วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / มองอย่างไท
มองอย่างไท

มองอย่างไท

ปิยะ เนตรวิเชียร
วันจันทร์ ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2568, 02.00 น.
รัฐบาล ต้องทำหน้าที่เพื่อประเทศชาติ

ดูทั้งหมด

  •  

การปกครองของชาติไทย เริ่มมีระเบียบแบบแผนมาตั้งแต่ต้นสมัยอาณาจักรอยุธยาในยุคของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ซึ่งได้ทรงก่อตั้งอาณาจักรนี้ ในปีพุทธศักราช ๑๘๙๓ พระองค์ได้ทรงจัดระเบียบและวางรากฐานการปกครองตั้งแต่นั้นมา โดยในระยะหลังก็มีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับยุคสมัยและกาลเวลาโดยตลอด

ในช่วงอยุธยาตอนต้นซึ่งอยู่ระหว่างปี พ.ศ. ๑๘๙๓ ถึง ๑๙๙๑ กษัตริย์เป็นผู้อำนวยการปกครอง รูปแบบการปกครองแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือการปกครองส่วนกลางหรือราชธานี เแบ่งป็นการปกครองแบบจตุสดมภ์ คือ เวียงวัง คลัง และนา ซึ่งมีเสนาบดี ๔ ตำแหน่ง


ขุนเวียง ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าดูแลทุกข์สุขของราษฎร บังคับบัญชาการบริหารของแขวง อำเภอ ตลอดจนการพิจารณาพิพากษาความฉกรรจ์มหันตโทษ

ขุนวัง ทำหน้าที่ดูแลรักษาพระราชมณเฑียร และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระราชสำนัก และมีอำนาจที่จะตั้งศาลชำระความซึ่งเกี่ยวข้องได้

ขุนคลัง ทำหน้าที่บังคับบัญชาเกี่ยวกับการเงิน ซึ่งจะเข้าในพระคลังและการใช้จ่าย ตลอดจนการจัดเก็บภาษีอากรและจัดการเกี่ยวกับพระราชทรัพย์ทั้งปวง รวมทั้งการชำระความเกี่ยวกับพระราชทรัพย์ของหลวง

ขุนนา ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าดูแลการทำไร่ทำนาของราษฎร การจัดเก็บภาษีอากรและค่าเช่าทำนา ตลอดจนการสะสมเสบียงอาหารของพระนคร มีอำนาจที่จะตั้งศาลพิพากษาความเกี่ยวข้องกับเรื่องนาและโคกระบือด้วย

การปกครองอีกส่วนหนึ่งคือการปกครองส่วนภูมิภาค ซึ่งจะแบ่งหัวเมืองออกเป็นส่วนต่างๆ คือเมืองลูกหลวงซึ่งจะอยู่ใกล้ชิดกับราชธานีทั้ง ๔ ด้าน หัวเมืองชั้นใน คือเมืองที่อยู่รายรอบออกไป เช่น ปราจีนบุรี ราชบุรี หัวเมืองชั้นนอกคือเมืองที่อยู่ห่างไกลราชธานี และเมืองประเทศราชคือเมืองที่ให้เจ้าต่างชาติต่างภาษาปกครองโดยต้องส่งเครื่องราชบรรณาการถวายตามกำหนด

ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนกลาง ในรัชกาลของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีการปรับปรุงการปกครองโดยรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง และแบ่งส่วนราชการเป็น ๒ ส่วน คือส่วนกลางหรือส่วนราชธานี ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย

ฝ่ายทหาร มีสมุหกลาโหมเป็นหัวหน้า ดูแลทหารทั่วราชอาณาจักร

ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายกเป็นหัวหน้า รับผิดชอบ จตุสดมภ์ทั้ง ๔

และการปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งการปกครองโดยเปลี่ยนหัวเมืองชั้นในเป็นหัวเมืองจัตวา หัวเมืองชั้นนอกเปลี่ยนเป็นหัวเมืองชั้นเอก โท ตรีตามลำดับความสำคัญและขนาดของเมือง ส่วนเมืองประเทศราชยังคงไว้เช่นเดิม

ในสมัยอยุธยาตอนปลาย เริ่มให้มีการถ่วงดุลอำนาจ โดยสมเด็จพระเพทราชา ได้แบ่งแยกอำนาจสมุหกลาโหมและสมุหนายกเสียใหม่คือ สมุหกลาโหมดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งหมด ทั้งที่เป็นฝ่ายทหารและพลเรือน ส่วนสมุหนายกดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมด ที่เป็นฝ่ายทหารและพลเรือน รูปแบบการปกครองนี้ถูกใช้เรื่อยมาจนถึงรัชกาลที่ ๕ จึงได้มีการปฏิรูปการปกครองใหม่

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงเห็นว่า ในขณะนั้นเริ่มมีภัยคุกคามของประเทศจากมหาอำนาจตะวันตกประกอบกับการปกครองเดิม อำนาจจำนวนไม่น้อยตกอยู่ในมือของขุนนาง ดังนั้นเพื่อให้ประเทศชาติมีการพัฒนาเกิดการเจริญก้าวหน้าได้ จึงเห็นว่าจะต้องมีการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย โดยถือเอาการปฏิรูปการปกครองเป็นเรื่องสำคัญ

ได้มีการจัดตั้งสภาขึ้น ๒ สภา คือสภาที่ปรึกษาบริหารราชการแผ่นดิน (Council of State) ซึ่งประกอบด้วยขุนนางข้าราชการจำนวน ๑๒ คน เพื่อถวายคำปรึกษาในเกือบทุกด้าน และอีกสภาหนึ่งคือสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์ (Privy Council)ประกอบด้วยสมาชิก ๔๙ คน มีทั้งพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางข้าราชการ

จากการได้รับคำปรึกษาจากเจ้านายและขุนนางข้าราชการที่ได้ไปศึกษาจากประเทศตะวันตกพระองค์ทรงเห็นชอบเรื่องการปฏิรูปรูปแบบการปกครองเพื่อ การรักษาเอกราชของชาติ และต้องการให้ประเทศมีการปกครองแบบพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

ในปี พ.ศ.๒๔๓๑ ได้ทรงประกาศจัดตั้งเสนาบดีสภาขึ้น โดยทรงเลือกผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งเสนาบดีที่เปรียบเสมือนรัฐมนตรีในยุคปัจจุบัน โดยทรงเป็นประธานในที่ประชุม และทรงให้คำปรึกษาเกี่ยวกับราชการและการบัญชางานแก่เสนาบดีแบบใหม่ขึ้น

เชื่อว่ามีประชาชนคนไทยจำนวนไม่น้อย ไม่เคยได้รับทราบมาก่อนว่า การจัดตั้งกระทรวงนั้นได้เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ แล้ว ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นหลังจากมีการปฏิวัติและเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย

ในครั้งนั้น พระองค์ได้ทรงประกาศให้จัดตั้งกระทรวงจำนวน ๑๒ กระทรวง เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๕ อันประกอบไปด้วย กระทรวงกลาโหม กระทรวงนครบาล กระทรวงวัง กระทรวงเกษตรพานิชการ กระทรวงคลัง กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงยุทธนาธิการ กระทรวงโยธาธิการ กระทรวงธรรมการ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงมุรธาธิการ และกระทรวงมหาดไทย ซึ่งต่อมามีการปรับลดลงจงเหลือเพียงแค่ ๑๐ กระทรวง โดยยกเลิกกระทรวงยุทธนาธิการและกระทรวงมุรธาธิการ

นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงการปกครองส่วนภูมิภาค โดยมีการจัดตั้งเขตปกครองที่เรียกว่ามณฑล และต่อมามีการจัดลำดับชั้นของการปกครอง ซึ่งต่ำสุดคือหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ดูแล หมู่บ้าน ๑๐ หมู่บ้านเรียกว่าตำบล จะมีกำนัน เป็นผู้ดูแล ตำบลที่มีราษฎรรวมกันประมาณ ๑๐,๐๐๐ คนเรียกว่าอำเภอ มีนายอำเภอเป็นผู้ดูแล หลายอำเภอรวมกันเรียกว่าเมือง มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้ดูแล หลายเมืองรวมกันเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ดูแล และมีเสนาบดีเป็นผู้รับผิดชอบดูแลตามภาคส่วนต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นที่มาของรูปแบบบริหารราชการแผ่นดินในปัจจุบัน

การบริหารราชการแผ่นดินในปัจจุบัน มีคณะผู้บริหารเรียกว่ารัฐบาล อันประกอบไปด้วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงต่างๆ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บริหารสูงสุด ผู้ที่จะเข้ารับตำแหน่งต่างๆ ในรัฐบาลนั้น จะต้องได้รับความเห็นชอบโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งจากองค์พระมหากษัตริย์ โดยก่อนจะเข้าปฏิบัติหน้าที่นั้น จะต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อองค์พระมหากษัตริย์ โดยคำปฏิญาณนั้นมีว่า” ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้า จะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ”

เมื่อคณะรัฐมนตรี อันประกอบไปด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีทุกคนเมื่อได้กระทำสัตย์ปฏิญาณแล้ว จึงเปรียบเสมือนได้กระทำการสาบาน ในการที่จะบริหารบ้านเมืองด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดยยึดเอาประโยชน์ของประเทศชาติเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ไม่พึงกระทำการใดๆเพื่อผลประโยชน์ของส่วนตน ครอบครัว หรือพวกพ้อง ซึ่งมีแต่จะนำความเสื่อมมาสู่ตัวเองและทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

จึงต้องหันกลับมาถามรัฐบาลชุดปัจจุบัน ว่าขณะนี้ท่านทั้งหลายยังคงรักษาคำสัตย์ปฏิญาณซึ่งถือว่าเป็น คำมั่นสัญญาอยู่หรือไม่อย่างไร ผลงานที่ท่านทั้งหลาย ได้แสดงไว้ ตั้งแต่ตอนหาเสียงเลือกตั้ง จนกระทั่งเมื่อเข้าปฏิบัติหน้าที่แล้ว ได้เป็นไปตามที่ท่านได้กล่าวไว้หรือไม่ ตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา ได้ทำให้บ้านเมืองนี้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างไรบ้าง มีพัฒนาการในเรื่องใดที่มีผลเป็นที่ประจักษ์ชัด เศรษฐกิจของประเทศที่ท่านบอกว่าจะฟื้นฟูอย่างรวดเร็ว ได้เป็นไปตามนั้นจริงหรือไม่ ความเป็นอยู่ของประชาชนโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีรายได้น้อยและยังต้องการความช่วยเหลือเกื้อกูล ดีขึ้นกว่าเดิมหรือไม่ และท่านมีส่วนรู้เห็นหรือไม่ ในการที่ทำให้ประชาชนคนไทยต้องตกเป็นเหยื่อของแก๊งคอลเซ็นเตอร์จากกระบวนการข้ามชาติ ทั้งๆที่รัฐหรือชาติที่ปกครองคนเหล่านั้นที่อยู่ในกระบวนการ รู้เรื่องนี้เป็นอย่างดี ซึ่งไม่น่าจะเชื่อว่าจะรู้มากกว่ารัฐบาลหรือข้าราชการ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

พระสยามเทวาธิราชเป็นเทพศักดิ์สิทธิ์ที่ปกป้องคุ้มครองชาติไทย หากคณะรัฐบาล ไม่ว่าจะท่านใดก็ตาม ไม่ดำรงตนตามที่ได้ให้สัตย์ปฏิญาณไว้ต่อองค์พระมหากษัตริย์ ก็เชื่อว่าผลแห่งการกระทำที่ไม่ดีทั้งหลาย ที่เรียกว่าเป็นกรรมชั่ว จะได้กลับมาตอบสนองต่อตัวท่านเองในเวลาไม่ช้านานนัก

ปิยะ เนตรวิเชียร

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
13:10 น. (คลิป) มรสุม! 'ทักษิณ' ไม่น่ารอดคุก! ศาลฯไม่อนุญาตให้ไป 'กาตาร์'
13:09 น. กูรูอีสานไม่ทนฟาดยับ'เก่ง ธชย'ทำไม่ถึง ย่ำยีจารีตคนอีสาน!
13:02 น. ‘ปลัดมท.’ กำชับ ‘ผู้ว่าฯ-นายอำเภอ’ ชายแดนใต้ ต้องอยู่ในพื้นที่สร้างความมั่นใจปชช. เข้มเฝ้าระวังไฟใต้ระอุ
13:01 น. 'อ้วน รีเทิร์น'เคลียร์ชัด! โพสต์รูปคู่ 'หมอย้ง'สยบข่าวรักร้าว
13:01 น. แห่ส่งกำลังใจ'จ่าลอด'นักแสดงไทบ้านฯ รถลงข้างทาง อาการสาหัส
ดูทั้งหมด
ภาพอบอุ่นใจความรักที่งดงามของ 'กษัตริย์จิกมี-สมเด็จพระราชินี-เจ้าชาย-พระธิดา' ในยามค่ำคืนของทะเลทรายโกบี
(คลิป) 'ฐปณีย์' เละคาบ้าน! ด้อยค่าคนไม่เห็นด้วย 'เมียจ่าปืน' ออกโรงตอกกลับไม่ใช่ IO
‘ลาออก’ไปเถอะ! ฉะ‘นายกฯ’มีสติปัญญาแค่นี้ แผ่นเสียงตกร่องชู‘กาสิโน’แก้เศรษฐกิจ
มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 4-10 พ.ค.68
'แก้ว อภิรดี'ควงลูกสาวเปิดสถานะหัวใจ เผยเตรียมสละโสดก่อนอายุ 35
ดูทั้งหมด
อวสาน‘ทักษิณ’คุกรออยู่
ความต่างของ สิงคโปร์ กับ ไทย
คุกนรก (1)
นักการเมือง ‘ส้มสารพิษ’
บุคคลแนวหน้า : 9 พฤษภาคม 2568
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

(คลิป) มรสุม! 'ทักษิณ' ไม่น่ารอดคุก! ศาลฯไม่อนุญาตให้ไป 'กาตาร์'

แห่ส่งกำลังใจ'จ่าลอด'นักแสดงไทบ้านฯ รถลงข้างทาง อาการสาหัส

(คลิป) 'ป๋าเสรี' ฟันธง 'ทักษิณ' ติดคุก!! เตือนลิ่วล้อรับสารภาพ ไม่มีคนคุ้มกะลาหัวแล้ว

'จุลพันธ์'เผย'เอดีบี'เชื่อมั่นศักยภาพลงทุนไทย ชี้ จีดีพีทั่วโลกตก จ่อเรียกถกกระตุ้นเศรษฐกิจ

ปตท. ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติส่วนเพิ่มแหล่งอาทิตย์เสริมความมั่นคงพลังงานไทย

ชาวคริสต์ทั่วโลกยินดี! เผยโฉมสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่14 โป๊ปชาวอเมริกันคนแรกในประวัติศาสตร์

  • Breaking News
  • (คลิป) มรสุม! \'ทักษิณ\' ไม่น่ารอดคุก! ศาลฯไม่อนุญาตให้ไป \'กาตาร์\' (คลิป) มรสุม! 'ทักษิณ' ไม่น่ารอดคุก! ศาลฯไม่อนุญาตให้ไป 'กาตาร์'
  • กูรูอีสานไม่ทนฟาดยับ\'เก่ง ธชย\'ทำไม่ถึง ย่ำยีจารีตคนอีสาน! กูรูอีสานไม่ทนฟาดยับ'เก่ง ธชย'ทำไม่ถึง ย่ำยีจารีตคนอีสาน!
  • ‘ปลัดมท.’ กำชับ ‘ผู้ว่าฯ-นายอำเภอ’ ชายแดนใต้ ต้องอยู่ในพื้นที่สร้างความมั่นใจปชช. เข้มเฝ้าระวังไฟใต้ระอุ ‘ปลัดมท.’ กำชับ ‘ผู้ว่าฯ-นายอำเภอ’ ชายแดนใต้ ต้องอยู่ในพื้นที่สร้างความมั่นใจปชช. เข้มเฝ้าระวังไฟใต้ระอุ
  • \'อ้วน รีเทิร์น\'เคลียร์ชัด! โพสต์รูปคู่ \'หมอย้ง\'สยบข่าวรักร้าว 'อ้วน รีเทิร์น'เคลียร์ชัด! โพสต์รูปคู่ 'หมอย้ง'สยบข่าวรักร้าว
  • แห่ส่งกำลังใจ\'จ่าลอด\'นักแสดงไทบ้านฯ รถลงข้างทาง อาการสาหัส แห่ส่งกำลังใจ'จ่าลอด'นักแสดงไทบ้านฯ รถลงข้างทาง อาการสาหัส
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

เศรษฐกิจไทย จะล่มสลายหรือไม่

เศรษฐกิจไทย จะล่มสลายหรือไม่

5 พ.ค. 2568

รัฐบาลที่รุกรบไม่เป็น ก็ยอมแพ้เถอะ

รัฐบาลที่รุกรบไม่เป็น ก็ยอมแพ้เถอะ

28 เม.ย. 2568

ไทย ต้องไม่ทำตัวเป็นประเทศราช

ไทย ต้องไม่ทำตัวเป็นประเทศราช

21 เม.ย. 2568

ของขวัญปีใหม่ไทย ต้องไม่ใช่บ่อนกาสิโน

ของขวัญปีใหม่ไทย ต้องไม่ใช่บ่อนกาสิโน

13 เม.ย. 2568

แผ่นดินไหว ลางร้ายของรัฐบาลหรือ

แผ่นดินไหว ลางร้ายของรัฐบาลหรือ

7 เม.ย. 2568

รัฐบาลที่ดี ต้องสร้างความไว้วางใจให้ประชาชน

รัฐบาลที่ดี ต้องสร้างความไว้วางใจให้ประชาชน

31 มี.ค. 2568

คนไหนสร้างหนี้ คนนั้นก็ต้องใช้หนี้

คนไหนสร้างหนี้ คนนั้นก็ต้องใช้หนี้

24 มี.ค. 2568

โปรยทาน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของชาติหรือ

โปรยทาน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของชาติหรือ

17 มี.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved