• เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516
๑.สถานที่เกิดเหตุการณ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถนนราชดำเนิน ลานพระบรมรูปทรงม้าและบริเวณหน้าสวนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
๒. สาเหตุ
(๑) การไม่พอใจสะสมของประชาชนต่อ รัฐบาลระบอบเผด็จการทหารที่อยู่มายาวนาน ๑๐ ปี
(๒) การฉ้อราษฎร์บังหลวงในรัฐบาล
(๓) ความเดือดร้อน ขาดแคลน ของประชาชนวงการต่างๆ
(๔) การรัฐประหารตนเอง ๑๗ พ.ย. ๒๕๑๔ ยุบสภาฯ : ทำให้นักการเมือง สส. ไม่พอใจมากฯ
(๕) การเล่นเส้นสาย ต่ออายุตนเองและพวกพ้องในกองทัพ :ทำให้ทหารส่วนหนึ่งไม่พอใจฯ
๓. จุดสถานการณ์เปลี่ยนแปลง
(๑) การจับกุม ๑๓ กบฏเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ๑๓ คน และรัฐบาลตั้งข้อหาหนัก ฯ เป็นกบฏ
(๒) เกิดการชุมนุมใหญ่ของนักศึกษาประชาชน เรียกร้อง ให้ปล่อยตัว ๑๓ กบฏ และเดินไปชุมนุมหน้าสวนจิตรลดาฯ
(๓) เหตุเกิดที่หน้าสวนจิตรหลังจาก “ผู้นำหลายฝ่ายขึ้นปราศรัย ยุติการชุมนุม แยกย้ายกันกลับ”
มี “การสั่งการ ให้ตำรวจฯ ยิงระเบิดและแก๊สน้ำตา ใส่นักศึกษาและผู้ชุมนุม”
(๔) นักศึกษา นักเรียนอาชีวะ และประชาชน ไปรวมกันตั้งป้อมชุมนุม สู้ : เหตุการณ์บานปลายไปใหญ่โต ขยายไปทั่วกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ไม่สามารถควบคุมได้ ฯลฯ
(๕) ความขัดแย้งใหญ่ในกองทัพ ถึงจุดแตกหัก “ใครจะอยู่ ใครจะไป” ระหว่าง
ฝ่ายมีอำนาจเดิม : จอมพลถนอม ประภาส ณรงค์ และกองทัพส่วนหนึ่ง
ฝ่ายอำนาจใหม่ : พลเอกกฤษณ์ สีวะรา พลตำรวจเอกประเสริฐ รุจิรวงศ์ พลอากาศเอกทวี จุลทรัพย์ และ พลโทวิทูรย์ ยะสวัสดิ์(ผู้กุมกำลังเสือพราน และลูกน้องเก่า ที่เข้ามาคุมกำลังระดับรองในกองทัพ)
การใช้กลยุทธ์ ออกข่าว “จอมพลถนอม ลาออก” จากกองบัญชาการสวนรื่นฯ (ซึ่งความจริง ในช่วงนั้น ยังไม่มีการลาออก :คุณอาคม มกรานนท์ : โฆษกฯ)
(๖) ผู้มีบทบาทสำคัญในการทำให้เหตุการณ์ยุติลง จอมพลถนอมและคณะลาออก และบินออกไปนอกประเทศ โดยยึดหลัก “เอาผลประโยชน์ ความปลอดภัยของนักศึกษาประชาชน และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง” มาก่อน คือ ในหลวง ร.๙
(๗) ฯลฯ
๔. เป้าหมายของการชุมนุมฯ
- เรียกร้องให้รัฐบาล ปล่อยตัว ๑๓ กบฏ เรียกร้องรัฐธรรมนูญ ที่ถูกรัฐบาลสั่งจับไปขังที่คุกบางเขนฯ
- การเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย
- หลังจากการเกิดเหตุวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ที่มีการชุมนุมต่อสู้มีการเรียกร้องให้ รัฐบาลจอมพลถนอมฯ ลาออก
๕. วิธีการ
การชุมนุม การเดินขบวน, การแจกใบปลิว, การต่อต้านการปราบปรามของรัฐบาล ในระดับก่อจลาจล และมีเรื่องราว ที่ไม่เปิดเผยจากบางฝ่ายที่มีอำนาจฯ
๖. ผลที่เกิดขึ้น
นายกรัฐมนตรีลาออก และ “3 ทรราช” เดินทางออกนอกประเทศ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีสัญญา ธรรมศักดิ์ และจุดเริ่มต้นของ “การทดลองประชาธิปไตย”
๗. คู่ขัดแย้ง
- ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย กลุ่มอิสระของมหาวิทยาลัยต่างๆ และประชาชนไทย โดยมีกลุ่มทหาร ฝ่ายพลเอกกฤษณ์ สีวะรา พลตำรวจเอกประเสริฐ รุจิรวงศ์ พลโทวิฑูรย์ ยะสวัสดิ์เข้ามาสนับสนุนทางตรงและอ้อม เพื่อต้องการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลฯ
- รัฐบาลถนอม ประภาส ณรงค์ กองทัพไทย ตำรวจ
๘. ผู้มีบทบาทสำคัญในการทำให้เหตุการณ์ยุติลง จอมพลถนอมและคณะลาออก และบินออกไปนอกประเทศ โดยยึดหลัก “เอาผลประโยชน์ ความปลอดภัย และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและ การไม่มีการรัฐประหารของกลุ่มนายทหารอีกฝ่ายหนึ่ง คือ ในหลวง ร. ๙
๙. จำนวนผู้เข้าร่วมสูงสุด
ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ คน
๑๐. ความเสียหายหลัก
- ผู้เสียชีวิต 77 คน
- ผู้บาดเจ็บ 857 คน
ฯลฯ
• บทสรุปบางประเด็นสั้นๆ ที่เป็นกลาง มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง และหลักฐานยืนยัน
๑.รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร : ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 4 สมัย เป็นระยะเวลาถึง 10 ปี 6 เดือนเศษ
9 ธันวาคม พ.ศ. 2506-14 ตุลาคม พ.ศ. 2516มีการบริหารบ้านเมืองในบางส่วน เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของครอบครัว และพวกพ้อง
- การแต่งตั้ง และต่ออายุตนเอง (จอมพลถนอม ประภาส) และให้อำนาจแก่ พันเอกณรงค์ กิตติขจร
- การรัฐประหารตนเอง ของจอมพลถนอมฯ เมื่อ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔
- ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับ ม. 299 เพื่อเข้าคุมอำนาจศาล ของรัฐบาล
- ฯลฯ
๒. การตั้งกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ของอดีตผู้นำนักศึกษา นักวิชาการ และกลุ่มผู้นำสังคมต่างๆ
- เพื่อสนับสนุน “ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยยุค ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์” ที่มีการแต่งตั้ง
“คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับนิสิตนักศึกษาฯ”
-การตั้งกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ขึ้นมา เพื่อรณรงค์เรียกร้องต่อประชาชน
- การแสวงหาผู้สนับสนุน โดยการให้มีการลงชื่อ ๑๐๐ คน จากผู้นำวงการต่างๆ เพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญ
- การแจกใบปลิวของกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ในวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๖ และ
- ๑๓ กบฏเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ถูกจับไปคุมขังที่ รร.พลตำรวจบางเขน
๓. การชุมนุมของ นักศึกษาประชาชน ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวนมาก และถึงจุดสูงสุดประมาณ ๓๐๐, ๐๐๐ คนเมื่อเคลื่อนตัวออกมาที่ถนนราชดำเนิน พระบรมรูปทรงม้า และ ถนนหน้าสวนจิตรลดา
๔. เหตุการณ์ลุกลามพัฒนาต่อเนื่อง ในระดับการจลาจล คืนวันที่ ๑๓ ต่อเช้า ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ที่หน้าสวนจิตรลดา หลังเสร็จสิ้นการเจรจา และปราศรัยของผู้นำในการยุติการชุมนุมฯ จาก “ข้อเรียกร้องได้รับการยอมรับแล้ว จากรัฐบาล”
-โดย ตัวแทนศูนย์กลางนิสิตนักศึกษา (ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์)
-ผู้นำปราศรัยที่กุมมวลชน (ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล)
-และตัวแทนสำนักพระราชวัง (พลตำรวจเอกวสิษฐ เดชกุญชร)
เกิดจุดเริ่มต้นความรุนแรง คือ การสั่งการให้ตำรวจ ปราบผู้ชุมนุม และยิงระเบิดแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุมนายตำรวจยศสูงสุดที่ยืนสั่งการ คือ พลตำรวจโทมนต์ชัย พันธุ์คงชื่น ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจฯ (ลูกน้องของ พลเอกประจวบ สุนทรางกูร) จนส่วนหนึ่ง ต้องเข้าไปพึ่ง พระบรมโพธิสมภารฯ ในพระราชวัง และส่วนหนึ่งไปรวมกันที่ธรรมศาสตร์ ตั้งป้อมสู้
(ประเด็น ใครสั่ง มีวัตถุประสงค์อันใด: น่าติดตาม เพราะ เป็นการจุดฉนวนขึ้นมาใหม่ เพราะเรื่องการชุมนุมใหญ่ ได้ทางลง และยุติแล้ว)
๕. เหตุการณ์สำคัญบางประการ ที่ได้รับรู้ ในช่วงที่ “ผู้นำนักศึกษาส่วนหนึ่ง” ที่อยู่ในสวนจิตรลดา
(๑) เจ้าหน้าที่บางท่าน เกรง ฝ่ายทหารของรัฐบาล จะใช้เงื่อนไข “การมีนักศึกษาประชาชนอยู่ในสวนจิตรลดา” ในการเข้ามาในวัง(ซึ่งโอกาสน้อย แต่เป็นความคิดหนึ่ง ที่ดีรับทราบมา ผม จึงมีโอกาสประสานกับเจ้าหน้าผู้ใหญ่ ๑ ให้ “นำยานพาหนะ” มารับนักศึกษาประชาชน ให้ออกไปอย่างปลอดภัย
(๒) อ.ธีรยุทธ บุญมี ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล และผมมีโอกาสได้เข้าเฝ้าฯสมเด็จพระราชินีนาถฯ บนถนนสาย ๑ ได้รับทราบว่า“ในหลวง ทรงเป็นห่วงใยประชาชนของพระองค์ยิ่ง” ไม่ได้นอนมาหลายวันติดตามข่าวสารของเหตุการณ์ และทรงพยายามหาทางแก้ไขปัญหาใหญ่นี้ (ความปลอดภัยของนักศึกษาประชาชน และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง)
๖. การพัฒนาการของเหตุการณ์ ที่ลุกลามออกไปสู่ที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ (เป็นหลัก)
ประเด็นที่น่าสนใจ คือ
คู่ขัดแย้งที่ต่อสู้กันในสถานการณ์
(๑) ฝ่ายนักศึกษา ประชาชน และนักการเมืองฯ ที่ต่อต้าน ฝ่ายรัฐบาลจอมพลถนอม ประภาส ณรงค์
(๒) ฝ่ายทหารของรัฐบาลถนอม ในขณะนั้น
(๓) ฝ่ายทหารกลุ่มกฤษณ์-ประเสริฐ-ทวี และวิฑูรย์
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี