ยามที่น้ำมันราคาแพง จะมีการส่งข้อมูลผ่านไลน์ หรือมีผู้รู้นอกวงการน้ำมันออกมาวิพากษ์วิจารณ์ วาดมโนภาพถึงความเป็นมหาอำนาจน้ำมันของประเทศ ทำนองว่ามีน้ำมันดิบผลิตได้มากกว่าซาอุฯ บ้าง เราส่งออกน้ำมันมหาศาลบ้าง น้ำมันไทยขายปลีกแพงที่สุดในโลกบ้าง ฯลฯ
ทั้งหมดนั้น ล้วนแต่เป็นเรื่องละเมอเพ้อพก ใส่สีตีไข่จับแพะชนแกะ ตัดตอนข้อมูล เพื่อปลุกปั่นเร่งเร้าความรู้สึกของผู้คนให้ตื่นเต้นและเกิดอารมณ์ชิงชังโดยไม่ได้เป็นไปตามข้อเท็จจริง
แต่ประการใด
1. ประเทศไทย นำเข้าน้ำมันดิบกว่า 90% โดยนำเข้าจากหลายประเทศ นำมากลั่นน้ำมันสำเร็จรูป
แต่มีการนำเสนอข่าวปั่นกันว่า ไทยเราผลิตน้ำมันดิบได้เองจำนวนมหาศาล มีหลุมเจาะน้ำมันมากมายยิ่งกว่าซาอุฯ มีการส่งออกน้ำมันมหาศาล ปกปิดข้อมูลเอาไว้ ฯลฯ
2. คิดง่ายๆ ถ้าไทยมีน้ำมันเยอะกว่าซาอุฯ จริงๆ โอเปกก็คงมาเชิญไทยเข้าร่วมประชุมวางแผนแล้วหรือไม่?
ถ้าเช่นนั้น ไทยคงเป็นมหาอำนาจน้ำมัน มิใช่ต้องนำเข้ามากลั่นใช้ในประเทศอย่างที่เป็นอยู่
3. เพจ “น้องปอสาม” ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจ
ระบุว่า
“ประเทศไทยมีหลุมขุดน้ำมันก๊าซหรืออะไรก็ตามแต่ มากถึง 7,000 หลุม แล้วร่ำรวยน้ำมันกับก๊าซ หรืออะไรก็ตามแต่จริงหรือ?
ประเด็นนี้เห็นวนซ้ำกลับมาทุกครั้ง อาจมีการปรับเปลี่ยนตัวเลขไปบ้าง เพื่อให้เกิดความดราม่า แต่ในความเป็นจริงนั้น หลุมเยอะแล้วเราจะร่ำรวยพลังงานถึงว่าเป็นสิ่งที่เข้าใจผิดอย่างมาก
สิ่งสำคัญ คือ หลุมที่มากมายเหล่านั้นเป็นการสื่อเป็นนัยว่า สภาพภูมิประเทศ (ธรณีวิทยา)ของไทยนั้น ศักยภาพของไทยเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านเรานั้นยังด้อยกว่ามาก (ตามภาพประกอบ) จำนวนหลุมผลิตมาก ไม่ได้หมายความว่าจะมีปริมาณปิโตรเลียมมากตามจำนวนหลุม เพราะประเทศไทยมีแหล่งปิโตรเลียมขนาดเล็กเป็น
กระเปาะ ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาไม่ต่อเนื่อง ทำให้หลุมๆ หนึ่ง ผลิตปิโตรเลียมได้ไม่มากไม่เหมือนกับแหล่งใหญ่ที่ไม่ต้องใช้หลุมผลิตจำนวนมากก็ผลิตได้มาก
และหลุมเหล่านั้น จำนวนมากถูกผลิตปิโตรเลียมจนหมดและสละหลุมไปแล้ว บางส่วนเป็นหลุมที่ไม่ได้ใช้งาน หรืออยู่ระหว่างรอซ่อม เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหลุมผลิตก๊าซธรรมชาติ โดยตัวเลขหลุมที่เปิดใช้งานได้จริง อยู่ที่ 1,757 หลุม จากจำนวนทั้งหมด 5,519 หลุม (ตัวเลขเดือน เมษายน ٢٥65)
สำหรับข้อมูลการผลิตปิโตรเลียมทั้งประเทศ ในปี 2565 (ตัวเลขเดือนเมษายน ٢٥65) ซึ่งประกอบด้วยก๊าซธรรมชาติ คอนเดนเสท (ก๊าซธรรมชาติเหลว) และน้ำมันดิบ ทั้งบนบกและในทะเล มีดังนี้
ก๊าซธรรมชาติ จำนวน 2,431.57 ล้านลูกบาศก์ฟุต หรือ ประมาณ 424,066.43 ล้านลิตรเทียบเท่าน้ำมันดิบ
คอนเดนเสท (ก๊าซธรรมชาติเหลว) จำนวน 70,017.65 บาร์เรล หรือ ประมาณ 63,688.05 ล้านลิตรเทียบเท่าน้ำมันดิบ
น้ำมันดิบ จำนวน 78,449.73 บาร์เรล หรือ ประมาณ 12,473,507 ล้านลิตร
จากข้อมูลในปี 2565 (เฉลี่ย มกราคม-มีนาคม) ไทยพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบถึงร้อยละ 92 (ผลิตได้ประมาณ 81,700 บาร์เรลต่อวัน นำเข้าประมาณ 972,200 บาร์เรลต่อวัน) น้ำมันดิบที่ผลิตได้ในประเทศเกือบทั้งหมดส่งเข้าโรงกลั่นในประเทศ มีส่งออกบ้างประมาณ 10,000 บาร์เรลต่อวัน จากแหล่งผลิตน้ำมันดิบที่อาจมีสารปนเปื้อนเจือปนอยู่ ซึ่งมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมกับโรงกลั่นน้ำมันในประเทศ โดยยังไม่นับความต้องการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้นอื่นๆ อีกเช่น การใช้ไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติรวมไปถึงเชื้อเพลิงอื่นๆ ในการผลิต
ในส่วนการส่งออกน้ำมันดิบนั้น กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้มีแนวทางปฏิบัติกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องขายภายในประเทศก่อน หากไม่สามารถขายได้จึงส่งออกไปขายยังต่างประเทศ และมีเงื่อนไขว่าต้องส่งออกปิโตรเลียมในราคาสูงกว่าที่ขายในตลาดภายในประเทศ ซึ่งนับเป็นผลดีต่อประเทศเพราะทำให้ประเทศมีรายได้จากการส่งออก หรือแม้กระทั่งการส่งออกของน้ำมันสำเร็จรูปที่เหลือจากการใช้ในประเทศก่อนอีกด้วย
สรุป ปริมาณผลิตปิโตรเลียมของประเทศจะมากหรือน้อย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยจากจำนวนหลุม เพราะจำนวนหลุมผลิตมาก ไม่ได้หมายความว่าจะมีปริมาณปิโตรเลียมมากตามจำนวนหลุม ส่วนของเรื่องราคาคาดว่าแฟนเพจที่ติดตามมาโดยตลอดคงเข้าใจไม่มากก็น้อยแล้ว”
4. เรื่องนี้ เตือนให้รู้ว่า ตั้งสติ ก่อนจะถูกหลอกให้ตาโตและหัวร้อน
สารส้ม
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี