วันศุกร์ ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / ทันโลกทันเหตุการณ์
ทันโลกทันเหตุการณ์

ทันโลกทันเหตุการณ์

แพทยสภา
วันเสาร์ ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2564, 02.00 น.
โรคท้องเสียในเด็ก

ดูทั้งหมด

  •  

เมื่อใดจึงวินิจฉัยโรคท้องเสียในเด็ก


ท้องเสีย ตามความหมายขององค์การอนามัยโลกจะดูที่ลักษณะและความถี่ของอุจจาระ โดยใช้ลักษณะอุจจาระที่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติเช่น เป็นเนื้อเหลวความถี่ 3 ครั้งขึ้นไปหรือเป็นมูกเลือด 1 ครั้งหรือเป็นน้ำปริมาณมาก 1 ครั้งขึ้นไป ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง โดยคำจำกัดความนี้ไม่รวมถึงเด็กเล็กที่กินนมแม่ ซึ่งมักจะถ่ายบ่อยแต่อุจจาระเป็นเนื้อดีและมีน้ำหนักตัวขึ้นได้ตามปกติ

อาการท้องเสียเฉียบพลันมักหายได้เองภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์ ถ้านานกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไปถือเป็นภาวะอุจจาระร่วงยืดเยื้อหรือเรื้อรัง

ท้องเสียเกิดจากสาเหตุใด?

ในเด็กเล็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งอายุไม่เกิน 1 ปี พบว่าประมาณ 70% เกิดจากการได้รับเชื้อโรคเข้าไปในร่างกาย ซึ่งมักจะเข้าทางปากโดยการกินอาหารหรือดื่มนมซึ่งปนเปื้อนเชื้อโรค หรือการหยิบจับของเล่นเอาเข้าปาก หรือแม้กระทั่งมือของเด็กเองซึ่งหยิบจับสิ่งของหรือคลานเล่นและเอาเชื้อโรคเข้าปากตัวเอง เป็นต้น ดังนั้นโรคนี้จึงเป็นปัญหาที่พบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่เพราะเด็กมีโอกาสได้รับเชื้อโรคมากกว่าเพราะยังช่วยตัวเองไม่ได้และไม่รู้จักวิธีป้องกันตัวเอง รวมทั้งมีภูมิต้านทานโรคต่ำ ซึ่งภูมิต้านทานโรคส่วนหนึ่งอาจได้รับมาจากการกินนมแม่และการได้รับวัคซีน อีกส่วนหนึ่งร่างกายสร้างขึ้นโดยการสัมผัสเชื้อโรคตามธรรมชาติและสร้างภูมิต้านทานจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายซึ่งต้องใช้เวลาในการพัฒนาระบบนี้

สาเหตุส่วนน้อยของโรคนี้อาจมาจากโรคไม่ติดเชื้อ เช่น การแพ้นมวัว, ภาวะต่อมทัยรอยด์ทำงานมากผิดปกติ หรือเป็นผลจากเนื้องอกบางชนิดหรือยาปฏิชีวนะบางตัว

“ยืดตัว” กับท้องเสีย

คำถามซึ่งกุมารแพทย์มักจะได้รับจากพ่อแม่ผู้ปกครองในเวลาที่ทารกท้องเสีย คือ ท้องเสียเกิดจากทารกยืดตัวใช่หรือไม่โดยถือว่าเป็นเรื่องธรรมชาติของเด็กในวัยนี้และสามารถหายได้เอง

ธรรมชาติของเด็กภายในขวบปีแรกจะมีพัฒนาการของร่างกายจากนอนหงายเป็นนอนคว่ำ, คืบ, นั่ง, ยืน, เดิน ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องท้องเสียเลย ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลใดๆ ที่จะคิดว่าการยืดตัวทำให้เกิดปัญหาท้องเสีย เพราะท้องเสียมีสาเหตุตามที่ได้กล่าวแล้ว

การช่วยเหลือเบื้องต้นเมื่อเด็กท้องเสีย

ท้องเสียเป็นกลไกการกำจัดเชื้อโรคออกจากร่างกาย ดังนั้นเมื่อเชื้อโรคถูกขับออกจากร่างกายก็จะทำให้ไม่สะสมจนเกิดปริมาณมากและหรือดูดซึมเข้าระบบการไหลเวียนโลหิตของร่างกายจนเกิดปัญหาการติดเชื้อในกระแสโลหิตตามมา จึงไม่ควรพยายามให้ยาหยุดถ่ายซึ่งมักทำให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคและสารพิษซึ่งสร้างจากเชื้อโรคทำให้มีการกระจายของเชื้อออกนอกลำไส้ รวมทั้งปัญหาลำไส้ไม่ทำงานเกิดท้องอืด, กินไม่ได้, อาเจียน

ยาปฏิชีวนะมีข้อบ่งชี้เฉพาะเชื้อแบคทีเรียบางตัว เช่น เชื้ออหิวาต์, เชื้อบิด พยาธิบางชนิด ดังนั้นการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่มีข้อบ่งชี้ที่สมควรอาจทำให้เชื้อโรคดื้อยาและยาไปฆ่าเชื้อแบคทีเรียตัวดีซึ่งทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เชื้อที่ก่อโรคเจริญเติบโตมากขึ้น และยังอาจเกิดปัญหาการแพ้ยาปฏิชีวนะทำให้อาการท้องเสียรุนแรงมากขึ้นด้วย

หัวใจของการรักษาท้องเสียคือ การเริ่มต้นทดแทนการสูญเสียน้ำและเกลือแร่จากร่างกายด้วยการกินสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ทันทีที่บ้านในปริมาณที่เหมาะสมร่วมกับให้อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ

ให้สารละลายน้ำตาลเกลือแร่อย่างไร?

สารละลายน้ำตาลเกลือแร่มีจำหน่ายทั่วไปทั้งที่ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรมและบริษัทต่างๆ โดยทั่วไปจะผสม 1 ซองต่อน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว 1 แก้วน้ำ หรือ 1 ขวดนม 8 ออนซ์ สามารถเตรียมเองได้ง่ายๆ โดยใช้น้ำข้าวใส่เกลือเล็กน้อย (ประมาณ 2 หยิบนิ้วมือต่อน้ำข้าว 8 ออนซ์ หรือ 1 แก้ว)หรืออาจผสมเองโดยใช้น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ และเกลือป่น 2 หยิบนิ้วมือใส่น้ำต้มสุก 1 แก้วน้ำ

น้ำซุบ, น้ำแกงจืด, น้ำผลไม้ต่างๆ, น้ำเต้าหู้, น้ำชา, โจ๊กไก่ ก็เป็นอาหารเหลวที่สามารถนำมาให้ในเด็กที่มีปัญหาท้องเสียได้

วิธีการให้สารละลายน้ำตาลเกลือแร่ ควรใช้ช้อนตักป้อนทีละน้อยเพื่อช่วยลดปัญหาการอาเจียน การปฏิเสธการกินและยังช่วยให้ดูดซึมได้ดีกว่าการให้ดูดจากขวด รวมทั้งการดูดในปริมาณมากอาจดูดซึมไม่ทันและถ่ายเป็นสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ทำให้เข้าใจผิดว่ายิ่งกินยิ่งถ่าย ในเด็กโตอาจให้จิบจากแก้วทีละน้อยบ่อยๆ

อายุน้อยกว่า 2 ปี ให้ครั้งละ 2-3 ออนซ์ (1/4-1/2 แก้วน้ำ), ทุกครั้งที่ถ่ายเป็นน้ำ

2-10 ปี ครั้งละ ½-1 แก้วน้ำ (3-6 หรือ 8 ออนซ์)

10 ปีขึ้นไปปริมาณมากเท่าที่ดื่มได้

อาหารใดที่ควรให้ระหว่างท้องเสีย

เด็กเล็กที่เลี้ยงด้วยนมมารดาให้นมมารดาต่อไปควรให้เด็กดูดนมบ่อยขึ้นกว่าปกติ

เด็กที่เลี้ยงด้วยนมผสมให้นมตามปกติ

เด็กโตให้อาหารอ่อนที่ย่อยง่ายเป็นข้าวต้ม, โจ๊กโดยอาจต้องเพิ่มให้บ่อยกว่าปกติ

ถ้าเด็กสามารถดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่และกินอาหารและนมได้ ถึงแม้จะยังถ่ายอยู่แต่เด็กไม่อ่อนเพลีย ดูสดใสขึ้น แสดงว่าทดแทนการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ด้วยสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ทันและพอเพียง ก็ให้ดื่มต่อไปจนกว่าจะหยุดถ่าย แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 2-3 วัน หรือมีข้อบ่งชี้อื่นๆ ควรพบแพทย์เพื่อให้การรักษา

ควรนำลูกท้องเสียไปพบแพทย์เมื่อใด?

ควรนำเด็กไปพบแพทย์เมื่อมีอาการดังนี้

1.ถ่ายอุจจาระเป็นมูกหรือมูกเลือด

2.ไข้สูงหรือชัก

3.อาเจียนบ่อย

4.ท้องอืด

5.หอบลึก

6.ไม่ยอมดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ทุกชนิดและ/หรือไม่ยอมดื่มนมหรือกินอาหาร

7.ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่แล้วแต่เด็กยังดูเพลีย, ซึม

8.ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำบ่อย (มากกว่า 10 ครั้งต่อวัน)

ป้องกันโรคท้องเสียอย่างไร?

วิธีป้องกันท้องเสียที่ดีที่สุดคือ การรักษาความสะอาดเพื่อกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าปากทั้งนี้เริ่มตั้งแต่ผู้เลี้ยงเด็กต้องหมั่นล้างมือทุกครั้ง ก่อนจะหยิบจับอาหารหรือชงนมให้เด็กที่กินนมผสม รวมทั้งขวดนม, จุกนม ต้องล้างทำความสะอาดหลังการใช้ทันทีและฆ่าเชื้อโดยการต้มจนเดือดอย่างน้อย 10-15 นาทีดังนั้นจึงต้องมีขวดนมจำนวนเพียงพอที่จะมีเวลาต้มทำความสะอาดได้ ควรชงนม ในปริมาณที่กินหมดในครั้งเดียว ถ้ายังกินไม่หมดควรมีฝาครอบจุกให้มิดชิดและไม่ควรทิ้งไว้นานเกิน 2 ชม. ในเด็กโตที่กินอาหารอื่นต้องเป็นอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ มีภาชนะปิด ทำความสะอาด ภาชนะที่ใส่เช่น จาน, ชาม, ช้อน และอย่าลืมล้างมือให้เด็กบ่อยๆ เพราะในวัยนี้จะชอบเอาของและมือตัวเองเข้าปากก็จะเป็นการนำเชื้อโรคเข้าตัวเองด้วยของเล่นที่สามารถล้างทำความสะอาดได้ก็ควรนำไปล้างแต่บางชนิดที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้ก็ควรทิ้งหรือเปลี่ยนใหม่

ปัจจุบันมีวัคซีนสำหรับ “โรต้าไวรัส” ซึ่งเป็นเชื้อที่พบเป็นสาเหตุของท้องเสียในเด็ก ได้มากที่สุดโดยเฉลี่ยประมาณ 40% ของเชื้อที่พบว่าเป็นสาเหตุทั้งหมดโดยเฉพาะในช่วงวัยเด็กเล็ก (3 เดือน-2 ปี) โดยพบอุบัติการณ์สูงสุดในประเทศไทยในช่วงปลายปีตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมจนถึงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งเป็นช่วงที่มีอากาศเย็น โดยอาการเริ่มต้นคือ ไข้, น้ำมูก, ไอ ตามด้วยอาเจียนและถ่ายเป็นน้ำโดยมีความรุนแรงตั้งแต่น้อยไปมาก สำหรับวัคซีนโรต้าไวรัส เป็นวัคซีนชนิดกินให้ทั้งหมด 2-3 ครั้งแล้วแต่บริษัท โดยควรเริ่มต้นให้ครั้งแรกที่อายุไม่เกิน 15 สัปดาห์และครั้งที่ 2 หรือ 3 ไม่เกิน 32 สัปดาห์ สามารถลดความรุนแรงของโรคลงได้แต่ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ทั้งหมด

การป้องกันโรคท้องเสียที่ดีที่สุดคือการให้เด็กได้รับนมแม่โดยเฉพาะในช่วงอายุ 6 เดือนแรก ควรให้นมแม่เพียงอย่างเดียวเพราะ “สะดวก สะอาด ประหยัด ปลอดภัย” รวมทั้งได้รับภูมิต้านทานโรคต่างๆ ซึ่งมีเฉพาะในนมแม่นอกจากนั้นยังเป็นการสร้างและเพิ่มความรักความผูกพันระหว่างแม่ลูกด้วยการดูดนมจากเต้าโดยการสัมผัสอย่างใกล้ชิด

ผศ.พญ.นิยะดา วิทยาศัย

งานโรคระบบทางเดินอาหารและตับ

กลุ่มงานกุมารเวชศาสตร์

สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
14:45 น. ยก 7 เหตุผล'ทักษิณ' ต้องกลับไปรับโทษก่อน 1 ปี และรอการรับอภัยโทษครั้งใหม่
14:33 น. พระลูกวัดฟันเปรี้ยง‘ทิดแย้ม’ทำแต่กิจของสงฆ์ ไม่ว่างนั่งปั่นบาคาร่า ลั่นยัง‘สึก’ไม่สำเร็จ
14:31 น. ชาวบราซิลช็อก! สัตว์กลายป็นสีฟ้า หลังพบสารเคมีรั่วไหลลงในทะเลสาบ
14:28 น. กรมประมงจัดอบรมปั้นผลผลิตลูกปลาชะโอน
14:26 น. ผู้ต้องหาเอี่ยวตึก สตง.ถล่ม ให้การปฏิเสธ ตร.เตรียมนำตัวไปฝากขัง-ค้านประกัน
ดูทั้งหมด
'El Clásico2025' เมื่อเก้าอี้ดนตรีเริ่มบรรเลง
เช็คผลที่นี่!!! 'เลือกตั้งเทศบาล'ส่วนใหญ่แชมป์เก่าคว้าชัย
เช็คผลเลือกตั้งเทศบาลบุรีรัมย์ ‘บิ๊กเนม’พาเหรดยึดเก้าอี้นายกเทศมนตรี
นายกสมาคมทนาย ชี้'ทักษิณ'รักษาตัวชั้น 14 เจ้าตัวถูกจำคุกตามหมายศาลเเล้ว
ล้มช้าง! เปิดผลเลือกตั้งเทศบาล‘อุดรธานี’แชมป์เก่าร่วงระนาว จิตอาสาซิวชัยที่‘บ้านดุง’
ดูทั้งหมด
คุกรออยู่ถ้า‘สมศักดิ์ เทพสุทิน’วีโต้
อดีต รมต.คลังแนะว่าอย่าก้มหัวให้สหรัฐหากรัฐบาลอยู่ถึงวันเจรจา
‘สวนกระแสลิซ่าสู่ต้นธารแห่งบรรพชน’
ขยายฐาน....ภาษีมูลค่าเพิ่ม
อีโก้ทะลุเมฆ(1)
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ยก 7 เหตุผล'ทักษิณ' ต้องกลับไปรับโทษก่อน 1 ปี และรอการรับอภัยโทษครั้งใหม่

กรรมทันตา! ยักยอกเงินวัด 300 ล้านแทงบาคาร่า 'จากห่มเหลืองอยู่วัดกลายเป็นผู้ต้องหา'

ชมสด! การออกผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ประจำวันที่ 16 พฤษภาคม 2568

ชาวบราซิลช็อก! สัตว์กลายป็นสีฟ้า หลังพบสารเคมีรั่วไหลลงในทะเลสาบ

ผู้ต้องหาเอี่ยวตึก สตง.ถล่ม ให้การปฏิเสธ ตร.เตรียมนำตัวไปฝากขัง-ค้านประกัน

สังขารยังดีต้องทำงานแลก! รัฐบาล‘ทรัมป์’ชงแนวทางใหม่จัดสวัสดิการรัฐชาวอเมริกัน

  • Breaking News
  • ยก 7 เหตุผล\'ทักษิณ\' ต้องกลับไปรับโทษก่อน 1 ปี  และรอการรับอภัยโทษครั้งใหม่ ยก 7 เหตุผล'ทักษิณ' ต้องกลับไปรับโทษก่อน 1 ปี และรอการรับอภัยโทษครั้งใหม่
  • พระลูกวัดฟันเปรี้ยง‘ทิดแย้ม’ทำแต่กิจของสงฆ์ ไม่ว่างนั่งปั่นบาคาร่า ลั่นยัง‘สึก’ไม่สำเร็จ พระลูกวัดฟันเปรี้ยง‘ทิดแย้ม’ทำแต่กิจของสงฆ์ ไม่ว่างนั่งปั่นบาคาร่า ลั่นยัง‘สึก’ไม่สำเร็จ
  • ชาวบราซิลช็อก! สัตว์กลายป็นสีฟ้า หลังพบสารเคมีรั่วไหลลงในทะเลสาบ ชาวบราซิลช็อก! สัตว์กลายป็นสีฟ้า หลังพบสารเคมีรั่วไหลลงในทะเลสาบ
  • กรมประมงจัดอบรมปั้นผลผลิตลูกปลาชะโอน กรมประมงจัดอบรมปั้นผลผลิตลูกปลาชะโอน
  • ผู้ต้องหาเอี่ยวตึก สตง.ถล่ม ให้การปฏิเสธ ตร.เตรียมนำตัวไปฝากขัง-ค้านประกัน ผู้ต้องหาเอี่ยวตึก สตง.ถล่ม ให้การปฏิเสธ ตร.เตรียมนำตัวไปฝากขัง-ค้านประกัน
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งกระเพาะอาหาร โรคร้ายภายใต้ความสงัด

มะเร็งกระเพาะอาหาร โรคร้ายภายใต้ความสงัด

10 พ.ค. 2568

แพทยสภา โรคเบาหวานขึ้นจอตา ภัยเงียบที่ทำให้ตาบอดถาวรได้

แพทยสภา โรคเบาหวานขึ้นจอตา ภัยเงียบที่ทำให้ตาบอดถาวรได้

26 เม.ย. 2568

แพทยสภา สุขเพศในผู้สูงวัย

แพทยสภา สุขเพศในผู้สูงวัย

19 เม.ย. 2568

แพทยสภา หมอชวนรู้ “นิ่วในไต”

แพทยสภา หมอชวนรู้ “นิ่วในไต”

12 เม.ย. 2568

รู้ทัน \'ยาอีแทมบูทอล\' ใช้อย่างปลอดภัย ห่างไกลตาบอด

รู้ทัน 'ยาอีแทมบูทอล' ใช้อย่างปลอดภัย ห่างไกลตาบอด

5 เม.ย. 2568

อันตรายจากแมงดาทะเลและปลาปักเป้า

อันตรายจากแมงดาทะเลและปลาปักเป้า

29 มี.ค. 2568

“ภัยร้าย” ใต้ความเหลืองของเด็กทารก

“ภัยร้าย” ใต้ความเหลืองของเด็กทารก

22 มี.ค. 2568

คนที่ตามองเห็นเพียงตาข้างเดียวเป็นคนพิการหรือไม่ ขับรถได้หรือไม่

คนที่ตามองเห็นเพียงตาข้างเดียวเป็นคนพิการหรือไม่ ขับรถได้หรือไม่

15 มี.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved