บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคจีไอ (ประเทศไทย) อัปเดตหุ้นธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK เราคิดว่าผลการดำเนินงานที่ชะลอตัวลงของ JKAMC อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อแผนของ KBANK จะต้องล้างหนี้เสียออกจากงบดุลภายในปี 2567 กำไรของ JKAMC ลดลงอย่างมากเนื่องจากยอดจัดเก็บเงินสดลดลงอย่างมากถึง 30% QoQ และ ECL เพิ่มขึ้นมาก ซึ่ง JMT เผยว่าแนวโน้มน่าจะยังชะลอตัวต่อเนื่องใน 2Q67F เราคาดว่าผลงานที่ชะลอเป็นผลจาก JKAMC รับซื้อหนี้เสียในราคาสูง ทำให้ JMT(ในฐานะผู้ดำเนินการ JKAMC) เหลือช่องไม่มากนักให้ต่อรองกับลูกหนี้เพื่อชำระหนี้ในสถานการณ์ที่ภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอ นอกจากนี้ เนื่องจากสินทรัพย์ที่อยู่ภายใต้ JKAMC มีปนกันทั้งสินเชื่อมีหลักประกัน และ ปลอดหลักประกัน จึงทำให้มีความเสี่ยงที่ค่าใช้จ่าย ECL จะฉุดกำไรของ JKAMC สถานการณ์ดังกล่าวไม่เอื้อให้ JMT/JKAMC ซื้อ NPL เพิ่มจาก KBANK
KBANK ใช้กลยุทธ์การล้างงบดุลมาตั้งแต่ปี 2565 ผ่านการตัดหนี้สูญ (write-off) และ ขาย NPL ออกไป โดย JKAMC เป็นหนึ่งในช่องทางหลักที่ธนาคารใช้ในการระบาย NPL ออกไปจากบัญชีของธนาคาร ช่วงสองปีที่ผ่านมา (2565-1Q67) KBANK ตัด NPL ออกไปแล้วประมาณ 2.40 แสนล้านบาท โดย ขาย NPLประมาณ 1.50 แสนล้านบาทไปให้กับ JK AMC (ประมาณปีละ7 หมื่นล้านบาท ในปี 2565/2566) และ อีกประมาณ 8 พันล้านบาทใน 1Q67 ซึ่งตามแผนการล้างงบดุล KBANK จะล้างงบดุลเสร็จภายในปี 2567 ในแผนนั้นจะขาย NPL ออกไปไม่เกิน 7 หมื่นล้านบาทในปี 2567
สัดส่วน NPL coverage ของ KBANK ต่ำสุดในบรรดา 4 ธนาคารใหญ่ที่ 150% ( SCB อยู่ที่ 161%, KTB อยู่ที่ 175%,BBL อยู่ที่ 292%) หาก KBANK ไม่สามารถขาย NPL ออกไปให้กับ JK AMC ได้อีก 1.) ธนาคารอาจต้องเก็บ NPLไว้ในบัญชีธนาคาร ทำให้แผนการล้างงบดุลช้าออกไป 2.)ธนาคารอาจต้องขาย NPL ไปให้กับบุคคลอื่น ซึ่งจะมีความเสี่ยงด้านราคา 3.) ธนาคารอาจจะต้อง write-off NPL ไม่ว่าจะเลือกทางไหน KBANK ก็มีความเสี่ยงที่จะต้องกันสำรองเพิ่มหาก JKAMC ใช้การไม่ได้แล้ว เนื่องจากส่วนรองรับหนี้เสียค่อนข้างต่ำ หากแผนการล้างงบดุลไม่เป็นไปตามแผนก็จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อค่าใช้จ่ายสำรองฯ (credit cost) ที่อ่อนไหวได้
เรามองว่าแผนแก้หนี้เสียยังมีความไม่แน่นอน อาจจะไม่เอื้อให้ธนาคารเพิ่มอัตราการจ่ายเงินปันผล หากธนาคารคงอัตราการจ่ายเงินปันผลที่ 28% ก็จะทำให้ไม่มีความคุ้มครองจากอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล เนื่องจากส่วนรองรับหนี้เสียต่ำ เราจึง de-rate PBV ลงเหลือ 0.6x (จาก 0.65x)ทำให้ได้ราคาเป้าหมายปี 2567F ใหม่ที่ 141 บาท (จากเดิมที่155 บาท)
ปัจจัยเสี่ยงจากNPL และ credit cost เพิ่มขึ้น
ที่มา : เคจีไอ (ประเทศไทย)
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี