วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์โลกธุรกิจ / หมุนตามทุน
หมุนตามทุน

หมุนตามทุน

วันพุธ ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2567, 02.00 น.
ไทยจะไปต่อได้...ต้องเร่งปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ

ดูทั้งหมด

  •  

nn กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) ได้เผยแพร่ผลการติดตามและประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยของ IMF (Article IV Consultation) ประจำปี 2566..ซึ่งโดยรวม IMF มีมุมมองที่สอดคล้องกับทางการไทยต่อแนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัว แม้ว่าจะชะลอลงบ้าง จากการดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลัก การปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน โดย IMF คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2566 จะขยายตัวที่ประมาณ 2.5% และคาดว่าในปี 2567 จะเร่งขึ้นเป็น 4.4% (กรณีรวมผลมาตรการ Digital Wallet) จากการพื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการบริโภคภายในประเทศที่เติบโตต่อเนื่อง สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไป IMF คาดว่าจะอยู่ที่ 1.3% ในปี 2566 และ 1.7% ในปี 2567 ซึ่งอยู่ในกรอบเป้าหมายของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

นอกจากนี้ IMF ยังเห็นว่านโยบายการเงินในปัจจุบันมีความเหมาะสม และควรติดตามความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงินอย่างใกล้ชิด ซึ่งสอดคล้องกับกรอบการดำเนินนโยบายการเงินของ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่มีเป้าหมายเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเต็มศักยภาพ และระบบการเงินมีเสถียรภาพ สำหรับภาคการเงิน IMF สนับสนุนแผนของ ธปท. ในการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน ผ่านการออกเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) และการดูแลหนี้เรื้อรัง (persistent debt)


ทั้งนี้ IMF แนะนำให้ทางการไทยให้ความสำคัญกับการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการลดทอนผลกระทบจากการแบ่งขั้วทางภูมิเศรษฐศาสตร์ (geo-economic fragmentation) รวมทั้งสนับสนุนการเพิ่มผลิตภาพ (productivity) โดยเฉพาะการเพิ่มพูนทักษะแรงงาน การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ ตลอดจนการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและปรับกฎเกณฑ์ทางธุรกิจให้เหมาะสม เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ตามศักยภาพ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าข้อเสนอแนะของ IMF ดูเหมือนจะสอดคล้องกับสิ่งที่ นายสันติธาร เสถียรไทย กรรมการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจแห่งอนาคต สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ที่ได้กล่าวไว้เมื่อ 2 วัน ก่อนในงานสัมมนาของกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร KKP YEAR AHEAD 2024 โดยเสวนาหัวข้อพิเศษ เศรษฐกิจไทย..เปลี่ยนอย่างไรให้ไปไกลกว่าเดิม ว่า หากเปรียบประเทศไทยเป็นนักกีฬาสูงวัยเพราะทั้งอายุเฉลี่ย 41 ปี เทียบกับประเทศอื่นในอาเซียนอยู่ที่ 30 ปีต้นๆ หรือต่ำกว่านั้น

นายสันติธารกล่าวว่า และที่สำคัญคืออาการที่ทำให้เป็นนักกีฬาสูงวัย 1.เศรษฐกิจวิ่งช้าลง จากการขยายตัวของเศรษฐกิจ (จีดีพี) ระยะยาวที่เคยสูงถึง 7% และทยอยลดลงจาก 5% และลดเหลือ 3% 2.ความสามารถในการแข่งขัน เพื่อดึงดูดนักลงทุนน้อยลง เพราะประชากรของไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยแนวโน้มการลงทุนจึงน้อยลง และ 3.หากมีการกระตุ้นเศรษฐกิจหนักๆ อาจพบปัญหา เมื่อช่วงที่เศรษฐกิจโตดีจะเห็นปัญหาหนี้ครัวเรือน แต่ด้วยศักยภาพของประเทศไทย จึงยังไม่มีแนวโน้มเหมือนกับประเทศศรีลังกา และเวเนซุเอลา เพราะเสถียรภาพเศรษฐกิจค่อนข้างดี สถาบันการเงินมีเงินทุนมากพอรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และปัญหาจะไม่เกิดเหมือนวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ดังนั้น ปัญหาของไทยขณะนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจกำลังล้มลง แต่เศรษฐกิจขยายตัวไม่ทัน เมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังมีความหวังและโอกาส และวิธีที่มองว่าจะทำให้ไทยมีจุดเปลี่ยนแบ่งเป็น ก. ข. ค. โดยเริ่มจาก ข. คือการขยายขนาดตลาด เพราะยุคปัจจุบันมีปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ การลงทุนของนักลงทุนต่างๆ พยายามลดความเสี่ยงจากการออกจากหลายประเทศ และลงทุนในอาเซียนมากขึ้น เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย ขณะที่ไทยยังได้สัดส่วนการลงทุนน้อยกว่าที่อื่น เพราะขนาดตลาดเล็กกว่าประเทศอื่น

นายสันติธารกล่าวอีกว่า จึงย้อนกลับมาที่ ก. คือการแก้กฎกติกาการลงทุนที่เป็นปัญหาการทำธุรกิจให้ง่ายขึ้น ซึ่งรัฐบาลพยายามผลักดันอยู่แล้วจากการศึกษาหากมีการทำกิโยตินกฎหมายส่วนหนึ่งสำเร็จในไทยจะเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ปีละ 1 แสนล้านบาท ขณะที่ ค. มี 2 ส่วน คือ 1.การปรับโครงสร้างพื้นฐานการลงทุน เนื่องจากการลงทุนไทยที่มีตัวเลขต่ำมานาน ซึ่งการลงทุนจะทำต่อไปต้องเน้นคุณภาพ และเน้นโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงเศรษฐกิจสีเขียว (กรีนอีโคโนมี) ที่เข้ามามีบทบาทด้านความยั่งยืนมากขึ้น อีกทั้งโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับประชากรสูงวัยเข้าถึงบริการด้านต่างๆ ง่ายขึ้น 2.เรื่องคน เพราะยุคที่เปลี่ยนแปลงโดยเทคโนโลยี แต่ยังมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน รวมถึงความกังวลเรื่องจะมีนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาทดแทนแรงงาน จากปัญหานี้สามารถพัฒนาไปพร้อมกันได้ โดยการอัปสกิล-รีสกิลให้มีคุณภาพมากขึ้น เช่น แรงงานภาคเกษตรมี 12 ล้านคน หากมีการอัปสกิลอาจมีทักษะอื่นๆ ได้ในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ อย่างภาคการท่องเที่ยวที่มีการใช้ภาษามากขึ้น ซึ่งจากโอกาสที่จะเพิ่มขึ้นมองว่า ก. ข. และ ค. ที่มองไว้ ถ้าสามารถทำได้อย่างไรเศรษฐกิจจะเดินไปข้างหน้าได้แน่นอน

นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CBS) เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับ World Economic Forum (WEF) จัดทำและเผยแพร่รายงานอนาคตการเติบโต The Future of Growth Report 2024 เพื่อวัดคุณภาพการเติบโตของประเทศต่างๆ พบว่าประเทศไทยการเติบโตอยู่ค่อนไปทางครึ่งหลังของโลก แต่ควรเร่งพัฒนาด้านความยั่งยืน ความเหลื่อมล้ำของรายได้ และกฎหมายคุ้มครองอย่างเต็มกำลัง ซึ่งได้ทำการสำรวจและวิเคราะห์ทิศทางการเติบโตในอนาคตของประเทศต่างๆ ซึ่งครอบคลุม 107 ประเทศทั่วโลก ประเทศไทยอยู่ลำดับที่ 51 โดยอันดับหนึ่งในโลกได้แก่ประเทศ สวีเดน และตามด้วย สวิตเซอร์แลนด์ ฟินแลนด์ และเดนมาร์ก ในแถบประเทศเอเชีย ญี่ปุ่นนำโด่งในลำดับที่ 11 ตามด้วยเกาหลี (12) และสิงคโปร์ (16) ในขณะที่ มาเลเซียมาลำดับที่ 31 เวียดนาม 36 อินโดนีเซีย 50 และไทยลำดับ 51 จากคะแนนรวมที่ถ่วงน้ำหนักทั้ง 4 มิติแห่งการเติบโตของประเทศ

ดร.วิเลิศกล่าวว่า แนวทางการพิจารณาการเติบโตของประเทศ ซึ่งไม่เพียงแต่มุ่งเน้นด้านความรวดเร็วในการเติบโตเท่านั้น แต่ควรมุ่งเน้นในด้านคุณภาพของการเติบโตด้วย ซึ่งจะช่วยให้มีการสร้างความสมดุลระหว่างประสิทธิภาพและความเท่าเทียมในระยะยาว โดยปัจจัยที่สำคัญของอนาคตการเติบโตของประเทศตาม World Economic Forum ประกอบด้วย 4 มิติ ได้แก่ ด้านนวัตกรรม(Innovativeness) ด้านความครอบคลุมของโครงสร้างพื้นฐาน (Inclusiveness) ความยั่งยืน (Sustainability) และความยืดหยุ่น (Resilience)

จากการเปรียบเทียบผลประเมินของประเทศไทยกับผลประเมินโดยรวมของประเทศต่างๆ ทั่วโลก และผลประเมินของประเทศในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับบน พบว่าประเทศไทยมีคะแนนด้านนวัตกรรม (Innovativeness) เท่ากับ 47.94 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก (45.2) และค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับบน (39.3) ด้านความครอบคลุมของโครงสร้างพื้นฐาน(Inclusiveness) ประเทศไทยได้คะแนน 55.66 ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยโลก (55.9) และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับบน(54.8) แสดงให้เห็นว่าไทยยังคงดำเนินการเพื่อการเติบโตที่เป็นธรรมและรวมทุกภาคส่วนเข้าไว้ด้วยกัน ด้านความยั่งยืน (Sustainability) คะแนนของประเทศไทยเท่ากับ 40.84 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก (46.8) และค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับบน (44.0) จึงเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงความจำเป็นที่ต้องมีการเร่งดำเนินการเพื่อพัฒนาด้านความยั่งยืนของไทยให้เพิ่มมากขึ้น ด้านความยืดหยุ่นและการปรับตัว (Resilience) ซึ่งแสดงถึงการปรับตัวต่อผลกระทบต่างๆ คะแนนของประเทศไทยเท่ากับ 51.5 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก (52.75) เล็กน้อย แต่ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับบน (50.0) สะท้อนให้เห็นว่าไทยมีความสามารถในการตอบสนองและฟื้นฟูจากวิกฤตต่างๆ ได้พอประมาณ และควรมีการพัฒนาในด้านนี้ต่อไป

ดังนั้น ประเทศไทยควรเร่งเพิ่มขีดความสามารถในทุกด้าน แม้ว่าด้านนวัตกรรมจะทำได้ดีแต่ยังต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาในด้านต่างๆ เพิ่มเติม โดยเฉพาะด้านความยั่งยืน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของการเติบโตของประเทศให้ดียิ่งขึ้น

กระบองเพชร

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
13:42 น. ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
13:22 น. ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
13:14 น. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
13:08 น. 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
12:24 น. ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
ดูทั้งหมด
โปรดเกล้าฯ 'พล.อ.' พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ
พอที'เพื่อไทย'!! อดีตเด็ก พท.หอบผ้าซบพรรคลุงป้อมพรึ่บ อีสานมาเพียบ! (คลิป)
'หมอวรงค์'บอกหนาวเลย! หลังฟังการไต่สวนคดี'ทักษิณ'ชั้น 14 รพ.ตร. ครั้งที่ 3
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 หญิงหย่าสามีต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิม
'ดุ๊ก ภาณุเดช'วอนหยุดบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่ สุดทนคนแห่ถ่ายรูป-เดินชิลเหมือนอยู่คาเฟ่
ดูทั้งหมด
จีนยกระดับปราบ Cyber Scam ฉ้อโกงออนไลน์ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ฝนตก-น้ำท่วม-ก่อสร้าง พึงระมัดระวังไฟดูด-ไฟรั่ว
ฮุนเซน-ทักษิณ (แพทองธาร) มิตรหรือศัตรู
บุคคลแนวหน้า วันที่ 12 ก.ค. 2568
ทักษิณยังคงคุยโวเหมือนเดิม
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘พัทลุง’สลด! พบศพผัวเมียรับซื้อน้ำยาง ถูกยิงดับคู่ในบ้าน ตร.คาดทะเลาะกัน

‘ทนายวันชัย’มองเรื่อง‘สีกากอล์ฟ’ เปรียบฆาตกามต่อเนื่อง กระชากหน้ากาก‘คนห่มเหลือง’

ยิปซีพยากรณ์ดวงรายวัน ประจำวันเสาร์ที่ 12 ก.ค.68

สุดทน!‘สุทิน’จี้ผู้รักษากฎหมายต้องขยับ ปล่อยให้‘สทร.’ย่ำยีประเทศไม่ได้อีกแล้ว

‘นักเขียนซีไรต์’ฟาดนักการเมืองขี้ขลาด มุ่งแก้ ม.112 นิรโทษกรรมตัวเอง

  • Breaking News
  • ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
  • ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้ ‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้
  • รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม. รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.
  • \'ตะไลชนโคม\' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน\'งานบุญวันเข้าพรรษา\' 'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'
  • ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ ฝนตกหนักถนนลื่น! เก๋งเสียหลักตกถนนสายน่าน-ร้องกวางบาดเจ็บ
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

หมุนตามทุน : ถึงเวลาที่ต้องผนึกกำลัง เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ

หมุนตามทุน : ถึงเวลาที่ต้องผนึกกำลัง เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ

9 ก.ค. 2568

หมุนตามทุน : อุตฯก่อสร้างยังมีทางรอด...แม้ต้องเผชิญกับหลากหลายความท้าทาย

หมุนตามทุน : อุตฯก่อสร้างยังมีทางรอด...แม้ต้องเผชิญกับหลากหลายความท้าทาย

2 ก.ค. 2568

รัฐบาลต้องไม่หยุดเดินหน้านโยบาย กำจัด”อุตสาหกรรมศูนย์เหรียญ”-เหล็กคุณภาพต่ำทุกชนิด

รัฐบาลต้องไม่หยุดเดินหน้านโยบาย กำจัด”อุตสาหกรรมศูนย์เหรียญ”-เหล็กคุณภาพต่ำทุกชนิด

11 มิ.ย. 2568

หมุนตามทุน : หาโอกาสการลงทุนได้ที่ไหน  ในภาวะที่เศรษฐกิจโลกเปราะบาง

หมุนตามทุน : หาโอกาสการลงทุนได้ที่ไหน ในภาวะที่เศรษฐกิจโลกเปราะบาง

4 มิ.ย. 2568

หมุนตามทุน : กนอ.ประกาศยุทธศาสตร์ \'HPOE\'  สร้างเศรษฐกิจไทยให้แข็งแกร่งอย่างยั่งยืน

หมุนตามทุน : กนอ.ประกาศยุทธศาสตร์ 'HPOE' สร้างเศรษฐกิจไทยให้แข็งแกร่งอย่างยั่งยืน

21 พ.ค. 2568

ทั่วโลกยังแห่ลงทุนทองคำ แรงซื้อจากรายย่อยไทยโตสูงสุดในอาเซียน

ทั่วโลกยังแห่ลงทุนทองคำ แรงซื้อจากรายย่อยไทยโตสูงสุดในอาเซียน

7 พ.ค. 2568

หมุนตามทุน : 200 รง.เหล็กไทยรวมพลังหนุน \'รมว.เอกนัฏ\'

หมุนตามทุน : 200 รง.เหล็กไทยรวมพลังหนุน 'รมว.เอกนัฏ'

30 เม.ย. 2568

หมุนตามทุน :  เป็นกำลังใจให้ “รมว.เอกนัฏ”ไปให้สุดซอย ก่อนที่เหล็กเตาIFจะทำลายชีวิตคนและอุตสาหกรรมไทยไปมากว่านี้

หมุนตามทุน : เป็นกำลังใจให้ “รมว.เอกนัฏ”ไปให้สุดซอย ก่อนที่เหล็กเตาIFจะทำลายชีวิตคนและอุตสาหกรรมไทยไปมากว่านี้

23 เม.ย. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved