวงการศาสนาพุทธมีจำนวนถึง 20 ล้านล้านบาท มากกว่างบแผ่นดิน 10 เท่า และไม่มีบัญชีครบถ้วนว่าทรัพย์สินมีบัญชีเข้าออกอย่างไร ไม่โปร่งใส ไม่ชัดเจน ขณะเดียวกัน ทรัพย์สินและรายได้ที่ชาวบ้านศรัทธายกมือให้ท่วมหัวบริจาคมอบให้พระ เพราะเห็นว่าเป็นผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แล้วแต่จะนำไปทำกิจการในพุทธศาสนาอย่างไรก็ได้ให้เกิดประโยชน์ แต่พระจำนวนไม่น้อยเอาเงินนั้นใส่บัญชีของตนเอง เมื่อมรณภาพก็ทำพินัยกรรมยกให้กับญาติ อดีตภรรยา ลูกหลายรูปมาบวชจนกลายเป็นอาชีพประเภทหนึ่ง ซึ่งไม่สอดคล้องกับพระธรรมวินัยอย่างยิ่ง เพราะพระพุทธเจ้าไม่นิยมให้พระภิกษุจับเงิน แต่ก็มีคนเลี่ยงตลอด เช่นพอมาถวายก็เรียกใบปวารณา หรือวางไว้เอาก้านธูปเขี่ยอ้างว่าไม่จับ

“เงินเปรียบเสมือนงูหรืออสรพิษ สร้างกิเลสให้พระ พอกพูนได้ง่าย จึงมีการระบุชัดเจน แต่มีการเลี่ยงบาลี จนกลายเป็นของส่วนตัว เงินบริจาค ทำบุญ ทำในนามพระพุทธศาสนาถูกยักย้ายถ่ายเทไปสู่บัญชีส่วนตัว”

น่าเสียดาย ที่รัฐบาล คสช. ไม่ผลักดันให้มีการปฏิรูปการจัดการทรัพย์สินของพระสงฆ์ทั้งระบบอย่างจริงจัง และเด็ดเดี่ยว ทำให้ปัญหาถูกซุกอยู่ใต้พรมจนถึงปัจจุบัน

สารส้ม

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
02:00 น. คุณแหน: 20 พฤษภาคม 2568
23:04 น. กรรมของเหมียว! เครือข่ายอาชญากรรม‘คอสตาริกา’ใช้‘แมว’ลอบนำยาเสพติดเข้าเรือนจำ
22:29 น. ‘บิ๊กป้อม’เดินเซชนราวบันไดวัดโพธิ์ได้รับบาดเจ็บ ตรวจเบื้องต้นไม่รุนแรง
22:08 น. ‘ประเสริฐ’เดินหน้ายกระดับความปลอดภัยไซเบอร์ เปิด‘ประชุมประชาคมไซเบอร์แห่งชาติ’
22:01 น. 'สำนักเลขาพระสังฆราช'แถลงปมเพจแพร่ข้อมูลเท็จ แอบอ้าง'พระดำรัส'
ดูทั้งหมด
พระลูกวัดฟันเปรี้ยง‘ทิดแย้ม’ทำแต่กิจของสงฆ์ ไม่ว่างนั่งปั่นบาคาร่า ลั่นยัง‘สึก’ไม่สำเร็จ
หนาวทั้งบาง! ‘ดิเรกฤทธิ์’ชี้หากราชทัณฑ์ไร้หลักฐานปมชั้น 14 คาดคนผิดรับโทษเพียบ
ประวัติศาสตร์! ไทยพลิกนรกโค่นจีน3-2คว้าตั๋วฟุตซอลโลก
ชีวิตครอบครัวพัง! อดีตเมียพลทหารขับไรเดอร์เผย เลิกกันเพราะผัวขอยืมเงินเอาไปปิดยอดส่งนาย
ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันศุกร์ 16​ ​พฤษภาคม​ ​2568
ดูทั้งหมด
สติพระ
เงินทอน
อย่าให้เศรษฐกิจย่อยยับ คามือ ‘นายกฯ ชินวัตร’
‘แพทองโพย’ทัวร์อังกฤษผลาญเงินหลวง
บุคคลแนวหน้า : 20 พฤษภาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

กรรมของเหมียว! เครือข่ายอาชญากรรม‘คอสตาริกา’ใช้‘แมว’ลอบนำยาเสพติดเข้าเรือนจำ

‘บิ๊กป้อม’เดินเซชนราวบันไดวัดโพธิ์ได้รับบาดเจ็บ ตรวจเบื้องต้นไม่รุนแรง

'สำนักเลขาพระสังฆราช'แถลงปมเพจแพร่ข้อมูลเท็จ แอบอ้าง'พระดำรัส'

ฟังเสียงเสนอแนะ! 'นายกฯ'ชี้เศรษฐกิจโลกผันผวน ต้องทบทวนแผนกระตุ้นศก.

ลูกคือของขวัญ! 'หญิงหน่อย'ใจฟู 'น้องจินนี่'ส่งคลิปเซอร์ไพรส์

'มุก วรนิษฐ์'เปิดใจหลังหมดสัญญา เคลียร์ชัดออกจากวงการหรือไม่

  • Breaking News
  • คุณแหน: 20 พฤษภาคม 2568 คุณแหน: 20 พฤษภาคม 2568
  • กรรมของเหมียว! เครือข่ายอาชญากรรม‘คอสตาริกา’ใช้‘แมว’ลอบนำยาเสพติดเข้าเรือนจำ กรรมของเหมียว! เครือข่ายอาชญากรรม‘คอสตาริกา’ใช้‘แมว’ลอบนำยาเสพติดเข้าเรือนจำ
  • ‘บิ๊กป้อม’เดินเซชนราวบันไดวัดโพธิ์ได้รับบาดเจ็บ ตรวจเบื้องต้นไม่รุนแรง ‘บิ๊กป้อม’เดินเซชนราวบันไดวัดโพธิ์ได้รับบาดเจ็บ ตรวจเบื้องต้นไม่รุนแรง
  • ‘ประเสริฐ’เดินหน้ายกระดับความปลอดภัยไซเบอร์ เปิด‘ประชุมประชาคมไซเบอร์แห่งชาติ’ ‘ประเสริฐ’เดินหน้ายกระดับความปลอดภัยไซเบอร์ เปิด‘ประชุมประชาคมไซเบอร์แห่งชาติ’
  • \'สำนักเลขาพระสังฆราช\'แถลงปมเพจแพร่ข้อมูลเท็จ แอบอ้าง\'พระดำรัส\' 'สำนักเลขาพระสังฆราช'แถลงปมเพจแพร่ข้อมูลเท็จ แอบอ้าง'พระดำรัส'
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

อย่าให้เศรษฐกิจย่อยยับ  คามือ ‘นายกฯ ชินวัตร’

อย่าให้เศรษฐกิจย่อยยับ คามือ ‘นายกฯ ชินวัตร’

20 พ.ค. 2568

ดินพอกหางหมูค่าเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว  กทม.จะโยนภาระ ?

ดินพอกหางหมูค่าเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว กทม.จะโยนภาระ ?

19 พ.ค. 2568

ไม่ใช่ที่คุมขังนักโทษป่วย  ต้องกลับเข้าคุกจริง

ไม่ใช่ที่คุมขังนักโทษป่วย ต้องกลับเข้าคุกจริง

16 พ.ค. 2568

G-Token ช่องทางกู้เงินของรัฐบาล  ทางสะดวก หรือทางเลี่ยง?

G-Token ช่องทางกู้เงินของรัฐบาล ทางสะดวก หรือทางเลี่ยง?

15 พ.ค. 2568

ต้องยอมรับปัญหา แล้วลงมือแก้ไข  ใบส่งตัวล่าช้า จนมีคนตายแล้ว!

ต้องยอมรับปัญหา แล้วลงมือแก้ไข ใบส่งตัวล่าช้า จนมีคนตายแล้ว!

14 พ.ค. 2568

หวงแหนปราสาท ‘ตาเมือนธม”  รักชาติ สมเหตุสมผล

หวงแหนปราสาท ‘ตาเมือนธม” รักชาติ สมเหตุสมผล

13 พ.ค. 2568

รบจริง ไม่เหมือนในหนังฮอลลีวู้ด

รบจริง ไม่เหมือนในหนังฮอลลีวู้ด

12 พ.ค. 2568

นักการเมือง ‘ส้มสารพิษ’

นักการเมือง ‘ส้มสารพิษ’

9 พ.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved