วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / ทันโลกทันเหตุการณ์
ทันโลกทันเหตุการณ์

ทันโลกทันเหตุการณ์

แพทยสภา
วันเสาร์ ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2566, 02.00 น.
เชื้อไวรัสโอมิครอนกลายพันธุ์ XBB.1.16 .. เราต้องรู้อะไรอีกไหม?

ดูทั้งหมด

  •  

เมื่อโรคโควิด-19 กำลังถูกจัดให้เป็นโรคประจำถิ่นและจำนวนผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 รายใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม ๒๕๖๖ กำลังลดลง จู่ๆ มีการรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ตั้งแต่วันที่ ๙-๑๕ เมษายนว่า มีผู้ติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาลจำนวน ๔๓๕ ราย เฉลี่ยวันละ ๖๒ ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณ ๓ เท่าจากสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่
๒-๘ เมษายน ๒๕๖๖)ที่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่จำนวน ๑๖๘ ราย เฉลี่ยวันละ ๒๔ ราย พร้อมๆ กับมีการรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นในหลายประเทศและพบเชื้อสายพันธุ์ XBB.1.16 ใน ๒๒ ประเทศแล้ว ปัจจุบัน โลกกำลังจับตามองเชื้อไวรัสโอมิครอนกลายพันธุ์ในกลุ่ม XBB โดยเฉพาะ XBB.1.16 ว่า จะเป็นตัวก่อโรคที่เด่นขึ้นมา ส่งผลให้ยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ฝ่าย กทม. ก็แจ้งว่า ก่อนสงกรานต์มีผู้ติดเชื้อรายใหม่วันละ ๓๐๐ กว่าราย หลังสงกรานต์เพิ่มขึ้นเป็นวันละ ๗๐๐ กว่าราย องค์กรและผู้เชี่ยวชาญต่างพยากรณ์ว่า จะพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มมากขึ้นในเดือนพฤษภาคม และลดลงในเดือนมิถุนายน ส่วนผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดีได้ออกจดหมายลงวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๖ แจ้งให้แพทย์ของตนทราบถึงแนวทางที่เหมาะสมในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 โดยมีเนื้อหาสำคัญคือ เลิกใช้แอนติบอดีเฉพาะเจาะจง (LAAB) ในแนวทางการรักษา ทำให้เกิดความกังวลในหมู่ประชาชนว่า จะเกิดการระบาดรอบใหม่อีกไหม? โรคจะรุนแรงมากขึ้นหรือไม่? การรักษาจะยุ่งยากมากขึ้นไหม? ประชาชนต้องรีบไปฉีดวัคซีนอีกไหมหรือใครควรจะไปฉีด? เป็นต้น ทำให้โรคโควิด-19 กลับมาเป็นข่าวดังใหม่ในสื่อต่างๆ อีกครั้ง และเกิดคำถามว่า เราต้องรู้อะไรเพิ่มเติมอีกไหมจากเดิมที่ทราบกันดีอยู่แล้ว?


องค์การอนามัยโลกแถลงข่าวเมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคมว่า ตรวจพบสายพันธุ์ XBB.1.16 ในผู้ติดเชื้อมากกว่า ๘๐๐ ราย ใน ๒๒ ประเทศ ส่วนใหญ่พบในอินเดีย และกำลังแทนที่สายพันธุ์ที่กำลังระบาดในปัจจุบันต่อมา ได้จัดเชื้อ XBB.1.16 ตัวนี้เป็น variant under monitoring (VUM) ในวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๖ เชื้อตัวนี้เริ่มพบในประเทศอินเดียตั้งแต่เดือนมกราคมและระบาดจนถึงกลางเดือนเมษายน พบมากกว่า ๓,๐๐๐ รายแล้ว ในสหรัฐฯ ก็มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๐.๒๑ เป็น ๗.๒ ในเวลานี้ เมื่อตรวจดูจากรหัสพันธุกรรมพบว่า เชื้อ XBB.1.16 เกิดจากลูกผสมกันระหว่างเชื้อโอมิครอน BA.2.10.1 และ BA.2.75 ตำแหน่งกลายพันธุ์ที่โปรตีนหนามมี ๓ ตำแหน่ง คือ E180V, F486P, K478R ซึ่งตำแหน่ง K478R ทำให้เชื้อแบ่งตัวเก่งและแพร่กระจายได้เร็วขึ้นกว่าเชื้อ XBB.1 หรือ XBB.1.5 ประมาณ ๑.๒ ถึง ๑.๕ เท่ามีรายงานอาการใหม่ทางคลินิกว่า พบตาแดง ตาแฉะจากเยื่อบุตาอักเสบในเด็กติดเชื้อที่ประเทศอินเดีย แต่ยังไม่พบว่า เชื้อ XBB.1.16 ทำให้โรคมีความรุนแรงมากขึ้นด้วยตัวของมันเอง กล่าวคือ ไม่พบว่า เชื้อปล่อยสารพิษหรือกระตุ้นให้เกิด cytokine storm มากกว่าเชื้อ XBB สายพันธุ์ตัวอื่นๆ กรมวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยก็รายงานว่า จนถึงวันที่ ๑๘ เมษายน มีผู้ติดเชื้อ XBB.1.16 จำนวน ๒๗ รายในประเทศไทย และมี ๑ รายเป็นผู้สูงวัยที่ตายจากการติดเชื้อตัวนี้ ข้อมูลจากอีกแหล่งหนึ่งแจ้งว่า หากนับเชื้อโควิดทุกสายพันธุ์ที่กำลังระบาดในไทย เชื้อ XBB.1.16 คิดเป็นร้อยละ ๓ ของผู้ป่วยในช่วงวันที่ ๑ ก.พ.-๑๖ เม.ย. (จากการถอดรหัสพันธุกรรม ๔๑๐ ตัวอย่าง) เชื้อโควิดสายพันธุ์หลักในไทยเวลานี้ยังเป็น XBB.1.5 สัดส่วนสายพันธุ์ต่างๆ ของโอมิครอนที่กำลังระบาดในไทย จากฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลกหรือ GISAID มีดังนี้ XBB.1.5 ร้อยละ ๔๗, XBB.1.9.1 ร้อยละ ๒๗, XBB.1.16 ร้อยละ ๑๓, XBB.1.5.7 ร้อยละ ๗ และ XBB.1.16.1 ร้อยละ ๗

เชื้อไวรัสโอมิครอนกลายพันธุ์ XBB.1.16 มีข้อมูลแตกต่างจากเชื้อสายพันธุ์เดิมที่เด่นชัด คือ เพิ่มจำนวนตัวเร็วขึ้นในเซลล์ และหลบหลีกภูมิคุ้มกันชนิด IgG ที่เคยจับเชื้อตรงตำแหน่งโปรตีนหนามได้ดี ภูมิคุ้มกันจึงไม่สามารถยับยั้งเชื้อเข้าเซลล์ได้ และทำให้เชื้อเพิ่มจำนวนและแพร่กระจายได้เร็วขึ้น แล้วยังทำให้แอนติบอดีเฉพาะเจาะจง (LAAB) ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อหรือนำมาใช้ในการรักษาโรคโควิด-19 ได้ ดังนั้น ถ้ามีการใช้ LAAB ในการรักษาผู้ติดเชื้อรายใดในขณะนี้ ผู้นั้นก็เสี่ยงสูงที่ LAAB จะใช้รักษาไม่ได้ผล ส่วนข้อมูลในด้านอื่นนั้นไม่ได้แตกต่างไปจากเดิมที่เราเคยรู้กัน

การกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นบ่อยเพราะเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 อยู่กลุ่ม RNA virus จึงมีการกลายพันธุ์เร็ว เชื้อไวรัสกลายพันธุ์สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัน สายพันธุ์ลูกชนิดใดเก่งสู้สายพันธุ์แม่ไม่ได้ ก็ล้มหายตายไป สายพันธุ์ลูกชนิดใดเก่งกว่าสายพันธุ์แม่ ก็แพร่กระจายต่อสายพันธุ์ใดที่แพร่กระจายต่อได้ต้องมีลักษณะ ๓ ข้อนี้เสมอ คือ ๑.แบ่งตัวเร็วขึ้น ๒.แพร่กระจายเข้าเซลล์มนุษย์เก่งขึ้น ๓. ดื้อต่อภูมิคุ้มกันของมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้จะเป็นของตายตัวที่ไม่เปลี่ยนแปลง และไม่ต้องรอให้นักวิทยาศาสตร์หาหลักฐานมาพิสูจน์ด้วย ทำให้เราต้องปรับสูตรวัคซีนให้ครอบคลุมเชื้อสายพันธุ์ใหม่อยู่บ่อยๆ ส่วนเชื้อที่แทบไม่กลายพันธุ์เลย เช่น เชื้อไวรัสหัด ไข้ทรพิษ คางทูม จะทำให้กลายเป็นโรคประจำถิ่นได้ง่ายเพราะมนุษย์สัมผัสเชื้อครั้งแรกและสร้างภูมิคุ้มกันในเวลาต่อมา ภูมิคุ้มกันจะใช้ต่อต้านเชื้อได้นานตลอดชีวิต โรคหัด คางทูม ก็เลยกลายเป็นโรคประจำถิ่นได้ง่าย

ลักษณะคลินิกของโรคโควิด-19 XBB.1.16 แตกต่างจากเดิมไหม?

ลักษณะคลินิกหรืออาการเจ็บป่วยจากการติดเชื้อสายพันธุ์นี้เหมือนโรคที่เกิดจากเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์อื่น พบเยื่อบุตาอักเสบได้ด้วย ผู้ที่ป่วยรุนแรงจะเกิดจากสาเหตุหลายอย่างร่วมกัน เช่น ไม่เคยฉีดวัคซีนโควิด-19 มาก่อน ผู้ที่ฉีดวัคซีนเข็มสุดท้ายหรือเคยติดเชื้อมาแล้วนานเกิน ๖ เดือนขึ้นไป ผู้ที่ร่างกายอ่อนแอมากหรือกำลังได้ยากดภูมิคุ้มกัน หรือผู้ที่รับเชื้อโควิด-19 เข้าไปครั้งเดียวจำนวนมากๆ ในเวลาอันสั้น ได้แก่ ผู้ที่ไม่สวมหน้ากากอนามัยและอยู่ในห้องแคบ ๆ หรือในห้องที่มีผู้คนอยู่แออัด และมีการตะโกน ร้องเพลง หรือเชียร์เสียงดังตลอดเวลาในพื้นที่หรือในห้องนั้น ตัวอย่างของแหล่งแพร่เชื้อที่เคยเกิดขึ้นในอดีต คือ สนามมวยและผับบาร์ เป็นต้น การเจ็บป่วยรุนแรงหรือมีอาการหนักจึงไม่ได้เกิดจากสารพิษที่เชื้อผลิตออกมาแต่ประการใด แต่เกิดจากปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น การตรวจด้วยวิธี ATK หรือ RT-PCR ยังคงให้ผลบวกเหมือนเดิม

วัคซีนโควิด-19 ชนิดไบวาเลนท์(Bivalent) คืออะไร?

วัคซีนชนิดไบวาเลนท์ใช้ mRNA ของสายพันธุ์อู่ฮั่นและสายพันธุ์โอมิครอน ได้แก่ สายพันธุ์ย่อย BA.1, หรือ BA.4, BA.5 อย่างละครึ่ง มาผสมกัน กลายเป็นวัคซีนที่ทำมาจาก ๒ สายพันธุ์หลักดังกล่าว วัคซีนชนิดนี้ผลิตโดยบริษัท Pfizer-BioNTech (ฝาสีเทา) และบริษัท Moderna การฉีดวัคซีนไบวาเลนท์จึงเพิ่มการกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนได้ดีขึ้น ๙ ถึง ๑๓ เท่าในขณะที่วัคซีนชนิดสายพันธุ์อู่ฮั่น(สายพันธุ์เดียว)กระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อเชื้อกลายพันธุ์ได้ประมาณ ๒-๓ เท่า ประเทศไทยมีวัคซีนทั้ง ๒ บริษัทและฉีดให้ฟรีตั้งแต่เดือนเมษายน-พฤษภาคม ๒๕๖๖ มาแล้ว

ใครต้อง/ควรรับการฉีดวัคซีนไบวาเลนท์?

วัคซีนไบวาเลนท์ใช้ได้กับผู้มีอายุ ๑๒ ปีขึ้นไป ไม่เคยแพ้วัคซีนยี่ห้อ Pfizer หรือModerna อย่างรุนแรงมาก่อน และมีประโยชน์มากกับผู้ที่มีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งดังนี้

๑.บุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานด่านหน้าและสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยโรคติดเชื้อในทางเดินหายใจ

๒.กลุ่มเสี่ยง ๖๐๘ เช่น คนที่อ้วนมาก ผู้มีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น และเคยติดเชื้อโควิด-19 มานานเกิน ๖ เดือน หรือฉีดวัคซีนครั้งสุดท้ายนานเกิน ๔ เดือนมาแล้ว

๓.กลุ่มคนที่ไม่เคยฉีดวัคซีนหรือติดเชื้อโควิด-19 มาก่อนเลย

สำหรับประชาชนทั่วไปที่เคยฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างน้อย ๒ เข็มและฉีดเข็มล่าสุดนานเกิน ๔ เดือนแล้ว ก็สามารถรับการฉีดวัคซีนไบวาเลนท์เป็นเข็มกระตุ้นได้เช่นกัน ประโยชน์ที่เกิดขึ้นก็มีบ้างแต่ไม่มากไปกว่ากลุ่มคนใน ๓ ข้อดังกล่าว หากหาวัคซีนไบวาเลนท์ไม่ได้ ก็ไม่ต้องไปขวนขวายมากเกินไปนะครับ เพราะถ้าเราฉีดวัคซีนอื่นๆ สามเข็มมาแล้วและระวังตัวอย่างดีเราจะไม่เจ็บป่วยรุนแรง การระวังตัวให้ดี ได้แก่ การสวมหน้ากากอนามัยและหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่แออัดนานเกิน ๓๐ นาที ไม่เข้าอยู่ในพื้นที่ที่มีการตะโกน เชียร์ มากๆ เช่น สนามมวยผับบาร์ห้องแคบๆ เป็นต้น หากเกิดสูดรับเชื้อในขณะสวมหน้ากากอนามัย จะเป็นการติดเชื้อแบบเหตุสุดวิสัยและจำนวนเชื้อที่ได้รับจะมีน้อย หากเชื้อหลุดเข้ามาในโพรงจมูก/ทางเดินหายใจส่วนต้น กว่าเชื้อจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนก่อโรคได้ หรือกว่าเชื้อจะลงลึกไปถึงเนื้อปอด ภูมิคุ้มกันจะถูกกระตุ้นให้สร้างและปล่อยแอนติบอดีออกมามากพอที่จะทำลายเชื้อที่บุกรุกเพิ่มขึ้นในทางเดินหายใจส่วนบนหรือเพิ่งลงไปถึงเนื้อปอดได้ กรณีนี้จะถือว่าเป็นการติดเชื้อจากเหตุสุดวิสัยและกลับกลายเป็นผลดีเพราะร่างกายถูกกระตุ้นให้สร้างภูมิคุ้มกันสูงขึ้นอีกต่อเชื้อโอมิครอน เท่ากับว่า เราได้รับวัคซีนกระตุ้นจากเชื้อโอมิครอนเอง“ตรงเป้า”เลยตามธรรมชาติ เราจะมีอาการป่วยน้อยกว่า หรือบางทีไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อโอมิครอนมาแล้ว แต่ร่างกายได้สร้างภูมิคุ้มกัน “ตรงเป้า” ต่อเชื้อโอมิครอนให้เราไปแล้ว

แนวทางการรักษาโรคโควิด-19 ในขณะนี้

หลังจากที่ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ออกจดหมายลงวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๖ แจ้งให้แพทย์ของตนทราบถึงแนวทางที่เหมาะสมในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 โดยมีเนื้อหาสำคัญคือ ตัดการใช้แอนติบอดีเฉพาะเจาะจง(LAAB)ออกไปจากแนวทางการรักษา กระทรวงสาธารณสุขได้เป็นแกนกลางในการปรับปรุงแนวทางเวชปฏิบัติในกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งเป็นไปตามหลักข้อมูลวิชาการ แต่มีประเด็นเล็กๆ เกี่ยวกับการใช้ LAAB ที่แตกต่างจากแนวทางเดิมที่เคยทำมาก่อน แนวทางครั้งก่อนในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๕ ได้เคยแนะนำให้ใช้ LAAB เพียงขนานเดียว(ถ้ามีการเลือกใช้) โดยอ้างว่า สายพันธุ์ BA.2.75 ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในการระบาดในขณะนั้น ยังไวดีต่อ LAAB (แต่ก็มีนักวิชาการบางท่านเห็นต่างว่า สายพันธุ์ BA.2.75 ลดหรือไม่ไวต่อ LAAB แล้ว จึงแนะนำให้ใช้ยาต้านไวรัสขนานอื่นร่วมด้วยกับ LAAB เพื่อให้เกิดความมั่นใจในประสิทธิผลของการรักษา) แต่แนวทางในวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๖ จะเริ่มมีประเด็นตรงที่ว่า ให้ใช้ LAAB ก่อนก็ได้ แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน ๒๔ ถึง ๔๘ ชั่วโมง ให้เพิ่มยาต้านไวรัส Paxlovid หรือ Remdesivir ให้ผู้ป่วยด้วย จึงเกิดคำถามว่าทำไมจึงแนะนำแบบนี้

๑.เพราะหลายท่านไม่คิดว่า อาการเจ็บป่วยจะดีขึ้นเร็วใน ๒๔-๔๘ ชั่วโมงจากการฉีด LAAB ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อสายพันธุ์ใด จึงไม่น่าจะเป็นข้อแนะนำที่ดีและไม่สะดวกที่จะนำไปใช้ในทางปฏิบัติ

๒.ก่อนจะฉีดยา LAAB เพื่อการรักษา ผู้ป่วยจะได้รับคำอธิบายตรงประเด็นนี้ไหมว่า LAAB อาจจะใช้ได้ผลลดลงหรือไม่ได้ผล หรือผู้ติดเชื้อมีโอกาสได้ร่วมเลือกยาต้านไวรัสที่จะใช้กับตนเองไหม?

๓.คำแนะนำว่า ไม่ดีขึ้นใน ๒๔ และ ๔๘ ชั่วโมงจึงเริ่มให้ยาขนานอื่น จะทำให้การรักษาโรคติดเชื้อช้าไปได้ไหม? จะเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยรุนแรงขึ้นได้ ทั้งๆ ที่ในแนวทางการรักษาก็แจ้งว่าให้รีบให้ยาเร็วที่สุดภายใน ๕ วันเมื่อมีการตัดสินว่า จะให้ยารักษาโรค

ยาโมลนูพิราเวียร์ (molnupiravir) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสตัวอื่นที่ก่อโรคในระบบทางเดินหายใจได้ดีในหลอดทดลองด้วย เช่น เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่, เชื้อ MERS-CoV, เชื้อ RSV ได้ แต่มีการนำยาขนานนี้มาศึกษาต่อในการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 เท่านั้น ยา molnupiravir มีฤทธิ์ไม่พึงประสงค์น้อย ราคาถูก เป็นยาที่มี generic อยู่ด้วย ยาขนานอื่นยังมีราคาสูงกว่ายา molnupiravir หลายเท่า ข้อห้ามใช้ของโมลนูพิราเวียร์ก็มีน้อย เช่น ไม่ใช้ในเด็กหญิงตั้งครรภ์และมารดาที่ให้นมบุตร จึงน่าจะพิจารณาให้ใช้ยา molnupiravir เป็นอันดับแรก รัฐควรเร่งหาหรือผลิตยาขนานนี้มาสะสมเก็บไว้ใช้เพื่อใช้รักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ด้วย

แนวทางเวชปฏิบัติฉบับปรับปรุงวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๖ ที่ประกาศให้ใช้ทั่วประเทศ และมีการปรับเงื่อนไขของการให้ LAAB ดังที่แสดงไว้แล้ว แต่ได้แจ้งว่า แนวทางนี้จะมีความแตกต่างกันในสถานพยาบาลแต่ละแห่งได้ ข้อเสนอส่วนตัวเพื่อประโยชน์ของผู้ติดเชื้อ คือ หากผู้ติดเชื้อรายใดจะถูกฉีด LAAB เข้ากล้ามเนื้อที่ตะโพก ๒ ข้าง เสนอให้ยา molnupiavir ไปกินด้วยเลย แพทย์ควรแจ้งผู้ติดเชื้อให้ทราบข้อมูลการระบาดของเชื้อ XBB และความเสี่ยงที่ยา LAAB จะใช้ไม่ได้ผล และวิธีลดความเสี่ยงนี้คือ ให้กินยา molnupiravir ไปด้วยเลยในวันที่ฉีดยา เป็นแบบ one-stop service ไปเลย ไม่ต้องคอยให้อาการไม่ดีขึ้นแล้วกลับมารับยาต้านไวรัสอีกครั้งหลัง ๒๔-๔๘ ชั่วโมง เพราะถ้าไม่ดีขึ้น การให้ยาต้านไวรัสจะช้าไปอีก ๑-๒ วัน ทั้งๆ ที่ผู้ติดเชื้อมาพบแพทย์อยู่ตรงหน้าแล้วเมื่อ ๑-๒ วันก่อนหน้านี้แล้ว นอกจากนี้ ขอเสนอลำดับการให้ยาว่า ให้เริ่มจากยา molnupiravir เป็นอันดับแรกก่อน ยกเว้นในรายที่มีปอดอักเสบแล้ว ให้เลือกใช้ remdesivir ก่อน โดยให้ยาทางหลอดเลือดดำ เอกสารข้างล่างนี้ คือแนวทางเวชปฏิบัติฉบับปรับปรุงวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๖ ที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้ใช้ทั่วประเทศ

การป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ หรือการเจ็บป่วยรุนแรงหากติดเชื้อโดยเหตุบังเอิญหรือเหตุสุดวิสัย

ทุกท่านยังต้องเคร่งครัดในการดำเนินชีวิตแบบ New Normal ไปก่อน เช่น สวมหน้ากากอนามัย อยู่ห่างกัน ล้างมือ ต้องหลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่สาธารณะ แออัด อากาศไม่ถ่ายเท ทั้งนี้ เพื่อมิให้รับเชื้อ หรือหากเป็นเหตุบังเอิญหรือสุดวิสัย ก็รับเชื้อกลายพันธุ์จำนวนน้อยซึ่งจะไม่สามารถก่อโรคได้รุนแรงหากเราฉีดวัคซีนไปแล้วอย่างน้อย ๓ เข็ม หรือเคยติดเชื้อไปก่อนแล้ว

หากเริ่มติดเชื้อหรือ ATK ให้ผลบวก แนะนำว่าท่านต้องประเมินตนเองว่า จะมีโอกาสเจ็บป่วยรุนแรงหรือไม่? เพราะผู้ป่วยที่มีอาการหนักหรือเบาก็จะเริ่มจากอาการเล็กน้อยในวันแรกของโรคทั้งนั้น หากไม่อยากเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยรุนแรงหรือเจ็บป่วยที่มีอาการนานหลายวัน ไม่อยากจะแพร่เชื้อให้คนที่อยู่ในบ้านเดียวกันหรือคนใกล้เคียง หรืออยากลดเวลาเจ็บป่วยให้สั้นที่สุดเพื่อที่จะไปทำงานต่อได้ ไม่อยากเสี่ยงที่จะเป็น long COVID ท่านก็น่าจะเลือกกินยา molnupiravir ไปเลยเมื่อทราบว่าตนเองติดเชื้อแล้ว

หวังว่า ข้อมูลและความเห็นต่างๆ ที่เสนอไว้นี้ จะเป็นความรู้และข้อมูลเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยให้ท่านได้นำไปพิจารณาประยุกต์ใช้ เมื่อท่านทราบข้อมูลครบถ้วนถึงตอนนี้แล้วก็ไม่ต้องวิตกกังวล ผมเชื่อว่า พวกเราจะผ่านพ้นการระบาดอีกหนึ่งระลอกของเชื้อ XBB.1.16 ไปได้ด้วยดีทุกท่านครับ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

อดีตนายกแพทยสมาคม และ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสยาม

๒๔ เมษายน ๒๕๖๖

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
21:09 น. 'หมอวรงค์'สอนมวย'นพดล' หยุดถูไถ!ก้มหน้าก้มตาปกป้อง'คนชั้น 14'
21:02 น. 'สืบตม.อุบลฯ'ลุยตรวจสถานประกอบการ สกัดกันค้ามนุษย์ผิดกฎหมาย
20:54 น. 'พิพัฒน์'ขับเคลื่อนความร่วมมือแรงงานอาเซียน พบ'รมว.เกาหลี–มาเลเซีย' เตรียมยกระดับแรงงานไทยสู่มาตรฐานสากล
20:53 น. 'สมเด็จพระสังฆราช'ประทานพระคติธรรมเนื่องในวันวิสาขบูชา
20:48 น. 'ในหลวง'ทรงมีพระราชสาส์นแสดงความยินดี สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 14
ดูทั้งหมด
ชั้น 14 ส่อวุ่นอีก!!! 'รพ.ราชทัณฑ์'เล็งฟ้องศาลเพิกถอนมติ'แพทยสภา'
หยามเกียรติธงชาติไทย! ทนายแจ้งเอาผิด โพสต์เฟสบุ๊คดูหมิ่น'ธงคือผ้าเช็ดเท้า'
(คลิป) 'ฐปณีย์' เละคาบ้าน! ด้อยค่าคนไม่เห็นด้วย 'เมียจ่าปืน' ออกโรงตอกกลับไม่ใช่ IO
'สมชาย'เคลียร์ชัดๆ ไขกระจ่าง'วิษณุ'ไปศาลอาญาทำไม?
(คลิป) หลอกหลอน 'โฆษกพรรคเพื่อไทย' ไปตลอดชีวิต
ดูทั้งหมด
สังคมที่ ‘ชิงชัง’ ทักษิณ ชินวัตร? แต่ละคนจะช่วยชาติได้อย่างไร
แต่ละคนจะช่วยชาติได้อย่างไร
ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน40) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ
บุคคลแนวหน้า : 11 พฤษภาคม 2568
บ่อนกาสิโน-แพทองธาร ชินวัตร : ภาพลักษณ์ไทย
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

(คลิป) เจ๊ปอง เผย! 'ตั๋วกาสิโน 10 ใบ' ลอเรนซ์โอ-กอร์ดอน ถัง คนสนิทตระกูลชินวัตร

กระตุ้นคนตายเพิ่ม?! คำถามตัวโตๆถึง‘รัฐบาล’ ขายน้ำเมา 'วันพระใหญ่’

ปิดหีบเลือกตั้งเทศบาล!! 'กกต.'เผยพบฉีกบัตร 6 ราย ‘นนทบุรี’งามหน้า จับหัวคะแนนพร้อมโพย

คาดปมหึงหวง! หนุ่มยิงเมีย-ลูก 5 ขวบดับก่อนจบชีวิตตัวเอง

(คลิป) 'เจ๊ปอง'เผยพิกัด'เมียน้อย'อยู่เกาะฮ่องกง ให้'เมียหลวง'สิงคโปร์ภรรยานายทุน'กาสิโน'

สง่างาม! 'โอปอล สุชาตา'เปิดตัวสุดอลังการในชุดไทยบนเวที Miss World 2025

  • Breaking News
  • \'หมอวรงค์\'สอนมวย\'นพดล\' หยุดถูไถ!ก้มหน้าก้มตาปกป้อง\'คนชั้น 14\' 'หมอวรงค์'สอนมวย'นพดล' หยุดถูไถ!ก้มหน้าก้มตาปกป้อง'คนชั้น 14'
  • \'สืบตม.อุบลฯ\'ลุยตรวจสถานประกอบการ สกัดกันค้ามนุษย์ผิดกฎหมาย 'สืบตม.อุบลฯ'ลุยตรวจสถานประกอบการ สกัดกันค้ามนุษย์ผิดกฎหมาย
  • \'พิพัฒน์\'ขับเคลื่อนความร่วมมือแรงงานอาเซียน พบ\'รมว.เกาหลี–มาเลเซีย\' เตรียมยกระดับแรงงานไทยสู่มาตรฐานสากล 'พิพัฒน์'ขับเคลื่อนความร่วมมือแรงงานอาเซียน พบ'รมว.เกาหลี–มาเลเซีย' เตรียมยกระดับแรงงานไทยสู่มาตรฐานสากล
  • \'สมเด็จพระสังฆราช\'ประทานพระคติธรรมเนื่องในวันวิสาขบูชา 'สมเด็จพระสังฆราช'ประทานพระคติธรรมเนื่องในวันวิสาขบูชา
  • \'ในหลวง\'ทรงมีพระราชสาส์นแสดงความยินดี สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 14 'ในหลวง'ทรงมีพระราชสาส์นแสดงความยินดี สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 14
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งกระเพาะอาหาร โรคร้ายภายใต้ความสงัด

มะเร็งกระเพาะอาหาร โรคร้ายภายใต้ความสงัด

10 พ.ค. 2568

แพทยสภา โรคเบาหวานขึ้นจอตา ภัยเงียบที่ทำให้ตาบอดถาวรได้

แพทยสภา โรคเบาหวานขึ้นจอตา ภัยเงียบที่ทำให้ตาบอดถาวรได้

26 เม.ย. 2568

แพทยสภา สุขเพศในผู้สูงวัย

แพทยสภา สุขเพศในผู้สูงวัย

19 เม.ย. 2568

แพทยสภา หมอชวนรู้ “นิ่วในไต”

แพทยสภา หมอชวนรู้ “นิ่วในไต”

12 เม.ย. 2568

รู้ทัน \'ยาอีแทมบูทอล\' ใช้อย่างปลอดภัย ห่างไกลตาบอด

รู้ทัน 'ยาอีแทมบูทอล' ใช้อย่างปลอดภัย ห่างไกลตาบอด

5 เม.ย. 2568

อันตรายจากแมงดาทะเลและปลาปักเป้า

อันตรายจากแมงดาทะเลและปลาปักเป้า

29 มี.ค. 2568

“ภัยร้าย” ใต้ความเหลืองของเด็กทารก

“ภัยร้าย” ใต้ความเหลืองของเด็กทารก

22 มี.ค. 2568

คนที่ตามองเห็นเพียงตาข้างเดียวเป็นคนพิการหรือไม่ ขับรถได้หรือไม่

คนที่ตามองเห็นเพียงตาข้างเดียวเป็นคนพิการหรือไม่ ขับรถได้หรือไม่

15 มี.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved