Sustainable Development Goals หรือ SDGs เป็นเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ที่ต่อเนื่องมาจาก MDGs หรือ Millenium Development Goals ของสหประชาชาติ ที่ทุกประเทศเซ็นสัญญาร่วมกันทั้ง MDGs และ SDGs MDGs เริ่มต้นแต่ปี ค.ศ. 2000-2015 และ SDGs เริ่มต้นแต่ ปี ค.ศ. 2016-2030
SDGs คืออะไร SDGs คือเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs มีทั้งหมด 17 เป้าหมาย ซึ่งเป็นเป้าหมาย (goal) เพื่อชาวโลกทุกประเทศจะร่วมมือกันพัฒนาประเทศและโลกให้ดียิ่งขึ้น และถึงเป้าหมาย ทั้งหมดที่วางไว้ ภายในปี ค.ศ. 2530
SDGs มีเป้าหมายอะไรบ้าง 1) No Poverty (ขจัดความยากจน) 2) Zero Hunger (ขจัดความอดอยาก สร้างความมั่นคงทางอาหาร) 3) Good Health and Well-Being (ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคน) 4) Quality Education (ส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้) 5) Gender Equalty (สร้างความเท่าเทียมทางเพศสตรีและเด็กหญิงทุกคน) 6) Clean Water and Sanitation (จัดการน้ำอย่างยั่งยืนและพร้อมใช้สำหรับทุกคน) 7) Affordable and Clean Energy (ให้ทุกคนเข้าถึงพลังงานที่ยั่งยืนได้ตามกำลังของตน) 8) Decent Work and Economic Growth (ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน) 9) Industry, Innovation and infrastructure (ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนและนวัตกรรม) 10) Reduced Inequalities (ลดความเหลื่อมล้ำทั้งภายในและระหว่างประเทศ) 11) Sustainable Cities and communities (สร้างเมืองและการตั้งถิ่นฐานที่ปลอดภัย) 12) Responsible consumption and production (สร้างรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน) 13) Climate action (ดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาโรคร้อน) 14) Life below water (อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน) 15) Life on land (ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืนของระบบนิเวศบนบก) 16) Peace and Justice (ส่งเสริมสันติภาพและการเข้าถึงระบบยุติธรรมอย่างเท่าเทียมกัน) 17) Partnerships for the goals (สร้างความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน)
MDGs คือ เป้าหมายของสหประชาชาติที่ตกลงร่วมกันในปี ค.ศ. 2000 ที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย ในปี ค.ศ. 2015 คือ 1) Eradicate Extreme Poverty and Hunger (ขจัดความยากจนและความหิวโหย) 2) Achieve Universal Primary Education (ให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษา) 3) Promote Gender Equality and Empower Women (ส่งเสริมบทบาทสตรีและความเท่าเทียมกันทางเพศ) 4) Reduce Child Mortality (ลดอัตราการตายของเด็ก) 5) Improve Maternal Health (พัฒนาสุขภาพสตรีมีครรภ์) 6) Combat HIV/Aids, Malaria and Other Diseases (ต่อสู้โรคเอดส์ มาลาเรีย และโรคสำคัญอื่นๆ) 7) Ensure Environmental Sustainability (รักษาและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน) 8) Global Partnership for Development (ส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในประชาคมโลก)
สำหรับ MDGs ประเทศไทยได้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่สหประชาชาติตั้งไว้สำหรับปี ค.ศ. 2015 ในบางเป้าหมายประเทศไทยได้ก้าวหน้าไปมากกว่าเป้าแต่ในบางเป้าหมาย เช่น ในเป้าหมายที่หนึ่ง “ขจัดความยากจนและความหิวโหย” ประเทศไทยถึงแม้บรรลุเป้าหมายแต่ยังมีคนจนอีกเป็นจำนวนมาก วิธีแก้ปัญหาในระยะยาว คือ ต้องทำให้คนไทยทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่ดีจริงๆ อย่างทั่วถึง ไม่ใช่เพียงแต่ให้การศึกษาฟรีเท่านั้น แต่คนไทยทุกๆ คนต้องมีโอกาสที่จะเข้าถึงการศึกษาได้จริง เช่น บางคนบ้านอยู่ไกลโรงเรียน บางคนมาโรงเรียนไม่ได้ เพราะต้องช่วยครอบครัวทำมาหากิน หรือต้องอยู่บ้านดูแลผู้สูงอายุ หรือ ญาติผู้พิการ และการศึกษาที่เข้าถึงนั้น จะต้องมีคุณภาพที่ดีจริงๆ ทั้งครู ทั้งระบบ เป็นการศึกษาที่ตลาดต้องการ ฉะนั้นควรดูแลด้วยว่าตลาดประเทศต้องการบุคลากรทางอาชีพ วิชาชีพอะไรบ้าง มากน้อยแค่ไหน?
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2560 เฉพาะในผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุมีการศึกษาดังนี้
1) ไม่มีการศึกษา 9.8% 2) อ่านออกเขียนได้ 83.7% 3) ต่ำกว่าประถมศึกษา 68.7% 4) ประถมศึกษา 7.5% 5) มัธยมศึกษา/ปวส./ปวท./อนุปริญญา 8.6% 6) ปริญญาตรีหรือสูงกว่า 5.4% จะเห็นได้ว่าในกลุ่มผู้สูงอายุ ในปี พ.ศ. 2560 การศึกษายังไม่ดีพอและจะต้องพัฒนากันอีกมาก รวมทั้งการศึกษาวิชาต่างๆ ที่ตลาดต้องการ เพราะมีผู้ที่จบปริญญาตรีมากมายที่หางานไม่ได้ รวมทั้งประเทศยังขาดผู้ที่จบอาชีวศึกษาอีกเป็นแสนคน ฉะนั้นจึงไม่ใช่แค่มีการศึกษาเท่านั้น แต่ต้องเป็นการศึกษาที่มีคุณภาพ ทั้งปริมาณและคุณภาพ ต้องสอนให้ คนคิดเป็น สนใจในการเรียนรู้ตลอดชีวิต การทำวิจัย ในสาขาต่างๆ ที่ประเทศต้องการ เมื่อนั้นคนจนจึงจะน้อยลงและเงินเดือนต้องเหมาะสมกับค่าครองชีพด้วย
แต่การศึกษาอย่างเดียวไม่พอ สุขภาพของประชาชนต้องดีด้วยครับ
นพ.พินิจ กุลละวณิชย์
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี