วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / กวนน้ำให้ใส
กวนน้ำให้ใส

กวนน้ำให้ใส

สารส้ม
วันจันทร์ ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2566, 02.00 น.
ข้อมูลพื้นฐาน ก่อนออกความเห็น กระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง

ดูทั้งหมด

  •  

สังคมมีความรู้สึกนึกคิดแตกต่างมากมายต่อโครงการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง


บ้าง ก็เอาประสบการณ์จากการได้เที่ยวกระเช้าไฟฟ้าในต่างประเทศมาสนับสนุน

บ้าง ก็เอาประสบการณ์การเดินเท้าขึ้นภูกระดึงมาคัดค้าน ฯลฯ

ทั้งหมด ไม่มีใครถูก-ผิด 100%

แต่ถ้าจะตัดสินใจโครงการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง ก็ควรจะทราบข้อมูลความจริงของโครงการ ว่าที่เคยศึกษามาก่อนหน้านี้ จนถึงวันที่ของบจ้างออกแบบ 28 ล้านบาทนั้น มีข้อมูลโครงการ แนวทาง แผนการบริหารจัดการหลังสร้างกระเช้าไฟฟ้าจะเป็นอย่างไร?

ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์ ได้เคยสรุป “จดหมายเหตุ : กระเช้าภูกระดึง” วิเคราะห์ถึงผลดี/ผลเสีย ความเป็นไปได้ของโครงการกระเช้าภูกระดึง ตามผลการศึกษาล่าสุด

สมควรที่สังคมควรจะได้พิจารณาประกอบการตัดสินใจ ดังต่อไปนี้

1. ภูกระดึงเป็นอุทยานแห่งชาติ แห่งที่ 2 ของประเทศไทย โดยได้รับการประกาศในปีพ.ศ. 2505 มีเนื้อที่สองแสนกว่าไร่ ลักษณะทั่วไปคือเป็นภูเขาหินยอดตัดทางขึ้นชันรอบด้าน

เส้นทางปัจจุบันที่ใช้เดินขึ้นภูกระดึงจากตำบลศรีฐาน สู่หลังแป มีระยะทางประมาณ 6 กม. หลังจากนั้นต้องเดินไปที่ทำการอุทยานฯอีกประมาณ 3 กม.รวมใช้เวลาเดินทางเฉลี่ยประมาณ 5-6 ชม.

ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆก็มีระยะทางไกลจากที่พักมากและต้องเดินเท้าเท่านั้น ความยากลำบากนี้ทำให้นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นรุ่นหนุ่มสาว และการท่องเที่ยวจะกระจุกตัวอยู่เฉพาะในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดยาว เนื่องจากต้องค้างอย่างน้อยหนึ่งคืน

ด้วยเหตุนี้ จึงมีความคิดที่จะสร้างกระเช้าขึ้นภูกระดึงมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2527 โดยในครั้งแรกนั้น มี ม.เกษตรศาสตร์เป็นผู้จัดทำ EIA

แต่คราวนั้น ถูกนักอนุรักษ์และกลุ่มผู้เสียผลประโยชน์คัดค้าน โครงการก็พับไป

จนมีการรื้อขึ้นมาอีกในปีพ.ศ. 2541 คราวนี้มี บจ. ทีม คอนซัลแตนท์ เป็นผู้ทำ EIA ใช้เวลาสองปี สรุปออกมาได้ว่าให้สร้างกระเช้าตามแนวที่นักท่องเที่ยวใช้เดินอยู่เดิมเนื่องจากมีความเหมาะสมที่สุด แต่ก็ไม่ได้สร้าง

ต่อมา ในปีพ.ศ.2557 จึงมีการรื้อโครงการขึ้นมาอีกครั้งโดยให้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ศึกษา ซึ่งเป็นตัวเอกสารที่ผมใช้อ้างอิงในการเขียนครั้งนี้

2. ในส่วนของตัวกระเช้านั้น ข้อมูลคร่าวๆ คือ จะมีความยาว 3,675 เมตร มีเสาทั้งหมด 16 ต้น

รวมแล้วพื้นที่ฐานของเสาทั้งหมดจะตัดป่าเพียง 3.65 ไร่

โดยอุปกรณ์ก่อสร้างทั้งหมดจะใช้การหย่อนลงด้วยเฮลิคอปเตอร์ ไม่มีการตัดถนนเพื่อลำเลียงวัสดุ/อุปกรณ์ก่อสร้างและไม่มีการตัดป่าตามแนวกระเช้า เนื่องจากกระเช้าจะทำให้สูงพ้นแนวเรือนยอดไม้ให้ได้ชมวิวป่าไปด้วย ซึ่งจากข้อมูลนี้และตัวอย่างจากต่างประเทศทั้งในรายงานและที่ผมเคยไปเที่ยวมา คิดว่าลำพังการก่อสร้างและตัวกระเช้าไฟฟ้า ไม่น่าส่งผลกระทบอะไรต่อระบบนิเวศมากมายนักทั้งระหว่างก่อสร้างและดำเนินการ

สิ่งที่น่าห่วงคือ นักท่องเที่ยวที่ขึ้นไปกับกระเช้ามากกว่า

3. ความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวของภูกระดึง (Carrying Capacity)เป็นสิ่งที่สำคัญมาก

เพราะต้องเข้าใจกันก่อนว่า หน้าที่หลักของอุทยานแห่งชาติ คือ การอนุรักษ์ธรรมชาติให้คงอยู่ในสภาพเดิม โดยการใช้ประโยชน์เป็นสถานที่ท่องเที่ยวนั้นเป็นหน้าที่รองลงมา

ทั้งนี้ในปัจจุบันภูกระดึงเปิดให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปได้เฉพาะช่วงเดือน ตุลาคม ถึง พฤษภาคม เท่านั้น โดยปิดในช่วงฤดูฝน เนื่องจากการขึ้นลงจะลำบากมาก และเพื่อเปิดโอกาสให้ธรรมชาติได้ฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว

โดยปัจจุบัน มีนักท่องเที่ยวไปภูกระดึงประมาณปีละ 62,000 คน ซึ่งจะไปเยอะในช่วงเสาร์-อาทิตย์ (ประมาณ 1,000 คน) และช่วงหยุดยาว (ประมาณ 3,000 คน)

ถ้านำตัวเลขมาเฉลี่ยก็คือประมาณ 172 คน/วัน ในขณะที่การศึกษาของบจ.ทีมฯ ระบุว่าภูกระดึงมีความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวได้วันละ 1,925 คน ในกรณีที่ไม่มีกระเช้า และ 4,425 คนในกรณีที่มีกระเช้า

ส่วนของม.มหิดลในปีพ.ศ.2537 ระบุว่ารองรับได้วันละ 1,500 คน

ซึ่งในส่วนของโครงการปัจจุบันนั้น ตั้งเป้าไว้เฉลี่ยประมาณวันละ 700 คน หรือประมาณ 253,500 คนต่อปี หรือให้มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 4 เท่านิดๆ (รวมนักท่องเที่ยวทั้งค้างคืนและไม่ค้างคืน)

สิ่งหนึ่งที่กระเช้าภูกระดึงจะแตกต่างไปจากกระเช้าที่ผมเคยไปเที่ยวมา คือ ส่วนใหญ่แล้วเค้าจะให้คนขึ้นไปแล้วจัดให้อยู่ในพื้นที่แคบๆ ที่กำหนดไว้ ไม่ได้ปล่อยให้ออกไปเดินข้างนอกหรือค้างคืนเหมือนในกรณีของภูกระดึง

ซึ่งจุดนี้ เป็นอีกจุดที่มีข้อสงสัย เนื่องจากจุดท่องเที่ยวต่างๆ บนภูกระดึงนั้น ค่อนข้างไกล ยกตัวอย่าง เช่น ผาหล่มสักนั้น มีระยะทาง 9 กม.จากที่ทำการฯผู้สูงอายุที่ขึ้นไปถึงยอดด้วยกระเช้าแล้ว ก็ไม่สามารถเดินไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆได้อยู่ดี จึงเกิดคำถามจากหลายฝ่ายว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป? มีรถรับส่งตามจุดท่องเที่ยวไหม? มีร้านค้า ห้องน้ำ เพิ่มขึ้นไหม? สิ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อระบบนิเวศบนยอดภูกระดึง

ซึ่งการศึกษาในปัจจุบันก็ไม่ได้นับรวมสิ่งเหล่านี้เข้าไป

4. คำถามเรื่องนักท่องเที่ยวขึ้นไปแล้ว จะทำอะไร มีการตอบโจทย์อยู่บ้างในรูปแบบของ “ศูนย์การศึกษาเรียนรู้ทางธรรมชาติ” ซึ่งจะถูกสร้างขึ้นที่บริเวณลานแป ใกล้ๆกับสถานีกระเช้า

ตามแผน คือ จะมีการจัดให้นักเรียนนักศึกษาและนักท่องเที่ยวทั่วไปมาเที่ยวศูนย์นี้โดยคิดค่าขึ้น/ลงกระเช้าและค่าเข้าชมศูนย์รวมทั้งหมด 500 บาท

ซึ่งรายได้จากโครงการนี้จะกลายเป็นรายได้หลักของโครงการกระเช้าไปเลย เพราะจากการศึกษาจะได้มากกว่าค่ากระเช้าขึ้น/ลงบริการนักท่องเที่ยว ซึ่งจะคิดเที่ยวละ 200 บาทด้วยซ้ำไป

ทั้งนี้ ค่าก่อสร้างศูนย์แห่งนี้ ยังไม่มีรวมอยู่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการกระเช้า ในขณะที่ผลประโยชน์ถูกนับรวมเข้ามาด้วย

และที่น่าสนใจ คือ ขนาดของศูนย์ฯดังกล่าวจะเป็นอย่างไร เพราะถ้าไม่รวมค่ากระเช้า ค่าเข้าชมศูนย์ที่ 100 บาทนับว่าค่อนข้างสูง เปรียบเทียบว่าเป็นราคาเดียวกับค่าเข้าชมพิพิธภัณฑ์ 3 แห่งขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติที่รังสิตคลอง 5 หรือค่าเข้าชมสวนสัตว์ดุสิต(ราคาผู้ใหญ่) ซึ่งถ้าเทียบแบบนี้แล้วศูนย์ดังกล่าวก็คงต้องมีขนาดใหญ่พอสมควรเพื่อให้คุ้มค่าเข้า จนอาจจะต้องมี EIA แยกต่างหากอีกด้วยซ้ำ เพราะในที่สุดแล้วตั้งเป้าว่าจะรองรับนักท่องเที่ยวถึงปีละ 130,000 คน

5. คำถามข้อถัดไป คือ ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการ

ค่าก่อสร้างกระเช้าจะอยู่ที่ 596.8 ล้านบาท

ค่าดำเนินการและบำรุงรักษาปีละ 31.4 ล้านบาท

ค่าดูแลสิ่งแวดล้อมปีละ 3.5 ล้านบาท

ค่าเสียโอกาสของลูกหาบปีละประมาณ 4 ล้านบาท

ส่วนรายได้นั้น ทางตรงจะมีหลักๆ อยู่ 3 ส่วน ซึ่งผมขอยกตัวอย่างประมาณการรายได้ของปี 2569 ซึ่งเป็นปีที่ 10 ของการดำเนินการโครงการมาเป็นตัวอย่าง โดยในปีนี้โครงการจะมีรายได้จากกระเช้า 28.76 ล้านบาท ร้านค้า 11.94 ล้านบาท ส่วนรายได้จากศูนย์การศึกษาเรียนรู้ทางธรรมชาติที่เอ่ยถึงไปในข้อ4. นั้นปีแรกคิดว่าจะมีคนมาเยี่ยมชม 25,000 รายและเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี ในปี 2569 จะมีรายได้ปีละ 32.42 ล้านบาท

ถ้าเป็นเอกชน รายได้โครงการจะมีแค่นี้ และเป็นโครงการที่เจ๊ง ไม่มีใครลงทุน

แต่เมื่อเป็นโครงการของรัฐ ก็จะนับรวมผลประโยชน์ทางอ้อมของโครงการ โดยเฉพาะการเติบโตของเศรษฐกิจรอบๆ พื้นที่โครงการ เช่น โรงแรม ร้านอาหารร้านขายของ ไปด้วย

รายได้ทางอ้อมของโครงการนี้มีมูลค่า 94.23 ล้านบาท มีรายได้จากส่วนเกินของผู้บริโภค 21.24 ล้านบาท ซึ่งอย่างหลังนี่ไม่แน่ใจว่ามันคืออะไรและควรเอามารวมไหม

เอาเป็นว่ารวมรายได้ปี 2569 มีมูลค่าถึง 188.59 ล้านบาท

จากตัวเลขเหล่านี้ จะเห็นว่าโครงการน่าจะมีความคุ้มค่าทางการลงทุนได้ แม้จะมีเงื่อนไขที่ต้องผ่านหลายข้อ รวมไปถึงต้องมีงบประมาณมาสร้างศูนย์ฯซึ่งยังไม่เห็นว่ามีมูลค่าเท่าไหร่ ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วควรจะรวมอยู่ในการคิดคำนวณความคุ้มทุน...

สรุป

ข้อมูลข้างต้นนั้น คือ ข้อเขียนชวนคิดของ ดร.นณณ์ ผาณิตวงศ์ ซึ่งย่อยมาจากรายงานผลการศึกษาความเป็นไปได้ฯ เมื่อปี 2557 (ล่าสุด)

ถึงวันนี้ รัฐบาลควรอธิบายรายละเอียดข้อมูลความจริงเหล่านี้ให้ชัดเจน มิใช่โยนให้สังคมถกเถียงกันตามความเชื่อและค่านิยมของแต่ละคน

ซึ่งบางที ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานแนวทางของโครงการที่จะดำเนินการจริงๆ

และข้อมูลโครงการก็ควรถูกตรวจสอบด้วยว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ ย้อนแย้งในตัวเองหรือไม่?

ยกตัวอย่าง ความจริงของโครงการที่วางแผนว่า จะให้นักท่องเที่ยวขึ้นพักบนภูกระดึงได้ไม่เกินวันละ 5,000 คน โดยจำนวนเดินขึ้นกับขึ้นกระเช้าแต่ละวันไม่เกิน 8,000 คน

สภาพระบบนิเวศบนภูกระดึงจะรองรับได้แค่ไหน จากปัจจุบัน จำกัดไว้วันละไม่เกิน 2,000 คน

สุดท้าย ตามภาพถ่ายที่นำเสนอนี้ คือ สภาพการดูพระอาทิตย์ขึ้นบนภูกระดึงในวันที่เคยมีนักท่องเที่ยวขึ้นไป 4,000 คน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
22:51 น. โปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชฯ ข้าราชบริพารในพระองค์ 223 ราย
22:39 น. ฝนถล่มอุดรฯ น้ำท่วมถนนหลายสายหนัก ชาวบ้าน 2 คนถูกไฟดูดเสียชีวิต
22:23 น. 'วุฒิสภากัมพูชา'อนุมัติ! เปิดทางเพิกถอนสัญชาติพลเมืองที่ทรยศต่อประเทศชาติ
22:07 น. ช็อก! คลินิกความงาม หลอกขายคอร์ส เปิดหรูในห้างดัง พบเงินบัญชีม้าเกือบ 50 ล้าน
22:04 น. ‘ทรัมป์’ได้เฮ! ศาลฎีกา‘สหรัฐฯ’ไฟเขียวแผนยุบกระทรวงศึกษาธิการ
ดูทั้งหมด
อื้อหือ! เพจดังเปิดภาพ 'สีกากอล์ฟ' ย้อนอดีต 10 ปี ไม่แปลกใจทำไมพระหวั่นไหว
'สีกากอล์ฟ'ฟาดเรียบ ทั้งเจ้าอาวาส ทั้งคนขับรถ สารภาพถูกชวนมีสัมพันธ์ลึกซึ้ง
วินาที'ในหลวง'ส่งสัญญาณพระหัตถ์ถึง'พระราชินี' ทรงรีบเข้าประคองพระองค์อย่างว่องไว
‘สม รังสี’แฉเหยื่อกว่า 120,000 คนในกัมพูชา ถูกขังใน 53 ตึก โดนบังคับใช้เป็นทาสมาเฟียจีน
ชุดทหารพรานก็ไม่รอด!! เขมรแต่งเครื่องแบบคล้ายชุดทหารพรานไทย สวนสนามต้อนรับ'ฮุน มาเนต'
ดูทั้งหมด
เรามีระบบตรวจสอบ หรือมีแต่ใบอนุญาตที่ซื้อได้?
บุคคลแนวหน้า : 16 กรกฎาคม 2568
ทับละมุ
เชลียร์จนได้เรื่อง!
รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย แบบเอาหน้าประชานิยม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ฝนถล่มอุดรฯ น้ำท่วมถนนหลายสายหนัก ชาวบ้าน 2 คนถูกไฟดูดเสียชีวิต

‘ทรัมป์’ได้เฮ! ศาลฎีกา‘สหรัฐฯ’ไฟเขียวแผนยุบกระทรวงศึกษาธิการ

ช็อก! คลินิกความงาม หลอกขายคอร์ส เปิดหรูในห้างดัง พบเงินบัญชีม้าเกือบ 50 ล้าน

'เก๋ไก๋'โพสต์ครั้งแรก! พ้ออายุ28แล้วยังผิดพลาดตลอด หลังเจอดราม่าใส่กางเกงรัดรูปเข้าวัด

(คลิป) ด่วน! 6พรรคร่วมซวยแน่ ปมหัวหน้าพรรคพบ 'ทักษิณ'

นักท่องเที่ยวต่างชาติมือบอน พ่นสีหัวรถจักร-ตู้โดยสารรถไฟเสียหาย

  • Breaking News
  • โปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชฯ ข้าราชบริพารในพระองค์ 223 ราย โปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชฯ ข้าราชบริพารในพระองค์ 223 ราย
  • ฝนถล่มอุดรฯ น้ำท่วมถนนหลายสายหนัก ชาวบ้าน 2 คนถูกไฟดูดเสียชีวิต ฝนถล่มอุดรฯ น้ำท่วมถนนหลายสายหนัก ชาวบ้าน 2 คนถูกไฟดูดเสียชีวิต
  • \'วุฒิสภากัมพูชา\'อนุมัติ! เปิดทางเพิกถอนสัญชาติพลเมืองที่ทรยศต่อประเทศชาติ 'วุฒิสภากัมพูชา'อนุมัติ! เปิดทางเพิกถอนสัญชาติพลเมืองที่ทรยศต่อประเทศชาติ
  • ช็อก! คลินิกความงาม หลอกขายคอร์ส เปิดหรูในห้างดัง พบเงินบัญชีม้าเกือบ 50 ล้าน ช็อก! คลินิกความงาม หลอกขายคอร์ส เปิดหรูในห้างดัง พบเงินบัญชีม้าเกือบ 50 ล้าน
  • ‘ทรัมป์’ได้เฮ! ศาลฎีกา‘สหรัฐฯ’ไฟเขียวแผนยุบกระทรวงศึกษาธิการ ‘ทรัมป์’ได้เฮ! ศาลฎีกา‘สหรัฐฯ’ไฟเขียวแผนยุบกระทรวงศึกษาธิการ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย แบบเอาหน้าประชานิยม

รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย แบบเอาหน้าประชานิยม

16 ก.ค. 2568

ศึกเขากระโดง ใครจะโดน 157 ?  ปรับ ครม. เพื่อชำระแค้นการเมือง

ศึกเขากระโดง ใครจะโดน 157 ? ปรับ ครม. เพื่อชำระแค้นการเมือง

15 ก.ค. 2568

ผู้ว่าฯแบงก์ชาติ เพื่อใคร?

ผู้ว่าฯแบงก์ชาติ เพื่อใคร?

14 ก.ค. 2568

กำจัดมารศาสนา ‘สีกาหน้าด้าน กับพระบ้ากาม’

กำจัดมารศาสนา ‘สีกาหน้าด้าน กับพระบ้ากาม’

11 ก.ค. 2568

รัฐบาลอุ๊งอิ๊งค์ไร้ฝีมือแท้ทรู  คือ ตัวถ่วงประเทศไทย

รัฐบาลอุ๊งอิ๊งค์ไร้ฝีมือแท้ทรู คือ ตัวถ่วงประเทศไทย

10 ก.ค. 2568

ความจริงกรณีบังคับโทษจำคุกนักโทษชั้น 14

ความจริงกรณีบังคับโทษจำคุกนักโทษชั้น 14

9 ก.ค. 2568

หนักแผ่นดิน

หนักแผ่นดิน

8 ก.ค. 2568

พายุใหญ่เศรษฐกิจไทย กัปตันอนุบาล บริวารไร้ฝีมือ

พายุใหญ่เศรษฐกิจไทย กัปตันอนุบาล บริวารไร้ฝีมือ

7 ก.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved