วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / คิดด้วยพลเมือง (See-Think-Cen')
คิดด้วยพลเมือง (See-Think-Cen')

คิดด้วยพลเมือง (See-Think-Cen')

วันพุธ ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2566, 02.00 น.
ภาษา : อาวุธเงียบต้านคอร์รัปชัน

ดูทั้งหมด

  •  

ภาษา เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทุกคน ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารผ่านการแสดงออกทางท่าทางหรือกิริยา และแสดงออกผ่านการพูด จึงเรียกได้ภาษาคือส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตของมนุษย์ แต่อย่างไรก็ตาม ภาษาเป็นมากกว่าแค่เครื่องมือในการสื่อสารระหว่างมนุษย์ และการตั้งชื่อให้กับสิ่งต่างๆ เพียงเท่านั้น เพราะภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้การกำหนดคุณค่าของสิ่งต่างๆ ในสังคมภาษาระบุว่า สิ่งไหนเป็นสิ่งที่ดี หรือไม่ดี สิ่งไหนเป็นสิ่งที่มีคุณค่า หรือไม่มีคุณค่า สิ่งที่พึงปฏิบัติ หรือ ห้ามปฏิบัติ จึงกล่าวได้ว่า ภาษาก็เป็นเครื่องมือที่มีอิทธิพลและอำนาจในการกำหนดทิศทาง และคุณค่าของสังคม ดังคำพูดที่ผู้เขียนได้หยิบยกมาอ้างข้างต้นโดย Adrienne Rich กวีสตรีนิยม ที่ระบุว่า “Language is power... Language can be used as a means of changing reality.” หรือ ภาษา คือ อำนาจ เพราะภาษาสามารถใช้เป็นเครื่องมือ หรือ วิธีการในการกำหนดว่าสิ่งนี้คือสิ่งที่เป็น “ความจริง” และ เป็นสิ่งที่ “ถูกต้อง” เช่นเดียวกับงานด้านคอร์รัปชัน ก็มีการศึกษาที่เกี่ยวข้องหลายชิ้นก็ระบุว่าภาษามีอิทธิพลอย่างมากในการเปลี่ยนแปลงทั้งวิธีที่เรามองและรับรู้ถึงปรากฏการณ์การคอร์รัปชัน และมีการใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการต่อต้านคอร์รัปชันมากขึ้นผ่านการรณรงค์ การจัดทำสื่อ หรือกิจกรรมต่อต้านการคอร์รัปชันขององค์กรต่อต้านคอร์รัปชันทั่วโลก จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าการใช้ภาษาอย่างถูกต้องและเหมาะสมจะช่วยเสริมพลังในการแก้ปัญหานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

งานวิจัยในประเทศไทยด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน ได้ระบุว่าภาษา มีอิทธิพลต่อการรับรู้เรื่องคอร์รัปชันผ่านการใช้คำที่แตกต่างกัน โดยนักวิชาการด้านภาษาศาสตร์ นฤดล จันทร์จารุ และคณะ ได้ศึกษาอิทธิพลของภาษาที่ส่งผลต่อการรับรู้ปัญหาคอร์รัปชันในสังคมผ่านการใช้การเปรียบเปรย หรือ ใช้คำอุปลักษณ์เปรียบเทียบกับคำว่าคอร์รัปชัน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการใช้อุปลักษณ์ของคำว่าคอร์รัปชันส่งผลต่อการการรับรู้และการเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันของประชาชน และมีอิทธิพลต่อการ
รับรู้วิธีการการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันของผู้อ่านที่แตกต่างกันไปจากการใช้คำที่แตกต่างกัน จากการทดลอง พบว่าประชาชนที่ได้อ่านบทความที่เปรียบการคอร์รัปชันเป็น “โจร” มีผู้อ่านมีแนวโน้มที่จะมองว่าการคอร์รัปชันนั้นจะต้องแก้ไขโดยการใช้วิธีการปราบปราม แต่ถ้าบทความใช้อุปลักษณ์ว่าคอร์รัปชันเป็น “โรคร้าย” ผู้อ่านมักจะเสนอแนวทางป้องกันเป็นหลัก เหมือนการป้องกันสังคมจากโรคร้าย ซึ่งในที่นี้คือ การคอร์รัปชัน ในขณะเดียวกัน อุปลักษณ์ยังสามารถใช้ในการตีกรอบความคิดของผู้อ่านว่าใครควรจะรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน เช่น การเปรียบเทียบการคอร์รัปชันเป็น “เรืออับปาง” ทำให้ผู้อ่านมองว่าปัญหาคอร์รัปชันเป็นปัญหาระดับสังคม และผู้นำและผู้กำหนดนโยบายของประเทศควรเป็นผู้ที่มีบทบาทในการแก้ไขปัญหา ในทางกลับกัน หากการคอร์รัปชันถูกเปรียบเทียบว่าเป็นปัญหา “ไฟไหม้บ้าน” ผู้อ่านมักจะมองว่าปัญหาคอร์รัปชันคือ ปัญหาในระดับปัจเจก และเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องร่วมมือกันแก้ไข การใช้อุปลักษณ์ในบริบทที่แตกต่างกันทำให้มองเห็นความสำคัญของความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน ไม่ใช่เพียงผู้นำหรือนโยบายของประเทศเท่านั้นที่ควรรับผิดชอบ จึงกล่าวได้ว่า ภาษา และการใช้คำ นั้นมีอิทธิพลในการตีกรอบความคิดของผู้อ่าน และกระตุ้นพฤติกรรมของประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในการต่อต้านการคอร์รัปชัน


ในขณะเดียวกัน ปัจจุบันองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันทั่วโลกก็มักจะใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารและกระตุ้นให้ประชาชนออกมามีส่วนร่วมในการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการจัดแคมเปญ และการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในหลักหลายรูปแบบผ่านช่องทางต่างๆ เช่น “เด็กไทยโตไปไม่โกง” “ไม่ทำ ไม่ทน ไม่เฉย รวมไทยต้านโกง” เป็นต้น ก็ คงปฏิเสธไม่ได้ว่าแคมเปญประชาสัมพันธ์เหล่านั้นมีอิทธิพลต่อความคิดและความรู้สึกของผู้รับสารไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง จากงานศึกษาของ U4 Anti-Corruption Resource Center ปี 2566 เรื่อง “Message misunderstood: Why raising awarenessof corruption can backfire” ได้ชี้ ให้เห็นว่าข้อความด้านการต่อต้านคอร์รัปชันมีอิทธิพลต่อผู้รับสาร โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้านด้วยกัน คือ หนึ่ง ข้อความมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นให้คนต่อต้านคอร์รัปชัน สอง ข้อความไม่กระตุ้นให้คนออกมาต่อต้านคอร์รัปชัน และสาม ข้อความไม่กระตุ้นให้คนต่อต้านคอร์รัปชัน และกลับกระตุ้นให้คนนิ่งเฉย หรือ เลือกที่จะคอร์รัปชันมากกว่าเดิม ซึ่งผู้เขียนคิดว่าสิ่งหนึ่งที่ผู้อ่านทุกคนเห็นตรงกัน และเป็นสิ่งที่ไม่อยากให้เกิดมากที่สุดคือ กรณีแบบที่สาม เพราะนอกจากจะเสียทรัพยากรโดยไม่จำเป็นแต่ผลกลับได้ผลลัพธ์ตรงข้ามกับเป้าหมาย จึงเรียกได้ว่า การลงทุนครั้งนี้ขาดทุนครับ

จากการศึกษาของ U4 Anti-Corruption Resource Center ข้างต้นพบว่ามีข้อความหลายประเภทที่ไม่มีประสิทธิภาพ และส่งผลกระทบแบบตรงข้าม (backfire) จากกรณีศึกษาในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย พบว่า ข้อความที่มุ่งกระตุ้นให้เห็นความน่ากังวลใจของปัญหาการคอร์รัปชัน ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อมาตรการรัฐบาลในการต่อต้านคอร์รัปชันลดลง และไม่กระตุ้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการต่อต้านคอร์รัปชัน รวมไปถึงทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นกิจกรรมการต่อต้านคอร์รัปชันในขณะเดียวกัน การศึกษาในเมืองลากอส ประเทศไนจีเรีย พบว่าข้อความที่เน้นให้เห็นว่าปัญหาการคอร์รัปชันเป็นปัญหาที่แพร่กระจายในพื้นที่หรือในประเทศ ข้อความที่ระบุว่าการคอร์รัปชันละเมิดหลักคำสอนและศีลธรรมทางศาสนา หรือข้อความที่เน้นให้เห็นความสำเร็จของรัฐบาลในการควบคุมการคอร์รัปชัน เป็นข้อความที่มีความเสี่ยงจะกระตุ้นให้คนมีพฤติกรรมติดสินบนมากยิ่งขึ้น ในทางกลับกัน ข้อความบางประเภทก็มีผลกระทบในเชิงบวกในการกระตุ้นให้คนต่อต้านคอร์รัปชันมากขึ้นมากเช่นเดียวกัน เช่น ในประเทศคอสตาริกา จากการศึกษาพบว่าข้อความที่ชี้ให้เห็นปัญหาของการรับสินบนที่เพิ่มขึ้น และการศึกษาในกรุงพอร์ตมอร์สบี ประเทศปาปัวนิวกินี ข้อความที่ระบุว่า การคอร์รัปชันเป็นปัญหา “ท้องถิ่น” ส่งผลให้คนอยากมีส่วนร่วมในการต่อต้านคอร์รัปชันที่มากขึ้น ทั้งนี้ ข้อความประเภทเดียวกัน กลับไม่มีประสิทธิภาพในการต่อต้านคอร์รัปชันในประเทศอื่นๆ ในเมืองลากอส ประเทศไนจีเรีย จึงสามารถสรุปได้ว่าข้อความในการต่อต้านคอร์รัปชันในแต่ละประเภทนั้นมีอิทธิพลต่อแนวคิดของประชาชนในแต่พื้นที่ไม่เหมือนกัน จึงมีบริบทอย่างอื่นที่ผลกระทบต่อการรับรู้และการกระตุ้นการต่อต้านคอร์รัปชันของประชาชนด้วย

จากตัวอย่างข้อความข้างต้นสะท้อนให้เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความมีประสิทธิภาพของการต่อต้านคอร์รัปชัน โดยจะเห็นได้ว่าบริบททางสังคมของแต่ละประเทศมีผลกระทบในการกระตุ้นการมีส่วนร่วมที่แตกต่างต่างกันในแต่ละพื้นที่ ในขณะเดียวกัน ข้อความหรือข้อมูลที่ตอกย้ำว่าการคอร์รัปชันเป็นปัญหาที่แพร่หลาย หรือความสำเร็จของรัฐบาลในการปราบปรามการคอร์รัปชันอาจตอกย้ำความเชื่อของผู้อ่านโดยไม่ได้ตั้งใจว่าการคอร์รัปชันเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ นอกจากนี้ ข้อความที่ขาดข้อมูลที่มีความสอดคล้องกับประสบการณ์ประจำวันของผู้อ่าน หรือมองในแง่บวกมากเกินไปต่อการทำงานด้านการต่อต้านการคอร์รัปชันก็มีความเสี่ยงในการสูญเสียความน่าเชื่อถือของข้อความได้ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ส่งสาร และช่องทางการสื่อสารด้วยเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ การศึกษาของนฤดล จันทร์จารุ และคณะ และ U4 Anti-Corruption Resource Center ชี้ว่ายังไม่มีการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความมีประสิทธิภาพอย่างแน่ชัด และจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม

ทั้งนี้ เพื่อเป็นประโยชน์กับหน่วยงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันที่กำลังจะจัดทำแคมเปญหรืองานสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชัน งานวิจัยของ U4 Anti-Corruption Resource Center ได้เน้นย้ำว่าจะต้องเริ่มจากการเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย และการทดลองความมีประสิทธิภาพของข้อความก่อนที่จะมีการปล่อยแคมเปญออกไป โดยงานวิจัยแนะนำว่าควรมีศึกษาเชิงทดลองข้อความดังกล่าวกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อสารด้วย โดยเริ่มจากการทดลองกับกลุ่มเป้าหมายขนาดเล็กก่อน และเมื่อได้ข้อความต้นแบบ (Prototype) แล้วจึงนำไปทดลองกับกลุ่มเป้าหมายที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น ทั้งนี้ ให้หลีกเลี่ยงการใช้วิธีการสัมภาษณ์หรือการจัด focus group เนื่องจากข้อมูลที่ได้อาจไม่สามารถสะท้อนความเป็นจริงกับกลุ่มเป้าหมายจริงได้ และการใช้วิธีดังกล่าวยังเพิ่มโอกาสเสี่ยงเรื่องความอคติของข้อมูลด้วย ในขณะเดียวกัน ก็ต้องศึกษาบริบทที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและส่งเสริมประสิทธิภาพของข้อความหรือแคมเปญด้วย กระบวนการในการออกแบบข้อความนั้นจึงเป็นสิ่งที่ต้องเริ่มจากกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัด และเข้าใจคุณลักษณะของกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง

สุดท้ายนี้ ผู้เขียนเชื่อว่าภาษาสามารถเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นให้ประชาชนในการต่อต้านคอร์รัปชันในวงกว้างมากขึ้นได้ และสามารถเพิ่มความมีประสิทธิภาพของการใช้งบประมาณกระตุ้นให้เกิดการมีการสร้างแนวร่วมของประชาชนในการต่อต้านคอร์รัปชัน เพราะภาษาเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้คนมากที่สุด ภาษาสามารถถ่ายทอดความรู้สึก ความรู้ แนวคิดและการเรียนรู้ระหว่างมนุษย์ได้ ซึ่งสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้

เจริญ สู้ทุกทิศ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
22:52 น. 'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!
22:29 น. น้ำใจทหารไทย! เปิดด่านฉุกเฉินส่ง'อดีตรองเสธ.กัมพูชา' ป่วยมะเร็ง กลับบ้านอย่างอบอุ่น
22:22 น. ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม
22:13 น. ไม่ใช่มีแค่ถนนพระราม 2 สะพานพระราม 4 เกิดเหตุป้ายเหล็กขนาดใหญ่ตกใส่รถพังเสียหาย
21:41 น. หนีคดี 19 ปี! รวบแล้ว ‘มือมีด’ วัย 43 แทง ‘นักเรียนนายร้อย’ เสียชีวิต
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
บิ๊กเนม'ปชป.'ร่วมวงเพียบ!! 'คุณหญิงกัลยา'ตั้ง'พรรคไทยก้าวใหม่' พร้อมตั้ง'สุชัชวีร์'นั่งหัวหน้าฯ
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
ดูทั้งหมด
ต้องเลือกตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือ
บุคคลแนวหน้า : 6 กรกฎาคม 2568
ชีวิตประจำวันของผม-การทำงาน
หน้าต้องทนสูงมาก จึงทำแบบนี้ได้
วิวาทะ ว่าด้วย‘อภิปรายไม่ไว้วางใจ’
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!

ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม

หนีคดี 19 ปี! รวบแล้ว ‘มือมีด’ วัย 43 แทง ‘นักเรียนนายร้อย’ เสียชีวิต

อุบตอบมีชาติไหนบ้าง?! 'ทรัมป์'ลงนามจดหมายแจ้งภาษีตอบโต้12ประเทศ พร้อมร่อน7ก.ค.นี้

โหดเหี้ยม! คนร้ายซุ่มยิง‘ตำรวจ’ สภ.กรงปินัง เสียชีวิต หน้าร้านสะดวกซื้อใน จ.ยะลา

'องค์ดาไลลามะ'หวังมีพระชนม์ชีพยืนยาวนานถึง130ปี ก่อนกลับชาติมาเกิดเป็นผู้นำทิเบต

  • Breaking News
  • \'อดีต ส.ว.สมชาย\'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!! 'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!
  • น้ำใจทหารไทย! เปิดด่านฉุกเฉินส่ง\'อดีตรองเสธ.กัมพูชา\' ป่วยมะเร็ง กลับบ้านอย่างอบอุ่น น้ำใจทหารไทย! เปิดด่านฉุกเฉินส่ง'อดีตรองเสธ.กัมพูชา' ป่วยมะเร็ง กลับบ้านอย่างอบอุ่น
  • ครั้งแรกในรอบ102ปี! \'ฝรั่งเศส\'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม
  • ไม่ใช่มีแค่ถนนพระราม 2 สะพานพระราม 4 เกิดเหตุป้ายเหล็กขนาดใหญ่ตกใส่รถพังเสียหาย ไม่ใช่มีแค่ถนนพระราม 2 สะพานพระราม 4 เกิดเหตุป้ายเหล็กขนาดใหญ่ตกใส่รถพังเสียหาย
  • หนีคดี 19 ปี! รวบแล้ว ‘มือมีด’ วัย 43 แทง ‘นักเรียนนายร้อย’ เสียชีวิต หนีคดี 19 ปี! รวบแล้ว ‘มือมีด’ วัย 43 แทง ‘นักเรียนนายร้อย’ เสียชีวิต
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

พัฒนาทักษะการสื่อสารด้านการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการกระทำเชิงสัญลักษณ์

พัฒนาทักษะการสื่อสารด้านการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการกระทำเชิงสัญลักษณ์

25 มิ.ย. 2568

จีนกระจุก เทากระจาย: มอง ‘ทุนจีนเทา’ ที่กลืนกลายอยู่ในสังคมไทยผ่านมุมมองสังคมวิทยา

จีนกระจุก เทากระจาย: มอง ‘ทุนจีนเทา’ ที่กลืนกลายอยู่ในสังคมไทยผ่านมุมมองสังคมวิทยา

18 มิ.ย. 2568

องค์กรย้อนแย้งลักลั่นและเกมผักชีโรยหน้าในดินแดนมัชฌิมา

องค์กรย้อนแย้งลักลั่นและเกมผักชีโรยหน้าในดินแดนมัชฌิมา

11 มิ.ย. 2568

การแจ้งเบาะแส เทคโนโลยี และการแก้คอร์รัปชัน

การแจ้งเบาะแส เทคโนโลยี และการแก้คอร์รัปชัน

28 พ.ค. 2568

เมื่อผู้หญิงเผชิญหน้ากับคอร์รัปชัน : ความไม่เท่าเทียมทางเพศในมิติที่สังคมไทยมองข้าม

เมื่อผู้หญิงเผชิญหน้ากับคอร์รัปชัน : ความไม่เท่าเทียมทางเพศในมิติที่สังคมไทยมองข้าม

21 พ.ค. 2568

เลือกตั้งเทศบาล 68 : ประชาชนร่วมสร้างความโปร่งใสในการเลือกตั้งได้อย่างไรบ้าง

เลือกตั้งเทศบาล 68 : ประชาชนร่วมสร้างความโปร่งใสในการเลือกตั้งได้อย่างไรบ้าง

14 พ.ค. 2568

The Corruption ระบบแท้ คนเก๊: วิเคราะห์ปัญหาคอร์รัปชันที่ประเทศไทยไม่มีทางแก้?

The Corruption ระบบแท้ คนเก๊: วิเคราะห์ปัญหาคอร์รัปชันที่ประเทศไทยไม่มีทางแก้?

30 เม.ย. 2568

การกลับคืนสู่อำนาจของทรัมป์: ผลกระทบต่อกระแสความคิดและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกลับคืนสู่อำนาจของทรัมป์: ผลกระทบต่อกระแสความคิดและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

23 เม.ย. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved