การกะพริบตาคืออะไร สำคัญอย่างไร
การกะพริบตาเป็นกลไกปกติที่ธรรมชาติให้มา เพื่อให้เปลือกตาช่วยเกลี่ยน้ำตาให้กระจายทั่วพื้นผิวลูกตา พื้นผิวลูกตาคือส่วนด้านหน้าของตาที่กระทบสิ่งแวดล้อมภายนอก ประกอบไปด้วย ผิวกระจกตาดำ เยื่อบุคลุมตาขาวเปลือกตาในบนและล่าง โดยทั่วไปคนเรามีต่อมผลิตน้ำตาบริเวณเปลือกตาบน และบางส่วนผลิตที่ขอบตา การกะพริบตา เป็นปฏิกิริยาอัตโนมัติของร่างกายป้องกันอันตรายจากภายนอก ปกติ กะพริบตา 15-20 ครั้งต่อนาที แต่ถ้าเด็กเล็กจะมีจำนวนครั้งที่ กะพริบต่อนาทีน้อยกว่านี้ได้
เด็กน้อย กะพริบตาบ่อยกว่าปกติ เกิดได้จาก 4 สาเหตุหลักๆ
1.พื้นผิวตาเด็กมีปัญหา
l จากภาวะภูมิแพ้ทำให้เยื่อตาอักเสบ
l สิ่งแปลกปลอมเข้าร่องตา เกิดความระคายเคืองจนทำให้ กะพริบตาบ่อยได้
l ภาวะตาแห้ง : ขนตาเกเป็นอีกหนึ่งภาวะทำให้เกิดตาแห้งได้ นำไปสู่กระจกตาอักเสบ เด็กจึง กะพริบตาบ่อยปัจจุบันการเรียนออนไลน์ จ้องหน้าจอทั้งวัน รวมถึงเด็กติดไอแพดเวลาทานอาหารต้องนั่งดูไปด้วยทำให้อัตราการ กะพริบตาต่อนาทีของเด็กน้อยลง นำไปสู่ภาวะตาแห้งได้เช่นกัน
2.โรคตาเขออกเป็นบางเวลา โรคนี้ทำให้เด็กอาจมองเห็นภาพซ้อนดังนั้นร่างกายจึงปรับตัวด้วยการหลับตาข้างหนึ่ง เพื่อให้มองเห็นได้ดีขึ้น จึงดูเหมือนกะพริบตา
3.ภาวะสายตาผิดปกติ (สายตาสั้น ยาว เอียง) เด็กจะมองเห็นที่ไกลไม่ชัด จึงหยีตา ขมวดคิ้ว เพื่อให้เห็นชัดขึ้น (pinhole effect: มองผ่านรูเล็กๆแล้วมองเห็นชัดขึ้น) จึงดูเหมือน กะพริบตา
4.Tics disorder เป็นภาวะที่พบบ่อย 20% ของเด็ก กะพริบตาบ่อยเกิดจากสาเหตุนี้ ส่วนใหญ่พบในเด็กโต 6-7 ขวบ พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิงไม่ใช่สาเหตุโรคทางตาโดยตรง เป็นโรคที่เกิดจากจิตใต้สำนึก กังวลและเครียดจากสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นเด็ก ทั้งเครียดจากการเรียน จากครอบครัว ความคาดหวังที่มากเกินไป จนเกิดการกระตุกของกล้ามเนื้อเล็กๆ ความรุนแรงของโรคสัมพันธ์กับความเครียดที่มากขึ้น ส่วนใหญ่ที่จักษุแพทย์เด็กเจอ จะเป็นโรคภูมิแพ้ และ tics
หากพบว่าลูกน้อย กะพริบตาบ่อยผู้ปกครองควรทำอย่างไร
1.พบจักษุแพทย์ หรือจักษุแพทย์เด็ก เพื่อหาสาเหตุ ไม่ต้องกังวลเรื่องอายุของเด็ก จักษุแพทย์สามารถตรวจได้ทุกช่วงวัยเนื่องจากมีเครื่องมือที่ทันสมัย และมีเทคนิครับมือกับเด็กน้อย ถ้ามีอาการตามัว ขี้ตามาก ตาแดง ต้องให้ความสำคัญและมาพบแพทย์ให้เร็ว เนื่องจากจะยิ่งทำให้ตาอักเสบมากขึ้นได้หากมาช้า และอธิบายให้ลูกน้อยฟังว่ามาหาแพทย์จะต้องตรวจอะไรบ้าง เพื่อให้เด็กได้รับรู้ และเตรียมตัวให้ความร่วมมือมากขึ้น
2.ก่อนมาพบจักษุแพทย์ทำอย่างไรได้บ้าง
l หยุดกิจกรรมต่าง ๆ ที่อาจทำให้เด็กตาแห้ง ให้เด็กพักสายตา 5-10 นาที
l ถ้าเด็กคันตา ห้ามขยี้ตา เพราะจะทำให้ตาอักเสบมากขึ้น ให้ใช้การประคบเย็นแทน
l ถ้าสงสัยว่ามีสิ่งแปลกปลอมเข้าตาเด็ก ห้ามเป่าตา หรือเขี่ยออก อาจเกิดการติดเชื้อและบาดเจ็บมากขึ้นได้
เมื่อมาพบจักษุแพทย์แล้ว จักษุแพทย์จะตรวจอะไรบ้าง
l วัดประเมินความสามารถทางการมองเห็น ว่ามีสายตาสั้น ยาว เอียง หรือไม่
l หยอดขยายรูม่านตา เพื่อลดภาวะเพ่ง อาจจะแสบตาบ้างหลังทำ แต่จะหายใน 5-10 วินาที
l ใช้กล้อง slit lamp ส่องดูพื้นผิวตาเด็กว่าเรียบดีไหม
l ดูกล้ามเนื้อการกลอกตา จักษุแพทย์จะมีเทคนิค มีของเล่นให้เด็กสนใจ ให้ความร่วมมือ
l หากปกติทุกอย่าง จิตแพทย์จะสังเกตพฤติกรรมเด็ก เพื่อดูว่าอาจเป็น tics ได้หรือไม่ โดยสังเกตช่วงเวลาที่เด็กกำลังตั้งใจฟังแพทย์หาก กะพริบตาน้อยลง จากมีความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากขึ้น (attention) อาจเป็น tics ได้
l*การตรวจตาในเด็กต้องอาศัยความร่วมมือของเด็ก attention ของเด็กพอสมควร
l ผู้ปกครองอาจสังเกตได้ว่า จักษุแพทย์เด็กตรวจตาเด็กค่อนข้างเร็ว เนื่องจากว่า ถ้าตรวจช้าอาจจะไม่ทันเห็นการเปลี่ยนแปลงการกลอกตา
รักษาได้ตาม 4 สาเหตุหลักดังนี้
1.พื้นผิวตาเด็กมีปัญหา :
l จากภาวะภูมิแพ้ทำให้เยื่อตาอักเสบ : หยอดยาแก้แพ้ และน้ำตาเทียมตามที่แพทย์สั่ง ประคบเย็นร่วมด้วย หากเป็นภาวะภูมิแพ้จากหลายระบบ จะดูแลรักษาแบบ systemic ปรึกษาแพทย์เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้ หรือกุมารแพทย์เพิ่มเติม
l สิ่งแปลกปลอมเข้าร่องตา : แพทย์จะเอาออกให้
l ภาวะตาแห้ง : หยอดน้ำตาเทียม 4 ครั้ง ต่อวัน
2.โรคตาเขออกเป็นบางเวลา : รักษาแต่เนิ่นๆ จะทำให้การมองเห็นภาพสามมิติกลับมาได้ ถ้าปล่อยไว้อาจทำให้การมองภาพสามมิติมีปัญหา
3.ภาวะสายตาผิดปกติ (สายตาสั้น ยาว เอียง) : ตัดแว่นสายตาช่วยเรื่องการมองเห็น จักษุแพทย์จะดูภาวะสายตาขี้เกียจร่วมด้วย ถ้ามีต้องให้การรักษา
4.Tics disorder : Psychosocial therapy (ร่างกาย จิตใจ ครอบครัว สังคม) เน้นรักษาจิตใจของเด็ก ให้ความอบอุ่นอาจให้เด็กนอนหนุนตักแล้วผู้ปกครองลูบหัวให้ความอบอุ่นแก่เด็ก อ่านนิทานก่อนนอนให้ฟัง ลดความเครียดอย่าทักหรือว่าเด็กเรื่อง กะพริบตาบ่อย ส่วนมากอาการจะดีขึ้นได้เอง
ป้องกันได้ตาม 4 สาเหตุหลักดังนี้
1.พื้นผิวตาเด็กมีปัญหา :
l จากภาวะภูมิแพ้ทำให้เยื่อตาอักเสบ : หาสิ่งที่แพ้ให้เจอแล้วหลีกเลี่ยง เช่น แพ้ขนสัตว์ แพ้น้ำยาปรับผ้านุ่ม ดังนั้นผู้ปกครองต้องมีความช่างสังเกต
l สิ่งแปลกปลอมเข้าร่องตา : ไม่ได้มีวิธีป้องกันอะไรเป็นพิเศษ หากถ้าเกิดเหตุแล้วให้รีบพามาพบแพทย์
l ภาวะตาแห้ง : ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็ก พักสายตาบ่อยๆทุกครึ่งชั่วโมง เวลารับประทานอาหารไม่ให้เล่นมือถือไอแพด
2.โรคตาเขออกเป็นบางเวลา : ไม่ได้มีวิธีป้องกันอะไรเป็นพิเศษแต่หากสังเกตเห็นให้พามาพบจักษุแพทย์ เพื่อแก้ไขแต่เนิ่นๆ
3.ภาวะสายตาผิดปกติ (สายตาสั้น ยาว เอียง) : ถนอมสายตาให้พักสายตา ออกไปเดินสวนพื้นที่สีเขียวบ้าง
4.Tics disorder : ดูแลลูกน้อยด้วยความอบอุ่น เข้าอกเข้าใจพูดคุยกับเด็ก
เรื่องน่ารู้ การหยอดน้ำตาเทียมในเด็ก : อาจนำน้ำตาเทียมไปแช่เย็น เด็กจะชอบมากขึ้น หยอดเบื้องต้น 4 ครั้งต่อวัน ให้เด็กหลับตา แล้วหยอดน้ำตาเทียมบริเวณหัวตาเด็ก จากนั้นเปิดหัวตาเด็กเบาๆ ประมาณ 3 วินาทีน้ำตาเทียมจะสามารถฉาบลูกตาลงไปได้
เรียบเรียงโดย นศพ.ณิชารีย์ ศรีงาม
ชมรมจักษุวิทยาเด็กและตาเขราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี