วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / คอลัมน์ / คอลัมน์ผู้หญิง / ทันโลกทันเหตุการณ์
ทันโลกทันเหตุการณ์

ทันโลกทันเหตุการณ์

แพทยสภา
วันเสาร์ ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2566, 02.00 น.
แพ้ยารุนแรง

ดูทั้งหมด

  •  

การแพ้ยาชนิดรุนแรงเกิดไม่บ่อย แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ในบางกรณีอาจทำให้เกิดความสูญเสีย หรือ พิการได้ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นสิ่งที่แพทย์ทุกท่านไม่อยากให้เกิดขึ้น

การแพ้ยาส่วนมาก ถ้าเกิดเป็นครั้งแรก เรา “คาดการณ์”ล่วงหน้ายาก เรามักจะพูดกันเสมอว่า การแพ้ยานั้น ไม่ใช่ความผิดของคนไข้ ไม่ใช่ความผิดของแพทย์ ไม่ใช่ความผิดของตัวยา เพราะว่าเป็นปฏิกิริยาของคนไข้แต่ละท่าน ต่อยาตัวนั้นๆ แต่ “การแพ้ยาซ้ำ” เป็นสิ่งที่ควรจะป้องกันได้


แม้ส่วนมากเราจะพยากรณ์การแพ้ยาครั้งแรกได้ยาก แต่ในปัจจุบันก็มีการตรวจบางอย่าง ซึ่งพอจะทำนายได้ว่า คนไข้แต่ละท่านมีความเสี่ยงต่อการแพ้ยาบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการแพ้ยาที่รุนแรง สูงกว่าคนทั่วไปหรือไม่ ข้อดีคือเป็นการตรวจเลือด ซึ่งทำได้ไม่ยาก และการตรวจบางชนิดก็สามารถเบิกในระบบเบิกจ่ายหลายระบบได้ด้วย

ยาที่แพ้รุนแรงได้ค่อนข้างบ่อยกว่าตัวอื่น มีหลายกลุ่ม อาทิ

1.ยาลดกรดยูริก : Allopurinol

2.ยากันชัก : Carbamazepine Lamotrigine Phenobarbital และ Phenytoin

3.ยาต้านไวรัสเอชไอวี : Nevirapine Abacavir

4.ยากลุ่มซัลโฟนาไมด์ : Co-trimoxazole SulfadiazineSulfadoxine Sulfafurazole, SulfamethoxazoleSulfasalazine และ Dapsone

5.ยากลุ่มเพนนิซิลิน : Amoxicillin

6.ยารักษาวัณโรค : Rifampicin Isoniazid และ Ethambutol

7.ยากลุ่ม NSAIDs : Ibuprofen Meloxicam PiroxicamTenoxicam

คราวนี้ เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเราแพ้ยา ข้อที่หนึ่งก็คือ เรื่องของเวลา ถ้าได้รับยานั้นแล้ว ในเวลาไม่นานนัก (ส่วนมาก เป็น วัน หรือ เป็นสัปดาห์) เกิดอาการผิดปกติขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีผื่นผิวหนัง ให้สงสัยไว้ก่อน และที่สำคัญคือ ถ้าผื่นนั้นลุกลามหรือกระจายรวดเร็ว รวมทั้งมีอาการเจ็บที่ผิวหนัง หรือพองเป็นตุ่มน้ำใหญ่ ผิวหนังไหม้ หรือ หลุดลอกง่าย หรือแม้กระทั่งมีตุ่มหนองเล็กๆ ขึ้นมา ..... ถ้ายิ่งไปกว่านั้น คือ เกิดผื่นหรือแผลถลอก บริเวณเยื่อบุ ต่างๆ เช่น ในช่องปาก ริมฝีปาก เยื่อบุตา หรือ บริเวณอวัยวะเพศ รวมไปถึง ทวารหนัก ให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าอันนี้คือการแพ้ยาที่รุนแรง

เมื่อทราบว่าแพ้ยาแล้ว ส่วนมากแพทย์มักพิจารณาหยุดยา แต่หากเป็นการแพ้ที่ไม่รุนแรง และมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด ที่ต้องใช้ยานั้น แพทย์อาจจำเป็นที่ต้องใช้ยานั้นๆ เป็นกรณีๆ ไป แต่หากเป็นการแพ้ที่รุนแรง เช่น ชนิดที่ชื่อว่า กลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน (Stevens-Johnson syndrome)/อีพิเดอร์มัล เนโครไลซิส (toxic epidermal necrolysis หรือ TEN) จำเป็นต้องหยุดยาทันที และแพทย์ก็จะให้คนไข้รับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาได้อย่างเต็มที่ ให้ยาที่จำเป็นให้สารน้ำ สารอาหารให้เพียงพอ เพราะคนไข้จำนวนหนึ่งจะรับประทานอาหารลำบากจากการมีแผลในปาก ซึ่งมักจะเจ็บมากนอกจากนั้นยังต้องดูแล บางอวัยวะ โดยเฉพาะตาเพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาซึ่งในหลายครั้งทำให้เกิดตาบอดได้

เมื่อได้รับการรักษาเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง คือ การมีชื่อยา และ อาการที่แพ้ติดตัวไว้ตลอดซึ่งทำได้หลายวิธี โดยทั่วไป ทางโรงพยาบาลมักออกบัตรแพ้ยาให้แต่หลายๆ ท่านมักจะไม่พกติดตัว ..... ด้วยความที่ยุคนี้ สิ่งที่ทุกท่านพกติดตัวแทบจะตลอดเวลา คือ โทรศัพท์มือถือ คำแนะนำที่อาจเหมาะกับปัจจุบันที่สุดอาจเป็นการถ่ายภาพแผงยาที่มีชื่อ ถ่ายรูปรายการยาที่ได้รับประจำ และ ยาที่แพ้ (รวมทั้งอาการ) หลายโรงพยาบาลก็จะมี App ซึ่งมีชื่อยาที่คนไข้ได้รับ และแพ้อยู่การพยายามจำชื่อยาเอง ยิ่งถ้าแพ้หลายชนิด แม้หลายท่านจะทำได้ แต่สำหรับหลายๆ ท่านก็ยากอยู่ นอกจากนั้นชื่อยาสมัยนี้ มันก็ค่อนข้างจะจำยากจริงๆ ..... อีกเรื่องที่สำคัญคือ ปัจจุบันเราเข้าสู่สังคมสูงอายุ การให้ลูกหลาน รวมทั้ง ผู้ดูแล ช่วยพิมพ์รายการยาเอาไว้หรือจดเอาไว้ แล้วถ่ายภาพให้มันอยู่ในมือถือเพื่อที่ว่าเมื่อไปรักษาที่อื่นหรือไปซื้อยารับประทานเองจะได้ เปิดให้แพทย์ เภสัชกร ฯลฯ ดูได้ เขาก็จะไม่จ่ายยาที่เป็นตัวที่แพ้หรือเป็นตัวที่เกี่ยวข้องกันและทำให้เกิดการแพ้รุนแรงได้

การใช้ยา หากใช้อย่างสมเหตุ สมผล แล้วเกิดการแพ้ “แบบที่ป้องกันไม่ได้” คงไม่มีใครตำหนิใคร แต่หากแพ้รุนแรง แล้วเป็นยาซึ่งไม่ได้มีความจำเป็นต้องใช้ อย่างในหลายๆ กรณี เพื่อนบ้านบ้าง ญาติบ้าง ได้ยินว่า ไปเจาะเลือดมามีกรดยูริกสูงก็ไปเอายาของตัวเอง มาให้ทาน โดยไม่มีการดูแลติดตาม หรือได้ยาต้านจุลชีพ บางตัวโดยไม่จำเป็น แล้วเกิดการแพ้ยารุนแรงขึ้นมา อันนี้น่าเสียดาย ....... การแพ้ยา รุนแรง ในหลายๆ กรณีป้องกันได้ครับ

ศ.นพ.ประวิตร อัศวานนท์ คณะแพทยศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  
  • Breaking News
  • ข่าวยอดนิยม
  • คอลัมน์ฮิต
21:09 น. 'หมอวรงค์'สอนมวย'นพดล' หยุดถูไถ!ก้มหน้าก้มตาปกป้อง'คนชั้น 14'
21:02 น. 'สืบตม.อุบลฯ'ลุยตรวจสถานประกอบการ สกัดกันค้ามนุษย์ผิดกฎหมาย
20:54 น. 'พิพัฒน์'ขับเคลื่อนความร่วมมือแรงงานอาเซียน พบ'รมว.เกาหลี–มาเลเซีย' เตรียมยกระดับแรงงานไทยสู่มาตรฐานสากล
20:53 น. 'สมเด็จพระสังฆราช'ประทานพระคติธรรมเนื่องในวันวิสาขบูชา
20:48 น. 'ในหลวง'ทรงมีพระราชสาส์นแสดงความยินดี สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 14
ดูทั้งหมด
ชั้น 14 ส่อวุ่นอีก!!! 'รพ.ราชทัณฑ์'เล็งฟ้องศาลเพิกถอนมติ'แพทยสภา'
หยามเกียรติธงชาติไทย! ทนายแจ้งเอาผิด โพสต์เฟสบุ๊คดูหมิ่น'ธงคือผ้าเช็ดเท้า'
(คลิป) 'ฐปณีย์' เละคาบ้าน! ด้อยค่าคนไม่เห็นด้วย 'เมียจ่าปืน' ออกโรงตอกกลับไม่ใช่ IO
'สมชาย'เคลียร์ชัดๆ ไขกระจ่าง'วิษณุ'ไปศาลอาญาทำไม?
(คลิป) หลอกหลอน 'โฆษกพรรคเพื่อไทย' ไปตลอดชีวิต
ดูทั้งหมด
สังคมที่ ‘ชิงชัง’ ทักษิณ ชินวัตร? แต่ละคนจะช่วยชาติได้อย่างไร
แต่ละคนจะช่วยชาติได้อย่างไร
ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน40) หลังอินเดียประกาศอิสรภาพ
บุคคลแนวหน้า : 11 พฤษภาคม 2568
บ่อนกาสิโน-แพทองธาร ชินวัตร : ภาพลักษณ์ไทย
ดูทั้งหมด

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

(คลิป) เจ๊ปอง เผย! 'ตั๋วกาสิโน 10 ใบ' ลอเรนซ์โอ-กอร์ดอน ถัง คนสนิทตระกูลชินวัตร

กระตุ้นคนตายเพิ่ม?! คำถามตัวโตๆถึง‘รัฐบาล’ ขายน้ำเมา 'วันพระใหญ่’

ปิดหีบเลือกตั้งเทศบาล!! 'กกต.'เผยพบฉีกบัตร 6 ราย ‘นนทบุรี’งามหน้า จับหัวคะแนนพร้อมโพย

คาดปมหึงหวง! หนุ่มยิงเมีย-ลูก 5 ขวบดับก่อนจบชีวิตตัวเอง

(คลิป) 'เจ๊ปอง'เผยพิกัด'เมียน้อย'อยู่เกาะฮ่องกง ให้'เมียหลวง'สิงคโปร์ภรรยานายทุน'กาสิโน'

สง่างาม! 'โอปอล สุชาตา'เปิดตัวสุดอลังการในชุดไทยบนเวที Miss World 2025

  • Breaking News
  • \'หมอวรงค์\'สอนมวย\'นพดล\' หยุดถูไถ!ก้มหน้าก้มตาปกป้อง\'คนชั้น 14\' 'หมอวรงค์'สอนมวย'นพดล' หยุดถูไถ!ก้มหน้าก้มตาปกป้อง'คนชั้น 14'
  • \'สืบตม.อุบลฯ\'ลุยตรวจสถานประกอบการ สกัดกันค้ามนุษย์ผิดกฎหมาย 'สืบตม.อุบลฯ'ลุยตรวจสถานประกอบการ สกัดกันค้ามนุษย์ผิดกฎหมาย
  • \'พิพัฒน์\'ขับเคลื่อนความร่วมมือแรงงานอาเซียน พบ\'รมว.เกาหลี–มาเลเซีย\' เตรียมยกระดับแรงงานไทยสู่มาตรฐานสากล 'พิพัฒน์'ขับเคลื่อนความร่วมมือแรงงานอาเซียน พบ'รมว.เกาหลี–มาเลเซีย' เตรียมยกระดับแรงงานไทยสู่มาตรฐานสากล
  • \'สมเด็จพระสังฆราช\'ประทานพระคติธรรมเนื่องในวันวิสาขบูชา 'สมเด็จพระสังฆราช'ประทานพระคติธรรมเนื่องในวันวิสาขบูชา
  • \'ในหลวง\'ทรงมีพระราชสาส์นแสดงความยินดี สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 14 'ในหลวง'ทรงมีพระราชสาส์นแสดงความยินดี สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 14
ดูทั้งหมด

คอลัมน์ที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งกระเพาะอาหาร โรคร้ายภายใต้ความสงัด

มะเร็งกระเพาะอาหาร โรคร้ายภายใต้ความสงัด

10 พ.ค. 2568

แพทยสภา โรคเบาหวานขึ้นจอตา ภัยเงียบที่ทำให้ตาบอดถาวรได้

แพทยสภา โรคเบาหวานขึ้นจอตา ภัยเงียบที่ทำให้ตาบอดถาวรได้

26 เม.ย. 2568

แพทยสภา สุขเพศในผู้สูงวัย

แพทยสภา สุขเพศในผู้สูงวัย

19 เม.ย. 2568

แพทยสภา หมอชวนรู้ “นิ่วในไต”

แพทยสภา หมอชวนรู้ “นิ่วในไต”

12 เม.ย. 2568

รู้ทัน \'ยาอีแทมบูทอล\' ใช้อย่างปลอดภัย ห่างไกลตาบอด

รู้ทัน 'ยาอีแทมบูทอล' ใช้อย่างปลอดภัย ห่างไกลตาบอด

5 เม.ย. 2568

อันตรายจากแมงดาทะเลและปลาปักเป้า

อันตรายจากแมงดาทะเลและปลาปักเป้า

29 มี.ค. 2568

“ภัยร้าย” ใต้ความเหลืองของเด็กทารก

“ภัยร้าย” ใต้ความเหลืองของเด็กทารก

22 มี.ค. 2568

คนที่ตามองเห็นเพียงตาข้างเดียวเป็นคนพิการหรือไม่ ขับรถได้หรือไม่

คนที่ตามองเห็นเพียงตาข้างเดียวเป็นคนพิการหรือไม่ ขับรถได้หรือไม่

15 มี.ค. 2568

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved