วันพุธ ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์การเมือง / คิดด้วยพลเมือง (See-Think-Cen')
คิดด้วยพลเมือง (See-Think-Cen')

คิดด้วยพลเมือง (See-Think-Cen')

วันพุธ ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2568, 02.00 น.
The Corruption ระบบแท้ คนเก๊: วิเคราะห์ปัญหาคอร์รัปชันที่ประเทศไทยไม่มีทางแก้?

ดูทั้งหมด

  •  

“เมื่อการคอร์รัปชันไม่ใช่เรื่องผิดในความรู้สึกของสังคม แต่กลายเป็น “ส่วนหนึ่งของระบบ” คำถามที่อยากชวนคิดต่อ คือ... แล้วเราจะแก้มันได้จริงเหรอ?”

โดยปกติแล้วการคอร์รัปชันควรถูกมองว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่ปกติ ผิดกฎหมาย ผิดจริยธรรม และควรถูกจัดการอย่างเด็ดขาด แต่ในประเทศไทย กลับมีพฤติกรรมจำนวนมากที่สังคมมองว่า “ไม่เป็นไร ถือว่าคนรู้จักกันช่วยเหลือกัน” หรือ “ใครๆ ที่มีอำนาจก็ทำกันทั้งนั้น” หรือประโยคคลาสสิกติดปากว่า “โกงนิดหน่อยไม่เป็นไร” คำพูดที่เราได้ยินกันจนชินหูในสังคมไทย ทั้งๆ ที่สิ่งนี้คือ หนึ่งในรูปแบบการคอร์รัปชัน ทำไมพฤติกรรมโกงนิดๆ หน่อยๆ เหล่านี้ กับกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบวงกว้าง เช่น อาหารกลางวันเด็กถูกโกง การใช้เส้นสายในการสอบเข้าหรือเลื่อนขั้นในแวดวงราชการ หรือแม้แต่การกินเงินทอนในโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปจนระดับประเทศ ทั้งที่มันคือการใช้อำนาจในการบิดเบือนผลประโยชน์ส่วนรวม เป็นการใช้ตำแหน่งหน้าที่ในทางที่ไม่ชอบธรรม


สรุปแล้ว...ปัญหามันอยู่ที่ “คนโกง” ใช่ไหม ? แค่หาระบบดีๆ มาครอบก็จบแล้ว ?

ระบบปราบโกงในไทยมีมากจนจำไม่ไหว เหนื่อยยิ่งกว่าท่องมุก “แม่ติ๋มเชียงใหม่ แม่ใหญ่ลำปางฯ” เสียอีก เพราะเรามีทั้งกฎหมาย กฎระเบียบ นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันมากมาย รวมถึงมีคณะกรรมการ หน่วยงานตรวจสอบ ช่องทางเปิดเผยข้อมูลภาครัฐเพื่อความโปร่งใส หรือช่องทางร้องเรียนการทุจริตคอร์รัปชันอีกนับไม่ถ้วน แต่ทำไมการคอร์รัปชันถึงยังเกิดซ้ำๆ แล้วระบบปราบโกงเหล่านี้ไม่สามารถหยุดมันได้เลยเหรอ หรือเพราะสิ่งที่เราเรียกว่า “ระบบ” บ่อยครั้งมันไม่ใช่ระบบป้องกันการโกง แต่คือระบบที่สืบทอดการโกง เปิดช่องให้คนใช้ตำแหน่ง อำนาจ และเครือข่ายในทางที่ผิดได้อย่างแนบเนียนโดยไม่ถูกลงโทษใดๆ หรือเปล่า ?

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้น…

1.ระบบจัดซื้อจัดจ้างที่เปิดช่องให้เกิดการโกงได้อย่างถูกกฎหมาย

ระบบที่เปิดช่องให้โกงได้โดยไร้การตรวจสอบ กลายเป็นเรื่องปกติในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ทั้งที่ตามระเบียบแล้วต้องมีการเปิดข้อมูลเอกสาร TOR มีวิธีการและผู้เข้าแข่งขันประกวดราคาอย่างโปร่งใสและไม่กีดกันการแข่งขัน แต่ในความเป็นจริงมีหลายกรณีที่พบว่า มีการฮั้วกันตั้งแต่การจัดทำโครงการ หรือการจัดทำ TOR แบบล็อกสเปกหรือปรับแก้ไขแบบให้คุณภาพไม่ตรงตามมาตรฐานงบประมาณที่ต้องเสียไป แต่ดันไปตรงใจกับบริษัทพวกพ้อง มีการฮั้วประมูลภายใต้เครือข่ายผู้รับเหมาเดียวกัน หรือแม้แต่ใช้บริษัทคู่เทียบเข้ามาแข่งขันพอเป็นพิธีเสนอห่างกันแค่ไม่กี่บาท และห่างจากราคากลางแค่พอให้เนียนอย่างกับมีพรายกระซิบ บางครั้งก็ตัดส่วนซอยย่อยโครงการให้หลายสัญญา เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันและเลือกพวกตัวเองแบบเฉพาะเจาะจง ผลลัพธ์ที่มักตามมาบ่อยๆ คือ รัฐได้ของแพงเกินจริง โครงการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน หรือสิ่งของคุณภาพต่ำอย่างน่ากังขา แต่พอมีคำถามและจะตรวจสอบ ก็จะเจอวลีคลาสสิกว่า“ทุกอย่างดำเนินการตามกระบวนการกฎหมายทุกขั้นตอน ตามกฎระเบียบทุกประการ” ทั้งๆ ที่หน้างานจริงก็เห็นแบบโทนโท่ว่าต้องมีการคอร์รัปชันเกิดขึ้นแน่ๆ

หากลองดูจากปีงบประมาณ 2567 จากข้อมูลในเว็บไซต์ภาษีไปไหน (Thailand Government Spending) พบว่า ภาครัฐใช้เงินไปกับการจัดซื้อจัดจ้างกว่า 1.2 ล้านล้านบาท เฉพาะหมวดการจ้างก่อสร้างมีมูลค่าสูงถึง 485,058.85 ล้านบาท หากมีการหักหัวคิวหรือกินเงินทอนไปเพียง ร้อยละ 20 ของงบโครงการก่อสร้าง จะเท่ากับว่างบประมาณกว่า 97,000 ล้านบาทอาจรั่วไหลไปสู่ผู้มีอำนาจหรือผู้เกี่ยวข้องโดยมิชอบแบบถูกกฎหมายทุกขั้นตอน ตัวเลขนี้สะท้อนให้เห็นถึง มูลค่าความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการคอร์รัปชันในระบบจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ ซึ่งไม่เพียงส่งผลต่อประสิทธิภาพของโครงการ แต่ยังบั่นทอนความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อระบบราชการ และในท้ายที่สุด ความเคยชินกับการรั่วไหลของงบประมาณเหล่านี้
ก็กัดกร่อนความหวังของผู้คน จนหลายคนจำยอม ยอมรับว่า“มันก็เป็นแบบนี้แหละ” และเชื่อว่าการทุจริตเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งความเคยชินต่อการโกงไม่ได้แค่ทำให้ประเทศไทยล้มเหลว แต่ทำให้ประชาชนเลิกเชื่อว่า “ความถูกต้อง” เปลี่ยนอะไรได้

2. ระบบเปิดเผยข้อมูลที่เป็นเพียงฉากบังหน้า

ระบบเปิดเผยข้อมูลที่ควรเอื้อต่อการตรวจสอบ กลับกลายเป็นเพียงฉากหน้าที่บดบังความไม่โปร่งใส แทนที่ข้อมูลจะถูกเปิดเผยอย่างเสรีตามหลักสากลของ Open Data for Anti-Corruption ตามที่ประเทศไทยมุ่งหวัง ซึ่งเน้นตามหลักการสำคัญ 6 ข้อ ได้แก่ 1) เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดคือข้อยกเว้น 2) เปิดเผยรวดเร็วและครบถ้วน 3) เข้าถึงได้ง่ายและใช้ได้จริง 4) มีคุณภาพและโครงสร้างที่ชัดเจน 5) เสริมสร้างธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วมของประชาชน และ 6) เสริมสร้างการพัฒนานวัตกรรม ซึ่งมองลงมาในบริบทของประเทศไทยที่มีกฎหมายสำคัญอย่าง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และ พ.ร.บ. บริการภาครัฐผ่านดิจิทัล พ.ศ. 2562 ที่ระบุให้หน่วยงานรัฐต้องเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะในรูปแบบดิจิทัล เข้าถึงได้ฟรี และนำไปใช้ต่อยอดได้อย่างเสรี และถ้าพูดถึงศูนย์กลางรวมข้อมูลเปิดภาครัฐที่เปิดให้ทุกคนเข้าไปดู หลายคนอาจคุ้นชื่อเว็บไซต์ data.go.th ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Government Data) ของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล และเว็บไซต์ www.gprocurement.go.th ระบบรวมข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) ของกรมบัญชีกลาง แต่คำถามสำคัญคือ “ข้อมูลที่เปิดเผยนั้นเพียงพอและมีคุณภาพพอสำหรับการตรวจสอบอำนาจรัฐหรือไม่?”

ถ้าต้องยกกรณีที่น่าตกใจและใกล้ตัว คือ โครงการสร้างอาคารสำนักงานแห่งใหม่ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มูลค่ากว่า 2.1 พันล้านบาท ที่พังถล่มระหว่างแผ่นดินไหว ส่งผลให้แรงงานที่กำลังก่อสร้างได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต และถูกตั้งข้อสงสัยในมาตรฐานการก่อสร้างและเบื้องหลังการจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่โปร่งใส โดยการมีบริษัทจีนที่เป็นกิจการร่วมค้าใช้บริษัทฝั่งประเทศไทยมาบังหน้ากินรวบรับงานภาครัฐตั้งแต่ระดับ 100 ล้านบาท ไปจนถึง 7,000 ล้านบาท โดยมีคำชี้แจงส่วนหนึ่งจากตัวแทนของ สตง. ในที่ประชุมคณะกรรมาธิการติดตามงบฯ ว่า ในการก่อสร้างอาคารดังกล่าว ไม่รู้ว่ามี “บริษัทจีนเข้าไปร่วมทุนด้วย” เพราะมีบริษัทยักษ์ใหญ่ของประเทศไทยออกหน้าให้ตลอด สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าระบบเปิดเผยข้อมูลภาครัฐของไทยล้มเหลวในทางปฏิบัติ แม้จะมีกฎหมายและแพลตฟอร์มรองรับ แต่ข้อมูลยังขาดความโปร่งใส ครบถ้วน และเข้าถึงยาก หรือแม้แต่ สตง. เองยังไม่ทราบข้อมูลพื้นฐานของคู่สัญญาในโครงการพันล้านของตนเลย

สุดท้ายแล้วปัญหาคอร์รัปชันของประเทศไทยจะแก้คนก็ไม่ได้ถ้าระบบยังพัง แก้ระบบก็ไม่ไหวถ้าคนยังยอมรับการโกง

ในมุมมองของผู้เขียน สิ่งที่เราเห็นในปัญหาการต่อต้านคอร์รัปชันในประเทศไทยอาจจะ ไม่ใช่แค่ คนโกงเก่ง หรือระบบไร้ประสิทธิภาพ แต่มันคือวงจรย้อนแย้งที่ทั้งระบบและคนต่างก็ส่งเสริมให้การโกงยังอยู่รอดได้ ดังนั้นการแก้ปัญหาคอร์รัปชันในประเทศไทยจำเป็นต้องทำงานในสองระดับพร้อมกันไป คือปฏิรูประบบและเปลี่ยนแปลงทัศนคติสังคม ประการแรก ภาครัฐต้องปฏิรูประบบตรวจสอบให้มีประสิทธิภาพจริง โดยเฉพาะการเปิดเผยข้อมูลที่ต้องครบถ้วน เข้าถึงง่าย และตรวจสอบได้ ไม่ใช่แค่มีแพลตฟอร์มแต่ข้อมูลไม่สมบูรณ์ ประการที่สอง ทุกภาคส่วนต้องเปลี่ยนค่านิยมสังคมที่มองว่า “โกงนิดหน่อยไม่เป็นไร” ผ่านการศึกษาและสร้างกระแสสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริตทุกรูปแบบ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ประชาชนต้องเชื่อมั่นว่าความถูกต้องเปลี่ยนแปลงสังคมได้ และลุกขึ้นมามีส่วนร่วมเป็นหูเป็นตาในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เพราะการเอาชนะคอร์รัปชันได้ ต้องอาศัยกลไกระบบที่เข้มแข็งควบคู่กับพลังพลเมืองที่ไม่ยอมจำนนต่อความไม่ถูกต้อง

สุดท้ายนี้ ผู้เขียนเชื่อเหลือเกินว่า เหตุผลที่การคอร์รัปชันยังไม่หายไปจากสังคมปัจจุบัน ไม่ใช่เพราะเรามีคนโกงที่มากขึ้น แต่เกิดจากความเงียบและการเพิกเฉยต่อปัญหาของคนที่เพิ่มขึ้น และเมื่อไรที่เรากล้าจะไม่เงียบ ความเปลี่ยนแปลงในการต่อต้านคอร์รัปชันจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ขอบคุณครับ

แหล่งอ้างอิง

ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และ
ส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค. (2567, 10 มีนาคม). เปิดข้อมูลให้โปร่งใส ปิดตายการคอร์รัปชัน. สืบค้นจาก https://kraccorruption.com/knowledge/เปิดข้อมูลให้โปร่งใส-ปิ/

ศุทธิรัตน์ พัชรวุฒิพันธุ์. (2566, 14 มิถุนายน). เปิดไม่โปร่ง ข้อมูลภาครัฐยังเร้นลับจริงไหม?. แนวหน้า. สืบค้นจาก https://www.naewna.com/anticorruption/columnist/55430

ThaiPublica. (2567, 27 สิงหาคม). ข้อมูลภาครัฐ…ต้องเปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น เครื่องมือ-หัวใจต่อต้านวิกฤตคอร์รัปชันของไทย. สืบค้นจาก https://thaipublica.org/2024/08/open-data-for-anti-corruption-efforts-in-thailand-rold-
xcelerate/

กรุงเทพธุรกิจ. (2568, 15 เมษายน). เจาะงานสร้างตึก สตง.พิรุธ 2 ปม จ่อเลิกสัญญา-ไม่รู้มีบริษัทจีน?. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/politics/1175947

รักษ์ป่า อู่สุวรรณ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
11:19 น. รบเดือดที่เมืองแผ่โข่ง! ทัพเมียนมาปะทะกลุ่มต่อต้าน เครื่องบินทิ้งระเบิดบ้านเรือนเสียหายยับ
11:19 น. ‘พัคโบกอม’ คัมแบ็กเมืองไทย! เสิร์ฟแฟนมีตครั้งแรกในรอบ 6 ปี พร้อมกับอีก 10 ประเทศทั่วเอเชีย
11:14 น. 'กล้าธรรม'ได้'รมว.ศึกษาฯ' โยก'นฤมล'คุม ด้าน'อรรถกร'ผงาดนั่ง'รมว.เกษตรฯ'
11:10 น. 'นายกฯ'เปิดการประชุม GFEAI 2025 ย้ำความมุ่งมั่นในการพัฒนา AI อย่างมีความรับผิดชอบ
11:01 น. ‘จตุพร’แปลกใจ‘ทักษิณ’ไม่โผล่กู้ศรัทธา‘นายกฯ’ แฉรัฐบาลสั่งผู้ว่าฯสกัดคนร่วมม็อบ28มิ.ย.
ดูทั้งหมด
'ญี่ปุ่น'อัปเกรดพันธมิตร! เตรียมส่ง'ยุทโธปกรณ์'เสริมเขี้ยวเล็บไทย-7ชาติ
วินาทีตัดสินใจของ'พีระพันธุ์' คือจุดเปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย
กัมพูชาราคาน้ำมันพุ่ง เริ่มขาดแคลน 'พนักงานบ่อนปอยเปต'โอดบ่อนเตรียมปิดสิ้นเดือนนี้
ดาวเทียมเปิดภาพช็อก! 3โรงงานนิวเคลียร์'อิหร่าน'พินาศ หลังโดนสหรัฐฯถล่มเจาะลึกใต้ดิน
'เจนี่'ละทางโลก! โกนหัวบวชสามเณรีแล้ว 'พระสังฆราชศรีลังกา'พระราชทานบาตร-จีวร
ดูทั้งหมด
‘93 ปี’ประชาธิปไตยเบ่งบาน‘ไล่แพทองธาร’
รอพิกุลทองร่วงจากปาก ‘พีระพันธุ์
การทูตขายชาติแบบแพทองธาร
เผด็จการไม่ยั่งยืนและประชาธิปไตย แก้ไขปรับปรุงตัวเองไปได้ตลอด
ประเทศไทยยกเว้นภาษีกำไรคริปโต 5 ปี หนุนการลงทุนดันประเทศสู่ศูนย์กลางการเงินดิจิทัลอาเซียน
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘อ.ไชยันต์’บอกใบ้! อะไรทำสัมพันธ์‘ทักษิณ-ฮุนเซน’ต้องหักสะบั้น

'กล้าธรรม'ได้'รมว.ศึกษาฯ' โยก'นฤมล'คุม ด้าน'อรรถกร'ผงาดนั่ง'รมว.เกษตรฯ'

นักวิชาการลงชื่อ‘ถวายฎีกา’ ขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยแก้ไขปัญหาวิกฤติชาติบ้านเมือง

สุดสลด! นักท่องเที่ยวบราซิลพลัดตกภูเขาไฟอินโดนีเซียเสียชีวิตแล้ว

เชื้อเพลิงฟอสซิล vs พลังงานสะอาด อะไรคือความสมดุลด้านพลังงาน

‘กลุ่ม 18’กินข้าวมื้อค่ำ! โอดตกขบวน ส่งแกนนำคุยพรรครัฐบาล ขอ 1 เก้าอี้ รมต.

  • Breaking News
  • รบเดือดที่เมืองแผ่โข่ง! ทัพเมียนมาปะทะกลุ่มต่อต้าน เครื่องบินทิ้งระเบิดบ้านเรือนเสียหายยับ รบเดือดที่เมืองแผ่โข่ง! ทัพเมียนมาปะทะกลุ่มต่อต้าน เครื่องบินทิ้งระเบิดบ้านเรือนเสียหายยับ
  • ‘พัคโบกอม’ คัมแบ็กเมืองไทย! เสิร์ฟแฟนมีตครั้งแรกในรอบ 6 ปี พร้อมกับอีก 10 ประเทศทั่วเอเชีย ‘พัคโบกอม’ คัมแบ็กเมืองไทย! เสิร์ฟแฟนมีตครั้งแรกในรอบ 6 ปี พร้อมกับอีก 10 ประเทศทั่วเอเชีย
  • \'กล้าธรรม\'ได้\'รมว.ศึกษาฯ\' โยก\'นฤมล\'คุม ด้าน\'อรรถกร\'ผงาดนั่ง\'รมว.เกษตรฯ\' 'กล้าธรรม'ได้'รมว.ศึกษาฯ' โยก'นฤมล'คุม ด้าน'อรรถกร'ผงาดนั่ง'รมว.เกษตรฯ'
  • \'นายกฯ\'เปิดการประชุม GFEAI 2025 ย้ำความมุ่งมั่นในการพัฒนา AI อย่างมีความรับผิดชอบ 'นายกฯ'เปิดการประชุม GFEAI 2025 ย้ำความมุ่งมั่นในการพัฒนา AI อย่างมีความรับผิดชอบ
  • ‘จตุพร’แปลกใจ‘ทักษิณ’ไม่โผล่กู้ศรัทธา‘นายกฯ’ แฉรัฐบาลสั่งผู้ว่าฯสกัดคนร่วมม็อบ28มิ.ย. ‘จตุพร’แปลกใจ‘ทักษิณ’ไม่โผล่กู้ศรัทธา‘นายกฯ’ แฉรัฐบาลสั่งผู้ว่าฯสกัดคนร่วมม็อบ28มิ.ย.
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

พัฒนาทักษะการสื่อสารด้านการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการกระทำเชิงสัญลักษณ์

พัฒนาทักษะการสื่อสารด้านการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการกระทำเชิงสัญลักษณ์

25 มิ.ย. 2568

จีนกระจุก เทากระจาย: มอง ‘ทุนจีนเทา’ ที่กลืนกลายอยู่ในสังคมไทยผ่านมุมมองสังคมวิทยา

จีนกระจุก เทากระจาย: มอง ‘ทุนจีนเทา’ ที่กลืนกลายอยู่ในสังคมไทยผ่านมุมมองสังคมวิทยา

18 มิ.ย. 2568

องค์กรย้อนแย้งลักลั่นและเกมผักชีโรยหน้าในดินแดนมัชฌิมา

องค์กรย้อนแย้งลักลั่นและเกมผักชีโรยหน้าในดินแดนมัชฌิมา

11 มิ.ย. 2568

การแจ้งเบาะแส เทคโนโลยี และการแก้คอร์รัปชัน

การแจ้งเบาะแส เทคโนโลยี และการแก้คอร์รัปชัน

28 พ.ค. 2568

เมื่อผู้หญิงเผชิญหน้ากับคอร์รัปชัน : ความไม่เท่าเทียมทางเพศในมิติที่สังคมไทยมองข้าม

เมื่อผู้หญิงเผชิญหน้ากับคอร์รัปชัน : ความไม่เท่าเทียมทางเพศในมิติที่สังคมไทยมองข้าม

21 พ.ค. 2568

เลือกตั้งเทศบาล 68 : ประชาชนร่วมสร้างความโปร่งใสในการเลือกตั้งได้อย่างไรบ้าง

เลือกตั้งเทศบาล 68 : ประชาชนร่วมสร้างความโปร่งใสในการเลือกตั้งได้อย่างไรบ้าง

14 พ.ค. 2568

The Corruption ระบบแท้ คนเก๊: วิเคราะห์ปัญหาคอร์รัปชันที่ประเทศไทยไม่มีทางแก้?

The Corruption ระบบแท้ คนเก๊: วิเคราะห์ปัญหาคอร์รัปชันที่ประเทศไทยไม่มีทางแก้?

30 เม.ย. 2568

การกลับคืนสู่อำนาจของทรัมป์: ผลกระทบต่อกระแสความคิดและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกลับคืนสู่อำนาจของทรัมป์: ผลกระทบต่อกระแสความคิดและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

23 เม.ย. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved