ข้อมูล ณ วันที่ 22 มกราคม 2565
การบริจาคดวงตา
เปรียบเสมือนการบริจาคอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย เป็นการบริจาคดวงตาทั้งดวง โดยจักษุแพทย์จะนำส่วนของกระจกตาจากดวงตามาใช้เปลี่ยนถ่ายเพื่อรักษาผู้ป่วยไม่สามารถเปลี่ยนดวงตาทั้งดวงได้
ปัจจุบันเปลี่ยนได้ในส่วนของกระจกตาเท่านั้น หากเปรียบดวงตาทั้งดวงเป็นนาฬิกา กระจกตาเปรียบเหมือนหน้าปัดนาฬิกา เป็นส่วนใสๆ ด้านหน้าของลูกตา
ความเป็นมาของศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย
l จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2508
l ศูนย์กลางการรับแสดงความจำนงในการบริจาคดวงตา
l จัดเก็บดวงตาผู้บริจาคเมื่อเสียชีวิต
l จัดสรรดวงตาบริจาคให้จักษุแพทย์นำไปปลูกถ่ายกระจกตารักษาคนไข้อย่างเท่าเทียมและยุติธรรม
ดวงตาที่ได้รับบริจาคมาจากทางไหน
1.จากผู้ที่มีชีวิตอยู่ แสดงความจำนงบริจาคดวงตา
2.การบริจาคดวงตาเชิงรุก
โดยญาติเป็นผู้บริจาคแทนในโรงพยาบาลที่เป็นศูนย์เครือข่ายของสภากาชาดไทย เป็นวิธีที่ทำให้ได้รับดวงตามากที่สุด ( 70-80% ของดวงตาทั้งหมด)
เมื่อบริจาคดวงตาแล้ว ทางศูนย์ทำอย่างไรต่อกับดวงตาที่ได้รับบริจาค
1.หลังบริจาคดวงตาแจ้งญาติให้ทราบ บอกเจตนารมณ์หากเสียชีวิต ต้องแจ้งศูนย์ภายใน 6 ชม.
2.ทีมจัดเก็บดวงตาหลังจากผู้บริจาคเสียชีวิต นำมาตัดแยกส่วน แยกเฉพาะส่วนกระจกตา
3.ตรวจเลือดของผู้บริจาค เพื่อป้องกันโรคจากผู้บริจาคมาให้ผู้ที่ถูกปลูกถ่าย
4.นำกระจกตามาตรวจสภาพ จำนวนเซลล์
5.จ่ายดวงตา ตามลำดับการจองตาและความรีบด่วนตามความฉุกเฉิน
6.การจองตา จักษุแพทย์จะเป็นผู้พิจารณา ไม่สามารถจองเข้ามาเอง หรือซื้อขายคิวได้
ข้อจำกัดในการบริจาคดวงตา
1.เสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ
2.ติดเชื้อในกระแสเลือดตอนเสียชีวิต
3.ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบหรือเชื้อเอดส์
ช่องทางการรับบริจาคดวงตา
1.ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร ชั้น 7 เขตปทุมวัน กรุงเทพ
2.หน่วยเคลื่อนที่ หน่วยอาสาสภากาชาด
3.ศูนย์บริจาคโลหิต สภากาชาดไทย 0-2256-4039ถึง 40 ในเวลาราชการ
4.เว็บไซต์ www.eyebankthai.com
5.สำนักงานเขต ที่ว่าการอำเภอ
6.เหล่ากาชาด กาชาดประจำอำเภอหรือ ประจำจังหวัด
7.โรงพยาบาลเครือข่ายของสภากาชาดไทย,โรงพยาบาลศูนย์
สถานการณ์การบริจาคดวงตาในปัจจุบัน
l จัดว่าอยู่ในสถานะขาดแคลน
l เคสด่วนต้องรีบเปลี่ยนถ่ายกระจกตาจะได้รับการจ่ายตาก่อน รอประมาณ 1 เดือน คิวปกติประมาณ 3 ปี
l หากตาบอดสองข้าง ตาแรกจะได้คิวเร็วกว่า
l มีการนำเข้าดวงตาแค่เฉพาะเคสด่วน
ถาม ตอบ
Q : ทำเลสิคสามารถบริจาคตาได้ไหม
A : ในประเทศไทยสามารถบริจาคได้ หากไม่มีข้อห้ามที่กล่าวไป ผู้ที่มีสายตาสั้น ยาว เอียง ต้อหิน ต้อกระจก ต้อเนื้อต้อลม สามารถบริจาคได้หมด
Q : ศาสนามีผลต่อการบริจาคดวงตาไหม
A : ในส่วนของผู้บริจาค ขึ้นกับเจตจำนงของผู้บริจาคแต่ในส่วนของผู้ที่ได้รับบริจาคทางศูนย์ดวงตา กาชาดไทย จะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลทั้งผู้ให้และผู้รับบริจาคว่าเป็นดวงตาของใคร
Q : คนต่างด้าวมีสิทธิ์ได้รับการบริจาคดวงตาหรือไม่ คิวเหมือนคนไทยหรือไม่
A : คนต่างด้าวจะไม่ได้ให้สิทธิ์เลยในส่วนของทางสภากาชาด ยกเว้นมีหลักฐานว่ามีการย้ายถิ่นฐานมาเป็นคนไทยชัดเจน หรือเป็นเคสด่วน
ประชาสัมพันธ์ บริจาคดวงตากับสภากาชาดไทยเพื่อมอบโอกาสการมองเห็นให้แก่ผู้ป่วย และขอขอบคุณในบุญกุศล สำหรับผู้บริจาคดวงตาเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นต่อ
บทความโดย
ผศ.พญ.ลลิดา ปริยกนก ผู้อำนวยการศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย
เรียบเรียงโดย นศพ.ปิยาพัชร จารุนิภากุล
ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี