วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์โลกธุรกิจ / หมุนตามทุน
หมุนตามทุน

หมุนตามทุน

วันพุธ ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2563, 06.00 น.
ภาคครัวเรือนเดือดร้อนหนัก

ดูทั้งหมด

  •  

nn เศรษฐกิจไทยกำลังอยู่ในสภาวะวิกฤติที่ยังไม่รู้จุดจบแน่ชัด จากผลของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งส่งผลกระทบในเกือบทุกสาขาธุรกิจ โดยมีความรุนแรงเป็นพิเศษในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยว วิกฤติดังกล่าวเป็นความเสี่ยงต่อตลาดแรงงานซึ่งมีสัญญาณความอ่อนแอมาตั้งแต่ในช่วงก่อนหน้า โดยกลุ่มแรงงานที่มีความเสี่ยงสูงคือกลุ่มลูกจ้างชั่วคราว ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และลูกจ้าง SMEs ซึ่งถือเป็นคนส่วนมากถึง 62% ของกำลังแรงงานไทย และมีความอ่อนไหวสูงต่อสภาวะเศรษฐกิจ

Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ประเมินว่าจำนวนผู้ว่างงานจะเพิ่มขึ้นสูงถึงราว 3-5 ล้านคน ถือเป็นระดับที่สูงกว่าทุกวิกฤตการณ์ในอดีตของไทย ทั้งนี้เพราะผลกระทบครั้งนี้กินวงกว้างกว่าและมีการหยุดชะงักฉับพลัน (sudden stop) ของหลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ขณะที่ภาคเกษตรอาจไม่สามารถทำหน้าที่ดูดซับคนตกงานจากภาคอื่นๆ ได้เหมือนในอดีต ความเสี่ยงในตลาดแรงงานมีแนวโน้มส่งผลต่อเนื่องไปยังคุณภาพชีวิตของภาคครัวเรือนที่มีความเปราะบางอยู่แล้วเป็นทุนเดิม โดยครัวเรือนไทยประมาณ 60% มีสินทรัพย์ทางการเงินไม่เพียงพอใช้จ่ายเกิน 3 เดือน


EIC พบว่า ตลาดแรงงานของไทยมีหลายสัญญาณของความอ่อนแอตั้งแต่ในช่วงก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติ COVID-19 ดังนี้ 1.จำนวนผู้มีงานทำลดลง จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ จำนวนผู้มีงานทำของไทยมีแนวโน้มลดลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยจำนวนผู้มีงานทำเฉลี่ยในปี 2019 อยู่ที่ 37.6 ล้านคน ลดลงไป4.8 แสนคน เมื่อเทียบกับจำนวนเฉลี่ยในปี 2014 ทั้งนี้สาเหตุมาจากทั้งปัจจัยเชิงวัฏจักร คือ การชะลอตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ความต้องการแรงงานมีน้อยลง และปัจจัยเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะการออกจากกำลังแรงงานของกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 5.4 เป็น 6.8 ล้านคน ในช่วงเดียวกัน ทั้งนี้จำนวนผู้มีงานทำเฉลี่ยในไตรมาสแรกของปีนี้ยังอยู่ในแนวโน้มขาลง โดยมีจำนวนอยู่ที่ 37.4 ล้านคน ลดลง -0.8% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน YOY ซึ่งนับเป็นการหดตัวต่อเนื่อง 4 ไตรมาส ติดต่อกัน

2.จำนวนชั่วโมงการทำงานลดลง จำนวนชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของแรงงานไทยในปี 2019 อยู่ที่ 42.7 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 44.1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในปี 2014 สาเหตุสำคัญมาจากการลดลงของกลุ่มคนทำงานล่วงเวลา (แรงงานที่ทำงานตั้งแต่ 50 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ขึ้นไป) เป็นสำคัญ โดยคนกลุ่มนี้มีจำนวนลดลงจาก 9.7 เหลือ6.8 ล้านคน หรือหายไปถึง 2.9 ล้านคน ในช่วงเวลาดังกล่าวทั้งนี้แนวโน้มการลดลงของจำนวนชั่วโมงการทำงานยังคงมีให้เห็นในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ สะท้อนจากจำนวนของคนทำงานล่วงเวลาที่ยังคงหดตัว -7.6% (YOY)

3.จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น จำนวนผู้ว่างงานรวมเฉลี่ยในไตรมาสแรกของปีนี้อยู่ที่ประมาณ 4 แสนคนเพิ่มขึ้น 14.8%YOY นับเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 3 ไตรมาสติดต่อกัน นอกจากนี้ จากข้อมูลผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ของสำนักงานประกันสังคมล่าสุดพบว่าในไตรมาสแรกของปี 2020 จำนวนผู้ประกันตนที่ว่างงานเฉลี่ยอยู่ที่ 1.6 แสนคน เพิ่มขึ้น 4.5%YOY โดยอัตราการว่างงานของผู้ประกันตนมาตรา 33 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาโดยตลอดตั้งแต่หลังช่วงวิกฤติการเงินโลกปี 2008-2009

จากตลาดแรงงานที่มีความอ่อนแออยู่ก่อนหน้า ประกอบกับหลายปัจจัยลบที่เข้ามากระทบพร้อมๆ กันทั้งการแพร่ระบาดของ COVID-19 การหดตัวของเศรษฐกิจโลก และปัญหาภัยแล้ง วิกฤติครั้งนี้ จึงมีแนวโน้มส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ต่อแรงงานในหลายอุตสาหกรรม โดยกลุ่มธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดคงหนีไม่พ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ได้แก่ โรงแรม ร้านอาหาร บันเทิง และค้าส่งค้าปลีก เพราะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลโดยตรงจากการหายไปของนักท่องเที่ยว และมาตรการ lockdown ขณะที่กลุ่มธุรกิจอื่นๆ ก็จะได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญเช่นกันในทั้งทางตรงและทางอ้อมจากภาวะถดถอยของเศรษฐกิจที่มีความรุนแรงและมีแนวโน้มฟื้นตัวช้า (u-shaped recovery) ในส่วนของแรงงานในภาคเกษตรจะได้รับผลกระทบจากภัยแล้งที่รุนแรงมากในปีนี้เป็นสำคัญและยังอาจรวมถึงผลกระทบทางอ้อมจากกำลังซื้อที่หดตัวอีกด้วย ทำให้ความสามารถในการดูดซับแรงงานที่ตกงานจากภาคอื่นๆ มีค่อนข้างจำกัดในวิกฤติครั้งนี้

ทั้งนี้ EIC มองว่า ลักษณะการจ้างงานจะเป็นอีกปัจจัยสำคัญต่อความเสี่ยงด้านรายได้และความมั่นคงของการทำงาน โดยกลุ่มลูกจ้างชั่วคราว ผู้ประกอบอาชีพอิสระและลูกจ้าง SMEs ซึ่งมีจำนวนรวมกันสูงถึง 23.4 ล้านคน คิดเป็น 62.2% ของการจ้างงานรวมและมักจะมีความอ่อนไหวต่อสภาวะเศรษฐกิจถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงโดยเปรียบเทียบในทุกๆ สาขาธุรกิจ

เมื่อพิจารณาประกอบกันทั้งในด้านสาขาธุรกิจและลักษณะการจ้างงาน จะพบว่า แรงงานกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด จะเป็นกลุ่มลูกจ้างชั่วคราว ผู้ประกอบอาชีพอิสระและลูกจ้าง SMEs ที่ทำงานในธุรกิจการท่องเที่ยว ซึ่งมีจำนวนรวมกันถึง 6.5 ล้านคน หรือคิดเป็น 17.3% ของจำนวนการจ้างงานรวม รองลงมาเป็นกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจท่องเที่ยว และกลุ่มที่มีลักษณะการจ้างงานเดียวกันในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบรองลงไป คือ ภาคอุตสาหกรรม การขนส่ง และก่อสร้าง ทั้งนี้ลูกจ้างในธุรกิจขนาดใหญ่และภาครัฐมีแนวโน้มเผชิญความเสี่ยงที่น้อยกว่า อย่างไรก็ดี แรงงานในส่วนนี้ถือเป็นส่วนน้อยของการจ้างงานรวม

จากระดับความเสี่ยงดังกล่าว EIC ประเมินว่า จำนวนผู้ว่างงานจะเพิ่มขึ้นสูงถึงราว 3-5 ล้านคน ซึ่งจะคิดเป็นอัตราการว่างงานประมาณ 8-13% ของกำลังแรงงานรวมปัจจุบัน ถือเป็นระดับที่สูงที่สุดตั้งแต่มีการเก็บข้อมูลมาในปี 1985 โดยจะสูงกว่าสถิติอัตราการว่างงานสูงสุดเดิมที่ 5.9% ในปี 1987 ทิ้งห่างอัตราการว่างงานในวิกฤติต้มยำกุ้งที่ 3.4% ในปี 1998 และในวิกฤติการเงินโลกปี 2008-09 ที่ 1.5% ในปี 2009 สาเหตุที่การว่างงานในครั้งนี้มีแนวโน้มที่จะสูงกว่าในอดีตเนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจในครั้งนี้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อภาคธุรกิจและครัวเรือนที่มีความเปราะบางสะสมตั้งแต่ในช่วงก่อนหน้า ประกอบกับมีมาตรการ lockdown ซึ่งจำเป็นต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคแต่ส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักฉับพลันของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (sudden stop) อีกทั้งภาคเกษตรที่เคยเป็นแหล่งดูดซับแรงงานก็มีแนวโน้มที่จะมีข้อจำกัดในการทำหน้าที่นั้นในครั้งนี้จากปัญหาภัยแล้งที่รุนแรง

ทั้งนี้ EIC มองว่า จะมีแรงงานอีกจำนวนมากที่แม้จะไม่ตกงาน แต่จำนวนชั่วโมงทำงานและรายได้จะลดลงอย่างมากหรือกระทั่งไม่มีรายได้เลยในบางช่วง และหากผลกระทบลากยาวไปจนถึงครึ่งปีหลังหรือนานกว่านั้น จำนวนผู้ว่างงานจะเพิ่มสูงขึ้นได้มากกว่าที่ประเมินไว้ข้างต้นจากกิจการที่จะมีการปิดตัวลงมากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจเสี่ยงที่มีสภาพคล่องไม่เพียงพอ

EIC มองว่า หลังผ่านพ้นมาตรการ lockdown สถานการณ์ในตลาดแรงงานจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่การฟื้นตัวจะเป็นไปอย่างช้าๆ ตามเศรษฐกิจที่คาดว่าจะฟื้นตัวแบบ U-shaped และผลจาก COVID-19 ที่จะยังมีอยู่ต่อเศรษฐกิจและการใช้ชีวิตของผู้คนตราบใดที่ยังไม่มียารักษาและวัคซีน โดยคาดว่าภาคธุรกิจน่าจะยังระมัดระวังในการใช้จ่ายและการจ้างงานจากความไม่แน่นอนที่ยังสูงในสถานการณ์ดังกล่าว

การสูญเสียรายได้-ตกงานของแรงงานจะนำไปสู่ความเดือดร้อนของครัวเรือนจำนวนมากจากกันชนทางการเงินที่มีไม่มาก จากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนปี 2019 พบว่า ครัวเรือนไทยที่พึ่งพารายได้จากการทำงานเป็นลูกจ้างอย่างเดียวมีจำนวน 7.9 ล้านครัวเรือนหรือคิดเป็นประมาณ 36.2% ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด ซึ่งในกลุ่มนี้มีจำนวนถึง 5.2 ล้านครัวเรือน หรือคิดเป็น 65.5% ของครัวเรือนกลุ่มดังกล่าวที่มีมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินครอบคลุมรายจ่ายได้ไม่เกิน 3 เดือน และหากเป็นครัวเรือนที่ได้รับค่าจ้างน้อยกว่า 3 หมื่นบาทต่อเดือน จะมีครัวเรือนจำนวนถึง 4.3 ล้าน จากทั้งหมด 5.8 ล้านครัวเรือน หรือคิดเป็นสัดส่วนถึง 72.9% ที่มีสินทรัพย์ทางการเงินไม่เพียงพอสำหรับการใช้จ่าย 3 เดือน ซึ่งจะส่งผลให้ครัวเรือนเหล่านี้อาจต้องปรับตัวโดยการลดการบริโภคลงอย่างมาก ตลอดจนขายหรือจำนองสินทรัพย์ที่มี ไปจนถึงการก่อหนี้เพื่อนำมาใช้จ่ายอันจะเป็นการสร้างความเปราะบางเพิ่มเติมในระยะต่อไป

Economic Intelligence Center (EIC)

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

กระบองเพชร

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
11:11 น. 'นฤมล'สั่งสอบข้อเท็จจริง'ครูกาญจนบุรี'ร้องขอความเป็นธรรม หลัง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด
11:07 น. 'ราชัน'มาตามนัด!ได้4ทีมสุดท้ายสโมสรโลก
11:05 น. 'ธนกร'ห่วงต่อรองภาษีทรัมป์จี้รบ.เตรียมแผนสำรอง
10:57 น. ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันอาทิตย์ 6 กรกฏาคม 2568
10:53 น. รัฐบาลชวนร่วมงานมหกรรมSoftPower
ดูทั้งหมด
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2568
ปิดตำนาน156ปี! 'กษัตริย์ชาร์ลส์'ประกาศปลดระวาง'รถไฟหลวง' สมาชิกราชวงศ์ไปใช้รถไฟปกติแทน
'เท้ง'แย่แล้ว!! เจอขบวนรถทัวร์แห่คอมเมนต์แจกพยัญชนะไทยฉ่ำ!!
บิ๊กเนม'ปชป.'ร่วมวงเพียบ!! 'คุณหญิงกัลยา'ตั้ง'พรรคไทยก้าวใหม่' พร้อมตั้ง'สุชัชวีร์'นั่งหัวหน้าฯ
‘ทักษิณ‘ พร้อมลูกสาว ’เอม พินทองทา‘ เดินทางออกจากศาลอาญา หลังสืบพยานนัดแรก คดี ม.112
ดูทั้งหมด
ต้องเลือกตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือ
บุคคลแนวหน้า : 6 กรกฎาคม 2568
ชีวิตประจำวันของผม-การทำงาน
หน้าต้องทนสูงมาก จึงทำแบบนี้ได้
วิวาทะ ว่าด้วย‘อภิปรายไม่ไว้วางใจ’
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

'ราชัน'มาตามนัด!ได้4ทีมสุดท้ายสโมสรโลก

'ธนกร'ห่วงต่อรองภาษีทรัมป์จี้รบ.เตรียมแผนสำรอง

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันอาทิตย์ 6 กรกฏาคม 2568

พบศพ! 'อดีตปลัดอำเภอ'อืดคาเก๋ง ชาวบ้านเห็นจอดรถแง้มประตูไว้3วัน

รบ.คิกออฟ ‘WebD’แพลตฟอร์ม AI สกัดเว็บผิดกฎหมาย กวาดล้างเพิ่มกว่า 70% ทำงานได้เร็วกว่าเจ้าหน้าที่ถึง 31.5 เท่า

‘นฤมล’สั่ง'สพฐ.-สพท.'สอบข้อเท็จจริง ‘ครูเมืองกาญจน์’ขอความเป็นธรรม หลังถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิด

  • Breaking News
  • \'นฤมล\'สั่งสอบข้อเท็จจริง\'ครูกาญจนบุรี\'ร้องขอความเป็นธรรม หลัง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด 'นฤมล'สั่งสอบข้อเท็จจริง'ครูกาญจนบุรี'ร้องขอความเป็นธรรม หลัง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด
  • \'ราชัน\'มาตามนัด!ได้4ทีมสุดท้ายสโมสรโลก 'ราชัน'มาตามนัด!ได้4ทีมสุดท้ายสโมสรโลก
  • \'ธนกร\'ห่วงต่อรองภาษีทรัมป์จี้รบ.เตรียมแผนสำรอง 'ธนกร'ห่วงต่อรองภาษีทรัมป์จี้รบ.เตรียมแผนสำรอง
  • ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันอาทิตย์ 6 กรกฏาคม 2568 ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันอาทิตย์ 6 กรกฏาคม 2568
  • รัฐบาลชวนร่วมงานมหกรรมSoftPower รัฐบาลชวนร่วมงานมหกรรมSoftPower
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

หมุนตามทุน : อุตฯก่อสร้างยังมีทางรอด...แม้ต้องเผชิญกับหลากหลายความท้าทาย

หมุนตามทุน : อุตฯก่อสร้างยังมีทางรอด...แม้ต้องเผชิญกับหลากหลายความท้าทาย

2 ก.ค. 2568

รัฐบาลต้องไม่หยุดเดินหน้านโยบาย กำจัด”อุตสาหกรรมศูนย์เหรียญ”-เหล็กคุณภาพต่ำทุกชนิด

รัฐบาลต้องไม่หยุดเดินหน้านโยบาย กำจัด”อุตสาหกรรมศูนย์เหรียญ”-เหล็กคุณภาพต่ำทุกชนิด

11 มิ.ย. 2568

หมุนตามทุน : หาโอกาสการลงทุนได้ที่ไหน  ในภาวะที่เศรษฐกิจโลกเปราะบาง

หมุนตามทุน : หาโอกาสการลงทุนได้ที่ไหน ในภาวะที่เศรษฐกิจโลกเปราะบาง

4 มิ.ย. 2568

หมุนตามทุน : กนอ.ประกาศยุทธศาสตร์ \'HPOE\'  สร้างเศรษฐกิจไทยให้แข็งแกร่งอย่างยั่งยืน

หมุนตามทุน : กนอ.ประกาศยุทธศาสตร์ 'HPOE' สร้างเศรษฐกิจไทยให้แข็งแกร่งอย่างยั่งยืน

21 พ.ค. 2568

ทั่วโลกยังแห่ลงทุนทองคำ แรงซื้อจากรายย่อยไทยโตสูงสุดในอาเซียน

ทั่วโลกยังแห่ลงทุนทองคำ แรงซื้อจากรายย่อยไทยโตสูงสุดในอาเซียน

7 พ.ค. 2568

หมุนตามทุน : 200 รง.เหล็กไทยรวมพลังหนุน \'รมว.เอกนัฏ\'

หมุนตามทุน : 200 รง.เหล็กไทยรวมพลังหนุน 'รมว.เอกนัฏ'

30 เม.ย. 2568

หมุนตามทุน :  เป็นกำลังใจให้ “รมว.เอกนัฏ”ไปให้สุดซอย ก่อนที่เหล็กเตาIFจะทำลายชีวิตคนและอุตสาหกรรมไทยไปมากว่านี้

หมุนตามทุน : เป็นกำลังใจให้ “รมว.เอกนัฏ”ไปให้สุดซอย ก่อนที่เหล็กเตาIFจะทำลายชีวิตคนและอุตสาหกรรมไทยไปมากว่านี้

23 เม.ย. 2568

อุตสาหกรรมไหนของไทย...ที่เจ็บหนักเพราะ”ทรัมป์2.0”

อุตสาหกรรมไหนของไทย...ที่เจ็บหนักเพราะ”ทรัมป์2.0”

16 เม.ย. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved