l วันนี้ ขอพูดถึงเรื่องที่มีความสำคัญหนึ่ง สำหรับผู้คนในสังคม คือ เรื่อง ภาพลักษณ์ โดยเฉพาะสำหรับผู้นำในสังคมไทย
จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในชีวิต ได้เห็น “ผู้นำกับภาพลักษณ์” ที่หลากหลายซึ่งมีทั้งผลดี และผลเสีย จาก “ความคิดและความเข้าใจเรื่องภาพลักษณ์” ที่ถูกและผิดเป็นเรื่องภาพลักษณ์ภายนอก และตัวจริงแก่นแท้ของตัวเอง
l ภาพลักษณ์ที่งดงาม คือภาพลักษณ์ที่ดีภายนอก ๑ ที่มาจากภาพลักษณ์ที่ดีแท้ภายใน ๑ และเราต้องศึกษา ทำความเข้าใจ และปรับภาพลักษณ์ภายในและภายนอกอยู่ตลอดเวลาเพราะ “ใจ และกาย ของมนุษย์” ที่เป็นสัตว์ประเสริฐ สามารถปรับและพัฒนาได้ จงมาทำหน้าที่ของตน ทั้งการปรับตนเอง และปรับผู้อื่นที่เป็นที่รักของเราและปรับชุมชน และสังคมในที่สุด
l ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จัก และเข้าใจ เรื่องของภาพลักษณ์กันก่อน
อาจจะมีความคิดความเห็นหลากหลาย ในหมู่นักวิชาการไทยสื่อ ฯลฯ
แต่ที่สำคัญ และมีผลมาก คือ “ความคิดของผู้นำต่อเรื่องภาพลักษณ์ (ของตนและผู้อื่นมอง)”
๑.เป็นภาพที่เกิดจากความนึกคิดหรือที่คิดว่าควรจะเป็นเช่นนั้นของเจ้าตัว
๒.เป็นภาพภายนอก ที่ผู้อื่นมองผู้นำนั้นๆ
๓.อาจจะเป็นภาพจริงๆ ที่เจ้าตัวมอง และผู้อื่นมอง อย่างถูกต้อง
๔.อาจจะเป็นภาพไม่จริงแท้ที่เจ้าตัวมองอย่างหนึ่ง แต่ผู้อื่นมองตรงกันข้ามฯ
๕.ภาพลักษณ์ภายนอก ปรับพัฒนาได้ที่ “ภาพลักษณ์ภายใน”
๖.อื่นๆ
l ภาพลักษณ์ ในเชิงองค์ความรู้ทางวิชาการ
ก. ตัวอย่าง เช่น
ภาพลักษณ์โดย พจน์ ใจชาญสุขกิจ
ภาพลักษณ์เป็นเสมือนสิ่งที่เกิดขึ้นจากความรู้สึกของแต่ละบุคคลต่อสิ่งต่างๆ และมักจะเป็นความรู้สึกที่สร้างขึ้นเองโดยมีข้อเท็จจริงเป็นหลักอ้างอิงอยู่ด้วย อาศัยประสบการณ์ การค้นคว้าหาความรู้ การหลอมรวมและสร้างสรรค์ คิด วิเคราะห์สิ่งต่างๆ จนทำให้เกิดความเชื่อการรับรู้ การเข้าใจในสิ่งต่างๆ ประกอบกันขึ้นเป็นภาพลักษณ์ของตนเอง และแสดงออกในรูปของพฤติกรรม โดยผ่านการคิดและกลั่นกรองของแต่ละคนมาแล้ว จึงทำให้ภาพลักษณ์นั้นมีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับจิตใจโดยตรง เป็นการผ่านการตีความหมาย การเลือกสรร และการให้ความหมายของตนเอง
องค์ประกอบของภาพลักษณ์
มีอยู่ 4 ประการด้วยกัน ที่มีความเกี่ยวข้องและมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน กล่าวคือ
1. องค์ประกอบเชิงการรับรู้
2. องค์ประกอบเชิงตระหนักรู้
3. องค์ประกอบเชิงความรู้สึก
4. องค์ประกอบเชิงการกระทำ
ข.จากนักวิชาการอื่นๆ.......(ควรจะแสวงหา และศึกษา เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจฯ)
l มาดูมุมมอง “ภาพพจน์ภายนอก” จากที่ผู้รู้สังเกตเห็น ผ่านกาลเวลาที่ยาวนานกว่า ๕๐ ปี
๑.คนที่หนึ่ง
เป็นคนมีชื่อเสียงและมีบทบาทต่อสังคมไทยสูงในทางที่ดี
(๑) ลักษณะร่วม
แสดงทัศนะ ต่อทิศทางของสังคม ในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยสังคมและสื่อให้ความสนใจสูงเพื่อนมิตรและผู้นำทั่วไป ยินดีที่ได้คบค้าสมาคม และจะให้ความเกรงใจมีบทบาทในการให้ความคิด และทิศทางของสังคม
(๒) ลักษณะเฉพาะของบางคน ที่หลากหลาย
สามารถคบค้าสมาคมกับ ผู้นำอื่นๆ ในสังคมได้อย่างดี วางตัวเหมาะสมมักให้ความสนใจต่อ อารมณ์ความรู้สึกของตนเองสูง ขาดการมีใจช่วยเหลือคนอื่น ระมัดระวังสูง ในการคบค้าสมาคมกับผู้นำที่มีภาพพจน์ในเชิงลบ
๒.คนที่สอง
เป็นคนเก่งมีความสามารถสูงในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนเพื่อนมิตรมีข้อจำกัดที่ตนมองไม่เห็น ในการเน้นตัวเองเป็นหลัก ขาดความจริงใจต่อมิตรสหายในช่วงวิกฤต มักจะหลบหลีก เอาตัวรอด และกลับมาเมื่องานจบ
๓.คนที่สาม
เป็นคนระดับกลาง มีความรัก ความจริงใจ เคารพคนและให้ (ช่วยเหลือ) คนที่ทุกข์ลำบากคิดและทำงานอย่างจริงจัง ผ่านชีวิตการต่อสู้เพื่อส่วนรวม ฯลฯ
๔.คนที่สี่
เป็นคนเก่ง มีความรู้ความสามารถสูงที่มีชื่อเสียงและความสำเร็จในการงาน ธุรกิจของตนมาจากการใช้อำนาจทั้งทางบวกและลบ
(๑) เป็นผู้มี ๒ อารมณ์ความรู้สึก ช่วงที่สติสงบจะคิดและแสดงความคิดความเห็นในเชิงบวกสร้างสรรค์ช่วงที่อารมณ์ลบ จะแสดงตัวตนที่แท้จริงออกมาต่อสังคม
(๒) ผลงานที่คิดและทำไป มักทำเพื่อผลประโยชน์ของตน ครอบครัว พวกพ้อง เป็นหลักการคิดและทำเพื่อส่วนรวม เป็นรอง
(๓) เอาตัวเองเป็นใหญ่ และมักจะเลือกสรรคนที่มีความรู้ความสามารถมาทำงานตามที่ตนสั่งไม่ใส่ใจ “ชะตากรรมของคนที่มาช่วยงานตน” เพราะมีกรอบคิดว่า “ช่วงมาทำงาน ก็ได้ผลประโยชน์ตอบแทนไปแล้ว”
ฯลฯ
l ประเด็นที่น่าสนใจ และใส่ใจ สำหรับผู้นำส่วนใหญ่ คือ
๑.ความเก่งความสามารถของตน มาจาก “ตัวเองเป็นหลัก”
๒.การปรับปรุง พัฒนาตนเอง มาจากตัวเองคนที่อยู่รอบข้าง จะไม่กล้า หรือเกรงใจในการแนะนำข้ออ่อนให้
๓.นิสัยทั้งดีและไม่ดี ก่อขึ้นมายาวนาน ในชีวิตการทำงาน
๔.การไม่มองตัวเอง ในส่วนที่ผิด เป็นลบ ทำให้เป็นข้ออ่อนของตนที่ไม่ได้ “พยายามแก้ไขส่วนที่เป็นข้ออ่อนและความผิดของตน”เกิดจากการไม่มองตนเอง ไม่ฟังคนอื่น และคนอื่นไม่กล้าแนะนำฯ
l สำหรับ “ผู้ที่มีอุดมคติ และมีธรรม เข้าใจตัวเอง ผู้อื่นและส่วนรวม”
๑.ลงทุนศึกษา ทำความเข้าใจ สภาพความเป็นจริงของตนเอง คนรอบข้างผู้อื่นและสังคมทำให้สามารถเข้าใจชีวิต กายใจ ของตน และผู้อื่นที่อยู่รอบข้าง
๒.จะหมั่นสรุปบทเรียนของตน และปรับปรุงพัฒนาตนเอง เป็นระยะ โดยในวันสำคัญของชีวิต
วันครบรอบวันเกิดของตน วันบวชเป็นพระ เป็นภิกษุณี วันมีครอบครัว วันมีลูกมีหลาน
วันสำคัญของวงศ์ตระกูล วันเกิดวันตายของพ่อแม่
วันสำคัญของปูชนียบุคคลที่ตนเคารพนับถือ
๓.จะมีความสุขและความสงบในชีวิต และใช้ชีวิตให้เกิดคุณค่าความหมายและประโยชน์ต่อสังคม
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี