วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / คิดด้วยพลเมือง (See-Think-Cen')
คิดด้วยพลเมือง (See-Think-Cen')

คิดด้วยพลเมือง (See-Think-Cen')

วันพุธ ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567, 02.00 น.
โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

ดูทั้งหมด

  •  

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น และหากจะให้พูดให้ชัดว่าอาหารเป็นเรื่องสำคัญของคนไทยก็คงจะต้องขอยกตัวอย่างกรณีที่มีการจัดอันดับอาหารยอดแย่ซึ่งพบว่าประเทศไทยมีเมนูยอดแย่อันดับหนึ่ง !? ได้แก่ “แกงไตปลา” ที่ทำให้คนไทยทั้งแผ่นดินได้รวมกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพื่อปกป้องเกียรติและศักดิ์ศรีของอาหารไทย ! ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงความผูกพันที่ลึกซึ้งระหว่างอาหารและวิถีชีวิตของคนไทย

ใครหลายๆ คนมักกล่าวว่าประเทศไทย “เป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ” หรือ “ในน้ำมีปลาในนามีข้าว” ไปจนถึง “สถานะของความเป็นครัวโลก”แต่รู้หรือไม่ว่ามีคนไทยอีกมากที่ไม่มีสิทธิในการเข้าถึงอาหาร (Right to Food) ทั้งๆ ที่สิทธิในการเข้าถึงอาหารเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้รับการรับรองโดยปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เพราะจากรายงาน “The State of Food Security and Nutrition in the World 2023” ขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO)พบว่าในช่วง ค.ศ. 2020 - 2022 ประมาณร้อยละ 7.6 ของประชากรไทยประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารในระดับปานกลางถึงรุนแรง


จากสถิติดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยกำลังเสี่ยงที่จะประสบปัญหาด้าน“ความมั่นคงทางอาหาร (Food Security)” โดยเฉพาะ “เด็ก” ในช่วงอายุที่ต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งจะพบว่า 1 ใน 10 คนกำลังเผชิญภาวะความยากจนทางอาหารขั้นรุนแรง ตามรายงาน Child Food Poverty: Nutrition Deprivationin Early Childhood ที่เผยแพร่ใน ค.ศ. 2024ของกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UnitedNations Children’s Fund: UNICEF) ซึ่งพบว่าเด็กๆ ได้รับประทานอาหารไม่เกิน 2 หมู่ต่อวัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพและพัฒนาการโดยรวมในระยะยาว...

นอกจากนี้จากการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยใน ค.ศ. 2022 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติและ UNICEF ยังชี้ถึงความน่ากังวลด้านโภชนาการของเด็กไทยเช่นกัน เพราะมีเด็กในประเทศไทยร้อยละ 13 ของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ยังมีภาวะเตี้ยแคระแกร็น และร้อยละ 7 มีภาวะผอมแห้ง เนื่องจากการขาดสารอาหารอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน!โดยทั้งหมดนี้เป็นเหตุมาจาก “วิกฤตความยากจนทางอาหาร (Food Poverty Crisis)” ที่มีปัจจัยหลายประการ เช่น ระบบอาหารที่ล้มเหลวซึ่งทำให้เด็กไม่สามารถเข้าถึงอาหารที่มีประโยชน์และปลอดภัยได้ และการที่ครอบครัวไม่มีกำลังซื้ออาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ รวมถึงการขาดความรู้และทักษะในการส่งเสริมโภชนาการให้กับเด็กๆ

ทุกพื้นที่มีแต่ “คอร์รัปชัน” เรื่องอาหารก็เช่นกัน...

การเข้าไม่ถึงสิทธิในการเข้าถึงอาหารที่ดีและมีคุณภาพจะนำไปสู่ปัญหาภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition) ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนไทยในรูปแบบของการขาดสารอาหาร โดยปัญหานี้ก็เป็นปัญหาที่ข้องเกี่ยวกับ “การคอร์รัปชัน” อย่างมีนัยสำคัญ ที่มักปรากฏในการทุจริตการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอาหาร เช่น การละเลยมาตรฐานและการบิดเบือนข้อมูลโภชนาการ ที่ส่งผลให้ผู้บริโภคไม่สามารถเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพและคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมได้ นอกจากนี้ยังปรากฏในลักษณะของการทุจริตในโครงการอาหารเพื่อโภชนาการ เช่น อาหารกลางวันในโรงเรียนซึ่งทำให้กลุ่มเป้าหมายไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างเพียงพอส่งผลให้เกิดภาวะทุพโภชนาการในวงกว้าง โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบางทางสังคม

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการทุจริตในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทย ซึ่งปัญหาการคอร์รัปชันในภาคอาหารของไทยมีหลายรูปแบบตั้งแต่การทุจริตในระดับนโยบาย การละเว้นการบังคับใช้กฎหมาย ไปจนถึงการทุจริตในระดับปฏิบัติการ อย่างในกรณีของ “การลักลอบนำเข้าหมูเถื่อน”ที่สมาชิกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรประเมินว่า ในแต่ละปีมูลค่าของหมูเถื่อนอยู่ที่ประมาณ 40,000 ล้านบาท ซึ่งถ้าคำนวณค่าความเสียหายเสียโอกาสของห่วงโซ่การเลี้ยงหมูที่ได้รับผลกระทบจากหมูเถื่อน เช่น การเพาะปลูกพืชเพื่อนำมาเป็นอาหารสัตว์ของเกษตรกรอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ร้านค้าปลีกและค้าส่ง ร้านอาหาร ที่เอาหมูเถื่อนไปทำกำไรขายให้ผู้บริโภคที่คาดการณ์ว่าเม็ดเงินที่หมุนเวียนในวงจรจะไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท ซึ่งหมูเถื่อนนั้นไม่สามารถที่จะตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยได้ ซึ่งทำให้ผู้เขียนหวนนึกถึงกรณี“ปลาหมอคางดำ”

จากหมูเถื่อนสู่ปลาหมอคางดำ... ตอกย้ำปัญหาคอร์รัปชันในอาหารไทย

ปลาหมอคางดำ เป็นปลาในวงศ์เดียวกับปลานิลและปลาหมอเทศ ซึ่งมีด้านคุณค่าทางโภชนาการคล้ายกับปลานิล โดยเนื้อปลามีปริมาณโปรตีนสูงอยู่ในช่วง 18%-20% ไขมันประมาณ 2% ซึ่งเป็นลักษณะของปลาทั่วไปที่มีคุณภาพทางด้านโภชนาการ แต่ในทางกลับกันที่มาของปลาหมอคางดำเรียกได้ว่าเป็นการแพร่ระบาดในแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ! เพราะปลาหมอคางดำมีการแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศที่เป็นแหล่งอาหารของชุมชนจากการกินสัตว์น้ำที่เล็กกว่า นอกจากนี้ปลาหมอคางดำยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจการประมงของไทย โดยกรมประมงรายงานว่าปลาชนิดนี้ทำลายแหล่งวางไข่และอนุบาลของปลาพื้นเมือง ส่งผลให้ปริมาณปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติลดลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้และความมั่นคงทางอาหารของชุมชนประมงพื้นบ้าน ไปจนถึงความหลากหลายและคุณภาพของอาหารของคนไทยทั้งประเทศ...

การแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติของไทยไม่เพียงส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพเท่านั้น แต่ยังสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการทุจริตและการบริหารจัดการที่บกพร่องในห่วงโซ่อุปทานอาหารของประเทศ ซึ่งสื่อมวลชนได้มีบทบาทสำคัญในการเปิดโปงและสืบสวนกรณีดังกล่าวผ่านการทำข่าวเชิงสืบสวน (Investigative Journalism) ที่รายงานเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำผ่านการลงพื้นที่สำรวจและสัมภาษณ์ชาวบ้านในจังหวัดต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งพบว่าการลักลอบนำเข้าปลาชนิดนี้อย่างผิดกฎหมายผ่านช่องทางการค้าสัตว์น้ำสวยงาม โดยมีเจ้าหน้าที่รัฐบางรายมีส่วนเกี่ยวข้องในการอำนวยความสะดวกและปกปิดข้อมูล หรือเรียกได้ว่าเป็นเครือข่ายลักลอบนำเข้าและจำหน่ายปลาหมอคางดำที่มีความเชื่อมโยงกับผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่รัฐบางราย

หน่วยงานรัฐจึงเร่งหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา จึงมีการเสนอและส่งเสริมให้ประชาชนบริโภคปลาหมอคางดำเพื่อควบคุมจำนวนประชากร ซึ่งเป็นประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง โดย แนวทางดังกล่าวเป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ไม่ยั่งยืนและอาจส่งผลเสียในระยะยาว เนื่องจากอาจเป็นการสร้างความต้องการในตลาดสำหรับปลาชนิดนี้ที่อาจนำไปสู่การเพาะเลี้ยงและแพร่กระจายมากขึ้น ทั้งนี้การส่งเสริมการบริโภคปลาหมอคางดำอาจเป็นการละเลยปัญหาต้นตอของการทุจริตและการบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพ แทนที่จะมุ่งเน้นการป้องกันการนำเข้าและแพร่กระจายของสายพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน รวมถึงการฟื้นฟูระบบนิเวศที่ได้รับผลกระทบ

เพราะอาหารคือเรื่องใหญ่ การแก้ไขปัญหาจึงสำคัญ แต่ต้องแก้ไขอย่างยั่งยืน!

การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ในการพัฒนาระบบการควบคุมและตรวจสอบการนำเข้าสัตว์น้ำที่มีประสิทธิภาพ การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด และการสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบของสายพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน ซึ่งการแก้ไขปัญหานี้ไม่เพียงเป็นการจัดการกับภัยคุกคามต่อระบบนิเวศและความมั่นคงทางอาหารเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสในการปรับปรุงธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยอีกด้วย นอกจากนี้ควรมีการเพิ่มมาตรการในการควบคุมและตรวจสอบคุณภาพของอาหารในห่วงโซ่อุปทานอย่างเข้มงวด

ที่สำคัญคือการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังในทุกมิติที่ควรร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบและดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดอย่างเด็ดขาด พร้อมทั้งสนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบการติดตามและประเมินผล เพื่อให้สามารถปรับปรุงนโยบายและมาตรการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งการแก้ไขปัญหาเหล่านี้จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนไทย และนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหมายที่ 2ว่าด้วยการขจัดความหิวโหยและบรรลุความมั่นคงทางอาหาร เพื่อให้คนไทยมีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี !

อ้างอิง

Food and Agriculture Organization of the United Nations, (2023) The State of Food Security and Nutrition in the World 2023.

MGR ONLINE, (2023) หมูเถื่อนแสนล้าน “ศุลกากร-ประมง-ปศุสัตว์” 3 ประสาน “บูรณาโกง” ตัวการใหญ่ !?

SDG MOVE, (n.d.) ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ SDGs

tasteatlas, (2024) 100 Worst Rated FOODS in the World

Thai PBS, (2024) “ปลาหมอคางดำ” จับจากน้ำเน่าเสี่ยงสารพิษ-เชื้อโรคในตัวปลา

unicef, (2024) ยูนิเซฟชี้เด็กเล็ก 1 ใน 10 ในประเทศไทยกำลังเผชิญความยากจนทางอาหารเด็กขั้นรุนแรง

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
14:11 น. 'ฮุน เซน'ขู่ตัดขาดไทย! จี้รัฐบาลกัมพูชาเลิกหนุนสินค้าทุกชนิด กร้าว'แม้ไม่มีจะกินก็อย่าพึ่งเขา'
13:51 น. จับหนุ่มหนีคดีพยายามฆ่าซุกตัวในซากเรือ
13:42 น. สุดโรแมนติก! 'โปรต้า'คุกเข่าขอ'ครูเบียร์'แต่งงานริมทะเล
13:39 น. วัดแทบแตก! ครอบครัวฝรั่งหัวใจพุทธ สร้างวัด-แจกไข่ไก่ชาวบ้าน
13:35 น. (คลิป) เคลียร์ชัด!! ไทกร เปิดดีลลับตั้งนายก ตีแผ่หมดเปลือก ใครเป็นใคร!!
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
‘มาครง’เผยคุย‘แพทองธาร’แล้ว ลั่นคนไทยไว้วางใจมิตรภาพจาก‘ฝรั่งเศส’ได้เสมอ
‘หม่อมปนัดดา‘ ปรากฏตัวกลางม็อบ ‘รวมพลังแผ่นดิน’ ของดให้สัมภาษณ์สื่อ
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
'ออสเตรเลีย'ออกคำเตือนพลเมืองมา'ไทย'หลังพบวัตถุต้องสงสัยหลายเมืองท่องเที่ยวภาคใต้
ดูทั้งหมด
ทิศทางของไทยคือความเป็นกลาง
‘หนีดีกว่า’อวสาน‘ตระกูลชิน’
สองพ่อลูกลุยกรรม
ไทยประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา
เดือน ก.ค. อำนาจตุลาการพิทักษ์แผ่นดิน
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'ฮุน เซน'ขู่ตัดขาดไทย! จี้รัฐบาลกัมพูชาเลิกหนุนสินค้าทุกชนิด กร้าว'แม้ไม่มีจะกินก็อย่าพึ่งเขา'

สุดโรแมนติก! 'โปรต้า'คุกเข่าขอ'ครูเบียร์'แต่งงานริมทะเล

วัดแทบแตก! ครอบครัวฝรั่งหัวใจพุทธ สร้างวัด-แจกไข่ไก่ชาวบ้าน

(คลิป) ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2 ชุดขาวในเงามืด!

สมศักดิ์ศรีสาวบุรีรัมย์! 'ลิซ่า ลลิษา'โชว์สกิลเทพตำส้มตำปลาร้า ดันอาหารไทยสู่สายตาชาวโลก

'ญี่ปุ่น'แผ่นดินไหวทะลุ1,000ครั้ง! แถลงการณ์ฉุกเฉินสั่งปชช.เตรียมพร้อมอพยพทุกเมื่อ

  • Breaking News
  • \'ฮุน เซน\'ขู่ตัดขาดไทย! จี้รัฐบาลกัมพูชาเลิกหนุนสินค้าทุกชนิด กร้าว\'แม้ไม่มีจะกินก็อย่าพึ่งเขา\' 'ฮุน เซน'ขู่ตัดขาดไทย! จี้รัฐบาลกัมพูชาเลิกหนุนสินค้าทุกชนิด กร้าว'แม้ไม่มีจะกินก็อย่าพึ่งเขา'
  • จับหนุ่มหนีคดีพยายามฆ่าซุกตัวในซากเรือ จับหนุ่มหนีคดีพยายามฆ่าซุกตัวในซากเรือ
  • สุดโรแมนติก! \'โปรต้า\'คุกเข่าขอ\'ครูเบียร์\'แต่งงานริมทะเล สุดโรแมนติก! 'โปรต้า'คุกเข่าขอ'ครูเบียร์'แต่งงานริมทะเล
  • วัดแทบแตก! ครอบครัวฝรั่งหัวใจพุทธ สร้างวัด-แจกไข่ไก่ชาวบ้าน วัดแทบแตก! ครอบครัวฝรั่งหัวใจพุทธ สร้างวัด-แจกไข่ไก่ชาวบ้าน
  • (คลิป) เคลียร์ชัด!! ไทกร เปิดดีลลับตั้งนายก ตีแผ่หมดเปลือก ใครเป็นใคร!! (คลิป) เคลียร์ชัด!! ไทกร เปิดดีลลับตั้งนายก ตีแผ่หมดเปลือก ใครเป็นใคร!!
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

พัฒนาทักษะการสื่อสารด้านการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการกระทำเชิงสัญลักษณ์

พัฒนาทักษะการสื่อสารด้านการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการกระทำเชิงสัญลักษณ์

25 มิ.ย. 2568

จีนกระจุก เทากระจาย: มอง ‘ทุนจีนเทา’ ที่กลืนกลายอยู่ในสังคมไทยผ่านมุมมองสังคมวิทยา

จีนกระจุก เทากระจาย: มอง ‘ทุนจีนเทา’ ที่กลืนกลายอยู่ในสังคมไทยผ่านมุมมองสังคมวิทยา

18 มิ.ย. 2568

องค์กรย้อนแย้งลักลั่นและเกมผักชีโรยหน้าในดินแดนมัชฌิมา

องค์กรย้อนแย้งลักลั่นและเกมผักชีโรยหน้าในดินแดนมัชฌิมา

11 มิ.ย. 2568

การแจ้งเบาะแส เทคโนโลยี และการแก้คอร์รัปชัน

การแจ้งเบาะแส เทคโนโลยี และการแก้คอร์รัปชัน

28 พ.ค. 2568

เมื่อผู้หญิงเผชิญหน้ากับคอร์รัปชัน : ความไม่เท่าเทียมทางเพศในมิติที่สังคมไทยมองข้าม

เมื่อผู้หญิงเผชิญหน้ากับคอร์รัปชัน : ความไม่เท่าเทียมทางเพศในมิติที่สังคมไทยมองข้าม

21 พ.ค. 2568

เลือกตั้งเทศบาล 68 : ประชาชนร่วมสร้างความโปร่งใสในการเลือกตั้งได้อย่างไรบ้าง

เลือกตั้งเทศบาล 68 : ประชาชนร่วมสร้างความโปร่งใสในการเลือกตั้งได้อย่างไรบ้าง

14 พ.ค. 2568

The Corruption ระบบแท้ คนเก๊: วิเคราะห์ปัญหาคอร์รัปชันที่ประเทศไทยไม่มีทางแก้?

The Corruption ระบบแท้ คนเก๊: วิเคราะห์ปัญหาคอร์รัปชันที่ประเทศไทยไม่มีทางแก้?

30 เม.ย. 2568

การกลับคืนสู่อำนาจของทรัมป์: ผลกระทบต่อกระแสความคิดและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกลับคืนสู่อำนาจของทรัมป์: ผลกระทบต่อกระแสความคิดและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

23 เม.ย. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved