วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / เรื่องเล่าจากสภา
เรื่องเล่าจากสภา

เรื่องเล่าจากสภา

ศ.พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร
วันพฤหัสบดี ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2567, 02.00 น.
ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีคนแรก

ดูทั้งหมด

  •  

ผู้คนอาจไม่รู้ก็ได้ว่าที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการคนแรกนั้นคือ คือเชื้อพระวงศ์คนสำคัญที่มีพระนามว่า หม่อมเจ้าวรรณไวทยากรวรวรรณ และนายกรัฐมนตรีที่เลือกท่านวรรณ เป็นที่ปรึกษานั้นก็คือพระยาพหลพลพยุหเสนา เมื่อพระยาพหลฯขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ท่านได้ขอและได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรให้หม่อมเจ้าวรรณไวยากร ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีเข้าประชุมสภาฯ เพื่อชี้แจง แทนนายกรัฐมนตรี เวลาผ่านไปประมาณ 2 สัปดาห์ เมื่อ พระยาพหลฯ ได้ทำหนังสือขอลาออกจากนายกรัฐมนตรีและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเห็นชอบด้วย เรื่องจึงกลับมาที่สภาฯ และในวันนั้นหม่อมเจ้าวรรณ ได้เป็นผู้อธิบายหลักการ ให้ความเห็น เพื่อที่สภาฯจะได้มีมติมีความที่น่าสนใจดังนี้

“เรื่องนี้เกี่ยวกับระเบียบการ มติไว้ใจนั้นย่อมทำได้ทุกเมื่อ ไม่ใช่ว่าลงมติหนหนึ่งแล้วใช้ได้ตลอดไปจนกว่าจะลงมติว่าไม่ไว้ใจ เพราะนโยบายต่างๆ ย่อมมีข้อเป็นหลักดำเนินการเกิดขึ้นเนืองๆ ถ้าเกิดขึ้นเมื่อใดรัฐบาลก็ต้องขอมติไว้ใจทีหนึ่ง ในที่นี้พระยาพหลฯ ท่านถือว่าท่านไม่มีความสามารถพอสำหรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งหวังว่าท่านสมาชิกทั้งหลายคง
ไม่เห็นด้วยกับความเห็นเรื่องนี้ แต่เมื่อยังไม่ได้ลงมติไปให้แน่นอนก็จะเป็นที่สงสัย ฉะนั้นถ้าแม้ว่าสภาฯ นี้ยังเห็นว่าท่านควรจะต้องดำรงอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อไปแล้ว ก็ควรที่จะลงมติความไว้ใจเสียอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะได้ลบล้างความสงสัยในข้อนี้ได้”


จากนั้นเมื่อสมาชิกสภาฯยังมีคำถามและข้อสงสัยอยู่ ท่านวรรณก็ได้ช่วยให้ความเห็น

“ตามรัฐธรรมนูญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ทรงตั้งนายกรัฐมนตรี แต่ว่านายกรัฐมนตรีนั้น สภาฯ เป็นผู้เลือกขึ้นไปคราวนี้จะต้องมีเครื่องหมายอะไรที่ว่าสภาฯ เลือกในที่นี้สภาฯ ได้เลือกไว้ก่อนแล้ว ครั้นพระยาพหลฯท่านลาออก ซึ่งตามทางการต้องถือว่าลาออกจากสภาฯ เหมือนกันโดยทางไว้ใจ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ทรงตั้ง ทีนี้ถ้าจะวางรูปมติว่าสภาฯ สนับสนุนพระราชปรารภ ทางรัฐธรรมนูญอาจจะตีความขัดกันได้ เพราะจะเกี่ยวการตั้งนายกรัฐมนตรี ที่ข้าพเจ้าแถลงมานั้นสภาฯ ไม่ต้องสนับสนุน แต่ประธานสภาฯ เป็นผู้รับพระบรมราชโองการ เพราะฉะนั้นจะต้องสรรผู้ที่สภาฯไว้ใจ”

ในวันนั้น สภาฯได้ลงมติให้พระยาพหลฯเป็นนายกรัฐมนตรีสืบต่อไป

ท่านที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีผู้นี้ ไม่ใช่จะอธิบายเพียงเรื่องใหญ่ๆ อันสำคัญทางรัฐศาสตร์หรือทางการเมืองเท่านั้น แม้ในเรื่องทางบริหารทั่วไปท่านนายกฯก็ได้ขอให้หม่อมเจ้าวรรณได้เป็นผู้ชี้แจงหรืออธิบายแทนรัฐบาล ดังเช่น นโยบายในการออกลอตเตอรี่ของรัฐบาล

“การออกสลากลอตเตอรี่ที่จริงเป็นหน้าที่ฝ่ายบริหาร ถ้าจะออกก็ยอมทำได้ แต่ถ้าว่าเกี่ยวกับหลักนโยบายซึ่งควรจะได้รับความไว้ใจของสภาฯ เพราะข้อนี้มิได้มีบ่งชัดชัดในคำแถลงนโยบาย ฉะนั้นจึงเสนอมา ถ้าสภาฯ ได้อนุมัติความไว้ใจในหลักนโยบายอันนี้ ทางบริหารก็จะได้ดำเนินการต่อไป คือไม่อยากทำอะไรลงไปที่ไม่ได้รับความไว้ใจของสภาฯ ส่วนหน้าที่โดยตรงเป็นหน้าที่บริหาร แต่เกี่ยวกับหลักนโยบายซึ่งอยากขอให้สภาฯ นี้ลงมติไว้ใจก่อนที่จะปฏิบัติการไป”

ช่วงเวลา ประมาณห้าเดือนของรัฐบาลพระยาพหลฯ 1 หม่อมเจ้าวรรณ ได้ทำหน้าที่ที่ปรึกษาที่สำคัญ ต้องอธิบายชี้แจงในสภาฯแทบทุกนัด เป็นการทำหน้าที่ ซึ่งคนเห็นว่ามากกว่ารัฐมนตรีเสียอีก เพียงแต่ว่าไม่ได้เป็นรัฐมนตรี จึงอาจมีคนสงสัยว่าทำไมคนที่มีความรู้ความสามารถเช่นนี้ พระยาพหลฯจึงไม่ตั้งเป็นรัฐมนตรีเพื่อเข้ามามาช่วยทำงานเสียเลย เหตุที่ทำไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญ บัญญัติให้พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป ต้องอยู่เหนือการเมือง

“มาตรา 11 พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปโดยกำเนิดหรือโดยแต่งตั้งก็ตามย่อมดำรงอยู่ในฐานะเหนือการเมือง”

 

นรนิติ เศรษฐบุตร

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
15:41 น. แอดมิทด่วน! 'เอ๊ะ จิรากร'เล่าประสบการณ์หัวใจเต้นผิดปกติ
15:40 น. 'อนุสรณ์'แนะเปิดใจรับฟังเหตุผลงบรีโนเวตสภาฯ ไม่ใช่ตัดสินไปก่อน
15:35 น. สองผัวเมียอารมณ์ดี! ‘ขายหอยครก 6 ราง’ ทำขายแทบไม่ทัน-ลูกค้าเพียบ
15:20 น. ป่วนใต้หลายจุด! จุดไฟเผากล้อง-แขวนป้าย-วางวัตถุต้องสงสัย 3 อำเภอในยะลา
15:14 น. 'ทวี'เผย'กกต.'ประสาน'ดีเอสไอ'แปะหมายเรียกหน้าบ้าน 6 สว. คดีฮั้ว
ดูทั้งหมด
ภาพอบอุ่นใจความรักที่งดงามของ 'กษัตริย์จิกมี-สมเด็จพระราชินี-เจ้าชาย-พระธิดา' ในยามค่ำคืนของทะเลทรายโกบี
(คลิป) 'ฐปณีย์' เละคาบ้าน! ด้อยค่าคนไม่เห็นด้วย 'เมียจ่าปืน' ออกโรงตอกกลับไม่ใช่ IO
‘ลาออก’ไปเถอะ! ฉะ‘นายกฯ’มีสติปัญญาแค่นี้ แผ่นเสียงตกร่องชู‘กาสิโน’แก้เศรษฐกิจ
มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 4-10 พ.ค.68
หยามเกียรติธงชาติไทย! ทนายแจ้งเอาผิด โพสต์เฟสบุ๊คดูหมิ่น'ธงคือผ้าเช็ดเท้า'
ดูทั้งหมด
อวสาน‘ทักษิณ’คุกรออยู่
ความต่างของ สิงคโปร์ กับ ไทย
คุกนรก (1)
นักการเมือง ‘ส้มสารพิษ’
บุคคลแนวหน้า : 9 พฤษภาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'อนุสรณ์'แนะเปิดใจรับฟังเหตุผลงบรีโนเวตสภาฯ ไม่ใช่ตัดสินไปก่อน

แอดมิทด่วน! 'เอ๊ะ จิรากร'เล่าประสบการณ์หัวใจเต้นผิดปกติ

เศร้า! ช้างป่ากุยบุรีขาเจ็บล้มแล้ว สะเทือนใจผลชันสูตร

ปตท. ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติส่วนเพิ่มแหล่งอาทิตย์เสริมความมั่นคงพลังงานไทย

'ทวี'เผย'กกต.'ประสาน'ดีเอสไอ'แปะหมายเรียกหน้าบ้าน 6 สว. คดีฮั้ว

วัฒนธรรมโบราณ! พิธีล้างพระธาตุศรีสองรัก สักขีพยานสัมพันธไมตรีสองแผ่นดิน 465 ปี

  • Breaking News
  • แอดมิทด่วน! \'เอ๊ะ จิรากร\'เล่าประสบการณ์หัวใจเต้นผิดปกติ แอดมิทด่วน! 'เอ๊ะ จิรากร'เล่าประสบการณ์หัวใจเต้นผิดปกติ
  • \'อนุสรณ์\'แนะเปิดใจรับฟังเหตุผลงบรีโนเวตสภาฯ ไม่ใช่ตัดสินไปก่อน 'อนุสรณ์'แนะเปิดใจรับฟังเหตุผลงบรีโนเวตสภาฯ ไม่ใช่ตัดสินไปก่อน
  • สองผัวเมียอารมณ์ดี! ‘ขายหอยครก 6 ราง’ ทำขายแทบไม่ทัน-ลูกค้าเพียบ สองผัวเมียอารมณ์ดี! ‘ขายหอยครก 6 ราง’ ทำขายแทบไม่ทัน-ลูกค้าเพียบ
  • ป่วนใต้หลายจุด! จุดไฟเผากล้อง-แขวนป้าย-วางวัตถุต้องสงสัย  3 อำเภอในยะลา ป่วนใต้หลายจุด! จุดไฟเผากล้อง-แขวนป้าย-วางวัตถุต้องสงสัย 3 อำเภอในยะลา
  • \'ทวี\'เผย\'กกต.\'ประสาน\'ดีเอสไอ\'แปะหมายเรียกหน้าบ้าน 6 สว. คดีฮั้ว 'ทวี'เผย'กกต.'ประสาน'ดีเอสไอ'แปะหมายเรียกหน้าบ้าน 6 สว. คดีฮั้ว
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลแรกของหลวงพิบูลสงคราม

รัฐบาลแรกของหลวงพิบูลสงคราม

8 พ.ค. 2568

เลือกตั้งผู้แทนฯ โดยตรงครั้งแรกของสยาม

เลือกตั้งผู้แทนฯ โดยตรงครั้งแรกของสยาม

1 พ.ค. 2568

ยุบสภาครั้งแรกของสยาม

ยุบสภาครั้งแรกของสยาม

24 เม.ย. 2568

การซื้อขายที่ดินของพระคลังข้างที่

การซื้อขายที่ดินของพระคลังข้างที่

17 เม.ย. 2568

รัฐบาลเสนอตั้งศาลพิเศษเพื่อพิจารณาคดีกบฏนายสิบ

รัฐบาลเสนอตั้งศาลพิเศษเพื่อพิจารณาคดีกบฏนายสิบ

10 เม.ย. 2568

ลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจนั้นลงวันเดียวกันเมื่อจบการอภิปรายได้ไหม

ลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจนั้นลงวันเดียวกันเมื่อจบการอภิปรายได้ไหม

3 เม.ย. 2568

เมื่อสส.ท้วงเรื่องที่ว่ารัฐมนตรีไม่มีความรู้ตรงกับงานของกระทรวง

เมื่อสส.ท้วงเรื่องที่ว่ารัฐมนตรีไม่มีความรู้ตรงกับงานของกระทรวง

27 มี.ค. 2568

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สละราชสมบัติ

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สละราชสมบัติ

20 มี.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved